วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ตำนานพระพุทธบาท (ตอนที่ ๔)

ถ้าและผู้ใมิใช่ภูมิชาติจะได้รู้จักตำแหน่งเมืองปะรันตะปะนคร นั้นหามิได้ ด้วยตำแหน่งเมืองตกมาช้านานแต่ละครั้ง พระยากาลราชนั้นแล้ว เมืองนั้นมีคู ๒ ชั้น มีประตู ๔ ประตู ๆ ช่องประตูชัย ประตูน้ำ ประตูผี มีเสามีประตู ๔ ประตู ตลุงช้างเผือกโคกปราสาทเสาหนึ่ง มีศีรษะคนโบราณอยู่ศีรษะหนึ่ง ใหญ่ประมาณ ๘ กำ มีกำแหน่งวัด ๑๕ วัด วัดธัมเสนา วัดสารภี วัดสัก วัดมหาโลก วัดโปกบ้านหม้อ วัดหัวตะพาน วัดแจงนางเพียร วัดนางผล วัดเกตุ วัดสุด วัดขวิด วัดหลวง วัดนาค วัดพระนอน วัดพี่น้อย วัดนนซี มีตำแหน่งบ้าน ๒๑ บ้าน บ้านตลาดน้อย บ้านหัวตะพาน บ้านขนอนสาซ่อง บ้างไหย่ บ้านโขมด บ้านน้อย บ้านเกาะสารภี บ้านไร่ บ้านกะมัง บ้านปลาขวัน บางยานี บางขมิ้น บ้านมาบโพ บ้านขวาง บ้านมะกอก บ้านม้อน บ้านหนองจิก บ้านกนองสะแก บ้านเคร่าครับดัง แต่เมืองนครขีดขินออกไปถึงพูสงครีบหนทาง ๔๕ เส้น แต่พูสงครีบไปถึงพูนรายน์หนทาง ๓๐ เส้น แต่พูนรายน์ไปถึงธารถวายสรหนทาง ๒๐๐ เส้น
     อันหนึ่งตำแหน่งได้ทำทำนบน้ำธารทองแดงนั้นคื ริทธานนท์ พนพิจิตร์ หลวงสรียศ ได้คุมไพร่หลวงขึ้นมาทำทำนบธารกเสมสำหรับตำบลนั้น เมืองลพบุรีได้ทำทำนบศิลาดาดค้างไว้นั้น ข้าพระพุทธบาทได้ทำนบสวนมะลิ ทำนบเจ้าพระนำเมืองนั้น เมืองสระบุรีได้ทำอันหนึ่ง
     ตำแหน่งทำทางรับเสด็จพระราชดำเนินนั้น ข้าพระพุทธบาทได้ทำแต่ลานพระลงไปถึงตำหนักนารายน์ท้ายสะยอ แต่ตำหนักนารายน์เป็นเจ้าลงไปถึงโป่งนางงามนั้น เมืองลพบุรีได้ทำแต่โป่งนางงามลงไปถึงบางโขมดนั้น ข้าหลวงผู้กำกับกรมการหัวเมืองบันดา ซึ่งมาด้วยรับเสด็จนั้น ได้ช่วยกันระดมแต่บางโขนดลงไปมาบกะทุ่มนั้น เมืองสระบุรีได้ทำมาแต่มาบกะทุ่มลงไปถึงท่าเจ้าสนุกนั้น ขุนนครได้ทำ
     ครั้นเสด็จพระราชดำเนิน ขุนเฉลิมขุนหมื่นทั้งปวงนั้นได้รับเสด็จที่ตำหนักนารายน์ ครั้นเสด็จขึ้นมาถึงพระพุทธบาทแล้ว เมืองลพบุรีได้ไปจูงเชือกท่าวัด เมืองสระบุรีได้ไปจุกช่องทางเขาทส เมืองไชยบาดาลได้ไปจุกท่างทุ่งแฝก ตำรวจ ๓ คน กับหมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นชินธาตุ หมื่นสรีรักสา ลงไปตั้งด่านอยู่เขาตก เมืองลพบุรีตั้งด่านอยู่ห้วยมันหวาน ได้ตรวจดูลูกค้าวานิชเอาเต่าปลาไก่นกสัตว์อันมีชีวิตชีวาขึ้นมาซื้อขายให้จับเอาตัวไ้ทำโทษตามข้อละเมิด ผู้ใดไปมาผิดเวลาให้คุมเอาตัวไปส่งให้กะหลวงพัน เมื่อจะเสด็จพระราชดำเนินกลับลงไปน้นแต่บรรดาข้าทูลละอองซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปนั้น ให้ดูตราขุนพรมจงทุกคน ถ้าผู้ใดมิได้เสียค่าพระกัลปนา มิได้มีโฉนดฎีกาขนพรหมเสนาลงไปให้เอาตัวไว้ เรียกเอาค่าพระกัลปนาเฟื้องหนึ่ง
