วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สรุปไทยศึกษา กดลิงค์นะคะ

สรุปวิชาไทยศึกษา    ลิงค์นี้เป็น power point นะคะ ที่เป็นเอกสาร ยังหาไม่ได้ค่ะ เครดิต อยู่ใน ไฟล์แล้วนะคะ

รวมลิงค์แนวข้อสอบ มสธ. บางวิชานะคะ

รวบรวม ณ วันที่ 13/07/2560 ค่ะ
แนวข้อสอบ 32324
แนวข้อสอบ 30206 (01)
แนวข้อสอบวิชาอารยธรรมมนุษย์
แนวข้อสอบ 30206 (02)

ลิงก์นี้ อีก จะใช้ไม่ได้ เมื่อหมดปี 2561 นะคะ เพราะว่า พื้นที่จัดเก็บอาจเต็มค่ะ จึงต้องลบ แต่ระหว่างนี้จะพยายามเอามาฝากในเพจนี้เรื่อยๆ นะคะ

สรุป 30208

30208 การบัญชีการเงินและการบัญชีเพื่อการจัดการ
แนวคิดเบื้องต้นทางการบัญชี
1)  ลักษณะของการบัญชีและหน่วยงานธุรกิจ
            การบัญชี  เป็นศิลปะของการรวบรวม บันทึก จำแนก และสรุปผลข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลนำไปใช้ในการตัดสินใจ
            วิวัฒนาการ  มี  3  ยุค
            1)  ยุคก่อนระบบบัญชีคู่    5,000 ปี มาแล้ว เป็นบันทึกรายรับรายจ่าย
            2)  ยุคระบบบัญชีคู่   รายการทางการเงินที่เกิดขึ้น จะมีการบันทึกทางด้านเดบิตและเครดิต โดยจำนวนเงินด้านเดบิตต้องเท่ากับเครดิต      เดบิต = เครดิต
            3)  ยุคปัจจุบัน  กิจการมีการผลิตสินค้าและบริการครั้งละมาก ๆ จึงต้องจัดทำงบการเงินเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการเป็นงวด ๆ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้ ทั้งผู้ใช้ภายนอกและผู้ใช้ภายใน
ประเภทของการบัญชี       มี  2 ประเภท
            1)  การบัญชีการเงิน
            เพื่อรวบรวมข้อมูลทางการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง  เป็นข้อมูลทางการเงิน โดยมุ่งที่ผู้ใช้ภายนอก  คือ ผู้ลงทุน  ลูกจ้าง  ผู้ให้กู้  ผู้ขายสินค้า  รัฐบาล  สาธารณชน
            จะไม่ครอบคลุมรายงานการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจ และครอบคลุมภายในกิจการเอง
            ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์
            1)  งบดุล
            2)  งบกำไรขาดทุน
            3)  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
            4)  งบกระแสเงินสด
            5)  หมายเหตุประกอบงบการเงิน
            2)  การบัญชีบริหาร 
                        เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
            การบัญชีต้นทุน เป็นทั้ง การบัญชีบริหาร (การบัญชีเพื่อการจัดการ) และ การบัญชีการเงิน เป็นทั้งเอาบัญชีต้นทุนไปเขียนในบัญชีการเงิน และทั้งให้เสนอผู้บริหาร



วัตถุประสงค์ของการบัญชี
            1)  ต่อผู้ใช้ภายนอก
                        -  ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อการตัดสินใจลงทุนและให้สินเชื่อ
                        -  ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการประเมินกระแสเงินสด
                        -  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรของกิจการ
                                    -  ทรัพยากรเศรษฐกิจ , ภาระผูกผัน,ส่วนของเจ้าของ
                                    -  การดำเนินงานและกำไร
                                    -  สภาพคล่อง ความสามารถในการชำระหนี้
                                    -  การจัดการของผู้บริหาร
            2)  ต่อผู้ใช้ภายใน เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนและควบคุม โดยมีดดังนี้
                        2.1)  การวางแผนกำไร
                        2.2)  การวางแผนด้านการจัดหาเงินทุน
                        2.3)  การวางแผนและควบคุมด้านงบประมาณ
                        2.4)  การปรับปรุงกิจการ
                        2.5)  การยกเลิกส่วนงาน
1.1.3  วงจรธุรกิจและประเภทกิจการธุรกิจ
            1) วงจรธุรกิจ มี 2 ส่วน คือ
                        1.  ส่วนเกี่ยวกับการลงทุน
                        2.  ส่วนเกี่ยวกับการดำเนินงาน
            1)  การลงทุน
                        ผู้ลงทุน 
                           -  รูปเจ้าหนี้
                           -  รูปเข้าร่วมเป็นเจ้าของ
                           -  รูปทั้งเจ้าหนี้และร่วมเป็นเจ้าของ
            2)  การดำเนินงาน
                        -  นำเงินสดมาดำเนินงาน
                        -  วัตถุดิบหรือบริการ
                        -  ผลิตภัณฑ์
                        -  สิทธิเรียกร้อง




 



                                     การจ่ายคืน             การลงทุน

                   การจัดเก็บเงิน                                                          การจัดหาวัตถุดิบ
หรือบริการ



                      การขาย                                                           เปลี่ยนรูปวัตถุดิบ
                             ผลิตภัณฑ์                                                             หรือบริการ


ประเภทของกิจการธุรกิจ
1.  แบ่งตามผลผลิต
            1.1  กิจการให้บริการ        ร้านตัดผม,โรงแรม,ธนาคาร
            1.2  กิจการเกี่ยวกับสินค้า
                        -  พาณิชยกรรม   ซื้อมาขายไป ไม่ได้ผลิตเอง            = ห้าง ต่าง ๆ  
                        -  อุตสาหกรรม   นำวัตถุดิบมาผลิตสินค้า                = บริษัทผลิตรถ ผลิตปูนซีเมนต์
2.  แบ่งตามลักษณะจัดตั้งกิจการ
            2.1 กิจการเจ้าของคนเดียว ไม่จำกัดหนี้       
            2.2 ห้างหุ้นส่วน                         
                        -  ห้างหุ้นส่วนสามัญ  (จำกัดความรับผิด,ไม่จำกัดความรับผิด)
                        -  ห้างหุ้นส่วนจำกัด
            2.3  บริษัท
                        -  บริษัทจำกัด   (3  คน)
                        - บริษัทเอกชน  (15 คน)

1.2  สถาบันวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี
            สถาบันวิชาชีพทางบัญชี มี  2 ประเภท
            1.  ในประเทศ
                        -  สภาวิชาชีพบัญชี
                        -  สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย
            2.  ต่างประเทศ
                        -  คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
                        -  สมาคมผู้สอบบัญชีแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
                        -  สหพันธ์นักบัญชีระหว่างประเทศ
            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                        -  พรบ.การบัญชี 2543
                        -  พรบ.วิชาชีพการบัญชี 2547
                        -  ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
                        -  กฎหมายอื่น ๆ
คุณสมบัติผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2547
ขนาดธุรกิจ
วุฒิฯ ผู้ทำบัญชี
1.  ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันเปิด ปิดบัญชี ที่ผ่านมามีรายการหนึ่ง รายการใดหรือทุกรายการ ดังนี้
     -  ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน
     -  สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้าน
     -  รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้าน

2.  กิจการต่อไปนี้
     -  ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนสินทรัพย์รวม และรายได้รวมเกินกว่าข้อ 1
     -  บริษัทมหาชนจำกัด
     -  นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในไทย
     -  กิจการรวมค้าตามประมวลรัษฎากรกร
     -  ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร  เงินทุน  หลักทรัพย์เครดิตฟองชิเอร์ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย
     -  ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
-  ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า





-  ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า
แม่บทการบัญชี
            แนวทางพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน รวมทั้งเป็นเกณฑ์ในการกำหนดมาตรฐานและการปฏิบัติทางการบัญชี


วัตถุประสงค์
            1)  เป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานการบัญชีในอนาคต และในการทบทวนมาตรฐานการบัญชีที่มีในปัจจุบัน
            2)  เป็นแนวทางในการปรับข้อกำหนดมาตรฐาน และการปฏิบัติทางการบัญชี
            3)  เป็นแนวทางให้องค์กรที่จัดทำมาตรฐานการบัญชีแต่ละประเทศสามารถพัฒนามาตรฐานการบัญชีเองได้
            4)  เป็นแนวทางสำหรับผู้จัดทำงบการเงินในการนำมาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติ รวมทั้งเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับเรื่องที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีรองรับ
            5)  เป็นแนวทางสำหรับผู้สอบบัญชีในการแสดงความคิดเห็นต่องบการเงินว่าได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีหรือไม่
            6)  ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลที่แสดงในงบการเงินซึ่งจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี
            7)  ช่วยให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี
ขอบเขตที่เกี่ยวข้องของแม่บทการบัญชี
            1.  วัตถุประสงค์ของงบการเงิน
            2.  ลักษณะเชิงคุณภาพที่กำหนดว่าข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์
            3.  คำนิยาม การรับรู้ และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน
            4.  แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน
แนวทางในการจัดทำงบการเงิน
วัตถุประสงค์ของงบการเงิน
            1.  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน
            2.  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน
            3.  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ
ข้อสมมุติฐานในการจัดทำงบการเงิน
            1.  เกณฑ์คงค้าง
            2.  การดำเนินงานต่อเนื่อง
องค์ประกอบของงบการเงิน
            1.  ในการวัดฐานะการเงิน             = สินทรัพย์, หนี้สิน, ส่วนของเจ้าของ
            2.  ในการวัดผลการดำเนินงาน       = รายได้, ค่าใช้จ่าย

การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการ มี  4 เกณฑ์
            (1)  ราคาทุนเดิม              (2)  ราคาทุนปัจจุบัน        (3)  มูลค่าที่จะได้รับ         (4)  มูลค่าปัจจุบัน
ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน
            1)  ความเข้าใจได้   (ทันที)
            2)  ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ  (ข้อมูลที่มีประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ)
            3)  ความเชื่อถือได้
                        -  เป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม
                        -  เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ
                        -  ความเป็นกลาง
                        -  ความระมัดระวัง
                        -  ความครบถ้วน
            4)  การเปรียบเทียบกันได้
            โดยมีข้อจำกัด
                        1)  การทันต่อเวลา
                        2)  ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป
                        3)  ความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพ
            มาตรฐานการบัญชีและนโยบายการบัญชี
            มาตรฐานการบัญชี   =   (หลักการบัญชี) แนวทางที่จะแนะนำให้นักบัญชีใช้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการรวบรวม จดบันทึก จำแนก สรุปผล และรายงานเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเงิน
            นโยบายการบัญชี   = หลักการ หลักเกณฑ์ ประเพณีปฏิบัติ กฎและวิธีปฏิบัติที่เฉพาะ ที่กิจการนำมาใช้ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน




 หน่วยที่ 2
รายงานทางการเงิน
แนวคิด
            รายงานทางการเงิน เป็นรายงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงิน ของกิจการโดยมีงบการเงินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของรายงานทางการเงิน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้แก่ผู้ใช้ เพื่อนำไปตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
            งบการเงิน   เป็นรายงานทางการเงินวันที่แสดงฐานะการเงิน ,ผลการดำเนินงาน,กระแสเงินสดกิจการแสดงผลของการบริหารงานของฝ่ายบริหารและเศรษฐกิจ
ส่วนประกอบงบการเงิน
            1)  งบดุล
            2)  งบกำไรขาดทุน
            3)  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
            4)  งบกระแสเงินสด
            5)  หมายเหตุประกอบงบการเงิน
ข้อกำหนดโดยรวมในการจัดทำงบการเงิน
            1)  การแสดงงบการเงินโดยถูกต้องตามที่ควรและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
            2)  การดำเนินงานต่อเนื่อง
            3)  เกณฑ์คงค้าง
            4)  ความสม่ำเสมอ
            5)  ความมีสาระสำคัญ
            6)  การห้ามหักกลบ
            7)  ข้อมูลเปรียบเทียบ
            การระบุชื่องบการเงิน มีไว้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถจำแนกข้อมูลที่จัดทำตามมาตรฐานการบัญชีออกจากข้อมูลอื่นที่มีได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี โดยต้องแสดงข้อมูลต่อไปนี้
            1)  ชื่อของกิจการหรือสัญลักษณ์ของกิจการที่นำเสนองบการเงินนั้น
            2)  ข้อความที่บอกว่าเป็นงบการเงินเฉพาะกิจการหรืองบการเงินของกลุ่มกิจการ
            3)  วันที่ในงบดุลหรือรอบระยะเวลาของงบที่เกี่ยวข้อง
            4)  สกุลเงินที่ใช้รายงาน
            5)  จำนวนหลักที่ใช้ในการแสดงตัวเลขในงบการเงิน


งบดุล
องค์ประกอบของงบดุล    (1)  สินทรัพย์     (2)  หนี้สิน         (3)  ส่วนของเจ้าของ
1.  สินทรัพย์ 
1.1  สินทรัพย์หมุนเวียน
            -  เงินสด
            -  รายการเทียบเท่าเงินสด              (ตราสารพาณิชย์)
            -  เงินลงทุนชั่วคราว                     (ตราสารหนี้ หรือ ตราสารทุน)
            -  ลูกหนี้การค้า
            -  ตั๋วเงินรับการค้า
            -  สินค้าคงเหลือ                          ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
            -  สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ           รายได้ค้างรับ

1.2  สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
            -  เงินลงทุนระยะยาว
            -  ที่ดิน,อาคาร,อุปกรณ์
            -  สินทรัพย์ไม่มีตัวตน      = สิทธิบัตร สัมปทาน       ค่านิยม  เครื่องหมายการค้า
2.  หนี้สิน          = ภาระผูกพันของกิจการ
2.1  หนี้สินหมุนเวียน 
            -  เงินเบิกเกินบัญชี และเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน
            -  เจ้าหนี้การค้า
            -  เงินกู้ยืมระยะยาว ที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี
            -  หนี้สินหมุนเวียนอื่น     ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
                                                รายได้รับล่วงหน้า
2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน
            -  เงินกู้ระยะยาว
            -  หุ้นกู้ระยะยาว
­3.  ส่วนของเจ้าของ         = ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการ

สินทรัพย์           -           หนี้สิน  -           ส่วนของเจ้าของ

 

                ถ้ากิจการห้างหุ้นส่วน              เรียกว่า              ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน
                ถ้าเป็นบริษัทจำกัด                   เรียกว่า              ส่วนของผู้ถือหุ้น

หน่วยที่ 3
กระบวนการทางการบัญชี 1
วงจรบัญชี          เป็นลำดับขั้นตอนทางการบัญชี ซึ่งเริ่มจากการบันทึกรายการบัญชีที่เกิดขึ้นในสมุดรายวันแล้วผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท ปรับปรุงรายการ ปิดบัญชี และจัดทำงบการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
ลำดับขั้น
รายการ
1
การวิเคราะห์รายการ
2
การผ่านรายการ
3
การจัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการ
4
การปรับปรุงรายการ
5
การจัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงรายการ
6
การปิดบัญชี
7
การคำนวณยอดคงเหลือของบัญชีที่ยังไม่ได้ปิด
8
การจัดทำงบการเงิน

ผังบัญชี     โครงร่างบัญชีของกิจการ          ประกอบด้วย      รายการชื่อบัญชี พร้อมด้วยรหัสบัญชี
บัญชีมี 5 ประเภท
                1)  สินทรัพย์
                2)  หนี้สิน
                3)  ส่วนของเจ้าของ
                4)  รายได้
                5)  ค่าใช้จ่าย
เอกสารทางการบัญชี
            1.  เอกสารทางบัญชีที่ได้จากแหล่งภายนอกกิจการ  เนื่องจากประกอบการขาย,แลกเปลี่ยน,การรับเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบกำกับสินค้าที่ผู้ขายออกให้กิจการ
            2.  เอกสารทางบัญชีที่กิจการจัดทำขึ้น
                        2.1  เอกสารหลักฐานการรับเงิน
                        2.2  เอกสารหลักฐานการจ่ายเงินให้แก่พนักงาน
                        2.3  หลักฐานสำหรับการลงบัญชีของกิจการ


            สมุดบัญชี  สมุดที่ใช้บันทึกรายการบัญชี ซึ่งเป็นรายการที่มีหลักฐานจากเอกสารทางบัญชีที่กล่าวมาแล้ว สมุดบัญชีแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
            1)  สมุดบันทึกรายการขั้นต้น         = จดบันทึกรายการการค้าต่าง ๆ
มี  2  ชนิด
                        1.1)  สมุดรายวันเฉพาะ    = รายการที่ต้องบันทึกบ่อย ๆ มาก ๆ
                                    (1)  สมุดเงินสด
                                    (2)  สมุดรายวันรับเงิน
                                    (3)  สมุดรายวันจ่ายเงิน
                                    (4)  สมุดรายวันชื้อ
                                    (5)  สมุดรายวันขาย
                        1.2)  สมุดรายวันทั่วไป      = ถ้ากิจการไม่เปิดสมุดรายวันเฉพาะ ก็จะบันทึกรายการค้าทุกอย่างไว้ในสมุดรายวันทั่วไป
            2)  สมุดบันทึกรายการขั้นปลาย  หรือ สมุดรายวันแยกประเภท   โดยบันทึกรายการผ่านจากสมุดรายวัน มี 2 แบบ  คือ
                        2.1  แบบบัญชีตามมาตรฐาน  (ทั่วไป)
                        2.2  แบบแสดงยอดคงเหลือ   (แบบแยกประเภทย่อย)

การบันทึกรายการบัญชีขั้นต้น
            มี  2 ระบบ คือ 
            1.  ระบบบัญชีคู่
            2.  ระบบบัญชีเดี่ยว
โดยสรุป
                        สินทรัพย์                                                                       หนี้สิน
               (+)                  (-)                                                              ส่วนของเจ้าของ
                        ค่าใช้จ่าย                                                                        รายได้
            (+)                      (-)                                                       ลด (-)                เพิ่ม (+)

Oval: ลดOval: เพิ่มสรุป
            เดบิต     =          สินทรัพย์, ค่าใช้จ่าย                      /           หนี้สิน  รายได้   ส่วนของเจ้าของ             
Oval: ลด Oval: เพิ่ม
 

            เครดิต   =          สินทรัพย์, ค่าใช้จ่าย                      /           หนี้สิน  รายได้   ส่วนของเจ้าของ


การบันทึกรายการบัญชีขั้นปลายและงบทดลองก่อนปรับปรุงบัญชี
            1)  การผ่านรายการจากสมุดรายวัน บัญชีแยกประเภท
                        เป็นการนำรายการที่บันทึกในสมุดรายวันไปบันทึกในบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง โดยนำรายการจากช่องเดบิตของสมุดรายวันไปบันทึกทางด้านซ้ายของบัญชีแยกประเภทและนำรายการจากช่องเครดิตของสมุดรายวันทั่วไป บันทึกทางด้านขวาของบัญชีแยกประเภท ด้วยจำนวนเงินเดียวกัน
ตัวอย่าง
สมุดรายวันทั่วไป
1 ม.ค.    เงินสด                                                                           30,000 Dr.
                        ทุน                                                                               30,000 Cr.

