วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติเจ้าพ่อเขาตกเก่าหรือน่ำทีมึ้งเหล่าแป๊ะกง

สำหรับศาลเจ้าพ่อเขาตกเดิมนั้น ตั้งอยู่ที่เขาตกห่างจากศาลหลังใหม่นี้ประมาณ 3 กิโลเมตรไปตามเส้นทางถนนสายพระพุทธบาท-ท่าเรือ สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีการบันทึกเรื่องราวศาลเจ้าพ่อเขาตกแห่งนี้ไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ต่อมาเมื่อพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯ รับคำสั่งให้ค้นหารอยพระพทธบาท ครั้นทรงพบแล้วจึงโปรดให้ช่างฝรั่งชาติฮอลันดาส่องกล้องตัดถนนทำทางเดิน (ถนนพระเจ้าทรงธรรม) จากอำเถอท่าเรือไปถึงภูเขาสัจจพันธคีรี อันเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ถนนได้ตัดผ่านทางศาลเจ้าพ่อเขาตกอันเป็นสถานที่ตั้งศาลเจ้าพ่อเขาตกหลังเก่า

เจ้าพ่อเขาตก ที่เรียกว่าเจ้าพ่อเขาตกนี้ คือ เทวรูปสถิตย์อยู่ในศาลเจ้า ตัวศาลตั้งอยู่เชิงเขา เรียกกันว่า เขาตก (คือ เทือกเขามาสุดลงที่ตรงนั้น) อยู่ห่างจากมณฑปพระพุทธบาทไปประมาณ 3 กิโลเมตร

 ศาลเจ้าพ่อเขาตก ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาหรือริมภูเขาตก ริมถนนฝรั่งส่องกล้อง ใกล้ถนนสายพระพุทธบาท บ้านหมอ ปัจจุบันอยู่ท้องที่ตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ซึง ถนนฝรั่งส่องกล้อง เป็นถนนที่พระเจ้าทรงธรรมทรงรับสั่งให้ชาวฝรั่งสัญชาติฮอลันดาส่งกล้องตัดป่าเป็นถนนเริ่มจาอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยามายังอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อครั้งพบรอยพระพุทธบาท ได้ใช้เป็นถนนพระราชดำเนินเสด็จมานมัสการ รอยพระพุทธบาท ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร และศาลเจ้าพ่อเขาตกก็สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ของเดิมทำด้วยไม้ มีช่อฟ้าใบระกาแต่สมัยนั้นเป็นป่าพงดงดิบ เกิดไฟไหม้ศาลอยู่เสมอๆ ด้วยเหตุนี้เองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยาพิชัยญาติ เป็นแม่กองขึ้นมาบูรณะซ่อมแซมตัวศาลและที่ประดิษฐานขององค์เจ้าพ่อเขาตก ทังได้โปรดเกล้าให้พระยาเพชรัตน์สงคราม นำศิลา (หิน) จากภูเขาตกหรือเขาตกนี้ไปให้ช่างฝีมือดีแกะสลักเป็นรูป "เทวรูปเทพารักษ์" : ในท่านั่งชันเข่า สูงประมาณ 80 เซนติเมตร เพื่อมาแทนเทพารักษ์องค์เดิมที่ถูกไฟไหม้ เมื่อแกะสลักเรียบร้อยแล้ว ได้มีการสมโภชอึกทึกครึกโครม แล้วแห่ลงเรือที่ท่าเรือท่าพระมาขึ้นท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำมาประดิษฐาน ณ ศาลเจ้าพ่อเขาตก เมื่อปี พ.ศ. 2404 และต่อมารัชกาลที่ 5 เทวรูปเทพารักษ์ถูกไฟป่าไหม้อีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้พระพุทธาจารย์ (มา) วัดจักรวรรดิราขาวาสเมื่อครั้งเป็นพระมงคลทิพมุนี ผู้รักษาการพระพุทธบาทดำเนินการสร้างขึ้นมาใหม่ และสร้างใหม่อีกองค์หนึ่งเป็นเทวรูปทรงเครื่อง สูงประมาณ 1 เมตร เทวรูปองค์นี้ตั้งอยู่หน้าเทวรูปเทพารักษ์ (เจ้าพ่อเขาตก) ชาวบ้านเรียกว่า "เจ้าตาก" ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาทเสด็จผ่านมาถึงศาลเจ้าพ่อเขาตก จะทรงหยุดรถพระที่นั่งเสด็จลงมาประทับศาล ทรงจุดธูป เทียน ทอง พรอ้ม เครื่องสังเวย แด่องค์เทพารักษ์ทุกครั้ง บางครังประทับอยู่ ณ ที่นันเป็นชั่วโมงก็เคย พร้อมทั้งมีเจ้าพนักงานมาประโคมด้วยเครื่องแตรสังพิณพาทด้วย