     อนึ่งเมื่อจะขึ้นไปนมัสการนั้น ห้ามมิให้แปลกปลอมกันให้พระสงฆ์เถรสามเณรไปเวลาหนึ่ง ผู้ชายผู้หญิงไปเวลาหนึ่ง
     อนึ่งบนทักษิณนั้นท่านห้ามมิให้ผู้ชายผู้หญิงขึ้นไปพูดจากันแต่สองต่อสอง ถ้าผู้ใดมิฟังมีผู้จับตัวได้เอาไปส่งให้ขุนธัมการ ขุนธัมการเอาตัวไปมัดไว้พิหารวัดป่าเลไลย
     อนึ่งเมื่อจะเสด็จขึ้นนมัสการนั้น ขุนอินทพิทักส์ชาวคลัง ขุนพรหมพิทักส์ชาวคลัง เชิญเอาผ้าทรงนารายณ์กับม่านปักวันทองกับสำเภาทองยนต์คืนมาไว้รับเสด็จ ครั้นเมื่อเสด็จออกจากมณฑปแล้วทรงนั่งอยู่ที่ทักษิณ ขุนอินทพิทักส์ ขุนพรหมรักสา จึงเอาพระกัลปนาออกมาส่งให้ราชบัณฑิตถวาย
     ในต้นพระกัลปนานั้นว่า พระตรีภูวนาถพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ องค์สมเด็จพระนารายณ์ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ มีพระราชโองการสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้ชุมนุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตปโรหิตพราหมณ์ ให้ตั้งพระกัลปนาตราพระราชสีห์ไว้สำหรับพระพุทธบาท อย่าให้ผู้ใดกะเกณฑ์เอาไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปใช้สอยนอกกว่าพนักงานห้ามมิให้ผู้ใดเอาไปทำตะพานบางขโมด ถ้าและผู้ใดไม่ฟังเบียบเบียนบังเอาไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปเป็นอาณาประโยชน์ของตัวนั้น ให้ตกนรกแสนกัปอนันตชาติ อย่าได้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้เกิดฉันวิรุติโรค ๙๖ ประการ ตามสังหารผลาญชีวิตบุคคลผู้นั้นให้ฉิบหายไปด้วยราชภัย โจรภัย อุทกภัย ปิศาจภัย ถ้าและผู้ใดจะเข้าไปทำมาหากินในท้องอำเภอพระพุทธบาท ทำไร่นาตัดเสาตัดหวายตัดฟืนทำยางฉีกตอก ลอกเชือกสารพัดการทั้งปวง แต่ไม้ท่อนหนึ่งฟืนดุ้นหนึ่ง ก็ให้ขุนอินทเสนา ขุนพรหม เสนาเรียกเอาหัวป่าค่าที่เป็นค่ากัลปนามาแบ่งเป็น ๓ ส่วนเป็นของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้ใดเรียกนั้นได้รับพระราชทาน ๑๐ ลส ๑ ถ้าและผู้ใดที่ได้เรียกค่ากัลปนา ท่านแช่งไว้ให้ตกนรกแสนกัปอนันตชาติอย่าให้ผู้รู้ผุดหรือเกิดเลย ให้ฉิบหายไปด้วยภัยต่างๆ ถ้าและผู้ใดรุกที่ดินรุกแดนของพระเข้าไปชั่วองคุลีหนึ่งก็ดี ชั่วเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งก็ดี