ผ่านรายการบัญชี
1.  บัญชีเงินสด
1 ม.ค.    รายการ
            ทุน                                                                   30,000 Dr.
2.  บัญชี ทุน
            รายการ
            เงินสด                                                                                       30,000 Cr.

            *          สมุดรายวันทั่วไป ด้าน      เดบิต     (Dr)                  บัญชีแยกประเภทลงเป็น  (Cr.)
                        สมุดรายวันทั่วไป ด้าน      เครดิต   (Cr.)     บัญชีแยกประเภทลงเป็น (Dr.)

            2)  การจัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุงบัญชี
            งบทดลอง คือ งบที่แสดงยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภททุกบัญชีในวันใดวันหนึ่ง  วัตถุประสงค์ของการทำงบทดลอง เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องเบื้องต้นของการบันทึกรายการตามหลักการบัญชีคู่
วัตถุประสงค์
            1)  เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ
            2)  เพื่อสรุปรวบยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภททั้งหมดไว้ในที่เดียวกัน
            3)  เพื่อนำตัวเลขจากงบทดลองไปจัดทำงบการเงินได้สะดวก รวดเร็วขึ้น



สาเหตุงบทดลองผิด
            1)  ละเลย ไม่บันทึกรายการหรือลืม            1)  บันทึกด้านเดบิต-เครดิตไม่เท่ากัน
            2)การบันทึกผิดบัญชี                                            2)  หายอดคงเหลือผิด
            3)  การบันทึกรายการผิดที่ชดเชยกันเอง                  3)  เก็บยอดคงเหลือจากบัญชีมาลงในงบทดลองผิดที่   
                                                                                    หรือใส่จำนวนผิด
                                                                                    4)  รวมตัวเลขในงบทดลองผิด

วิธีแก้ไข
            1)  ตรวจสอบที่ผิดในงบทดลอง
            2)  ตรวจสอบที่ผิดในบัญชีแยกประเภท
            3)  ตรวจสอบที่ผิดในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น










 หน่วยที่ 4
กระบวนการทางการบัญชี 2
4.1  การปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่าย
1.  สาเหตุที่ต้องปรับปรุงบัญชี
            เนื่องจากในระหว่างงวดอาจมีรายการค้าบางรายการ ที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกบัญชี หรือบันทึกบัญชีแล้ว แต่คาบเกี่ยวกับงวดบัญชีต่อไป เพื่อให้ได้งบการเงินที่ถูกต้องตามเกณฑ์คงค้าง จึงต้องมีการปรับปรุงรายการบัญชีตอนสิ้นงวด
การปรับปรุงบัญชี มี 3 ประเภท
            1)  การปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวกับรายได้
                        -  รายได้รับล่วงหน้า
                        -  รายได้ค้างรับ
            2)  การปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
                        -  ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
                        -  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
            3)  การปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวกับการปรับมูลค่าสินทรัพย์ซึ่งมีหลายกรณี แต่จะกล่าวแค่
                        -  หนี้สงสัยจะสูญ
                        -  วัสดุสิ้นเปลือง
                        -  ค่าเสื่อมราคา
ขั้นตอนการปรับปรุงบัญชี
            1)  บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป
            2)  นำรายการที่บันทึกในสมุดรายวันทั่วไป ไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง
            3)  หายอดคงเหลือต่าง ๆ เพื่อไปทำ งบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี
การปรับปรุงบัญชี                                                                                                ค่าเช่ารับล่วงหน้า
1.  กรณีเกี่ยวกับรายได้ที่เกิดขึ้นแล้ว และได้บันทึกบัญชีแล้วในระหว่างงวด                         (หนี้สิน)

บันทึก 2 กรณี
 
            1.1  บันทึกเป็นหนี้สิน   เช่น  กรณี  1   รับ     ค่าเช่ารับล่วงหน้า                       
                                                                        (บัญชี หนี้สิน)                                   
                                                                                                                        รายได้ค่าเช่า                                                                                                                                                (รายได้)
                                                                                                                                                               
จะได้     เงินสด   (Dr)                                                      36,000
                        รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า  (Cr)                                        36,000

            ถ้ากิจการรับรายได้ค่าบริการวันที่ 22 ม.ค. และปิดบัญชี 31 ม.ค.
            จะคิดเป็นรายได้                  = 36,000 *        = 12,000 บาท   (รับจริง)
                                                                         
ปรับปรุงบัญชีใหม่                                                           รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า           24,000
            รายได้    ค่าบริการรับล่วงหน้า       36,000                        (31 ม.ค.)
                                    (22 ม.ค.)                                           รายได้ค่าบริการ               12,000
                                                                                             (31 ม.ค.)

รายได้ค่าเช่า
  (รายได้)
 
    2       กรณีบันทึกเป็น รายได้

รายได้ค่าเช่า
รายได้
 
จากกรณี                       

ค่าเช่ารับล่วงหน้า   
        (หนี้สิน)                                          หนี้สิน
 
                                                   

                                                 
            สมมุติ   รับเงินสด           รายได้ค่าบริการ               36,000
22 ม.ค.              เงินสด (Dr)                                                                     36,000
                                    รายได้ค่าบริการ (Cr)                                                                    36,000
            ปรับปรุง
สมุดรายวัน
31 ม.ค.              รายได้ค่าบริการ                                                                24,000
                                    รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า                                                           24,000

รายได้ค่าบริการ
31 ม.ค.                         รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า           24,000                เงินสด             36,000
                                                (Dr)                                                          (Cr)





รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า
                                                                             31  ม.ค.    รายได้ค่าบริการ                     24,000                                                                                                                   (Cr)


รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า   24,000
(31 ม.ค.)
 

รายได้ค่าบริการ  12,000
(31 ม.ค.)
 

รายได้ค่าบริการ   36,000
(22 ม.ค.)
 
สรุป








กรณีที่  2  การปรับปรุงรายได้ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้บันทึกบัญชี  เรียกว่า  รายได้ค้างรับ

ดอกเบี้ยค้างรับ    (Dr)                                          xx
            ดอกเบี้ยรับ                                                         Xx
 
 



สมมุติ   12 ม.ค.  ซื้อพันบัตรรัฐบาล   73,000            ดอกร้อยละ 5 / ปี
วันสิ้นงวด 31 ม.ค.  กิจการมีรายได้  ดอกเบี้ย  เกิดขึ้นเป็น    73,000 ×  ×      วัน     = 200 บาท
                                                                                                           
สมุดรายวันทั่วไป
31 ม.ค.  ดอกเบี้ยค้างรับ    (Dr)                                                      200                                                      
                        ดอกเบี้ยรับ  (Cr)                                                              200
สมุดดอกเบี้ยค้างรับ
            ดอกเบี้ยรับ         200                                                      
สมุดดอกเบี้ยรับ
                                                                                                ดอกเบี้ยค้างรับ                200






2.  การปรับปรุงรายการค่าใช้จ่าย
            2.1)  รายการที่ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและได้บันทึกแล้วในระหว่างงวด
            บันทึกเป็นสินทรัพย์

ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า
(สินทรัพย์)
 

ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า
(สินทรัพย์
 
เช่น
                                                                                                                       22,000

                             24,000
 

                                                                                                      2,000

สมมุติ   15 ม.ค. จ่ายค่าเช่าอาคารล่วงหน้า  6 เดือน คิดเป็นเงิน 24,000 × ½ ×  = 2,000 บาท
สมุดรายวัน
            ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า  (Dr)                                          24,000
                        เงินสด  (Cr)                                                                   24}000

ปรับปรุงใหม่               ต้องคิด ครึ่งเดือน = 24,000 × ½ × = 2,000 บาท

สมุดรายวัน
           ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า                                        2,000
                        เงินสด                                                               2,000
ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า
            เงินสด (Dr)                                24,000   ค่าเช่าอาคาร (Cr)            2,000

ค่าเช่าอาคาร
                        ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า                          2,000

            2.2)  กรณีบันทึกจ่ายเงินสดทั้งจำนวนเป็นค่าใช้จ่าย


ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า
(สินทรัพย์)
 

ค่าเช่าอาคาร
(ค่าใช้จ่าย
 

ค่าเช่าอาคาร
(ค่าใช้จ่าย
 
           


สมุดรายวันทั่วไป
            ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า  (Dr)                                                      22,000
                        ค่าเช่าอาคาร  (Cr)                                                                        22,000

ค่าเช่าอาคาร
            เงินสด               24,000                                                   ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า              22,000

ค่าเช่าอาคารจ่ายล่วงหน้า
                        ค่าเช่าอาคาร       2,000

            กรณีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้บันทึกบัญชี เรียก  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

เดบิต     ค่าใช้จ่าย                                                ××
            เครดิต   ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                      ××
 
 



สมมุติ    พนักงาน 1 คน ยังไม่ได้มารับเงินเดือน
31 ม.ค.  เงินเดือน                                               8,000
                        เงินเดือนค้างจ่าย                                     8,000

ปรับปรุงใหม่
เงินเดือน
                        เงินเดือนค้างจ่าย                                     8,000

เงินเดือนค้างจ่าย
                                                เงินเดือน                       8,000

4.2  การปรับปรุงบัญชีเกี่ยวกับ การปรับมูลค่าสินทรัพย์และการทำงบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี
1.  การปรับปรุงหนี้สงสัยจะสูญ

เดบิต     หนี้สินสงสัยจะสูญ                                              ××
            เครดิต   ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                          ××
 
            จะบันทึกเป็น ค่าใช้จ่ายประจำงวด และนำไปหักจากลูกหนี้ในงบดุล เพื่อแสดงยอดลูกหนี้สุทธิ ที่คาดว่าจะเก็บเงินได้





วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ  มี  2  วิธี
1)  คำนวณเป็นร้อยละของยอดขาย
            (1.1)  ร้อยละของยอดขายรวม
            (1.2)  ร้อยละของยอดขายเชื่อ
                        สมมุติ               ยอดขายรวม                               ยอดขายเชื่อ
                                       25×1               100,000                         80,000

            โดยคิด  หนี้สงสัยจะสูญ  ร้อยละ 1
                                       25×1               1,000                            800
บันทึกบัญชี
            หนี้สงสัยจะสูญ                                                              1,000
                        ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                                      1,000
2)  คำนวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้
            (2.1)  คำนวณเป็นรอยละของยอดลูกหนี้ = ลูกหนี้ทั้งหมดจะคงที่
            (2.2)  คำนวณโดยจัดกลุ่มลูกหนี้จำแนกตามอายุของหนี้ที่ค้างชำระ
                                    ปี                                              ยอดลูกหนี้สิ้นปี
                                    25×1                                         40,000
                                    25×2                                         60,000
            ตั้งหนี้สงสัยจะสูญเป็นร้อยละ 3
                        25×1     หนี้สงสัยจะสูญ              40,000  × 0.03    = 1,203 บาท















สมุดรายวันทั่วไป
            หนี้สงสัยจะสูญ                                                                          1,200
                        ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                                                  1,200

งบดุล (31 ธ.ค.51)
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
-
-
ลูกหนี้                                                                                                               40,000
หัก  ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (40,000×0.03                                                                (1,200)
ลูกหนี้สุทธิ                                                                                                         38,800
            ปี 25×2  สมมุติว่าไม่มีการตัดจำหน่ายหนี้สงสัยจะสูญเลย  ในระหว่างปี            เมื่อสิ้นปี 25×2 กิจการมีลูกหนี้ 60,000 บาทจะคำนวณหนี้สงสัยจะสูญได้ดังนี้
            หนี้สงสัยจะสูญ              =          60,000×0.03
                                                =          1,800
            ตั้งหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้เพียง       1,800-1,200 = 600 บาท

สมุดรายวันทั่วไป
31 ธ.ค.  25×2 หนี้สงสัยจะสูญ                                                                  600
                                    ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                                      600
งบดุล  31 ธ.ค. 25×2
สินทรัพย์หมุนเวียน
-
-
ลูกหนี้                                                                                                               60,000
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (60,000×0.03)                                                                (1,800)
ลูกหนี้สุทธิ                                                                                                         58,200


หนี้สงสัยจะสูญ   ปี  25×2 - 25×1 = 25×2
 
 





2.  การปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลือง  (ของที่ใช้แล้วหมดไป)
            ซื้อวัสดุสิ้นเปลือง                                                                        ××­
            หัก  วัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ                                                           ××
            วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป                                                                     ××
1        

เดบิต     วัสดุสิ้นเปลือง                                        ××
            เครดิต เงินสด (หรือเจ้าหนี้)                                  ××
 
เมื่อมีการซื้อวัสดุสิ้นเปลือง  



  2         ใช้วัสดุสิ้นเปลืองและต้องบันทึกวันสิ้นงวด

เดบิต     วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป                                 ××
            เครดิต วัสดุสิ้นเปลือง                                           ××
 
 



3.  การปรับปรุงค่าเสื่อมราคา
            ส่วนหนึ่งของมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่กิจการตัดเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวดบัญชีที่ได้ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น
                        เดบิต     ค่าเสื่อมราคา                                          ××
                                    เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม                                    ××
            1   บัญชีค่าเสื่อมราคา                   = บัญชีประเภทค่าใช้จ่าย แสดงในงบกำไรขาดทุน
            2   บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม          = บัญชีประเภทปรับมูลค่าสินทรัพย์ แสดงเป็นรายการหักจากราคาทุน 
                                                            ของสินทรัพย์ถาวรในงบดุล
            ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มี 3 ประการ
            1)  ราคาทุนของสินทรัพย์
            2)  อายุใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์
            3)  ราคาซากของสินทรัพย์  = มูลค่าคงเหลือ (เมื่อหมดการใช้งาน)
วิธีคิดค่าเสื่อมราคา
1)  ตามอัตราคงที่ ตามวิธีเส้นตรง

ค่าเสื่อมราคาต่อปี            =          ราคาทุน - ราคาซาก
                                                               อายุการใช้งาน(ปี)
 
 

                                                                                                                = คิดเป็น % ของมูลค่าสินทรัพย์






2)  ตามอัตราเปลี่ยนแปลงตามชั่วโมงการทำงานหรือตามจำนวนผลผลิต
ตามชั่วโมง         ค่าเสื่อมราคาต่อชั่วโมง.เครื่องจักร    = ราคาทุน - ราคาซาก
                                                                        จำนวนชั่วโมง.เครื่องจักรทั้งหมด
            ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรต่อปี  = จำนวนชั่วโมง.เครื่องจักรที่ใช้ × ค่าเสื่อมราคาต่อชั่วโมง.เครื่องจักร
ตามผลผลิต       ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลผลิต        = ราคาทุน ราคาซาก
                                                                        จำนวนหน่วยสินค้าที่จะผลิตได้ทั้งสิ้น
                        ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรต่อปี          = จำนวนหน่วยของผลผลิต × ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลผลิต
3)  การคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราลดลง
            3.1)วิธีผลรวมจำนวนปี

ผลรวมจำนวนปี = n ()
 
 

                                                      N = อายุใช้งานของสินทรัพย์
            หา  มูลค่าสินทรัพย์ซึ่งใช้คิดค่าเสื่อมราคา  = ราคาทุน - ราคาซาก
    สมมุติ ผลรวม จำนวนปี = 15
            ปี          อายุใช้งานคงเหลือ          คำนวณ                          ค่าเสื่อมราคา                  ค่าเสื่อมราคาสะสม
            1                      5                      ×60,000         =          20,000                           20,000
            2                      4                      ×60,000         =          16,000                           36,000
            3                      3                      ×60,000         =          12,000           = 60,000      48,000
            4                      2                      ×60,000         =          8,000                            56,000
            5                      1                      ×60,000         =          4,000                            60,000
                                     15        
            3.2) วิธียอดทวีคูณ
 



ปี
คำนวณ
ค่าเสื่อมราคา
ราคาตามบัญชี
1
40% × 80,000
32,000
48,000
2
40% × 48,000
19,200
28,800
3
40% × 28,800
11,520
17,280
4
40% × 17,280
6,912
10,368
5
40% × 10,368
4,147

ราคาซากที่เหลือ
 
6,221
    
73,739

                                                                                             
การจัดทำงบทดลองหลังการปรับปรุงบัญชี
สาเหตุ
            1)  เพื่อให้มั่นใจว่าการปรับปรุงบัญชีได้บันทึกรายการถูกต้องตามหลักบัญชีคู่
            2)  เพื่อให้การจัดทำงบการเงินได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

4.3  การปิดบัญชี  การหายอดคงเหลือ การจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล
            การปิดบัญชี        เป็นการปิดบัญชีประเภทรายได้และค่าใช้จ่ายไปแสดงไว้ในบัญชีกำไรขาดทุนเพื่อความสะดวกในการหายอดกำไรหรือขาดทุนสุทธิตอนสิ้นงวด โดยการบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป แล้วผ่านไปยังบัญชีแยกประเภท

























หน่วยที่ 5
งบกระแสเงินสด
            งบกระแสเงินสด   เป็นงบการเงินซึ่งแสดงให้เห็นถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของกิจการที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี โดยจำแนกเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน //กิจกรรมลงทุน // และ กิจกรรมจัดหาเงิน
วัตถุประสงค์
            1)  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสดของกิจการระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี
            2)  ให้ข้อมูลกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี โดยจำแนกเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน
ประโยชน์ของงบกระแสเงินสด     
            1)  ความสามารถของกิจการในการสร้างเงินสดภายในกิจการเอง จากกิจกรรมดำเนินงาน
            2)  การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ
            3)  การใช้เงินสดเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
            4)  การได้มาของเงินสดจากแหล่งภายนอกกิจการ
            5)    สาเหตุของความแตกต่างระหว่างกำไรสุทธิและเงินสดของกิจการ
รูปแบบของงบกระแสเงินสด แสดงเป็น  3 ส่วน คือ
            1)  แสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
            2)  แสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
            3)  แสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
            เงินสด  เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม
            ราการเทียบเท่าเงินสด    เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง โดยมีลักษณะ
                        1)  พร้อมเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบ
                        2)  มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าน้อย หรือไม่มีนัยสำคัญ
            ประเภทกิจกรรมที่แสดงในงบกระแสเงินสด
                        1)  กิจกรรมดำเนินงาน     = สร้างรายได้และค่าใช้จ่ายให้ทำกำไรสุทธิแก่เจ้าของ
                        2)  กิจกรรมลงทุน            = การลงทุนในสินทรัพย์เพื่อใช้สร้างรายได้
                        3)  กิจกรรมจัดหาเงิน       = จัดหาทุน