ศาลเจ้าพ่อเขาตก ซ่อมแซมครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2492 เมื่อปี พ.ศ. 2350 "สุนทรภู่" กวีเอกแห่งสยามประเทศ (ประเทศไทย) เมื่อครั้งตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสองค์น้อยของกรมพระวังหลังมานมัสการรอยพระพุทธบาทมาตามเส้นทางสายฝรั่งส่องกล้อง ต้องผ่านหน้าศาลเจ้าพ่อเขาตก สุนทรภู่ยังเขียนถึงเจ้าพ่อเขาตกไว้ใน "นิราศพระบาท" ดังนี้

"พี่แวะเข้าเขาตกคอยนำเสด็จ 
ดูเทเวศร์รักษ์รังสรรค์
เอาเทียนจุดบูชาแก่เทวัญ 
ให้ป้องกันอันตรายในราวไพร"
ดังนั้นใครก็ตามแต่เมื่อผ่านมาถึงศาลเจ้าพ่อเขาตก จะต้องเข้ากราบไหว้ขอพรให้เทพารักษ์เจ้าพ่อเขาตก ช่วยปกปักรักษาป้องกันภยันอันตรายใดๆ ดั่งบทกลอนที่สุนทรภู่ เขียนไว้ เจ้าพ่อเขาตกจึงเปรียบเสมือนองค์เทพผู้ศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ฤทธานุภาพ เพียบพร้อมด้วยเทวธรรม บุญญาธิการมาประทับอยู่ คอยปกป้องคุ้มครองผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และปกป้องคุ้มครอง "รอยพระพุทธบาท" อันเป็นมหาเจดีย์ที่พุทธศาสนิกชนเคารพกราบไหว้บูชาเหนือสิ่งใดๆ หรือถ้าจะเปรียบว่าเจ้าพ่อเขาตกเป็น "นายทวารประตูสู่สวรค์" ก็เห็นจะได้ เพราะใครก็แล้วแต่จะเดินทางเข้าไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจะต้องผ่านศาลเจ้าพ่อเขาตกเสียก่อนจึงจะไปถึงรอยพระพุทธบาท เมื่อถึงศาลเจ้าพ่อเขาตกก็ต้องแวะเวียนเข้าสักการะตามความเชื่อถือทั้งชาวจีนและชาวไทย