ให้ผู้นั้นตกนรกหมกไหม้ในมหาอเวจีแสนกัปอนันตชาติ อย่าให้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้เกิดฉันวุติโรค ๙๖ ประการตามสังหารผลาญชีวิตบุคคลผู้นั้น ให้ฉิบหายไปด้วยภัยต่างๆ ดุจพรรณามาแต่หลังถ้าไพร่ข้าพระโยมสงฆ์จะเกิดวิวาทแก่กันขึ้นกับข้าหลวง และสังกะพักด้วยความสิ่งใดๆ โจทย์จับช้างม้าโคกะบือแก่กันก็ดี ถ้าและพิจารณาเป็นสัจ ถ้าข้าพระแพ้สงสัจไปปรับ ๆ มามีแต่สินไหม พินัยท่านให้ยกเสีย ท่านว่าข้าพระนั่นเป็นข้าหลวงใหญ่ ถ้าและข้าหลวงแพ้ปรับมามีทังสินไหมพินัย จะพรรณนาไปให้สิ้นในพระกัลปนานั้นมากนักจำไม่ได้
     แต่หัวป่าค่าที่ที่นาคู่ละ ๑๐ สลึง ที่อ้อยไร่ละบาท ทำยางนั้น ๕ วันไปตักครั้งหนึ่งได้มา ๒ หาบ เรียกปีหนึ่งเอา ๒ สลึง ตัดไม้แต่พร้าแบกปีหนึ่งเอาหนึ่งเฟื้อง ถ้าตัดเสาเป็นไม้ใหญ่ ปีหนึ่งเอา ๒ สลึง ถ้าตัดสีฟันตัดหวยฉีกตอกลอกเชือกสารพัดการทั้งปวง ถ้าผู้ชายเอาหนึ่งสลึง ผู้หญิงเอาหนึ่งเฟื้อง ที่ตลาดนั้น ร้านละ ๒ สลึง หาบของมาขายเอาหนึ่งเฟื้อง ยกพระราชทานให้หมื่นสนั่นพันเสนาะ ให้เป็นมากด้วยคน ๔ คนนี้ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการนั้นให้ตระเวนไฟตามถนนตลาดได้ตรวจตราว่ากล่าวแล้วได้เก็บดอกไม้ทูลเกล้าฯ ถวยทุกวันมิได้ขาด
     ขุนหมื่นทั้งนั้นโปรดให้พระราชทานปีหนึ่งเอาเงินมาให้คน ๑ ตำลึง ๒ บาท ไม่ได้ทำราชการเลยขาดตัวทีเดียว หลวงสารวัตร ๘ คน ขุนสัจพันธคีรี ๘ คน ขุนยกบัตร ๖ คน ขุนเฉลิม ๖ คน ขุนเทพสุภา ๑ คน ขุนชินบาล ๒ คน หมื่นสรีพุทธบาล ๒ คน หมื่นมาสคีรี ๒ คน หมื่นสรีสุวรรณปราสาท ๒ คน รวม ๑๐ คน ขุนหมื่นทั้งนั้นได้คนละ ขุนอินทพิทักส์ ๑ ขุนพรหมรักสา ๑ ขุนพิทักษ์สมบัติ ๑ หมื่นทิพรักสา ๑ ๔ คนนี้ได้ยกในเดือนๆ ละ คน เข้าเดือนเป็น ๑๐ ฬส
     แต่ก่อนมาท่านตั้งง้าวข้าพระไว้ ๓ คน ปะขาวน้อย ๑ ปะขาวมะ ๑ ปะขาวหนัง ๑ ถ้าและวิวาทกันด้วยข้าพระโยมสงฆ์สมะสังกัดพรรคจะแบ่งปันฝ่ายพ่อแม่ว่ากล่าวมิตกลงกัน ให้ถามท่านผู้เฒ่า ๓ คนนัี้นว่าพ่อเป็นข้าพระแม่เป็นข้าหลวงหรือ ถ้าและท่านทั้ง ๓ คนนั้นว่าพ่อเป็นข้าพระแม่เป็นข้าหลวง จึงให้แบ่งปันกันฝ่ายพ่อแม่ ด้วยท่าน ๓ คนนัั้นรู้จักพงศาวดาร ว่าลูกคนนั้น หลานคนนั้นๆ เป็นปู่ย่าตายาย ได้รู้จักกำเนิดทั้งนั้นมา ท่านตั้งไว้เป็นง้าวข้าพระสืบต่อมา ถ้าและไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปต้องทุกข์ยากอยู่ที่ใดตำบลใด ให้เอาเงินของพระไปช่วยไถ่เอาไว้คงหมู่