การจัดทำงบกระแสเงินสด  มี 3 วิธี
            1)  วิธีวิเคราะห์รายการจากงบการเงิน
            2)  วิธีบัญชีรูปตัว  T
            3)  วิธีกระดาษทำการ
วิธีวิเคราะห์รายการจากงบการเงิน

เงินสด = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น - สินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสด
 
สูตร 


การเปลี่ยนแปลงของเงินสด = การเปลี่ยนแปลงของบัญชีที่ไม่ใช่เงินสดทั้งหมด
 
 


วิธีการ   โดยการวิเคราะห์รายการในงบกำไรขาดทุน และ การเปลี่ยนแปลงของบัญชีต่าง ๆในงบดุล
            นำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมาจัดทำรายงาน จำแนก ตามกิจกรรมทั้งสามประเภทในงบกระแสเงินสด

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ทำได้ 2 วิธี คือ
            1)  วิธีทางตรง
            2)  วิธีทางอ้อม
            1. วิธีทางตรง ปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์คงค้างในงบกำไรขาดทุนให้เป็นเกณฑ์เงินสด อธิบายได้ตามลำดับ ดังนี้
                        (1)  เงินสดรับจากการขายสินค้า
                                    งบกำไรขาดทุน               งบดุล
                        รายได้จากการขาย            +  ลูกหนี้การค้าที่ลดลง     =          เงินสดรับจากการขายสินค้า
                                                            -   ลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้น  =         
                        (2)  เงินสดรับจากดอกเบี้ยและเงินปันผล











หน่วยที่ 6
การบัญชีภาษีอากรสำหรับธุรกิจ
            6.1  ความรู้ทั่วไป
            การบัญชีภาษีอากร  เป็นการนำรายการทางบัญชี ซึ่งบันทึกไว้ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปมาปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีและในด้านของการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น
            การบัญชีภาษีอากร  เป็นการปฏิบัติในการปรับปรุงกำไรหรือขาดทุนทางบัญชีด้วย
วัตถุประสงค์การบัญชีภาษีอากร
            1)  คำนวณจำนวนภาษีอากรที่ต้องเรียกให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
            2)  เป็นพื้นฐานสำคัญในการวางแผนภาษีอากร
            3)  ช่วยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เตรียมความพร้อมต่อการตรวจสอบภาษีอากรของเจ้าหน้าที่รัฐ
            4)  เพื่อประโยชน์ในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร โดยกำหนดเงื่อนไขในการคำนวณภาษีอากรและกำหนดการจัดทำบัญชีพิเศษ
ความแตกต่างระหว่างการบัญชีกรเงินและการบัญชีภาษีอากร
            1)  ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
            2)  ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่ง
            3)  รายได้ประเภทเงินปันผล
            4)  ค่ารับรอง
            5)  ผลขาดทุนสุทธิของกิจการ
            6)  ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษีอากร
การจัดทำบัญชีพิเศษตามประมวลรัษฎากรกร
            1)  บัญชีแสดงรายได้หรือรายรับประจำวัน  -  บุคคลธรรมดา
            2)  บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่งภาษี  -  บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล
            3)  บัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุน  -  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
            รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม  บุคคลธรรมดา บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจ รายรับเกิน 1,800,000 บาท / ปี โดยจัดทำรายงานดังนี้
            1)  รายงานภาษีอากร
            2)  รายงานภาษีซื้อ
            3)  รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
            4)  รายงานจ่ายอะไหล่โดยไม่คิดมูลค่า (จัดทำเฉพาะการขายสินค้าที่รับประกันสินค้าที่ขายเท่านั้น)
            รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ  ผู้ประกอบกิจการ (อธิบดีกรมสรรพกรกำหนด)
ความรับผิดของผู้มีหน้าที่เสียภาษีและบทกำหนดโทษ
            1)  ความรับผิดทางแพ่ง
                        (1.1)  เบี้ยปรับ     คำนวณจากจำนวนภาษีจริงที่ผู้เสียภาษีต้องรับผิดชอบ
                           1)  ความผิดเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการ                     ไม่ถูกต้อง           = 1 เท่า
                                                                                                            เกินระยะเวลา     = 2 เท่า
                           2)  ความผิดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย   -  1.5%
                           3)  ความผิดเกี่ยวกับการหักภาษีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  -  2 เท่า  หรือ 1,000 บาท
                           4)  ความผิดเกี่ยวกับการหักภาษีการออกใบกำกับภาษี  -  2 เท่า
                           5)  ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายไว้  = 0.2 %
                           6)  ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้เก็บใบกำกับภาษี  = 0.2 %
                           7)  ออกใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิออก  = 2 เท่า
                           8)  นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ = 2 เท่า
                        (1.2)  เงินเพิ่ม 
                           1)  ไม่ยื่นรายการภายในเวลาที่กำหนด 1.5 %
                           2)  ความรับผิดในเงินเพิ่มเกี่ยวกับใบกำกับภาษี 1.5%
                           3)  กรณีที่บุคคลใดออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือ ใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย   1.5%
                           4)  กรณีนำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษี  1.5%
            2)  ความรับผิดทางอาญา
               2.1)  โทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ทั้งจำ ทั้งปรับ
                        1)  ความผิดที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
                        2)  ความผิดที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
                        3)  ความผิดที่ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
            2.2)  ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
            2.3)  กรณีความผิดที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปีและปรับตั้งแต่ 2,000 200,000 บาท








6.2  การบัญชีภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
            1)  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย = บริษัทจำกัด,บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน           
2)  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ (มีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย)
                        2.1)  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย
                        2.2)  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศมีลูกจ้างหรือผู้แทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย
                        2.3)  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินบางประเภทตามมาตรา 40(2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากประเทศไทยหรือจ่ายในประเทศไทย
            3)  มูลนิธิหรือสมาคมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบกิจการมีรายได้
            4)  กิจการร่วมค้า
ผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
            1)  นิติบุคคลที่ไม่อยู่ในบัญญัติของมาตรา 39
            2)  ผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่น
                        -  เก็บภาษีซ้อน
                        -  สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล องค์การสหประชาชาติ
                        -  มูลนิธิ-สมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
                        -  กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม





 หน่วยที่  7
การบัญชีต้นทุน
ความหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายของการบัญชีต้นทุน
ความหมาย
            สารสนเทศทางการบัญชีมี 2 ประเภท คือ
                        -  การบัญชีการเงิน  เช่น  เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน เป็นต้น
                        -  การบัญชีเพื่อการจัดการ  เช่น ผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน การมอบหมายงานการควบคุมและติดตามผล
วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน
            1)  เพื่อใช้ในการคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ
            2)  เพื่อใช้ในการวัดผลกำไรขาดทุนประจำงวด
            3)  เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุม
            4)  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ
            5)  เพื่อใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของทรัพยากรต่าง ๆ ความมีประสิทธิภาพ ความมีประสิทธิผลในการใช้ทรัพยากร
ผู้บริหารมีหน้าที่สำคัญในธุรกิจ 4หน้าที่ คือ
            1)  การวางแผน
            2)  การจัดองค์การ
            3)  การควบคุม
            4)  การตัดสินใจ
ขอบเขตของการบัญชีต้นทุน
            1)  ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง
            2)  ต้นทุนโดยประมาณ
            3)  ต้นทุนมาตรฐาน
            4)  ต้นทุนตามความรับผิดชอบ
            5)  ต้นทุนกิจกรรม

ประเภทของต้นทุน  (จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ)
            1)  จำแนกเป็นต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการผลิตและต้นทุนเกี่ยวกับการผลิต
            2)  จำแนกตามระยะเวลา
            3)  จำแนกตามพฤติกรรมของต้นทุน
            4)  จำแนกตามการควบคุมเพื่อวัดผลการปฏิบัติงาน
            5)  จำแนกเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ

องค์ประกอบของต้นทุนการผลิต
            ต้นทุนการผลิต คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าซึ่งมี 3 องค์ประกอบ คือ ต้นทุนวัตถุทางตรง ค่าแรงทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิต
            ต้นทุนขั้นต้น คือ ต้นทุนสินค้าในระดับแรก ซึ่งประกอบด้วยวัตถุทางตรงและค่าแรงทางตรง
            ต้นทุนแปลงสภาพ คือ ต้นทุนที่ใช้ในการแปลงสภาพวัตถุทางตรงให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ในระดับเบื้องต้น ต้นทุนแปลงสภาพสำหรับกิจการเล็ก ๆ ที่ไม่มีกระบวนการผลิตมาก ต้นทุนแปลงสภาพ คือ ค่าแรงทางตรง ในกรณีมีกระบวนการผลิตที่ต้องใช้กำลังการผลิตของโรงงาน เครื่องจักร ต้นทุนแปลงสภาพในระดับต่อมาคือ ค่าใช้จ่ายการผลิต
การคำนวณต้นทุนการผลิต  พิจารณาได้ 2 กรณี ดังนี้
            1)  กรณีไม่มีงานระหว่างทำต้นงวดและปลายงวด

            1.  กรณีไม่มีงานระหว่างทำต้นงวดและปลายงวด  สมการที่ใช้คำนวณต้นทุนการผลิตจะเป็นดังนี้

ต้นทุนการผลิตสินค้าที่ผลิตเสร็จ = วัตถุทางตรงใช้ไป + ค่าแรงทางตรง + ค่าใช้จ่ายการผลิต
 
 


            2.  กรณีมีงานระหว่างทำต้นงวดและปลายงวด สมการที่ใช้คำนวณต้นทุนการผลิตจะเป็นดังนี้

ต้นทุนการผลิตสินค้าที่ผลิตเสร็จ    =   วัตถุทางตรงใช้ไป + ค่าแรงทางตรง + ค่าใช้จ่ายการผลิต
                                                     + งานระหว่างทำต้นงวด - งานระหว่างทำปลายงวด
 
 




การคำนวณต้นทุนขาย
            สมการต้นทุนสินค้าขายของกิจการผลิตสินค้าอาจแสดงตามสมการดังนี้

สินค้าคงเหลือต้นงวด + ต้นทุนการผลิตสินค้าที่ผลิตเสร็จในงวดนี้ = ต้นทุนขาย + สินค้าคงเหลือปลายงวด
หรือ
ต้นทุนขาย  = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ต้นทุนการผลิตสินค้าที่ผลิตเสร็จในงวดนี้ - สินค้าคงเหลือปลายงวด
 
 









วงจรบัญชีต้นทุนและงบการเงินของกิจการผลิตสินค้า
ผังบัญชี
รหัสบัญชี
ชื่อบัญชี
ความหมาย
1400
สินค้าคงเหลือ

1410
สินค้าสำเร็จรูป
ของที่ทำหรือผลิตสำเร็จไว้เพื่อขาย
1420
สินค้าระหว่างทำ
ของที่ทำหรือผลิตสำเร็จบางส่วน และต้องทำหรือผลิตเพิ่มเติมก่อนที่จะขายได้
1430
คุมยอดวัตถุ
ของที่ซื้อหรือได้มาเพื่อใช้เป็นส่วนผสมหรือส่วนประกอบอันสำคัญในการทำหรือผลิตสินค้าสำเร็จรูป
รายได้
4000
รายได้จากการขาย และรายได้อื่น

4010
รายได้จากการขาย
รายได้ที่เกิดจากการขายซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกิจการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน หรือ สิ่งที่คิดมูลค่าเป็นเงินได้
4020
สินค้ารับคืนและส่วนลด
สินค้าที่รับคืนจากลูกค้ากรณีต่าง ๆ เช่น แตก หัก เสียหาย และส่วนลดจากการขายสินค้านั้น
ต้นทุน
5000
ต้นทุนขาย

5010
ซื้อวัตถุ
ผลิต: มูลค่าซื้อวัตถุมาทำการผลิตเพื่อขาย
5020
สินค้าส่งคืนและส่วนลดรับ
ส่งสินค้าคืนและส่วนลดที่ผู้ขายยอมลดให้จากราคาที่กำหนดไว้
5030
เงินเดือนและค่าแรง
ผลตอบแทนพนักงานสำหรับการทำงานที่ทำหน้าที่ผลิต/ให้บริการโดยตรง
5031
ค่าล่วงเวลา
เงินที่จ่ายเพิ่มจากเงินเดือน/ค่าจ้างปกติเนื่องจากการทำงานนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติ
5032
เงินรางวัล
ผลตอบแทนพิเศษที่จ่ายให้พนักงานที่ทำหน้าที่ผลิต/ให้บริการโดยตรง
5090
คุมยอดค่าใช้จ่ายการผลิต
ค่าใช้จ่ายการผลิต
5091
ค่าวัตถุทางอ้อม
ส่วนหนึ่งของต้นทุนทางอ้อมที่เป็นค่าวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้ในการผลิตสินค้าโดยตรง วัตถุดิบทางอ้อมไม่ถือเป็นต้นทุนที่สำคัญของสินค้า และมักจะไม่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิตสินค้าหรือกิจกรรมการผลิตอย่างมีสาระสำคัญ


5092
ค่าแรงทางอ้อม
ส่วนหนึ่งของต้นทุนทางอ้อมที่เป็นค่าแรงงานที่ไม่ได้ใช้ในการผลิตสินค้าโดยตรง ค่าแรงทางอ้อมไม่ถือเป็นต้นทุนที่สำคัญของสินค้า และมักจะไม่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิตสินค้าหรือกิจกรรมการผลิตอย่างมีสาระสำคัญ
5093
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
เงินที่บริษัทจ่ายสมทบให้แก่กองทุนประกันสังคมของคนงาน
5094
ค่าสาธารณูปโภค
ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการในโรงงาน
5095
ค่าภาษีโรงเรือน
ค่าภาษีโรงเรือนโรงงาน
5096
ค่าเสื่อมราคา
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร อุปกรณ์การผลิตและอาคารโรงงาน
5097
ค่าซ่อมแซม
ค่าซ่อมแซมในโรงงาน
5098
ค่าเบี้ยประกันภัย
เช่น ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย โจรกรรมภัย และภัยอื่น ที่จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยในโรงงาน
5099
ค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ
ค่าใช้จ่ายการผลิตอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร และค่าใช้จ่ายอื่น

การบันทึกบัญชี
บัญชีที่เกี่ยวข้อง ควรมีอย่างน้อย 6 บัญชี ดังนี้
            (1)  บัญชีคุมวัตถุ
            (2)  บัญชีเงินเดือนและค่าแรง
            (3)  บัญชีคุมค่าใช้จ่ายการผลิต
            (4)  บัญชีงานระหว่างทำ
            (5)  บัญชีสินค้าสำเร็จรูป
            (6)  บัญชีต้นทุนขาย
            ปัจจัยการผลิตมี 3 ปัจจัย คือ วัตถุทางตรง ค่าแรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิต
­การคิดค่าใช้จ่ายการผลิตล่วงหน้า
            กรณีที่กิจการมีการผลิตสินค้าต้องการตัวเลขเกี่ยวกับต้นทุนเพื่อนำไปตัดสินใจด้านต่าง ๆ เช่น การตั้งราคาขายว่าจะคุ้มทุนหรือมีกำไรตามที่วางแผนหรือไม่ การตัดสินใจว่าจะผลิตต่อไปหรือหยุดการผลิต การตัดสินใจว่าจะซื้อหรือผลิตเอง เป็นต้น การใช้ข้อมูลต้นทุนจริงซึ่งต้องรอจนถึงวันสิ้นงวดปิดบัญชีจึงจะทราบต้นทุนทั้งหมดทำให้ไม่ทันต่อการตัดสินใจ ค่าใช้จ่ายการผลิตมีลักษณะเดียวกัน คือ จะทราบต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงต้องรอถึงวันสิ้นงวดเนื่องจากรายการค่าใช้จ่ายการผลิตมีหลายรายการที่ยังไม่ทราบแม้เมื่อสิ้นงวด เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น


            สูตรในการคำนวณอัตราจัดสรรล่วงหน้า  คือ

อัตราค่าใช้จ่ายการผลิต  =  ประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต/ปริมาณกิจกรรมร่วม
 
 


            ประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต  กิจการต้องทราบโครงสร้างต้นทุนโดยประมาณซึ่งมาจากข้อมูลในอดีตและประสบการณ์ ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณอัตราจัดสรรล่วงหน้าควรเป็นข้อมูลรอบบัญชีที่ยาว เช่น ข้อมูลรายเดือน หรือมากกว่านั้น แต่ถ้าเป็นข้อมูลระยะสั้น เช่น รายสัปดาห์ หรือรายวัน การคำนวณอัตราจัดสรรอาจไม่ใกล้เคียงความเป็นจริงเพราะระยะเวลาสั้นอาจยังไม่รวมข้อมูลต้นทุนบางรายการ ทางเลือกที่ดีที่สุด รายเดือนหรือรายปีและที่ดีที่สุดคือรายปี เพราะระยะเวลานานสามารถรวบรวมลักษณะของค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าระยะสั้น
            ปริมาณกิจกรรมรวม คือปริมาณหรือจำนวนเงินที่มีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายการผลิตอย่างมีสาระสำคัญ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายการผลิตมีความสัมพันธ์กับ
                        1)  หน่วยสินค้าที่ผลิต
                        2)  ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง
                        3)  จำนวนชั่วโมงเครื่องจักร
                        4)  จำนวนชั่วโมงแรงงานทางตรง  และ
                        5)  ต้นทุนค่าแรงทางตรง
            ดังนั้น ปริมาณกิจกรรมรวม ถือเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิต
หลักในการพิจารณาเลือกวิธีการคำนวณอัตราจัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิต
            1)  อัตราที่เลือกควรง่ายในการคำนวณ
            2)  ปัจจัยหรือกิจกรรมที่เลือกควรเป็นปัจจัยที่ง่ายในการวัดและจัดเก็บข้อมูลในแต่ละงาน
            3)  ปัจจัยกิจกรรมที่เลือกสามารถแทนค่าการคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตได้ทุกงานที่ผลิต
            4)  หลักการคำนวณที่เลือกสามารถแทนค่าการคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตได้ทุกงานที่ผลิต
            กรณีที่กิจกรรมมีหลายแผนก ควรกำหนดอัตราแต่ละแผนกซึ่งอาจใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันตามลักษณะการผลิตที่แตกต่าง