เนื่องจากเจ้าพ่อเขาตกเป็นองค์เทวรูปที่ศักดิ์สิทธิ ประดิษฐานอยู่ในศาลเจ้าแห่งนี้ เป็นที่เคารพสักการะของสาธุชนโดยทั่วไป ผู้ที่มานมัสการรอยพระพุทธบาทแล้วก็จะหาโอกาสมาสักการะบูชาขอความคุ้มครองปกป้องผองภัยอันตรายในการเดินทาง ตลอดถึงขอพรอันศักดิ์สิทธิ์ให้สัมฤทธิผลในกิจการงานน้อยใหญ่ให้เจริญรุ่งเรือง มีความอยู่เย็นเป็นสุขไร้โครคาพยาธิทุกข์ทั้งปวง ปู้ที่มีศรัทธาเชื่อมั่นได้ประสบผลสำเร็จในกิจการงานต่างๆ เป็นจำนวนมา อีกทั้งคณะกรรมการในองค์เจ้าพ่อเขาตกได้จัดตั้งมูลนิธิฯ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ประสบภัยอันตรายต่างๆ ได้ดำเนินงานด้านสาธารณกุศล ส่งเสริมพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีทั้งปวง เพื่อความสมบูรณ์พูสนสุขของพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ดังนั้น จึงความตั้งใจปรารถนาให้พี่น้องสาธุชนหรือเยาวชนบุตรหลานได้ศึกษาหาความรู้และความเป็นมาขององค์เจ้าพ่อเขาตกและศาลอันเป็นที่ประทับประดิษฐานองค์พ่อท่านปัจจุบันพร้อมด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการบริหารทุกยุคสมัย ได้สละแรงกายแรงใจปฏิบัติการสานต่อ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนเป็นอันมาก ดังปรากฏให้เห็นเป็นสักขีพยานในปัจจุบัน จึงมุ่งมั่นปรารถนาที่จะบันทึกจารึกไว้เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพิธีเปิดศาลหลังใหม่ (ศาลพระกิวอ๋อง) อันเป็นผลงานพัฒนาการของคณะกรรมการบริหารมูลนิธิเจ้าพ่อเขาตกพระพุทธบาทร่วมกันมาทุกๆ สมัย ด้วยตั้งใจว่าหนังสือเล่มนี้จักเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องและสาธุชนรุ่นต่อไป โดยได้รับความร่วมมือจากผู้รู้หลายท่านทำการค้นคว้ารวบรวมและเรียบเรียง คือ คุณวิลาส สุขเกษม, คุณสมจิตร คชฤทธิ์ และคุณบุญเลิศ เสนานนท์ เป็นบรรณาธิการจัดรูปเล่มให้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในการศึกษาหาประวัติความเป็นมาขององค์เจ้าพ่อเขาตกและประเพณีอันมีมาแต่อดีตกาลอันเป็ฯข้อปฏิบัติ ของคณะกรรมการมูลนิธิเจ้าพ่อเขาตก และหากจะมีข้อบกพร่องประการใดคณะผู้จัดทำยินดีรับฝังคำชี้แนะจากท่านผู้รู้ทุกเมื่อ

ปัจจุบันนี้มีถนนรถยนต์วิ่งไปถึงศาลเจ้าพ่อเขาตกได้สะดวก ภูมิประเทศในบริเวณนี้ แต่ดิมเป็นป่าเขา มีต้นไม้ใหญ่ๆ ขึนครึ้ม จะหาบ้านช่องผู้คนอาศัยอยู่ไม่ได้สักหลังเดียว ผู้ที่เดินทางผ่านไปจะรู้สึกเงียบวิเวกวังเวงใจเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยโบราณการเดินทางไปนมัสการพระพุทธบาทจะต้องผ่านไปทางเขาตกนี้ ผู้ที่ผ่านไปจึงมักจะหยุดพักใต้ร่มไม้ในบริเวณศาลและนมัสการเทพารักษ์ที่ศาล เพื่อขอพรให้เดินทางไปถึงที่หมายได้โดยปลอดภัย แต่ในปัจจุบันป่าดงพงพีอย่างแต่ก่อนไม่ปรากฏให้เห็นอีกแล้ว ต้นไม้ใหญ่ๆ ได้ถูกโค่นลงจนเกลี้ยง ที่ดินซึ่งว่างเปล่าก็ถูกบุกเบิกทำไร่ทำนากันจนหมดสิ้น มีถนนตัดผ่านไปจึนถึงบ้านหมอ และหนองโดน ฉะนั้น ผู้ที่เดินทางไปนมัสการพระพุทธบาทในปัจจุบันนี้ได้รับความสะดวกสะบายกว่าแต่ก่อนเป็นอย่า่งมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น