     เมื่อครั้งเกิดศึกกลางเมืองนั้น ขุนโขลนพาคุมเอาไพร่ ข้าพระไปช่วยรบร้อยหนึ่ง ครั้นสำเร็จราชการแล้ว จึงพระราชทานถาดหมากคนโทให้แล้ว พระราชทานให้มีคนสำหรับตามหลังไปกิจราชการ ๓๐ คน จึงพระราชทานเงินหลวงขึ้นมา ๑๐ ชั่ง ให้ไปช่วยไถ่ แต่บรรดาผู้ได้ไปต้องทุกข์ยากอยู่จะเป็นไพร่หลวง สมะสังกะพรรคก็ดี ซึ่งเจ้าขุนมูลนายมิได้ช่วยไถ่แล้วนั้น ให้ไปช่วยไถ่เอามาไว้เป็นข้าพระไถนาหลวงเอาข้าวขึ้นถวายพระสงฆ์ปีละเกวียนต้องด้วยทนายพัน แต่นั้นมาข้าพระจึงมาขึ้นแต่คงสกันถึง ๖๐๐ ครัว ขุนธรรมการ ๑ หมื่นสรีเกิด ๑ ปะขาวหยู่ ๑ อำแดงหมอน ๑ ปะขาวด้วง ๑ นายดิส ๑ พันทอง ๑ พันคำ ๑ พันจัน ๑ อำแดงเพียร ๑ ก็เอาพระเงินหลวงช่วยไถ่ เมื่อครั้งเจ้าเสียนั้น เงินหลวงช่วยไถ่ ๑๐ ครัว แต่บรรดาเงินพระเงินหลวงช่วยไถ่มานั้นหลายครัวจำไม่ได้ แต่เป็นที่ขุนโขลนมานั้นมากมายหลายคนแล้ว ขุนโขชลนป่าชมพู่นั้นเดิมเป็นราชาบาลอยู่ก่อน ครั้นมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นเป็นผู้รั้งอยู่ ณ เมืองนครราชสีมาได้ปีหนึ่ง หลวงมหาดไทยนอกราชการมีตราให้หาลงมาจึงเป็นที่ขุนโขลนๆ เก่านั้นขัดรายผู้ร้ายไ้ ท่านว่างัดพระราชโองการจึงได้พิพากษาโทษไว้ครั้งหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้รั้ง ณ เมืองเพชร์บูรณ์ แต่เป็นขุนโขลนมาในครั้งบรมโกฏ ๖ คน เมื่อครั้งสุริยามรินท์ ๔ คน ขุนยกบัตร ๒ ขุนยกบัตรปู่ปะขาวแท้งนั้น ขุนยกบัตรปู่ขุนธรรมการนั้นนานมาจึงถึงขุนยกบัตรบุญรอดนั้นเป็นข้าหลวงกำกับเมื่อครั้งพระลายจักร์หายนั้น ท่านให้พระยายมราชขึ้นมากำกับพิจารณาเอาข้าพระมามัดผูกตีโบยที่ตึกสวนมะพร้าว เพลากลางคืนนั้นพระธาตุเสด็จออกจากยอดพระมณฑปใหญ่ประมาณเท่าลูกมะขวิด ครั้นถึงสวนมะพร้าวลอยนิ่งอยู่บนอากาศจึงหายไป พระยายมราชนั้นก็เกิดวิปริตต่างๆ
     แต่ก่อนมีทั้งบ่อนเบี้ยนายอากรเหล้า เมื่อครั้งขุนไชยบาล นายอากรเหล้าฟ้องหากล่าวโทษนาลิ้ม กับผู้มีชื่อ ๔ คนว่า ต้มเหล้า จึงมีตราพระราชสีห์โปรดเกล้าฯ ขึ้นมาให้พิจารณาตามกระทรวง ครั้นขุนหมื่นกรมการข้าพระพุทธบาทพิจารณาคำท้องตราโจทย์จำเลยมีคำต่อกันไปมาพิจารณาไม่ตกลงกัน จึงบอกส่งลงไปยังท่านลูกขุนนะศาลา ท่านจึงส่งคู่ความไปยังศาลพระพัสดี ครั้นไปถึงศาลโจทย์จำเลยสมัครพรรคพวกกับจำเลย ๔ คน เสียเงินคนละ ๙ ตำลึง ๔ คน เป็นเงิน ๑ ชั่ง ๑๖ ตำลึง