งบการเงินของกิจการผลิตสินค้า
            กิจการที่ผลิตสินค้าคงเหลือ จะประกอบด้วยสินค้า 3 ประเภท คือ
                        1)  วัตถุคงเหลือ
                        2)  งานระหว่างทำคงเหลือ
                        3)  สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ





ระบบบัญชีต้นทุนและต้นทุนกิจกรรม
ระบบบัญชีต้นทุน   แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
            1)  ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ  คือ ระบบที่เก็บข้อมูลต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายการผลิตแยกตามแต่ละงานที่ลูกค้าสั่ง เป็นระบบต้นทุนที่ใช้กับการผลิตสินค้าที่มีหลายชนิดแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า เช่น กิจการขายอสังหาริมทรัพย์ การรับเหมาก่อสร้าง กิจการรับจ้างผลิตสินค้า รับจ้างพิมพ์งาน เป็นต้น
            2)  ระบบบัญชีต้นทุนช่วง คือ ระบบการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก ผ่านกระบวนการผลิตหลายลำดับขั้น จากการนำวัตถุดิบเข้ากระบวนการผลิตผ่านการผลิตจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งจนผลิตเสร็จ เป็นระบบต้นทุนที่ใช้กับการผลิตสินค้าที่มีการผลิตต่อเนื่องและเป็นจำนวนค่อนข้างมาก เหมาะสำหรับกิจการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเหมือน ๆ กันและเป็นจำนวนมากในแต่ละงวด เช่น สินค้าที่ใช้บริโภคประจำวันในครัวเรือน การผลิตผ้า สิ่งทอ เหล้า เบียร์ กระดาษ พลาสติก ฯลฯ การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยจำเป็นต้องนำต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อหน่วยที่ผลิตได้
            ขั้นตอนของระบบต้นทุนช่วง แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ
            1.  เมื่อเบิกวัตถุ และ /หรือรับโอนงานระหว่างทำจากแผนกอื่น
            2.  เมื่อจ่ายค่าแรง
            3.  เมื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าการผลิต
            4.  เมื่อโอนงานระหว่างทำที่ผลิตเสร็จให้แผนกอื่นผลิตต่อ หรือโอนเข้าต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป
            5.  เมื่อขายสินค้าและบันทึกต้นทุนขาย
การคำนวณหน่วยเทียบเท่ากรณีมีงานระหว่างทำคงเหลือ
            หน่วยเทียบเท่าการผลิต คือจำนวนหน่วยของสินค้าที่ยังผลิตไม่เสร็จและโดยประมาณตามอัตราส่วนที่เสร็จเป็นจำนวนหน่วยเทียบเท่าสินค้าที่ผลิตเสร็จ ตัวอย่างเช่น มีสินค้าระหว่างผลิตหรือที่ผลิตยังไม่เสร็จ 100 หน่วย

กรณีนี้หน่วยเทียบเท่าการผลิต  =  100 ×60% = 60 หน่วย
 
            กรณีที่ 1  สมมุติว่ากระบวนการผลิตทยอยป้อนต้นทุนการผลิตวัตถุ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายการผลิตในอัตราเดียวกัน สมมุติว่าวิศวกรโรงงานให้ข้อมูลแก่นักบัญชีว่า สินค้าที่ผลิตยังไม่เสร็จ 100 หน่วยผลิตเสร็จไปแล้วร้อยละ 60


            กรณีที่ 2  สมมุติว่ากระบวนการผลิตใส่วัตถุใส่วัตถุทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มการผลิต ส่วนค่าแรงและค่าใช้จ่ายการผลิตในอัตราเดียวกัน สมมุติว่าวิศวกรโรงงานให้ข้อมูลแก่นักบัญชีว่า สินค้าที่ผลิตยังไม่เสร็จ 100 หน่วยผลิตเสร็จไปแล้วร้อยละ 60
            กรณีนี้หน่วยเทียบเท่าทางการผลิตต้องแยกคำนวณ ดังนี้

หน่วยเทียบเท่าทางการผลิตส่วนของวัตถุ     =  100 × 100%   = 100 หน่วย
หน่วยเทียบเท่าทางการผลิตส่วนของต้นทุนแปลงสภาพ (ค่าแรงและค่าใช้จ่ายการผลิต)
                                                            =  100 × 60         = 60 หน่วย
 
 



            กรณีที่ 3  สมมุติว่ากระบวนการผลิตใส่วัตถุทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มการผลิต ส่วนค่าแรงและค่าใช้จ่ายการผลิตในอัตราเดียวกัน สมมุติว่าวิศวกรโรงงานให้ข้อมูลแก่นักบัญชีว่า สินค้าที่ผลิตยังไม่เสร็จ ได้ใช้วัตถุไปแล้ว 100% ค่าแรง 60% ค่าใช้จ่ายการผลิต 70%
            กรณีนี้หน่วยเทียบเท่าทางการผลิตต้องแยกคำนวณ ดังนี้

หน่วยเทียบเท่าทางการผลิตของงานระหว่างทำที่เป็นวัตถุ       = 100 × 100%    =  100 หน่วย
หน่วยเทียบเท่าทางการผลิตของงานระหว่างทำค่าแรง           =  100 × 60%     = 60 หน่วย
หน่วยเทียบเท่าทางการผลิตของงานระหว่างทำค่าใช้จ่ายการผลิต
                                                                                    = 100 × 70%      = 70 หน่วย
 
 





            วิธีการคำนวณต้นทุนงานระหว่างทำต้นงวดมารวมกับต้นทุนที่เกิดขึ้นในงวดมี 2วิธี คือ
                        1.  วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ย
                        2.  วิธีเข้าก่อนออกก่อน
ต้นทุนกิจกรรม
ความหมาย
            ต้นทุนกิจกรรม คือ การวัดค่าต้นทุนและผลการปฏิบัติงานที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรไปในกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในรูปของสิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน  ต้นทุนกิจกรรมจึงมิใช่ระบบที่ใช้ในการคำนวณต้นทุนในการผลิตสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นระบบที่ใช้ในการคำนวณต้นทุนตามความรับผิดชอบ โดยจำแนกหน่วยงานตามความรับผิดชอบ และวัดต้นทุนเฉลี่ยตามกิจกรรมที่รับผิดชอบ
คำศัพท์ที่ใช้ในต้นทุนกิจกรรม
            1.  ศูนย์ต้นทุน
            2.  สิ่งที่ต้องการคิดต้นทุนหรือต้นทุนที่ต้องการจะวัด
            3.  ตัวผลักดันต้นทุน
ประโยชน์ของต้นทุนกิจกรรม
            1.  การแบ่งปันนี้จะทำให้มีการแบ่งกลุ่มของค่าใช้จ่ายการผลิตมากขึ้น เพราะเมื่อใช้อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตเพียง 1 อัตราเปรียบเสมือนมีกลุ่มค่าใช้จ่ายการผลิตเพียง 1 กลุ่ม เมื่อมีการแยกกิจกรรมออกมา จะทำให้การหาอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตละเอียดขึ้นตามกิจกรรมที่ทำให้เกิดต้นทุน
            2.  ฐานที่ใช้แบ่งต้นทุนนั้นจะมีหลายฐาน ซึ่งจะช่วยแบ่งต้นทุนให้แปรไปตามกิจกรรมที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ทำให้ได้ต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องและยุติธรรมยิ่งขึ้น
            3.  ตามความคิดเดิมนั้น ค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นค่าใช้จ่ายทางอ้อม แต่ที่จริงแล้วสามารถที่จะติดตามได้ว่าเป็นของผลิตภัณฑ์ใด เป็นจำนวนเท่าใด


ข้อจำกัดในการแบ่งต้นทุนตามกิจกรรม
            1.  การแบ่งปันค่าใช้จ่ายการผลิต ไม่ควรใช้ปริมาณเป็นฐานในการแบ่งเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มอำนวยความสะดวกและสวัสดิการในการผลิต
            2.  ถ้ามีค่าใช้จ่ายการผลิตจำนวนน้อย ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบนี้เพราะจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการคิดต้นทุนมาก ผลประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป
ประเภทของธุรกิจที่จะใช้ระบบนี้ได้ผลดี
            ธุรกิจที่จะใช้ระบบนี้ได้ผลดี ต้องมีลักษณะดังนี้
            1.  มีการผลิตสินค้าหลายชนิด มีปริมาณต่างกัน หรือมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน ไม่เหมือนกัน
            2.  การผลิตสินค้าแต่ละชนิดมีกิจกรรมต่างกัน
            3.  มีการเพิ่มชนิดของผลิตภัณฑ์มากขึ้น
            4.  ต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตมีจำนวนสูงและมีแนวโน้มจะสูงขึ้น
            5.  ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการตลาดไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตที่ใช้ระบบเดินมาใช้ประกอบการตัดสินใจตั้งราคาเพราะไม่มีความเชื่อถือ
            6.  เทคนิคในการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก





















หน่วยที่  8
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีเพื่อการจัดการ
ความหมาย
            กระบวนการของการจัดทำข้อมูลเสนอต่อฝ่ายบริหารระดับต่างๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการบริหารงานของกิจการ จึงมีความยึดหยุ่นกว่าบัญชีการเงิน จัดการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจมีรายละเอียดเชิงลึก ไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก
ข้อแตกต่างของบัญชีการเงิน   โดยมีประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
            1)  การมุ่งเน้นอนาคต
            2)  ความเกี่ยวข้องกับข้อมูล
            3)  คุณภาพของข้อมูล
            4)  ส่วนงานขององค์กร
            5)  หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
            6)  การปฏิบัติตามข้อบังคับตามกฎหมาย
หน้าที่ของการบัญชีเพื่อการจัดการ
            1)  การวางแผน  ให้ข้อมูลจัดทำแผนระยะสั้นและระยะยาว
            2)  การสั่งการ     ให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นจูงใจและชี้นำให้มีการทำงานตามแผนที่กำหนด
            3)  การควบคุม    รายงานผลการปฏิบัติงาน และการเปรียบเทียบกับแผนที่วางไว้
แนวคิดและทฤษฏี
            1)  การกระจายอำนาจ                  จัดโครงสร้างแบบการแบ่งงานกันทำและมอบหมายหน้าที่
            2)  การบริหารแบบลีน                  มุ่งลดความสิ้นเปลือง เพื่อให้มีผลงานที่มีคุณภาพ - ต้นทุนต่ำ
            3)  ทฤษฏีข้อจำกัด                        เป็นการจัดการความซับซ้อนหรือข้อจำกัดที่เป็นคอขวด ให้สามารถ
                                                            ดำเนินงานได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ
            4)  การจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM) มุ่งเน้นให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้า โดยมีความร่วมมือของ 
                                                            บุคลากรทั่วทั้งองค์กร
            5)  แนวคิดและทฤษฏีอื่น
                        5.1)  การเปรียบเทียบกับต้นแบบที่เป็นเลิศ (Bench mark)
                        กระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลผลิตและวิธีปฏิบัติขององค์กรเองกับองค์กรอื่น ที่ถือว่าประสบ 
                        ผลสำเร็จ โดยมี 4 กระบวนการที่สำคัญ คือ
                                    -  การวางแผน
                                    -  การวิเคราะห์ข้อมูล
                                    -  การสื่อสารและตั้งเป้าหมาย
                                    -  การปฏิบัติงาน
การวัดผลงานแบบดุลยภาพ (BSC) (เครื่องวัดตามวิธีสี่มุมมอง,หลักมิติสมดุล)
            การวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจในด้านต่าง ๆ 4 ด้าน โดยต้องสมดุล,สอดคล้อง กับวิสัยทัศน์ พันธกิจและกลยุทธ์ โดยมี 4 ด้าน คือ
                        1)  ด้านการเงิน
                        2)  ด้านลูกค้า
                        3)  ด้านกระบวนการภายใน
                        4)  ด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโต
ระบบทันเวลาพอดี  (JIT)
            การจัดระบบการบริหารให้มีความสามารถ ดังนี้
                        -  ทำสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
                        -  ทันเวลาต้องการ
                        -  ผลิตในจำนวนที่ลูกค้าต้องการ
ซิกส์ซิกม่า (Six Sigma)
            เป็นการประยุกต์ความรู้ทางสถิติมาปรับปรุงการดำเนินงาน และลดของเสีย มี 5 กระบวนการเรียกว่า DMAIC
            1)  การกำหนดปัญหา   (D)
            2   การวัด  (M)
            3)  การวิเคราะห์  (A)
            4)  การปรับปรุง  (I)
            5)  การควบคุม  (C)
ต้นทุนเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์
            การจัดการเชิงกลยุทธ์   เป็นแนวทางในการนำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายระยะยาว เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการ           
ระดับของการจัดการเชิงกลยุทธ์
1)  ระดับบริหาร                                                              ความสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ต่อองค์กร
            1.1  กลยุทธ์คงที่                                                  1)  มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน
            1.2  กลยุทธ์เจริญเติบโต                                        2)  มีแผนงานที่ชัดเจน
            1.3  กลยุทธ์ตัดทอน                                              3)  การได้เปรียบทางการแข่งขัน
            1.4  กลยุทธ์ฟื้นฟู                                     4)  เน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                                                                                    5)  คำนึงถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2) ระดับธุรกิจ                                                                 กระบวนการของการจัดการเชิงกลยุทธ์
            2.1  กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง                              1)  วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (วิเคราะห์ SWOT)
            2.2  กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุน                                   2)  วางแผนกลยุทธ์
            2.3  กลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว                   3)  ดำเนินการตามกลยุทธ์
                                                                                    4)  ควบคุมกลยุทธ์

3)  ระดับหน้าที่
            3.1  การตลาด
            3.2  การผลิต
            3.3  การจัดการทรัพยากรมนุษย์
กลยุทธ์ต่าง ๆ มีดังนี้
1)  การจัดจ้างภายนอกกิจการ
            การจ้างให้ผู้อื่นผลิตหรือดำเนินการแทน โดยมีการโอนความเป็นเจ้าของในกระบวนการทำงานไปให้ผู้รับจ้าง เพื่อทำงานแทน
การทำ   คืองานด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)  โดยมีสาเหตุดังนี้           
            (1)  การได้ใช้เวลามุ่งเน้นกับธุรกิจหลัก
            (2)  ความยากในการบริหารบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะ
            (3)  การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ
            (4)  การมุ่งลดต้นทุน
            (5)  การก้าวทันเทคโนโลยี
            (6)  การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
ขั้นตอนการทำ Outsourcing
            (1)  การตัดสินใจที่จะ Outsourcing
            (2)  การคัดเลือกผู้รับจ้าง
            (3)  การทำสัญญาจ้าง
            (4)  การโยกย้ายบุคลากร
            (5)  การปฏิบัติตามสัญญา
            (6)  การสิ้นสุดสัญญาและการต่อสัญญา
ข้อควรพิจารณาในการจัดจ้างจากภายนอกกิจการ
            (1)  โอกาสในการเรียนรู้จากการผลิตหรือดำเนินการเอง
            (2)  การเป็นมาตรการสุดท้ายหลังจากที่มีการปรับปรุงงานของกิจการแล้ว
            (3)  ความผูกพันในระยะยาว
            (4)  ผลกระทบกับบุคลากรที่มีอยู่เดิมของกิจการผู้ว่าจ้าง
            (5)  การสูญเสียความเป็นอิสระ
            (6)  กระบวนการทำงาน
            (7)  ข้อควรระวังเกี่ยวกับความลับทางการค้า
            (8)  ระดับการให้บริการตามสัญญา
            (9)  ธุรกิจระหว่างประเทศ
(10) ตรวจสอบคุณภาพงาน

2)  ต้นทุนตามวงจรชีวิต  (LCC)
ต้นทุนที่เกิดขึ้นตามลำดับของกิจการหรือตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์  มี 2บุคคลที่ตั้งขึ้นีและปรับตั้งแต่ 2,000 - 200,ค้าที่ขายเท่านั้น) ลักษณะดังนี้
            1. วงจรชีวิตตามลำดับกิจกรรม
                        (1.1)  กิจกรรมต้นน้ำ        เกิดก่อนการผลิต สินค้า ได้แก่
                                    -  วิจัยและพัฒนา
                                    -  การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
                        (1.2)  กิจกรรมการผลิตสินค้า ต้นทุนที่เกี่ยวข้อง = วัตถุทางตรง ค่าแรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิต
                        (1.3)  กิจกรรมปลายน้ำ  เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลังการผลิตสินค้าแล้ว
                                    -  การจัดจำหน่ายและการจัดส่งสินค้า
                                    -  การบริการหลังการขาย
            2.  ต้นทุนตามวงจรผลิตภัณฑ์
                        (2.1)  ขั้นแนะนำ
                        (2.2)  ขั้นเจริญเติบโต
                        (2.3)  ขั้นอิ่มตัว
                        (2.4)  ขั้นตกต่ำ
            3.  ต้นทุนตามเป้าหมาย     = ราคาตามเป้าหมาย - กำไรที่ต้องการ
                        (3.1)  การกำหนดราคาตามสภาพตลาด
                        (3.2)  การกำหนดราคาตามต้นทุน
ความสำคัญของต้นทุนตามเป้าหมาย
            1)  เป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
            2)  มุ่งเน้นความต้องการของลูกค้า
            3)  มุ่งสู่การปรับปรุง การดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
            4)  มุ่งสู่การลดต้นทุนตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์


            4.  ต้นทุนคุณภาพ (COQ)
            ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการให้มีคุณภาพตามที่กำหนด
            คุณภาพที่ต้องนำมาพิจารณา มีดังนี้
            1)  คุณภาพของการออกแบบ
            2)  คุณภาพของการผลิต
            3)  คุณภาพในการใช้งาน
            4)  คุณภาพของการบริการหลังการขาย
ต้นทุนของคุณภาพมีหลายประเภท ดังนี้
            1)  ต้นทุนในการป้องกัน               ป้องกันการเกิดของเสีย เพื่อมั่นใจว่าสินค้ามีคุณภาพตามที่กำหนด
            2)  ต้นทุนในการประเมิน             ต้นทุนที่ใช้ในการตรวจสอบและวัดคุณภาพของสินค้าและบริการ       
            3)  ต้นทุนของความล้มเหลว          สินค้าไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า
























หน่วยที่  9
การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไร
ความสำคัญ
            การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไร มีความสำคัญต่อกิจการ คือ กิจการสามารถใช้เป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหารในการวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจได้หลายประการ เช่น การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด การวางแผนกำไร การกำหนดโครงสร้างต้นทุนเป็นต้น
พฤติกรรมต้นทุน และกำไรส่วนเกิน
การจำแนกต้นทุนในลักษณะพฤติกรรมต้นทุน แบ่งต้นทุนออกเป็น 3 ประเภท
            1)  ต้นทุนผันแปร            = วัตถุทางตรง, ค่าแรงทางตรง
            2)  ต้นทุนคงที่                = ค่าเช่าอาคาร, ค่าเสื่อมราคา, ค่าภาษี, เงินเดือนพนักงาน
            3)  ต้นทุนผสม (ต้นทุนกึ่งผันแปร)ค่าตอบแทนพนักงานขาย,ค่านายหน้าการขาย

Y = a+bx
 
                                                                  Y    =  ต้นทุนผสม หรือต้นทุนรวม
                                                                  A    =ต้นทุนคงที่ ,b = อัตราต้นทุนผันแปร
                                                                  X    =ปริมาณกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กับต้นทุนผันแปร เช่น  
                                                                           ปริมาณการขาย,ปริมาณการผลิต
การวิเคราะห์พฤติกรรมต้นทุน วิธีสูงสุด - ต่ำสุด
วิธีทำ
            1)  เลือกกิจกรรมสูงสุด ต่ำสุด พร้อมต้นทุนรวม
            2)  คำนวณหาอัตราต้นทุนผันแปร / 1 หน่วยกิจกรรม (ค่า b) จากสูตร ดังนี้
           
                        อัตราต้นทุนผันแปร (b) =            


            3)  คำนวณหาต้นทุนคงที่ (a) โดยแทนค่าอัตราต้นทุนผันแปรในต้นทุนรวม ณ ระดับกิจกรรมใดก็ได้

ต้นทุนคงที่ = ต้นทุนรวม - ต้นทุนผันแปร
 
 



            ช่วงที่เกี่ยวข้อง    = การวิเคราะห์พฤติกรรมต้นทุนในช่วงของระดับกิจกรรมหนึ่ง ๆ ที่กิจการคาดว่าจะดำเนินงาน ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ทำให้การใช้ปัจจัยการผลิตคงที่ของกิจการต้องเปลี่ยนแปลงไป

กำไรส่วนเกิน =  ส่วนของรายได้ที่เหลือหลังจากหักต้นทุนผันแปร  กำไรส่วนเกินจะแสดงถึงจำนวนเงินที่จะไปชดเชยต้นทุนคงที่ ถ้ากิจการมีกำไรส่วนเกินสูงกว่าต้นทุนคงที่ ผลต่างที่เหลือก็จะเป็นกำไรของกิจการ ในทางตรงข้ามถ้ากิจการมีกำไรส่วนเกินไม่เพียงพอที่จะชดเชยต้นทุนคงที่ส่วนที่ขาดก็จะเป็นผลขาดทุนของกิจการ
            1)  กำไรส่วนเกินต่อหน่วย
                        กำไรส่วนเกินต่อหน่วย     = ราคาขายต่อหน่วย - ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
            2)  กำไรส่วนเกินรวม ทำได้ 2 วิธี
                        (2.1)  ราคาขายรวม - ต้นทุนผันแปรรวม
                        (2.2)  กำไรส่วนเกินต่อหน่วย × ปริมาณขาย
            3)  อัตรากำไรส่วนเกิน     =          กำไรส่วนเกิน
                                                                 ยอดขาย
                        (3.1)  อัตรากำไรส่วนเกิน              =          กำไรส่วนเกินต่อหน่วย
                                                                                        ราคาขายต่อหน่วย
                        (3.2)  อัตรากำไรส่วนเกิน              =          กำไรส่วนเกินรวม
                                                                                          ยอดขายรวม
            งบกำไรขาดทุนกับการวิเคราะห์ต้นทุน  ปริมาณกำไร  แบ่งได้ 2 รูปแบบ
            1)  งบกำไรขาดทุนที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอก (ผู้ถือหุ้น)
                        เป็นงบกำไรขาดทุนที่จำแนกต้นทุนตามหน้าที่ (การผลิต,การขาย,การบริหาร)
            2)  งบกำไรขาดทุนที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายผู้บริหาร
                        งบกำไรขาดทุนวิธีกำไรส่วนเกิน  โดยมีต้นทุน 2 กลุ่ม (1)  ต้นทุนผันแปร   (2)  ต้นทุนคงที่
                        เพื่อแสดงให้เห็นถึงกำไรส่วนเกิน โดยอาจเรียกว่า งบกำไรขาดทุนวิธีต้นทุนผันแปร
สมมุติฐานในการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไร (มีสมมุติฐานที่สำคัญดังนี้)
            มีข้อสมมุติฐานให้ราคาขายต่อหน่วย ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย และต้นทุนคงที่รวมมีค่าคงที่


การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
            จุดคุ้มทุน  (Break-Even Point)
                        ระดับปริมาณขายหรือระดับการขายที่รายได้เท่ากับต้นทุนพอดี หรือจุดไม่มีกำไรและไม่ขาดทุน หรือกำไร = 0  มี 3 วิธี
            1)  การวิเคราะห์วิธีสมการ
                        (1.1)  ยอดขาย ต้นทุน = กำไร
                        (1.2)  ยอดขาย ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ =กำไร
                        (1.3)  (ราคาขาย × ปริมาณขาย) (ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย × ปริมาณขาย) - ต้นทุนคงที่  = กำไร
            การคำนวณหายอดขาย ณ จุดคุ้มทุน (จำนวนเงิน)
            ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุน (บาท) = ปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุน (หน่วย) × ราคาขายต่อหน่วย
            ณ จุดคุ้มทุน (หน่วย) =  ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุน (บาท)
                                                                     ราคาขายต่อหน่วย
            2)  การวิเคราะห์วิธีกำไรส่วนเกิน
            ปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุน (หน่วย) =                ต้นทุนคงที่
                                                                     กำไรส่วนเกินต่อหน่วย

            ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุน (บาท)           =     ต้นทุนคงที่
                                                                อัตรากำไรส่วนเกิน
           
            3)  การวิเคราะห์วิธีกราฟ
                        (1)  กำหนดแกน x =ปริมาณขาย, y = จำนวนเงิน
                        (2)  ลากเส้นต้นทุนคงที่
                        (3)  ลากเส้นต้นทุนรวม
                        (4)  ลากเส้นรายได้รวม
            กราฟ cvp จะทำให้ทราบข้อมูลต่าง ๆ
                        1)  จุดคุ้มทุน
                        2)  กำไร (ขาดทุน) ณ ระดับปริมาณขายต่าง ๆ
การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (กรณีขายผลิตภัณฑ์หลายชนิด)
            ปริมาณขายรวม ณ จุดคุ้มทุน (หน่วย)   =                  ต้นทุนคงที่รวม
                                                                        กำไรส่วนเกินถัวเฉลี่ยต่อหน่วย
            ยอดขายรวม จุดคุ้มทุน (บาท)                 =                ต้นทุนคงที่รวม
                                                                        อัตรากำไรส่วนเกินถัวเฉลี่ย
            อัตรากำไรส่วนเกินถัวเฉลี่ย                   =    กำไรส่วนเกินถัวเฉลี่ยต่อหน่วย
                                                                            ราคาขายถัวเฉลี่ยต่อหน่วย

ส่วนเกินที่ปลอดภัย
            คือปริมาณที่ขายจริง ในส่วนที่เกินกว่าปริมาณที่ขาย ณ จุดคุ้มทุน
สูตร






การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไร เพื่อการวางแผนกำไรและการตัดสินใจ
1.  การวางแผนกำไร  มี 2 กรณี
            1.1  กำไรก่อนภาษี
สูตร                  กำไร  = (ราคาขาย × ปริมาณขาย) (ต้นทุนผันแปร/หน่วย × ปริมาณขาย) - ต้นทุนคงที่
                        กำไร  = ยอดขาย ต้นทุนผันแปร - ต้นทุนคงที่
                        ยอดขาย  = ปริมาณขาย × ราคาต่อหน่วย
            1.2  กรณีกำหนดเป็นกำไรสุทธิหรือกำไรหลังหักภาษี
                        กำไรก่อนภาษี     =          กำไรสุทธิหรือกำไรหลังหักภาษี
                                                                        1  -  อัตราภาษี
2.  การวางแผนกำไรวิธีกำไรส่วนเกิน
            2.1  กรณีกำหนดเป็นกำไรก่อนภาษี
                        ปริมาณขายเพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ (หน่วย)           =          ต้นทุนคงที่  +  กำไรก่อนภาษี
                                                                                                                 กำไรส่วนเกินต่อหน่วย
                        ยอดขายเพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ (บาท)                  =          ต้นทุนคงที่ + กำไรก่อนภาษี
                                                                                                                  อัตรากำไรส่วนเกิน
            2.2  กรณีกำหนดเป็นกำไรสุทธิหรือกำไรหลังหักภาษี
                        ปริมาณขายเพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ (หน่วย)           =   ต้นทุนคงที่ +      กำไรสุทธิ
                                                                                                                            1 - อัตราภาษี
                                                                                                            กำไรส่วนเกินต่อหน่วย
                        ยอดขายเพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ (บาท)                  = ต้นทุนคงที่ +        กำไรสุทธิ
                                                                                                                            1 - อัตราภาษี
                                                                                                            อัตรากำไรส่วนเกิน
การตัดสินใจทางการตลาด
            การวิเคราะห์ CVP ยังช่วยผู้บริหารตัดสินใจทางการตลาดได้
                        1)  การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงงบค่าโฆษณา
                        2)  การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงราคาขาย
                        3)  การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงโครงสร้างค่าตอบแทนพนักงานขาย
การเลือกโครงสร้างต้นทุน
            1.  ผลกระทบของโครงสร้างต้นทุนที่มีต่อกำไร
                        โครงสร้างต้นทุน  สัดส่วนระหว่างต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรของกิจการ มีความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

สรุป
            กิจการที่มีโครงสร้างต้นทุนที่มีสัดส่วนต้นทุนคงที่สูงกว่ากำไรจะเปลี่ยนแปลงมากกว่าเมื่อยอดขายมีการเปลี่ยนแปลง
            กิจการที่มีโครงสร้างต้นทุนที่มีสัดส่วนต้นทุนคงที่สูง ต้นทุนผันแปรต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้มีอัตรากำไรส่วนเกินสูงนั้นจะมีค่า Operating Leverage สูงกว่ากิจการที่มีโครงสร้างต้นทุนที่มีสัดส่วนต้นทุนคงที่ต่ำกว่า

DOL     =                  กำไรส่วนเกิน
                        กำไรจากการดำเนินงาน
 
 

                                                                                                ถ้า DOL สูง           เสี่ยงมากขึ้น

            2.  ผลกระทบของโครงสร้างต้นทุนที่มีต่อจุดคุ้มทุนและส่วนเกินที่ปลอดภัย
                        การตัดสินใจเลือกโครงสร้างต้นทุนว่าควรจะเลือกแบบใดจึงขึ้นอยู่กับการคาดการณ์แนวโน้ม ภาวะยอดขายในอนาคต และการยอมรับความเสี่ยงที่จะขาดทุนหากยอดขายตกต่ำญมาก เพราะถือว่าเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์











 หน่วยที่  10
การจัดทำงบประมาณ
วัตถุประสงค์
            1)  ใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน 
            2)  เพื่อการประสานงาน
            3)  เพื่อให้เกิดแรงจูงใจ
            4)  ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม
            งบประมาณ เป็นรายงานเกี่ยวกับตัวเลข ซึ่งอาจจะเป็นปริมาณหรือจำนวนเงินก็ได้ ที่กำหนดเป้าหมายของระดับกิจกรรมที่ต้องการ โดยจัดทำขึ้นเป็นแผนงานอย่างมีลายลักษณ์อักษร
                        แผนรายสั้น(หลัก) = มี 4 ไตรมาส  3 เดือน , 6 เดือน , 10 เดือน ,1 ปี

การขาย
การผลิต
ต้นทุนการผลิต
ต้นทุนการขาย  ฯลฯ
 
                        แผนระยะยาว       =  3-10 ปี

                        แผนระยะสั้น     งบประมาณดำเนินงาน


ลงทุน
เงินสด
โดยประมาณ
 
                       
                                                งบประมาณการเงิน

            การเตรียมการจัดทำงบประมาณ  เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ
                        1)  การประชุมวางแผนงบประมาณ
                        2)  การกำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำงบประมาณ
                        3)  การจัดทำคู่มืองบประมาณ
            ลำดับขั้นในการจัดทำงบประมาณหลัก
กิจการบริการ
กิจการพาณิชยกรรม
กิจการอุตสาหกรรม
1.  งบประมาณรายได้ค่าบริการ
1.  งบประมาณขาย
1.  งบประมาณขาย
2.  งบประมาณต้นทุนการให้บริการ
2.  งบประมาณซื้อ
2.  งบประมาณผลิต
-
-
3.  งบประมาณเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต
-
3.  งบประมาณต้นทุนขาย
4.  งบประมาณต้นทุนขาย
3.  งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
4.  งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
5.  งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
4.  งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ
5.  งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ
6.  งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ

ความสัมพันธ์ของงบประมาณหลักในกิจการอุตสาหกรรม
            1)  งบประมาณขาย
            2)  งบประมาณการผลิต
            3)  งบประมาณเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต
            4)  งบประมาณต้นทุนขาย
            5)  งบประมาณลงทุน
            6)  งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ
            7)  งบกระแสเงินสด
            8)  งบดุลโดยประมาณ
งบประมาณดำเนินงาน
            1)  งบประมาณดำเนินงาน   แสดงถึงปริมาณและจำนวนเงินของรายได้ โดยมีปัจจัยต้องใช้ในการพยากรณ์ยอดขาย
                        -  ปัจจัยภายใน  ผู้บริหารกิจการควบคุมได้  นโยบายการตลาด การขาดแคลนเงินทุน
            การกำหนดราคาขาย        และการใช้ดุลยพินิจของผู้พยากรณ์
                        -  ปัจจัยภายนอก    ผู้บริหารควบคุมไม่ได้  ภาวะเงินเฟ้อ  กำลังซื้อขายของผู้บริโภค คู่แข่งขัน เหตุการณ์ทางการเมือง ความไม่สงบของบ้านเมือง
                        งบประมาณการขาย         เป็นรายงานเกี่ยวกับปริมาณการรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ดังนั้นจึงแสดง  จำนวนจำหน่าย   ราคาขายต่อหน่วย            ยอดขาย
สูตร      ยอดขาย (บาท)    = ปริมาณขาย (หน่วย) × ราคาขายต่อหน่วย (บาท)
            2)  งบประมาณการผลิต  ผู้จัดการฝ่ายผลิตต้องวางแผนในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
                        (1)  กระบวนการผลิต
                        (2)  ที่ตั้งและการวางผังโรงงาน
                        (3)  งบประมาณลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
                        (4)  กำลังการผลิต
                        (5)  องค์ประกอบและสรุปต้นทุนการผลิต
สูตร      ปริมาณการผลิต  =  ปริมาณขาย  +  ปริมาณสินค้าคงเหลือปลายงวด - ปริมาณสินค้าคงเหลือต้นงวด






งบประมาณเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต  ประกอบด้วย
            1)  งบประมาณวัตถุทางตรง
            2)  งบประมาณค่าแรงทางตรง
            3)  งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต  จำแนกตามพฤติกรรม
                        -  ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร
                        -  ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่
            4)  งบประมาณต้นทุนการผลิต
สูตร      
            (1)  ปริมาณวัตถุทางตรงที่ใช้ (หน่วย) = ปริมาณการผลิต × อัตราการใช้
            (2)  ต้นทุนวัตถุทางตรงที่ใช้ (บาท) = ปริมาณวัตถุทางตรงที่ใช้ × ราคาต่อหน่วย
            (3)  ปริมาณซื้อวัตถุทางตรง = ปริมาณวัตถุทางตรงที่ใช้ + วัตถุทางตรงปลายงวด - วัตถุทางตรงต้นงวด
            (4)  ต้นทุนซื้อวัตถุทางตรง = ปริมาณซื้อวัตถุทางตรง × ราคาต่อหน่วย
            (5)  ต้นทุนค่าแรงทางตรง = ปริมาณผลิต × เวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้า 1 หน่วย × อัตราค่าแรง
            (6)  ต้นทุนการผลิต = ต้นทุนวัตถุทางตรงที่ใช้ + ต้นทุนค่าแรงทางตรง + ค่าใช้จ่ายการผลิต
งบประมาณต้นทุนขาย
สูตร      ต้นทุนขาย  = สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด + ต้นทุนการผลิตสินค้าสำเร็จรูประหว่างงวด - สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน   มี 2  ชนิด
            1)  ค่าใช้จ่ายในการขาย
                        -  ผันแปร  =       ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา สินค้าตัวอย่างแจกฟรี
                        -  คงที่   =          เงินเดือน
            2)  ค่าใช้จ่ายในการบริหาร   เพื่อการบริหารโดยรวม
งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ  
            แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายของกำไรในงวดบัญชีต่อไป เพราะให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายที่ได้จากงบประมาณต่าง ๆ

งบประมาณการเงิน
1.  งบประมาณลงทุน  (งบประมาณรายจ่ายฝ่ายทุน)
            เป็นงบประมาณที่จัดสรรไว้ เพื่อเป็นรายจ่ายในการจัดหาสินทรัพย์ถาวร ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในอนาคตเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป


2.  งบประมาณเงินสด
            เป็นรายงานที่แสดงประมาณการจำนวนเงินสดรับและจ่ายสำหรับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยเฉพาะ ตลอดจนเงินสดคงเหลือ จำนวนเงินสดเกิน (ขาด) และการจัดการเงินสดเกิน (ขาด)

3.  งบดุลโดยประมาณ
            ช่วยให้ผู้บริหารทราบฐานะทางการเงินโดยประมาณ ณ วันสิ้นงวดงบประมาณ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับประมาณการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของในอนาคตของกิจการ




























หน่วยที่  11
การวิเคราะห์งบการเงิน
ความหมายของการวิเคราะห์งบการเงิน
            การวิเคราะห์งบการเงิน คือ เครื่องมือในการประเมินฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการทั้งในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตนักวิเคราะห์และนักวางแผนส่วนใหญ่จะต้องใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการ ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจากงบการเงิน เช่น งบดุล จะแสดงให้ทราบถึงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง และงบกำไรขาดทุน จะแสดงให้ทราบถึงผลการดำเนินงานของกิจการในระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น
ประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน
            1.  ใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา
            2.  ใช้ควบคุมผลของการดำเนินงานในปัจจุบันว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
            3.  ใช้ในการคาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
            4.  ใช้ในการวางแผนงานโดยใช้ข้อดีและข้อเสียที่เกิดขึ้นแล้วมาประกอบการพิจารณาวางแผนงานให้มีประสิทธิภาพที่สุด
วิธีการวิเคราะห์งบการเงิน
            1.  เปรียบเทียบงบดุล งบกำไรขาดทุนโดยแสดงผลของการเปรียบเทียบเป็น
                        1.1  จำนวนเงิน
                        1.2  แสดงผลต่างเป็นจำนวนเงิน
                        1.3  แสดงผลต่างเป็นอัตราร้อยละ
                        1.4  แสดงเป็นอัตราส่วน
            2.  เปรียบเทียบแนวโน้มอัตราส่วนของข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
            3.  แสดงรายการต่าง ๆ ในงบดุลเป็นอัตราร้อยละของจำนวนรวม งบกำไรขาดทุนเป็นอัตราร้อยละของยอดขาย
            4.  คำนวณหาอัตราส่วนของรายการในงบดุล งบกำไรขาดทุน หรือจากงบดุลและงบกำไรขาดทุน
วิธีการวิเคราะห์
            การวิเคราะห์งบการเงินโดยการเปรียบเทียบงบการเงินเป็นอัตราร้อยละของงวดเดียวกันนั้นเป็นการวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบส่วนประกอบแต่ละตัวของงบการเงินกับส่วนรวม โดยเทียบส่วนรวมเป็น 100 และส่วนอื่น ๆ ตามสัดส่วน วิธีนี้นิยมใช้กับการวิเคราะห์งบดุลและงบกำไรขาดทุน
            การเปรียบเทียบงบดุลจะเปรียบเทียบสินทรัพย์หมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวม หรือสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวม หรือการเปรียบเทียบงบกำไรขาดทุนก็อาจจะเทียบกับยอดขายโดยถือว่ายอดขายเป็นจำนวน 100 และ คำนวณหาอัตราร้อยละของต้นทุนสินค้าขายต่อยอดขาย กำไรต่อยอดขาย เป็นต้น
           
การวิเคราะห์งบดุล
            การวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบส่วนประกอบของงบดุลนี้ จะแสดงให้เห็นว่ากิจการได้ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด ในอัตราร้อยละเท่าไร การวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวโดยการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน หรือเปรียบเทียบกับกิจการอื่น ๆ โดยเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น จะแสดงให้เห็นว่ากิจการมีสินทรัพย์ประเภทใดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป เช่น กิจการมีลูกหนี้ หรือสินค้าคงเหลือน้อยกว่ากิจการอื่น ๆ โดยเฉลี่ยจึงทำให้สินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการน้อยกว่ากิจการอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันและมีสินทรัพย์ถาวรมากกว่ากิจการอื่นๆ โดยเฉลี่ย ซึ่งอาจหมายความว่า กิจการมีสภาพคล่องน้อยกว่ากิจการอื่นๆได้
การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน
            การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนเป็นการเปรียบเทียบส่วนประกอบของงบกำไรขาดทุนว่ายอดขายที่กิจการได้มานั้น เป็นต้นทุนสินค้าขาย ค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน เป็นอัตราร้อยละเท่าไร และสุดท้ายเหลือเป็นส่วนของกำไรในอัตราร้อยละเท่าไหร่กิจการส่วนใหญ่จะใช้การวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบเป็นอัตราร้อยละในด้านของรายได้ ค่าใช้จ่าย มากกว่าที่จะใช้กับงบดุล เนื่องจากความสัมพันธ์ของรายการในงบกำไรขาดทุนมีมาก กล่าวคือ ต้นทุนสินค้าขายมีความสัมพันธ์กับยอดขายหรืออาจจะกล่าวได้ว่า รายการทุกรายการในงบกำไรขาดทุนนั้นจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับยอดขายทั้งสิ้น

การวิเคราะห์งบการเงินโดยการเปรียบเทียบงบการเงินของหลาย ๆ งวด
            การวิเคราะห์งบการเงินโดยการเปรียบเทียบงบการเงินของหลาย ๆ งวด เป็นการเปรียบเทียบงบการเงินของงวดต่าง ๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
            การเปรียบเทียบงบการเงินของหลาย ๆ งวดนี้สามารถจะเปรียบเทียบได้มากกว่า 2 งวด คือ
                        1.  เปรียบเทียบกับข้อมูลของงวดก่อน 1 งวด
                        2.  เปรียบเทียบกับข้อมูลของงวดที่ใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์

อัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์
            1.  อัตราส่วนที่เกี่ยวกับสภาพคล่อง
                        1.1  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
                        1.2  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนอย่างเร็ว
            2.  อัตราส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างทางการเงิน
                        2.1  อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม
                        2.2  อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ
                        2.3  อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรเพื่อชำระดอกเบี้ย
            3.  อัตราส่วนที่เกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ของกิจการ
                        3.1  อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
                        3.2  อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
                        3.3  อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร
                        3.4  อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมสินทรัพย์รวม
            4.  อัตราส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการหากำไร
                        4.1  อัตรากำไรสุทธิ
                        4.2  อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์รวม
                        4.3  อัตราผลตอบแทนของส่วนของเจ้าของ
                        4.4  กำไรต่อหุ้น
อัตราส่วนที่เกี่ยวกับสภาพคล่องของกิจการ
            อัตราส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพคล่องที่จะกล่าวถึง คือ
                        1.  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน เป็นอัตราส่วนที่ใช้มากในการวัดสภาพคล่องของกิจการ
 



            สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง เงินสด และสินทรัพย์ที่เปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ เป็นต้น
หนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินระยะสั้น เช่น เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่ายระยะสั้น เงินกู้ระยะสั้น เงินกู้ระยะยาวในส่วนที่จะตลบกำหนดภายใน 1 ปี ภาษีเงินได้ค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น
                        2.  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนอย่างเร็ว  เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้ทราบว่าเจ้าหนี้ระยะสั้นจะได้รับชำระเงินคืนอย่างเร็วเป็นจำนวนมากน้อยเพียงไร อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนอย่างเร็วคำนวณได้โดยหักสินค้าคงเหลือจากสินทรัพย์หมุนเวียน และนำมาเปรียบเทียบกับหนี้สินหมุนเวียน
 


อัตราส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างทางการเงิน
            อัตราส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างทางการเงินมีดังนี้
                        1.  อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม
                        2.  อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ
                        3.  อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรเพื่อชำระดอกเบี้ย

อัตราส่วนที่เกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ของกิจการ
            1.  อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
            2.  อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
            3.  อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร
            4.  อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม
อัตราส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการหากำไร
            1.  อัตรากำไรสุทธิ
            2.  อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์รวม
            3.  อัตราผลตอบแทนของส่วนของเจ้าของ
            4.  กำไรต่อหุ้น

การวิเคราะห์แนวโน้ม
            1.  วิธีการวิเคราะห์แนวโน้มเป็นจำนวนเงินและอัตราร้อยละ   แบ่งได้ 2 วิธี คือ
                        1.1  การวิเคราะห์แนวโน้มโดยใช้จำนวนเงิน
                        1.2  การวิเคราะห์แนวโน้มโดยใช้อัตราร้อยละ
            2.  วิธีการวิเคราะห์แนวโน้มเป็นอัตราส่วน
            3.  ข้อควรระวังในการเปรียบเทียบ
                        3.1  การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือต่างกันโดยแต่ละกิจการอาจจะเลือกใช้ทางเลือกซึ่งมีหลายวิธี
                        3.2  การคำนวณค่าเสื่อมราคาต่างกัน
                        3.3  การประมาณหนี้สงสัยจะสูญต่างกัน



















หน่วยที่  12
การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการตัดสินใจ
ลักษณะของข้อมูลทางการบัญชีที่ใช้ในการตัดสินใจ
            1.  เป็นต้นทุนหรือผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
            2.  ต้นทุนหรือผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นจะต้องแตกต่างระหว่างทางเลือก
การจำแนกประเภทข้อมูลทางการบัญชีที่ใช้ในการตัดสินใจ
            สามารถจำแนกตามวัตถุประสงค์ที่จะใช้ได้หลายประเภท ดังนี้
            1.  ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร
            2.  ต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม
            3.  ต้นทุนส่วนต่าง ต้นทุนจม และต้นทุนเสียโอกาส

การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในระยะสั้น
1.  การตัดสินใจจะผลิตเองหรือซื้อ
            การตัดสินใจที่จะผลิตเองหรือจะซื้อผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องพิจารณาถึงต้นทุนผันแปรและค่าใช้จ่ายคงที่ทางตรงเปรียบเทียบกับราคาซื้อ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงรายได้ที่อาจจะเสียไปในการนำเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตไปหาผลประโยชน์อย่างอื่น หากกิจการจะผลิตเองและใช้เครื่องมือนั้นแทนที่จะซื้อผลิตภัณฑ์จากที่อื่น
2.  การตัดสินใจจะผลิตต่อหรือขาย
            การตัดสินใจจะผลิตต่อหรือขายนั้น จะต้องพิจารณารายได้ส่วนเพิ่มกับต้นทุนส่วนเพิ่มจากการผลิตต่อ หากมีรายได้ส่วนเพิ่มมากกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มจึงควรตัดสินใจผลิตต่อหรือขาย ในทางตรงข้าม หากรายได้ส่วนเพิ่มน้อยกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มควรขาย ณ จุดแยกตัว ไม่ควรผลิตต่อ
3.  การตัดสินใจรับคำสั่งซื้อพิเศษ
            การตัดสินใจว่าจะรับคำสั่งซื้อพิเศษซึ่งเสนอขอซื้อในราคาต่ำกว่าปกติหรือไม่นั้น จะพิจารณาเฉพาะต้นทุนส่วนเพิ่มที่กิจการต้องจ่ายถ้ารับคำสั่งซื้อนั้น โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนคงที่ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ถ้าต้นทุนส่วนเพิ่มนั้นน้อยกว่าราคาที่ขอซื้อก็สามารถตัดสินใจรับคำสั่งซื้อพิเศษนั้นได้
4.  การตัดสินใจยกเลิกสายผลิตภัณฑ์และการปิดโรงงานชั่วคราว
            การตัดสินใจที่จะยกเลิกสายผลิตภัณฑ์ จะต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายคงที่ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่มีอยู่ไม่ว่าจะเลิกหรือไม่เลิกสายผลิตภัณฑ์นั้นก็ตาม และจะต้องพิจารณากำไรส่วนเกินหลังหักค่าใช้จ่ายคงที่ทางตรงว่ามีส่วนชดเชยค่าใช้จ่ายคงที่ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นหรือไม่ ในกรณีที่ตัดสินใจจะปิดโรงงานชั่วคราวหรือจะดำเนินงานต่อไปโดยมีผลขาดทุนนั้น จะพิจารณาระหว่างผลขาดทุนจากการดำเนินงานต่อกับผลขาดทุนจากการปิดโรงงานชั่วคราวซึ่งยังคงที่บางส่วน แล้วตัดสินใจเลือกทางเลือกที่มีผลขาดทุนน้อยที่สุด

5.  การตัดสินใจเลือกผลิตผลิตภัณฑ์ในกรณีที่มีทรัพยากรจำกัด
            การตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ในกรณีที่มีทรัพยากรจำกัดนั้น จะไม่พิจารณากำไรส่วนเกินต่อหน่วย แต่จะพิจารณาจากกำไรส่วนเกินต่อหน่วยของทรัพยากรที่จำกัดนั้น โยเลือกผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรส่วนเกินต่อหน่วยของทรัพยากรที่จำกัดนั้นสูงที่สุดก่อน


หน่วยที่  13
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตอนที่   13.1 การรายงานผลการปฏิบัติงานตามบัญชีตามความรับผิดชอบ
             13.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์ต้นทุนและศูนย์กำไร
             13.3 การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุน
          
13.1 การรายงานผลการปฏิบัติงานตามบัญชีตามความรับผิดชอบ
             - อธิบายลักษณะและการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามการบัญชีตามความรับผิดชอบได้
แนวคิด :   กิจการที่มีการบริหารงานแบบกระจายอำนาจจำเป็นต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนงานและผู้บริหารของส่วนงาน โดยการจัดทำข้อมูลตามการบัญชีตามความรับผิดชอบ และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน
หัวเรื่อง      13.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบัญชีตามความรับผิดชอบ
                13.1.2 การรายงานผลการปฏิบัติงาน
                13.1.3 การปันส่วนต้นทุนและการกำหนดราคาโอน
13.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบัญชีตามความรับผิดชอบ
                     - อธิบายลักษณะของการบัญชีตามความรับผิดชอบได้
แนวคิด :   การบัญชีตามความรับผิดชอบ เป็นการรวบรวมข้อ มูลและจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการวางแผน การปันส่วนทรัพยากร การควบคุมและการวัดผลงานของส่วนงาน และผู้บริหารส่วนงานตามความรับผิดชอบ ส่วนงานหรือศูนย์ความรับผิดชอบอาจจำแนก ได้เป็น 4 ประเภท คือศูนย์ต้นทุน ศูนย์รายได้ ศูนย์กำไร และศูนย์การลงทุน ในการจัดทำบัญชีตามความรับผิดชอบควรพิจารณาแยกประเภทต้นทุนออกเป็นต้นทุนออกเป็นต้นทุนที่ควบคุมได้และต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ และการปันส่วนต้นทุนร่วม
        ผู้บริหารระดับสูงจะไม่สามารถควบคุมดูแลงานของหน่วยงานได้ทั่วถึง จึงจำเป็นต้องมอบอำนาจความรับผิดชอบและการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหารระดับล่างลงไป เกิดการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ
     ข้อดีของการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ
            -  ผู้บริหารระดับสูงมีเวลามากขึ้นสำหรับงานบริหารระดับนโยบาย
            -  ผู้บริหารระดับล่างได้รับโอกาสมากขึ้น
            -  ผู้บริหารระดับล่างใกล้ชิดกับหน่วยงานย่อยมากกว่า
 ข้อเสียของการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ
            -  ผู้บริหารระดับล่างอาจตัดสินใจผิดพลาด
            -  ผู้บริหารระดับล่างอาจมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากวัตถุประสงค์หลักของธุรกิจ
            -  เกิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงขึ้น
ศูนย์ความรับผิดชอบ  หมายถึง หน่วยงานย่อยภายในองค์กรซึ่งสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน หรือ รายได้ซึ่งสามารถระบุได้ว่าต้นทุนหรือรายได้นั้นเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
ประเภทของศูนย์ความรับผิดชอบ
            -  ศูนย์ต้นทุน
            -  ศูนย์รายได้
            -  ศูนย์กำไร
            -  ศูนย์การลงทุน

13.1.2 การรายงานผลการปฏิบัติงาน
    - อธิบายหลักการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานได้
แนวคิด :  รายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุม มีลักษณะที่สำคัญคือ ต้องแสดงข้อมูลที่หน่วยงานนั้นสามารถควบคุมได้ และควรแสดงเปรียบเทียบผลงานที่เกิดขึ้นจริงกับเกณฑ์หรือมาตรฐานหรืองบประมาณที่กำหนดไว้ เพื่อเสนอต่อผู้บริหารตามลำดับชั้นและสอดคล้องกับโครงสร้างขององค์การ

13.1.3 การปันส่วนต้นทุนและการกำหนดราคาโอน
          - อธิบายเกณฑ์การปันส่วนต้นทุนและกำหนดราคาโอนได้
แนวคิด :  ต้นทุนบางรายการเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้ประโยชน์ร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ หลายหน่วยงานจึงจำเป็นต้องมีการปันส่วนต้นทุนเหล่านี้ให้กับหน่วยงานที่ได้รับประโยชน์ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม  ส่วนการกำหนดราคาโอนที่เหมาะสมมีบทบาทสำคัญต่อการรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วนงานต่างๆ การกำหนดราคาโอนมี 3 วิธี คือ ราคาโอนที่ใช้การเจรจาต่อรอง  ราคาโอนที่ใช้ต้นทุนเป็นเกณฑ์  และราคาโอนที่ใช้ราคาตลาดเป็นเกณฑ์ 
ราคาโอนต่ำสุด  à ราคาโอน = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนเสียโอกาส   à  ( กรณีกำลังผลิตว่างเปล่าไม่มีต้นทุนเสียโอกาส)
ราคาโอนสูงสุด  à  ราคาโอน = ราคาที่ซื้อจากผู้ผลิตภายนอก
( กรณีกำลังผลิตว่างเปล่าไม่มีต้นทุนเสียโอกาส)
ราคาโอนต่ำสุด  à  ราคาโอน = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนเสียโอกาส  
                                              = ต้นทุนผันแปร + (ราคาขายภายนอก – ต้นทุนผันแปร )
                                                                               จำนวนหน่วยที่โอน
13.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์ต้นทุนและศูนย์กำไร
            - ประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์ต้นทุนและศูนย์กำไรได้
แนวคิด :    การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์ต้นทุนและศูนย์กำไร จะมีการจัดทำรายงานตามส่วนงานโดยลักษณะแตกต่างกันตามลักษณะของศูนย์ความรับผิดชอบ
หัวเรื่อง     13.2.1 การรายงานผลการปฏิบัติงานของศูนย์ต้นทุน
             13.2.2 การรายงานผลการปฏิบัติงานของศูนย์กำไร
13.2.1 การรายงานผลการปฏิบัติงานของศูนย์ต้นทุน
          อธิบายลักษณะของรายงานการปฏิบัติงานของศูนย์ต้นทุนได้
แนวคิด : การรายงานผลการปฏิบัติงานของศูนย์ต้นทุนจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เปรียบเทียบกับต้นทุนตามงบประมาณ และผลต่างที่เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ในการประเมินผล การปฏิบัติงานของศูนย์ต้นทุน
         ลักษณะการรายงานผลการปฏิบัติงานตามขอบเขตความรับผิดชอบ
ศูนย์ต้นทุน = รายงานการเปรียบเทียบต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณที่กำหนดไว้
ศูนย์รายได้ = เปรียบเทียบยอดขายจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้
ศูนย์กำไร = เปรียบเทียบกำไรที่เกิดขึ้นจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้
ศูนย์ลงทุน = จัดทำงบกำไรขาดทุน คำนวณหาอัตราผลการตอบแทนจากการลงทุนที่ต้องการหรือเปรียบเทียบกำไรส่วนที่เหลือที่เกิดขึ้นจริง กับเป้าหมายที่กำหนดไว้

13.2.2 การรายงานผลการปฏิบัติงานของศูนย์กำไร
            - อธิบายลักษณะของรายงานผลการปฏิบัติงานของศูนย์กำไรได้
แนวคิด : การรายงานผลการปฏิบัติงานของศูนย์กำไรจะต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องของส่วนงาน เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์กำไร และผู้บริหารส่วนงาน
        การจัดทำงบกำไรขาดทุน ตามส่วนงานได้แสดงกำไรออกเป็น 4 ส่วน
                        -  กำไรส่วนเกิน = ยอดขาย – ต้นทุนผันแปรทั้งหมด
                        -  กำไรที่ควบคุมได้ = กำไรส่วนเกิน – กำไรที่ควบคุมได้กำไรที่ควบคุมได้
                        -  กำไรส่วนงาน = กำไรที่ควบคุมได้ - กำไรที่ควบคุมได้กำไรที่ควบคุมไม่ได้
                        -  กำไรก่อนภาษีเงินได้ = กำไรส่วนงาน – ต้นทุนรวม

13.3 การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุน
              -  ประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนได้
แนวคิด :  การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ วิธีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน  วิธีกำไรส่วนที่เหลือ และวิธีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
หัวเรื่อง  13.3.1 การประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิธีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
             13.3.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิธีกำไรส่วนที่เหลือ
             13.3.3 การประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิธีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
             13.3.4 ข้อควรพิจารณาในการประเมินผลการ

13.3.1 การประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิธีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
       - ประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนตามวิธีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนได้
แนวคิด : การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนตามวิธีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน เป็นการพิจารณากำไรที่ได้จากการดำเนินงานกับเงินลงทุนหรือสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงาน โดยวัดผลเป็นอัตราร้อยละต่อเงินลงทุน
 



จากสูตรสามารถหา อัตรากำไรต่อยอดขาย และอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ โดยเอา ยอดขายคูณ ได้ดังนี้
 











13.3.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิธีกำไรส่วนที่เหลือ
        - ประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนตามวิธีกำไรส่วนที่เหลือได้
แนวคิด : .การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนตามวิธีกำไรส่วนที่เหลือเป็นการพิจารณากำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ส่วนที่เหลือจากผลตอบแทนขั้นต่ำจากการลงทุนที่กิจการต้องการ โดยวัดผลเป็นจำนวนเงิน

13.3.3 การประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิธีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
       - ประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนตามวิธีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้
แนวคิด : .การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนตามวิธีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเป็นการพิจารณากำไรที่ได้จากการดำเนินงานหักหลังภาษีส่วนที่เหลือจากต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนักของแหล่งเงินทุนของกิจการ


13.3.4 ข้อควรพิจารณาในการประเมินผลการ
     - อธิบายปัจจัยในการประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนได้
แนวคิด : .การประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์การลงทุนมีข้อควรพิจารณาที่ต้องคำนึงถึงหลายประการ เช่น จำนวนและมูลค่าของสินทรัพย์ที่นำมาประเมินผล เป็นต้น  นอกจากนี้ควรมีการนำแนวคิด การประเมินผลองค์กรอย่างสมดุลมาใช้ด้วย ซึ่งเป็นการประเมินผลที่คำนึงถึงด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายในและด้านการเรียนรู้และเติบโต


หน่วยที่  14
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ
            ข้อมูล (Data)  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้ เป็นเพียงสิ่งที่บอกเหตุการณ์ต่างๆที่ได้เกิดขึ้น แต่ไม่มีความหมาย หรือมีประโยชน์ในการตัดสินใจ เช่น ขายผ้าทอเกาะยอได้ 25 ผืน ขายน้ำตาลแว่นได้ 15กิโลกรัม  เป็นต้น
             สารสนเทศ ( Information ) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลและถูกจัดให้ อยู่ในรูปที่ มีความหมายและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ หรือนำไปใช้งาน เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น หรือลดลงจากปีที่แล้ว ในอัตราร้อยละเท่าใด
รูปแบบ ความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลและสารสนเทศ

 






ความหมายของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
            ระบบสารสนเทศทางการบัญชี หมายถึง ระบบงานที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อประมวลผลข้อมูล ให้เป็นสารสนเทศ  หรือ จากข้อมูลดิบที่ไม่มีความหมายให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย หรือมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ ซึ่งการประมวลผลข้อมูลดังกล่าว อาจจะทำด้วยมือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
            ระบบสารสนเทศทางการบัญชี  คือ ระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ( Financial data )  ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
            1. เป้าหมายและวัตถุประสงค์  ( Goals and Objectives )
            2. ข้อมูลเข้า ( Inputs )
                         -  ยอดขายสินค้า ราคาขายของกิจการ
                        -  ราคาขายของคู่แข่งขัน ยอดขายของคู่แข่งขัน
            3. ตัวประมวลผล ( Processor ) คือ เครื่อง มือที่ ใช้ ในการแปลงสภาพจากข้อมูลให้ เป็นสารสนเทศ  มักใช้ คอมพิวเตอร์ทำงาน
                        -  การคำนวณ การเรียงลำดับ
                        -  การคิดร้อยละ
                        -  การจัดหมวดหมู่ การจัดทำกราฟ ฯลฯ
            4. ข้อมูลออก หรือผลลัพธ์ ( Output )  คือ สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้
            5. การป้อนกลับ  ( Feedback)
            6.  การ เก็บ รักษาข้อมูล ( Data  Storage )
            7.  คำสั่งและขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน ( Instructions and Procedures )
            8.  ผู้ใช้ ( Users)
            9. การควบคุมและรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล ( Control and Security Measures )

วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
            ระบบสารสนเทศทางการบัญชีมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การจัดหาสารสนเทศทางการบัญชีให้แก่ผู้ใช้ต่าง ๆ ทั้งผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายในองค์กร ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารระดับต่าง ๆ และผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายนอกองค์กร เช่น ลูกค้า นักลงทุน ฯลฯ โดยสามารถแบ่งวัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศทางการบัญชีออกเป็นวัตถุประสงค์ย่อยๆ ได้ 3 ประการ คือ
                        1. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานประจำวัน
                        2. เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ บริหาร
                        3. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามภาระหน้าที่ทางกฎหมาย

ลักษณะของสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจ
มีลักษณะสำคัญๆ ดังนี้
            1.เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
            2.ถูกต้องเชื่อถือได้
            3.สมบูรณ์ครบถ้วน
            4.ทันเวลา
            5.แสดงเป็นจำนวนได้
            6.ตรวจสอบความถูกต้องได้
            7. สามารถเข้าใจได้
            8.สามารถเปรียบเทียบได้

ลักษณะสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับต่างๆ
            องค์กรมักจะแบ่งการบริหารออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
                        1.  ผู้บริหารระดับสูง  เน้นตัดสินใจในนโยบายระยะยาว โดยมองอนาคตว่าองค์กรจะต้องมีการปรับปรุงอย่างไร หรือไม่ ควรจะก้าวไปอย่างไรในอนาคตภายใต้สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
                        2.  ผู้บริหารระดับกลาง  ต้องการจะมีรายละเอียดที่มากขึ้นกว่าผู้บริหารระดับสูง แต่มีขอบเขตที่แคบกว่าและต้องการรายงานที่ถี่มากกว่าผู้บริหารระดับสูง เช่น อาจจะต้องการข้อมูลเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงอาจต้องการข้อมูลเป็นรายไตรมาส เป็นต้นและต้องการข้อมูลจากแหล่งภายนอกองค์กรน้อยกว่าผู้บริหารระดับสูง
                        3.  ผู้บริหารระดับต้น ต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตที่แคบกว่า แต่มีรายละเอียดที่มากกว่าโดยเป็นสารสนเทศที่มีลักษณะลึกเฉพาะด้าน และต้องการรายงานี่ถี่มากกว่าผู้บริหารระดับกลางและสูง เพราะผู้บริหารระดับต้นจะเป็นระยะสั้น เช่น สมควรจะต้องสั่งซื้อสินค้าคงคลังอีกเมื่อใดและเป็นจำนวนเท่าใด สมควรจะต้องจัดเตรียมเงินสดสำหรับการใช้จ่ายในวันถัดไปอย่างไร เป็นต้น

ระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร
            ระบบสารสนเทศหากแบ่งตามหน้าที่งานอาจแบ่งออกเป็นระบบต่าง ๆ ตามหน้าที่หลัก ดังนี้
                        1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
                        2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
                        3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
                        4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
                        5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)

            ระบบสารสนเทศหากแบ่งตามระดับของการบริหารองค์กร อาจแบ่งได้ดังนี้
                        1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS)
                        2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS)
                        3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS)
                        4.  ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System หรือ ES)
                        5. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS)
                       


ระบบสารสนเทศทางการบัญชีสำหรับกิจการแต่ละประเภท
            กิจการธุรกิจโดยทั่วไปหากแบ่งตามลักษณะของการประกอบการอาจแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
                        1.  กิจการพาณิชยกรรม คือ ซื้อมาขายไป
                        2.  กิจการบริการ
                        3.  กิจการอุตสาหกรรมหรือผลิตสินค้า

วงจรทางการค้า (Transaction Cycles) ได้ 4 วงจร คือ
            1. วงจรรายได้
            2.วงจรรายจ่าย
            3.วงจรการจัดการทรัพยากร
            4.วงจรบัญชีแยกประเภททั่วไป และรายงานทางการเงิน

ความหมายของวงจรรายได้
            วงจรรายได้ หมายถึง กระบวนการทางธุรกิจและการประมวลผลสารสนเทศที่เกี่ยวกับการจัดหาสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า ตลอดจนถึงการรับชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวจากลูกค้า

วัตถุประสงค์ของวงจรรายได้
            1.  บันทึกรายการใบสั่งขายรวดเร็วและถูกต้อง
            2.  ลูกค้าที่ได้รับการอนุมัติเป็นผู้ที่มีเครดิตที่น่าเชื่อถือ
            3.  มีการส่งสินค้าหรือให้บริการลูกค้าตรงตามเวลาที่นัดหมาย
            4.  มีการออกบิลหรือใบแจ้งหนี้อย่างถูกต้องและในเวลาที่เหมาะสม
            5.  มีการบันทึกและจำแนกรายการเงินสดรับที่รวดเร็วและถูกต้อง
            6.  มีการผ่านรายการขายและเงินสดรับไปบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ที่ถูกต้อง
            7.  มีการป้องกันและดูแลรักษาสินค้าและเงินแสดงจนกว่าจะมีการส่งสินค้าหรือนำเงินฝากธนาคาร
หน้าที่ของวงจรรายได้
            หน้าที่ของวงจรรายได้ มีดังนี้
                        1.  ได้รับคำสั่งซื้อ
                        2.  ตรวจสอบวงเงินสินเชื่อ
                        3.  ออกใบสั่งขาย
                        4.  รวบรวมสินค้า
                        5.  จัดส่งสินค้า
                        6.  ออกใบแจ้งหนี้
                        7.  รับเงินและนำฝากธนาคาร
                        8.  ผ่านบัญชีและจัดทำรายงาน
                        9.  บันทึกและปรับปรุงบัญชีลูกหนี้

ฐานข้อมูลของวงจรรายได้  มี 2 รูปแบบ คือ
            1.  รูปแบบแฟ้มข้อมูล
            2.  รูปแบบฐานข้อมูล

กิจกรรมในวงจรรายได้
            วงจรรายได้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม ดังนี้
                        1.  การอนุมัติการขาย
                        2.  การจัดส่งสินค้า
                        3.  การออกบิลหรือใบแจ้งหนี้
                        4.  การรับเงิน

การอนุมัติการขาย
            ขั้นตอนของการอนุมัติการขายจะประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่
                        1.  การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า
                        2.  การตรวจสอบและอนุมัติสินเชื่อของลูกค้า
                        3.  การตรวจสอบสินค้าคงเหลือ
                        4.  การออกใบสั่งขายและเอกสารต่าง ๆ

รายงานของวงจรรายได้
            รายงานเพื่อการจัดการที่เกิดจากวงจรรายได้ ที่สำคัญ ได้แก่
                        1.  รายงานการวิเคราะห์การขาย
                        2.  รายงานงบแยกอายุลูกหนี้

รายงานเพื่อการปฏิบัติงาน
                        1.  รายงานใบสั่งขายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
                        2.  ทะเบียนใบแจ้งหนี้/ใบเรียกเก็บเงิน
                        3. สมุดรายวันเงินสดรับ




ระบบสารสนเทศทางการบัญชีด้านรายจ่าย

ความหมายของวงจรรายจ่าย
            วงจรรายจ่าย หมายถึง กระบวนการของกิจการทางธุรกิจและการประมวลผลสารสนเทศที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการ ตลอดจนถึงการชำระเงินค่าสินค้าและบริการดังกล่าว
­­วัตถุประสงค์ของวงจรรายจ่าย
            1.  เพื่อให้แน่ใจว่า มีการสั่งซื้อสินค้าและบริการถูกต้องครบถ้วนตามที่กิจการต้องการและด้วยเงื่อนไขที่ดีที่สุด
            2.  ได้รับสินค้าถูกต้องและครบถ้วนตามใบสั่งซื้อ
            3.  มีระบบการป้องกันและรักษาสินค้าจนกว่าสินค้าจะถูกนำมาใช้
            4.  ใบเรียกเก็บเงินหรือใบแจ้งหนี้ค่าสินค้าหรือบริการที่ได้รับจากผู้ขายถูกต้อง
            5.  มีการบันทึกและแจกแจงบัญชีรายจ่ายต่าง ๆ ที่ถูกต้องและรวดเร็ว
            6.  มีการผ่านรายการหนี้ซึ่งกิจการจะต้องชำระและรายการเงินสดจ่ายไปบัญชีเจ้าหนี้รายตัวและบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ที่ถูกต้อง
            7.  มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ทันตามเวลาที่กำหนด
            8.  เพื่อให้แน่ใจว่ารายการเงินสดจ่ายทุกรายการเป็นการจ่ายให้กับรายจ่ายที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
            9.  มีการบันทึกและแจกแจงรายการเงินที่ถูกต้องและรวดเร็ว

หน้าที่ของวงจรรายจ่าย
            1.  ต้องการสินค้าหรือบริการ
            2.  ออกใบสั่งซื้อ
            3.  รับและเก็บรักษาสินค้าและ Update บัญชีสินค้า
            4.  อนุมัติใบแจ้งหนี้
            5.  จ่ายเงิน
            6.  ผ่านไปยังบัญชีแยกประเภท
            7.  จัดทำรายงานบันทึกและปรับปรุงบัญชีเจ้าหนี้

ฐานข้อมูลของวงจรรายจ่าย  มี 2 รูปแบบ คือ
            1.  รูปแบบ
            2.  รูปแบบฐานข้อมูล



วงจรรายจ่ายประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม ดังนี้
            1.  การสั่งซื้อสินค้า
            2.  การรับของ
            3.  การอนุมัติใบแจ้งหนี้
            4.  การจ่ายเงิน

รายงานของวงจรรายจ่าย
            1.  รายงานวิเคราะห์การทำงานของผู้ขาย
            2.  รายงานวิเคราะห์การซื้อ
            3.  รายงานเหตุการณ์ที่ผิดปกติ
            4.  รายงานสถานะสินค้าคงเหลือ
            5.  รายงานงบแยกอายุหนี้ (เจ้าหนี้)
            6.  รายงานชำระหนี้ประจำวัน
            7.  รายงานความต้องการใช้เงินสด
            8.  รายงานใบแจ้งหนี้ที่ยังค้างชำระหรือใบแจ้งหนี้เปิด
            9.  ทะเบียนเช็ค

ความหมายของระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป
            ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป หมายถึง ระบบที่เก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลรายการค้าที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ของกิจการ และนำมาสรุปผลเป็นรายงานทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกกิจการ

วัตถุประสงค์ของระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป
            1.  เพื่อให้การบันทึกรายการทางการบัญชีเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องเชื่อถือได้
            2.  เพื่อให้การผ่านรายการค้าไปยังบัญชีแยกประเภทเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมและรวดเร็ว
            3.  เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างยอดเดบิตและเครดิต โดยยอดดุลทั้งสองจะต้องมีค่าเท่ากันเสมอ
            4.  เพื่อให้สามารถออกรายงานทางการเงินที่ถูกต้องเชื่อถือได้และทันเวลาที่ต้องการ
            5.  เพื่อประโยชน์ในการควบคุมภายในของกิจการในการป้องกันดูแลรักษาทรัพย์สินของกิจการ

หน้าที่ของระบบบัญชีแยกประเภท
            1.  เก็บรวบรวมข้อมูลทางการบัญชี ทั้งจากระบบงานย่อยในวงจรต่าง ๆ และจากแผนกบัญชี
            2.  จำแนกประเภท และใส่รหัสบัญชีให้แก่รายการค้าต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในผังบัญชีของกิจการ
            3.  ตรวจสอบความถูกต้องของรายการค้าโดยอาจจะต้องมีการตรวจสอบเกี่ยวกับจำนวนเงินชื่อบัญชี รหัสบัญชี และอื่น ๆ
            4.  ปรับปรุงแฟ้มรายการค้า และแฟ้มหลักบัญชีแยกประเภทตลอดจนฐานข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจากรายการค้าที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน
            5.  บันทึกรายการปรับปรุงบัญชีเมื่อสิ้นงวด เช่น รายการรายได้ค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ฯลฯ
            6.  จัดทำงบการเงิน เช่น งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด

ฐานข้อมูล
            ฐานข้อมูลของระบบบัญชีแยกประเภททั่วไปสามารถจัดทำได้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบแฟ้มข้อมูล และรูปแบบฐานข้อมูล
            รูปแบบแฟ้มข้อมูล แฟ้มข้อมูลที่สำคัญของระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป มีดังนี้
            1.  แฟ้มหลักบัญชีแยกประเภท ถือ  ว่าเป็นหัวใจของฐานข้อมูลทางการบัญชี ซึ่งจะแสดงสถานะของบัญชีแยกประเภทแต่ละบัญชีที่มีอยู่ในผังบัญชีของกิจการ โดยบัญชีแยกประเภทแต่ละบัญชีในแฟ้มหลักจะประกอบด้วยข้อมูลหลัก ๆ ดังนี้
                        -  รหัสบัญชี
                        -  ชื่อบัญชี
                        -  ประเภทของบัญชี (สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ หรือค่าใช้จ่าย)
                        -  ยอดยกมาต้นปี
                        -  ยอดเดบิตและเครดิตของแต่ละเดือนในปีปัจจุบัน
                        -  ยอดคงเหลือ ณ ทุกสิ้นเดือน
                        -  ยอดงบประมาณของแต่ละเดือน
            2.  แฟ้มใบสำคัญรายวัน เป็นแฟ้มรายการค้าหรือแฟ้มรายการเปลี่ยนแปลงที่ทำหน้าที่เหมือนสมุดรายวันทั่วไป โดยจะประกอบด้วยข้อมูลรายการต่าง ๆ ที่ได้ผ่านบัญชีไปบัญชีแยกประเภทในงวดบัญชีปัจจุบัน ข้อมูลในแฟ้มนี้จะจัดเรียงตามเลขที่ใบสำคัญรายวัน ในการบันทึกข้อมูลในแฟ้มนี้แต่ละครั้งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่ใบสำคัญรายวัน วันที่เกิดรายการ จำนวนเงินที่เดบิตและเครดิตเลขที่บัญชีและคำอธิบายรายการ
            3.  แฟ้มประวัติบัญชีแยกประเภท  เป็นแฟ้มที่บรรจุข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีแยกประเภทของแต่ละเดือนในแต่ละปีที่ผ่านมาในอดีต ซึ่งจะทำให้สามารถจัดทำงบการเงินในอดีต และให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของกิจการได้
            4.  แฟ้มหลักศูนย์กำไร  เป็นแฟ้มที่ประกอบด้วยข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่ายของแผนกต่าง ๆ หรือศูนย์กำไรต่าง ๆ ของกิจการ ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับนำไปจัดทำรายงานตามความรับผิดชอบของผู้จัดการแต่ละคน
            5.  แฟ้มหลักงบประมาณ  เป็นแฟ้มที่ประกอบด้วยข้อมูลจำนวนงบประมาณของสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายที่จัดสรรให้แก่ศูนย์กำไรต่าง ๆ ของกิจการ
            6.  แฟ้มรูปแบบรายงานทางการเงิน  เป็นแฟ้มที่ประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการจัดทำรายงานทางการเงิน เช่น  ชื่อหัวเรื่องของแต่ละคอลัมน์ ขนาดตัวอักษรที่ต้องการและรูปแบบที่ต้องการ เป็นต้น


ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไปอาจแบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน ดังนี้
            1.  การกำหนดโครงสร้างบัญชีและการสร้างแฟ้มหลัก
            2.  การบันทึกรายการขั้นต้นและการผ่านบัญชี
            3.  การปรับปรุงบัญชี การปิดบัญชี และการจัดทำรายงานทางการเงิน

รายงานที่ได้จากระบบบัญชีแยกประเภททั่วไปมีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
            1.  รายงานการวิเคราะห์บัญชีแยกประเภท
            2.  งบการเงิน
            3.  รายงานเพื่อการจัดการ


  
หน่วยที่  15
การควบคุมภายใน
ความหมายของการควบคุมภายใน
            การควบคุมภายใน หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า การดำเนินงานขององค์กรจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประเด็นสำคัญของการควบคุมภายใน มีดังนี้
            1.  การควบคุมภายในเป็นกระบวนการ
            2.  การควบคุมภายในเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยคนทุกคนในองค์กร
            3.  การควบคุมภายในเป็นให้ได้เพียงความเชื่อมั่นในระดับที่สมเหตุสมผล
            4.  การควบคุมภายในเป็นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
            1.  ด้านการดำเนินงาน คือ วัตถุประสงค์พื้นฐานของการดำเนินงานในทุกองค์กร โดยมุ่งเน้นที่กระบวนการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ และเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในขณะเดียวกัน ผลที่ได้รับจากกระบวนการนั้นต้องคุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้ไป จึงจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพ
            2.  ด้านการรายงานทางการเงิน คือ การจัดให้มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง เพียงพอ และเชื่อถือได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริหาร บุคลากรในองค์กร และบุคคลภายนอกในการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องต่างๆ
            3.  ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย คือ การมุ่งเน้นให้กระบวนการปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เงื่อนไขตามสัญญา ข้อตกลง นโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
            การกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานขึ้นมานั้น ผู้บริหารจะต้องกำหนดวิธีการทำงานให้ไปสู่วัตถุประสงค์นั้น และในขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมการปฏิบัติงานต่างๆ ในองค์กรให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย การควบคุมต่างๆ เหล่านี้ ก็คือ การควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือเรียกสั้นๆ ว่า การควบคุมภายในนั่นเอง

ข้อจำกัดของการควบคุมภายใน  สรุปได้ดังนี้
            1.  นโยบายและวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดให้มีขึ้นนั้น จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่สูงกว่าผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เช่น การใช้บาร์โค้ด  ในการควบคุมสินค้าคงเหลือย่อมจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นในกิจการขนาดเล็กก็อาจจะไม่ใช้บาร์โค้ดเนื่องจากจะไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นต้น
            2.  ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความประมาณเลินเล่อ ความไม่เอาใจใส่ การขาดความระมัดระวัง การไม่เข้าใจคำสั่ง เป็นต้น
            3.  การทุจริตเกิดจากความร่วมมือกันของพนักงาน โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมภายในที่กำหนดไว้ ทำให้ข้อกำหนดเรื่องการแบ่งแยกหน้าที่ใช้ไม่ได้ผล และยากต่อการค้นพบการกระทำทุจริตนั้น
            4.  ผู้รับผิดชอบไม่ปฏิบัติตามนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ หรือผู้บริหารละเลยหรือมองข้ามความสำคัญของการควบคุมภายใน
            5.  การควบคุมส่วนใหญ่กำหนดไว้สำหรับรายการซึ่งคาดได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติ ดังนั้นถ้าสภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้นโยบายและวิธีการปฏิบัติงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้

องค์ประกอบของการควบคุมภายใน
            องค์ประกอบที่สำคัญของการควบคุมภายใน ซึ่งจำแนก เป็น 5 องค์ประกอบที่สำคัญ ตามแนวทางของ
COSO ซึ่งเป็นแม่แบบสากลของการควบคุมภายใน ประกอบด้วย
            1.  สภาพแวดล้อมของการควบคุม
                        1.1  ความซื่อสัตย์และจริยธรรม
                        1.2  ความรู้ความสามารถของบุคลากร
                        1.3  การจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
                        1.4  ปรัชญาและวิธีการทำงานของฝ่ายบริหาร
                        1.5  โครงสร้างการจัดองค์กร
                        1.6  วิธีการมอบอำนาจและความรับผิดชอบ
                        1.7  นโยบายและวิธีการบริหารด้านทรัพยากรมนุษย์
            2.  การประเมินความเสี่ยง
        3. กิจกรรมการควบคุม
                        -  การกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่ชัดเจน
                        -  การสอบทานโดยคณะกรรมการบริษัท
                        -  การสอบทานโดยฝ่ายจัดการ
                        -  การควบคุมการประมวลผลข้อมูล
                        -  การควบคุมทางกายภาพ
                        -  การใช้ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานที่สำคัญ
        4.  สารสนเทศและการสื่อสาร
        5.  การติดตามประเมินผล
                        5.1  การตรวจสอบภายใน
                        5.2  การรายงานแบบแสดงข้อยกเว้น



ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมภายใน
            1.  คณะกรรมการบริษัท
            2.  คณะกรรมการตรวจสอบ
            3.  ฝ่ายจัดการ
            4.  พนักงาน
            5.  ผู้ตรวจสอบภายใน
            6.  ผู้ตรวจสอบบัญชี
            7.  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมการควบคุม
1.  การประเมินความเสี่ยง
            1.1  การสอบทานวัตถุประสงค์ของกิจการ
            1.2  การสอบทานสภาพแวดล้อมของการควบคุม
            1.3  การระบุปัจจัยความเสี่ยง
                        -  ปัจจัยภายนอก
                        -  ปัจจัยภายใน
            1.4  การจัดลำดับความเสี่ยง

2.  การออกแบบกิจกรรมการควบคุม
            2.1  การกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่ชัดเจน
            2.2  การสอบทานโดยคณะกรรมการบริษัท
            2.3  การสอบทานโดยฝ่ายจัดการ
            2.4  การควบคุมการประมวลผล
            2.5  การควบคุมทางกายภาพ
            2.6  การใช้ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ประเภทของการควบคุม  จำแนกได้ 3ประเภท ดังนี้
            1.  จำแนกตามการป้องกัน ค้นหา แก้ไขและชี้แนะ
            2.  จำแนกตามการควบคุมทั่วไปและการควบคุมเฉพาะระบบ
            3.  จำแนกตามระดับการควบคุมทางธุรกิจ


การควบคุมภายในด้านเงินสด
วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านเงินสด
            1.  มีการป้องกันรักษาเงินสดให้ปลอดภัยจากการทุจริตและการถูกโจรกรรม
            2.  มีระบบข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์เพียงพอที่จะทำให้ได้รับรายงานที่ถูกต้อง
            3.  มีการบันทึกรายการเกี่ยวกับเงินสดเป็นปัจจุบัน ครบถ้วน และถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

การควบคุมภายในโดยทั่วไปเกี่ยวกับเงินสด
            1.  การกำหนดอำนาจหน้าที่
            2.  การแบ่งแยกหน้าที่
            3.  การตรวจนับเงินสด
            4.  การประกันภัย
            5.  การสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่
            6.  การจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร
            7.  การจัดทำงบประมาณเงินสด

การควบคุมภายในด้านเงินสดรับ
            1.  การออกใบเสร็จรับเงิน
            2.  การควบคุมใบเสร็จรับเงิน
            3.  การนำเงินฝากธนาคาร
            4.  การบันทึกบัญชี

การควบคุมภายในด้านเงินสดจ่าย
            1.  กรณีจ่ายเป็นเช็ค
                        -  การใช้ระบบใบสำคัญจ่าย
                        -  การควบคุมใบสำคัญจ่าย
                        -  การแบ่งแยกหน้าที่
                        -  การกำหนดอำนาจและวงเงินอนุมัติสั่งจ่ายเช็ค
                        -  การใช้เช็ค
                        -  การบันทึกบัญชีและจัดเก็บเอกสาร
            2.  กรณีจ่ายเงินสดย่อย
                        -  ระบบเงินสดย่อยที่ไม่กำหนดวงเงินไว้แน่นอน
                        -  ระบบเงินสดย่อยที่กำหนดวงเงินไว้แน่นอน
การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดย่อย
            1.  การใช้ระบบเงินสดย่อยที่กำหนดวงเงินไว้แน่นอน
            2.  การกำหนดผู้รักษาเงินสดย่อย
            3.  การจ่ายเงินสดย่อย
            4.  การเบิกชดเชยเงินสดย่อย
            5.  การบันทึกบัญชีและจัดเก็บเอกสาร

การควบคุมภายในด้านการซื้อและการขาย
การควบคุมภายในด้านการซื้อ
            1.  การควบคุมภายในเกี่ยวกับการซื้อ
            2.  การควบคุมภายในเกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า
                        2.1  การอนุมัติรายการ
                        2.2  การตรวจสอบเอกสาร
            3.  การแบ่งแยกหน้าที่
            4.  การกระทบยอดรายการ
            5.  การยืนยันยอดกับเจ้าหนี้การค้า

การควบคุมภายในด้านการขาย
            1.  การควบคุมภายในเกี่ยวกับการขาย
                        1.1 การขายยอด
                        1.2  การขายเชื่อ
            2.  การควบคุมภายในเกี่ยวกับลูกหนี้การค้า

การควบคุมภายในด้านสินทรัพย์ถาวร
วัตถุประสงค์การควบคุมภายในด้านสินทรัพย์ถาวร
1.  กิจการได้รับประโยชน์สูงสุดจากจำนวนเงินที่ลงทุนในสินทรัพย์ และการได้มาซึ่งสินทรัพย์ถาวรทุกรายการที่ได้รับการอนุมัติอย่างถูกต้อง
            2.  สินทรัพย์ถาวรปลอดภัยจากการสูญหายหรือการทุจริต
            3.  การเก็บรักษาและการโอนย้ายสินทรัพย์ถาวรเป็นไปอย่างรัดกุม
            4.  การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ ทั้งในด้านราคาของสินทรัพย์ และการบันทึกค่าเสื่อมราคาเป็นไปโดยถูกต้อง
            5.  การแสดงรายการสินทรัพย์ถาวรในงบดุลถูกต้อง และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ

หลักการควบคุมภายในด้านสินทรัพย์ถาวร
            1.  การได้มาซึ่งสินทรัพย์ถาวร
            2.  การดูแลรักษาสินทรัพย์ถาวร
            3.  การจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรออกจากบัญชี

การควบคุมภายในด้านเงินเดือนและค่าแรง
วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านเงินเดือนและค่าแรง
            1.  การจ้างบุคลากร การจ่ายเงินเดือนและค่าแรงทั้งหมดได้รับการอนุมัติอย่างเหมาะสม
            2.  การมอบหมายงานเหมาะสม พนักงานทั้งหมดได้รับมอบหมายงานเหมาะสมกับความสามารถและได้ปฏิบัติหน้าที่งานอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ
            3. การคำนวณเกี่ยวกับเงินเดือนและค่าแรง และการจ่ายเงินเดือนและค่าแรงเป็นไปอย่างถูกต้อง
            4.  การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินเดือนและค่าแรงเป็นไปโดยถูกต้อง ครบถ้วน ตามมาตรฐานทางบัญชี
            5.  การรายงานเงินได้ของพนักงานและภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีการจัดทำและนำส่งกรมสรรพกรในเวลาที่กฎหมายกำหนด

หลักการควบคุมภายในด้านเงินเดือนและค่าแรง
            1.  การควบคุมโยระบบงบประมาณ
            2.  การควบคุมโดยการแบ่งแยกหน้าที่
                        -  การว่าจ้างและจัดทำทะเบียนประวัติพนักงาน
                        -  การบันทึกเวลาทำงาน
                        -  การคำนวณเงินเดือนและค่าแรง
                        -  การจ่ายเงินเดือนและค่าแรง

การกำกับดูแลกิจการ
ความหมายของการกำกับดูแลกิจการ
            การกำกับดูแลกิจการ คือ ระบบที่จัดใหมีโครงสรางและกระบวนการของความสัมพันธ์ระหวางฝายจัดการคณะกรรมการ และผูถือหุน เพื่อสรางความสามารถ ในการแขงขัน นำไปสูความเจริญเติบโตและเพิ่มคุณคาใหกับผูถือหุนในระยะยาว โดยคำนึงถึงผูมีสวนไดเสียอื่นประกอบ




วัตถุประสงค์ของการกำกับดูแลกิจการ
            1.  เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสของผู้บริหาร
            2.  เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการ
            3.  เพื่อให้มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
            4.  เพื่อสอดส่องดูแลผลการปฏิบัติงานและผลประโยชน์ของกิจการในระยะยาว

หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
            การกำกับดูแลกิจการ หรือ Corporate Governance หมายถึง ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่าง คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความเจริญเติบโตและเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาวโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นประกอบ

โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนได้แก่
            1. สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียในกลุ่มต่างๆ
            2. โครงสร้าง บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และความเป็นอิสระของคณะกรรมการบริษัทฯ
            3. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
            4. นโยบายการควบคุมและการบริหารความเสี่ยง
            5. จริยธรรมธุรกิจ

การจัดการความเสี่ยงขององค์กร
ความหมายของการจัดการความเสี่ยงขององค์กร
            การจัดการความเสี่ยงขององค์กร หมายถึงกระบวนการที่คณะกรรมการบริษัท ฝ่ายจัดการ และพนักงานทุกระดับกำหนดขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ และวางแผนการดำเนินงาน โดยกระบวนการจัดการความเสี่ยงต้องได้รับการออกแบบให้สามารถระบุเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบทางลบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร และสามารถจัดการความเสี่ยงนั้นให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้








องค์ประกอบของการจัดการความเสี่ยงขององค์กร
            1.  สภาพแวดล้อมในองค์กร
            2.  การกำหนดวัตถุประสงค์
            3.  การระบุเหตุการณ์
            4.  การประเมินความเสี่ยง
            5.  การตอบสนองความเสี่ยง
            6.  กิจกรรมการควบคุม
            7.  สารสนเทศและการสื่อสาร
            8.  การติดตามผล

การควบคุมภายในกับการกำกับดูแลกิจการ
            การควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการ โดนการจัดการระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันและค้นพบความเสี่ยงที่มีอยู่ซึ่งนำไปสู่การแก้ไขไม่ให้เกิดความเสียหายได้ การควบคุมภายในยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร ช่วยป้องกันการรั่วไหล ช่วยให้องค์กรเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคง สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ และก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

การควบคุมภายในกับการตรวจสอบภายใน
            การตรวจสอบภายในเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้กิจการมีการควบคุมภายในที่เหมาะสมและการควบคุมเหล่านั้นได้มีการปฏิบัติตาม ตลอดจนช่วยให้กิจการมีการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมยิ่งขึ้น มีการถ่วงดุลอำนาจไม่ให้มีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบจึงก่อให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี
            อาจจะสรุปได้ว่าการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการ การจัดการความเสี่ยงขององค์กรและการตรวจสอบภายใน ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน



@@@@@@@@@@@@