     แต่โบราณมามีต้นไม้ต้นหนึ่งใหญ่ประมาณ ๓ อ้อม มีดอกเท่าฝาบาตร ครั้นเพลาเช้า เพลาเย็นบาน กลางวันตูม เมื่อจะบานนั้นหันหน้าดอกเข้าไปข้างพระมณฑปทุกเพลามีสันฐานดอกนั้นเหมือนดอกทานตะวัน ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าแตงโมทำมณฑปขึ้นไปว่าต้นไม้นั้นกีดทรงพระมณฑปอยู่จึงฟันต้นไม้นั้นเสีย แต่วันนั้นไปท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโม ก็ตั้งแต่ลงโลหิตไปจนเท้าวันตาย
     พระมณฑปนั้นสูง ๑๘ วา ๒ ศอกคืบ เงินดาดพื้น ๒๐๐ ชั่ง กระจกปูผนังข้างในใหญ่ ๒ ศอกคืบ ๔ เหลี่ยมจตุรัส กระจกประดับผนังข้างนอก ๑๘๐ แผ่น กระจกประดับเสาใน ๓๒๐ ทองคำปูหลังคาลงมา ๖๒ ชั่ง ทองคำเปลว ๒๙๔,๖๐๐ แผ่น
     ขุนหมื่นรักสาพระตำหนัก พระนครหลวงพรหมมนตรี ขุนทิพมนตรี ๑ ขุนเทพมนตรี ๑ รวม ๓ ขุนทิพราช ๑ ขุนเทพราช ๑ รวม ๒ หมื่นอินท์ ๑ หมื่นพรหม ๑ รวม ๒ เป็นธรรมเนียมมาแต่ครั้งบรมโกฏมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินท์
     เมืองนครขีดขินในพระบาลีเรียกว่า ปะรันตะปะนครราชธานี จึงตั้งสมเด็จเจ้าตั้งว่า พระมหามงคลเทพมุนีสรีรัตนไพรวันปะรันตะประเทศทมเขตอรัญวาสี เมืองลพบุรีในพระบาลี เรียกว่า เมืองสังขบัต จึงตั้งสมเด็เจ้าตั้งว่า พระสังคราชา
     พระมณฑปแต่ในลานกว้าง ๓ ศอกคืบ ๔ เหลี่ยมจตุรัส แต่ออกไปถึงผนัง ๕ ศอก ข้างพระบาทออกไปถึงผนังขวา ๖ ศอกคืบ ซ้าย ๖ ศอกคืบ พระบาทยาว ๓ ศอก ๑ (ต้นฉบับโดนลบ)
     ครั้งนั้นขุนเทพสุภาคนหนึ่ง นายบุนนากคนหนึ่ง กับผู้มีชื่อ ๓ คนคบคิดกันเป็นสมัครพรรคพวก พากันลงไปตีเกวียนชาวสัปรุสที่ทุ่งงิ้ว จับตัวได้ส่งไปชำระเป็นสัจ ทรงเห็นว่าขุนเทพสุภากับผู้มีชื่อ ๓ คนทำละเมิดพระราชกำหนดกฎหมาย ให้เป็นเสี้ยนหนามกับศาสนา จึงสั่งให้ลงพระราชอาญาตามโทษสนุดทษ แต่ขุนเทพสุภานั้น ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ตัดตีนสินมือเสียจนสิ้นชีวิต แต่นายบุนนากกับผู้มีชื่อ ๓ คนนั้นให้ตัดศีรษะเสียบไว้ที่ตะพานบางโขมด


วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ตำนานพระพุทธบาท ตอนที่ 3

วันขึ้นพุธ (๔) (ไม่แน่ใจในการตีความนะคะ) ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ จุลศักราช ๑๑๔๖ ปีมะโรง สัมฤทธิศก ขุนสัจพันธคีรี ขุนอิินทพิทักษ์ ขุนธัมการ ปะขาวเพ่ง นั่งพร้อมกัน บนที่ทักษิณโรงประโคม จึงบอก (ต้นฉบับเดิมลบเลือนอ่านไม่ได้ความ) ได้ทำราชการมาแต่ครั้งบรมโกศ มาจนถึงพระที่นั่งสุริยามรินท์ จึงเอาตำรารายจดหมายอย่างธรรมเนียมท้องที่อำเภอพระพุทธบาทแต่ก่อนนั้นมาส่งให้ฉันเป็นอย่างธรรมเนียมมาแต่ก่อน ขุนหมื่นกรมการค่าพระพุทธบาทนั้น ขุนยกบัตร ข้าหลวงกำกับท่านมาตั้งแต่กรุงเทพมหานคร ครั้นเมื่อเทศกาลถือน้ำ ขุนยกบัตรนั้นได้ลงไปถือน้ำกรุงเทพมหานครทุกปี ถ้าและราษฎรชาวบ้านจะร้องฟ้องหาความแก่กันด้วยความสิ่งใดๆ ถ้าและเป็นความแพ่งสลักหลังฟ้องส่งให้ขุนเทพสุภาชลธีหมื่นสรีพุทธบลราชรักสาเอาไปพิจารณา ถ้าเป็นความอาญาประทับฟ้องส่งให้ขุนเฉลิมราชปลัดเอาไปพิจารณา ถ้าเป็นควมมหันตโทษนครบาลประทับฟ้องส่งให้หมื่นชินบาลชาญราชรักษาเอาไปพิจารณา ถ้าเป็นความด้วยไร่นา ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนา ได้เอาไปพิจารณา ถ้าจะให้เรียกเงินทองวิวาทแก่กัน ขุนอินทพิทักส์ ขุรพรหมรักสา หมื่นพิทักส์สมบัติ หมื่นพิทักส์รักสา เอาไปพิจารณา เป็นสัจด้วยความสิ่งใดๆ ส่งสัจไปบริบนเมืองลพบุรี เมืองสระบุรี นะเมืองนครขีดขินนี้แต่ก่อนเป็นเมืองคู่ปรับกัน ครั้นมาเมื่อครั้งบรมโกศได้เสวยราชสมบัติ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทจึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ข้าหลวงขึ้นมาเป็นที่ยกบัตรนั้นไม่ยืนนานปีหนึ่งตายสองปีตาย แต่นี้สืบไปเมื่อหน้าให้จัดขุนหมื่นข้าพระพุทธบาทเป็นที่ขุนยกบัตรบ้างเถิด แล้วให้ขุนยกบัตรขึ้นไปถือน้ำกรุงเทพมหานครเลย ให้ถวยบังคมเทียนพรรษาซึ่งจบพระหัตถ์ขึ้นมานั้นให้พร้อมกัน ถ้าผู้ใดขาดมิได้ถวยบังคม มีโทษถึงสิ้่นชีวิต ถ้าและพิจารณาเนื้อความอันใด เป็นความมโนสาเร่ ก็ให้ว่ากล่าวกันให้เสียให้สำเร็จแต่ในพระพุทธบาทนี้เถิด ถ้าและเป็นความมหันตโทษ พิจารณาเป็นสัจความข้อใหญ่นั้นให้บอกส่งสัจลงไปปรับยังลูกขุนศาลาหลวงพิจารณามิตกลงกันให้บอกส่งลงไปยังลูกขุนศาลา อย่าให้(ต้นฉบับโดนลบ) เมืองสระบุรีเหมือนยังแต่ก่อนเลย เป็นตำแหน่งเมืองนครขีดขินอยู่ก็จริงแต่ว่าขุนหมื่นเหล่านี้ได้รักษาประพุทธบาทอยู่ด้วย จะให้ขึ้นแก่ผู้รั้งกรมการเมืองใดหามิได้ จึงขาดแต่วันนั้นมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินท์ จึงมิได้ไปปรับ ณ เมืองลพบุรี เมืองสระบุรีแต่ครั้งนั้นมา
     อนึ่งแต่โบราณมา เมื่อยังมีอำเภอพระพุทธบาท มีกรมการสำหรับเมืองขีดขินนั้น ๘ คน หลวงสรวัราชธานีศรีบริบาลคนหนึ่ง ขุนเฉลิมราชปลัดคนหนึ่ง ขุนเทพยกบัตรคนหนึ่ง ขุนเทพสุภาคนหนึ่ง ขุนจ่าเมืองคนหนึ่ง ขุนสัสดีคนหนึ่งขุนอินทเสนาคนหนึ่ง ขุนพรหมเสนาคนหนึ่ง มีพรานคนหนึ่ง เมื่อจะพบฝ่าพระพุทธบาทครั้งนั้น ท้ายอภัยทสราชได้เสวยราชสมบัติในกรุงเทพมหานคร พระสงฆ์ไปไหว้พระบาทเมืองลังกาจึงมีลายเข้ามาว่ามีพระพุทธบาทอยู่ ณ กรุงเทพมหานครอยู่ในเขาสัจพันบรรพต ในแว่นแคว้นปรันตะปะนครราชธานีไปจากปะรันตะปะนครนั้น หนทางประมาณ ๓๐๐ เส้น ครั้นพระสงฆ์กลับเข้ามาแต่เมืองลังกา จึงถวยพระ (ต้นฉบับโดนลบ) แต่พระมหากษัตรธิราชเจ้า จึงให้ไปหาบนยอดเขาสัจพันธ์ (ต้นฉบับโดนลบ) เรื่องราวแต่นายพรานจึงพบฝ่าพระพุทธบาท มีศิลาเป็นลิ้นถอดกปิดอยู่ มีน้ำขังอยู่ในรอยแต่พอเนื้อนกกินได้ ครั้นนายพรานยิงเนื้อถูกเข้าลำบาก เนื้อนั้นก็วิ่งไปถึงฝ่าพระพุทธบาทได้กินน้ำในรอยก็หายดีไป นายพรานนั้นเป็นเหตุประหลาดอยู่ เข้าไปดูเห็นศิลาลิ้นถอดมีน้ำขังอยู่ นายพรานจึงตักน้ำนั้นมากิน นายพรานเป็นเกลื้อนกลากก็หายหมดนายพรานจึงวิดน้ำเสียให้แห้งแล้วจึงเห็นพระลัษณะสำคัญว่ารอยคนโบราณ นายพรานก็นิ่งความไว้ ครั้นพระสงฆ์ถวายพระพร นายพรานนั้นนำไปจึงพบฝ่าพระพุทธบาท ท่านจึงให้ก่อเป็นผนังทำเป็นหลังคามุงกระเบื้องไว้อย่างวัดเจ้าพนังเชิง ท่านจึงให้ตั้งขุนหมื่นไว้ให้รักษาพระพุทธบาท เอานามพระสัจพันธคีรีตั้ง จะตั้งเป็นพระก็ไม่ได้ จะตั้งเป็นหลวงก็ไม่ได้ด้วยท่านได้อรหัตแล้ว จึงตั้งเป็นขุนสัจพันธคีรีนพคูหาพนมโขลน จึงตั้งหมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นแผ้วอากาศ หมื่นชินธาตุ หมื่นสรีสัปรุส ๔ คนนั้นรักษาประมณฑป ให้บังคับบัญชาว่ากล่าวปะขาวในมณฑป จึงตั้งนายประตู ๔ นาย หมื่นราชชำนาญมุนินท์ หมื่นอินทรักษา หมื่นบุญชาเจดียื หมื่นศรีพุทธบาล จึงตั้งขุนหมื่นรักษาคลัง ๔ นาย ขุนทินพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่อนพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษา ในครั้งนั้นแต่ก่อนมีผ้าทรงนารายณ์ผืนหนึ่ง ม่านปักวันทองผืนหนึ่ง สำเภาทองมียนต์ลำหนึ่ง ช้างทองคำตัวหนึ่ง ม้าทองคำตัวหนึ่ง กวางทองคำตัวหนึ่ง ต้นไม้กัลปพฤกษ์ ๓ ต้น ทองต้นหนึ่ง เงินต้นหนึ่ง นากต้นหนึ่ง มีปืนใหญ่ ๒ กระบอก หามแล่น ๒ กระบอก ขากนกยาง ๒ กระบอก ๖ กระบอกสำหรับคลัง จึงตั้งหมื่นสนั่นไพเราะ หมื่นเสนาะเวหา พันเสนาะ รองเสนาะ ๔ คนนี้สำหรับประโคมยามทั้งกลางวันกลางคืนทุกวันมิได้ขาด ขุนธัมการนั้นได้ตราจตราว่ากล่าวพระสงฆ์สามเณรปะขาวรูปชีซึ่งวิวาทแก่กันเป็นกระทรวงธรรมการๆ นั้นมีตราตั้งมีเสมาธรรมจักร ประเสด็จได้ตั้ง หมื่นจิตรจอมใจราชนั้นสำหรับไปเบิกน้ำมันหลวงขึ้นมาตามถวายพระพุทธบาท หลวงจังหวัดไพรี หมื่นศรีไพรสนท์ เป็นพรานสำหรับป่าได้นำเสด็จ หมื่นทิพชลธี หมื่นพันธคีรีคงคา ได้รักษาอ่างแก้วเชิงเขา หมื่นศรีชลธารได้รักษาอ่างทองแดง หมื่นศรีวารได้รักษาตำหนักพระราชวังหลวง ครั้นเวลาเช้าเย็นไล่วานรมารับประราชทานเข้าสุกทุกเวลา กว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้ากรุงเทพมหานคร หมื่นศรีรักษาได้รักษาตำหนักกระมพระราชวังหน้า พันบลอุโบสถได้รักษาพระอุโบสถ หมื่นพรหมพันทด พันทอง พันคำ ๔ คน สำหรับได้ว่ากล่าวข้าพระโยมสงฆ์ให้สีซ้อมจันหันนิจภัต ถวายพระสงฆ์ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ เขา จังหวัดพระพุทะบาทองค์ละ ๓๐ ทนาน พระมหามงคลเทพมุนี ได้เงินเดือนๆ ละ ๔ ตำลึง ๑๐ สลึง พระสงฆ์อันดับได้เดือนละ ๖ สลึง ขุนหมื่นพันทนย ตั้งไว้สำหรับพระพุทธบาท ๒๗ คน จึงยกเอากรมการสำหรับปะรันตะปะนครราชราชธานีนั้นขึ้นมารักษาพระพุทธบาทด้วย หลวงสารวัตรราชธานีศรีบริบาลเป็นจางวาง ขุนเฉลิมราชปลัด พันสารวัต ขุนเทพยกบัตรตั้เป็นขุนศรีพุทธบาลยกบัตร ขุนเทพสุภานั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทนั้น กับตำรวจใน ๒ คน กำกับกันไปรักษาน้ำศิลาดาษ จึงตั้งว่าขุนเทพสุภาชลธี หมื่นรองสภานั้นเป็นหมื่นศรีพุทธบาลราชรักษา เป็นปลัดขุนยกบัตร ขุนจ่าเมืองนั้นตั้งเป็นขุนชินบาลชาญราชรักษา เป็นปลัดขุนสัจพันธคีรี ขุนสัสดีตั้งเป็นเหมื่นมาศคีรีสมุห์บัญชี แต่ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนาคงที่เดิมแต่ก่อนมา หลวงสารวัตถือตรารูปองคต ขุนสัจพันธคีรีถือตรารูปคนถือดอกบัวถือเทียนข้างหนึ่ง ขุนเฉลิมถือตรารูปช้าง ขุนยกบัตรถือตรารูปคนถือโคม ขุนเทพสุภาถือตรารูปหงส์ ขุนชินบาลถือตรารูปคนถือดอกบัว ขุนอินทรเสนาถือตรารูปคนถือเชือก ขุนพรหมเสนาถือตรารูปคนถือสมุด หมื่นพระพุทธบาลถือตรารูปคนถือทาง หมื่นมาสคีรีถือตรารูปคนถือสมุด หมื่นสุวรรณปราสาทถือตรารูปมณฑป ขุนอินทพิทักษ์ถือตารรูปคนถือพาน ขุนพรหมรักสาถือตราดอกบัว หมื่นพิทักส์สมบัติถือตรารูปสิงห์ หมื่นพิทักรักษาถือตรารูปตะไกร ขุนสารวัตรขุนสัจพันธคีรี ขุนหมื่น ทั้งนี้ท่านมหาดไทยได้ตั้ง แต่ท่านขุนยกบัตรนั้น ท่านกรมวังได้ตั้งแต่เดิมมา มีทั้งพระกัลปนาตราพระราชสีห์ พระธัมนูญ พระธัมสาสตร์ หลักอินทภาส ไว้สำหรับให้ว่าเนื้อความตามตำแหน่งแมืองปะรันตะปะนครราชธานีแต่ก่อนมาทุกๆ พระองค์ ซึ่งหลวงสารวัตราชธานีสรีบริบาล ได้พินัยจ่ายราชการกึ่งหนึ่ง ขุนสัจพันธคีรีได้ค่าที่นั่งตำลึงหนึ่ง ขุนยกบัตรค่าที่นั่ง ๘ สลึง ถ้าเป็นความแพ่งได้ค่าที่นั่งกึ่งหนึ่ง เป็นอย่างทำเนียบสืบๆ กันมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินท์