วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

ตำนานพระพุทธบาท (ตอนที่ 2)

ครั้นอยู่มานานมาถึงพระยาเอกาทศรถ คือ พระนารายณ์ได้เสวยราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา ท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโมถวายพระพรขอหัตถกรรม จะกระทำพระมณฑป ทรงพระราชศรัทธาถวายหัตถกรรมให้ช่างขึ้นไปกะทำประมณฑป สูงสิบแปดวา สองศอกคืบ พรื้นพระทณฑปะพระราชทานเงิน 600 ชั่งให้ดาดพื้นกระจกใหญ่ประดับฝาผนังในกว้างแผ่นละ 3 ศอกคืบสี่เหลี่ยมกระจำประดับผนังข้างนอก 180 แผ่น กระจกประดับเสา 320 แผ่น ทองคำบุหลังคา 62 ชั่ง ทองคำเปลว 294,600 แผ่น พื้นมณฑปข้างใจ แต่พำระซ่นออกไปถึงผนัง 5 ศอก แต่ปลายพระบาทถึงผนัง 5 ศอกคืบ แต่ข้างพระบาทไปถึงผนังข้างขวา 6 ศอกคืบ ข้างซ้าย 6 ศอก ครั้นพระมณฑปสำเร็จแล้ว ท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโมเห็นต้นไม่ใหญ่สามอ้อม มีมาแต่โบราณดอกโตเท่าฝาบาตร มีสัณฐานดังดอกทานตะวัน เพลาเช้าบานหันเข้าสู่พระมณฑปทุกดอก เพลากลางวันดอกตูม เวลาเย็นบาน ท่านสมเด็จแตงโมเห็นว่าบังพระมณฑปอยู่จึงให้ตัดไม้นั้นเสียท่านสมเด็จแตงโมเห็นว่าบังพระมณฑปอยู่จึงให้ตัดไม้นั้นเสีย ท่านสมเด็จเจ้าแตงโมจึงเกิดวิบัติลงโลหิตจนถึงแก่อนิจกรรม สมเด็จบรมกรุงกษัตริย์เอกาทศรถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ องค์พระนารายณ์ทางทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ เสด็จขึ้นไปถวายนมัสการฝ่าพระพุทธบาทผ้าทรงผืนหนึ่ง สำเภายนต์ทองคำลำหนึ่ง ช้างทองคำตัวหนึ่ง ม้าทองคำตัวหนึ่ง กวางทองคำตัวหนึ่ง ไม่กัลปพฤกษ์สามต้น ทองต้นหนึ่ง เงินต้นหนึ่ง นากต้นหนึ่ง ให้มีปืนไว้สำหรับคลัง 6 กระบอก ใหญ่สองกระบอก หามแล่นสองกระบอก ขานกยางสองกระบอก จึงให้ตั้งขุนหมื่นไว้รักษาพระพุทธบาท เอกนามพระสัจพันธตั้น จะตั้งเป็นพระก็ไม่ได้ จะตั้งเป็นหลวงก็ไม่ได้ ด้วยท่านได้อรหัตแล้ว จึงตั้งเป็นขุนสัจพันธคีรนพคูหาพนมโขลน จึงตั้งหมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นแผ้วอากาศ หมี่นชินธาติ หมื่นสรีสัปรุส สี่คนให้รักษาพระมณฑปจึงตั้ง นายประตูสี่นาย หมื่นราชาบาลมุนินท์ หมื่นอินทรักษา หมื่นสุทธิเจดีย์ หมื่นสรีพุทธบาท จึงตั้งขุนหมื่นรักษาคลังสี่นาย ขุนอินทพิทักส์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักส์สมบัติ หมื่นพิทักส์ รักสา จึงตั้งหมื่นสนั่นไพเราะ หมื่นเสนาะเวหา พันเสนาะ รองเสนาะ สี่คนนี้สำหรับประโคมยาม ทั้งกลางวัน กลางคืน มิได้ขาด ขุนธัมการนั้นได้ตรวจตราว่ากล่าวพระสงฆ์เถรเณร ปะขาวรูปชีซึ่งวิวาทแก่กันเป็นกระทรวงธรรมการๆ นั้นตราตั้งมีเสมาธัมจักร หมื่นจิตรจอมไจราชนั้นสำหรับได้ไปเบิกน้ำมันหลวง ขึ้นมาตามถวายพระพุทธบาท หมื่นท่องจังหวัดไพรี หมื่นสรีไรพสนท์ สองคนเป็นพรานสำหรับป่าได้นำเสด็จ หมื่นทิพชลธี หมื่นพันธคิรีคงคาสองคนได้รักษาอ่างแก้วเชิงเขา หมื่นสรีชลธารได้รักษาธารทองแดง หมื่นสรีวานรได้รักษาพระตำหนักพระราชวังหลวง ครั้นเวลาเช้าเย็นได้ไล่วานรมารับพระราชทานเข้าสกทุกเพลา กว่าจะเสด็จพระราชดำเนินเข้ากรุงเทพมหานคร หมื่นสรีรักสาได้รักษาพระตำหนักกรมพระราชวังหน้าพันบาลอุโบสถได้รักษาพระอุโบสถ หมื่นพรหมพันทดพันทองพันคำ 4 คนสำหรับได้ว่ากล่าวโยมสงฆ์ให้สีซ้อมจันหันนิจภัตถวายพระสงฆ์ซึ่งจำพระวรรสาอยู่ ณ เขาจังหวัดพระพุทธบาทองค์ละ 30 ทนาน พระมหามงคลเทพมุนีได้เงินเดือน 4 ตำลึง 10 สลึง พระสงฆ์อันดับได้เดือนละ 6 สลึง ขุนหมื่นพันทนายตั้งไว้สำหรับพระพุทธบาท 27 คน จึงยกเอากรมการสำหรับปะรันตะปะนครราชธานีนั้นขึ้นมารักษาพระพุทธบาทด้วย หลวงสารวัตรราชธานีสรีบริบาลเป็นจางวาง ขุนเฉลิมราชปลัด ขุนเทพยกบัตร ตั้งเป็นขุนสรีพุทธบาทยกบัตร ขุนเทพสุภานั้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทนั้น กับตำรวจในสองคนกำกับกันไปรักษาน้ำศิลาดาษ จึงตั้งว่าขุนเทพสุภาชลธี หมื่นรองสุภานั้นเป็นหมื่นสรีพุทธบาลราชรักสาเป็นปลัดขุนยกบัตร ขุนจ่าเมืองนั้นตั้งเป็นขุนชินบาลชาญราชรักสา เป็นปลัดขุนสัจพันธคีรี ขุนสัสดีตั้งเป็นหมื่นมาสคีรีสมุห์บัญชี แต่ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนาคงที่เดิมแต่ก่อนมา หลวงสาระวัตถือตรารูปองคต ขุนสัจพันธคีรีถือตรารูปคนถือดอกบวยถือเทียนข้างหนึ่ง ขุนเฉลิมถือตรารูปช้าง ขุนยกบัตรถือตรารูปคนถือโคม ขุนเทพสุภาถือตรารูปหงส์ ขุนชินบาลถือตรารูปคนถือดอกบัว ขุนอินทรเสนาถือตรารูปคนถือเชือก ขุรพรหมเสนาถือตรารูปคนถือสมุด หมื่นพระพุทธบาทถือตรารูปคนถือธง หมื่นมาสคีรีคือตรารูปคนถือสมุด หมี่นสุวรรณปราสาทถือตรารูปมณฑป ขุนอินทพิทักส์ถือตรารูปคนถือพาน ขุนพรหมรักสาถือตราบัว หมื่นพิทัส์สมบัติถือตรารูปสิงห์ หมื่นพิทักรักสาถือตรารูปตะไกร ขุนสัจพันธคีรีได้ค่าที่นั่งตำลึงหนึ่ง ขุนยกบัตรได้ค่าที่นั่ง ๘ สลึง ขุนเฉลิมราชผลัดได้ค่าที่นั่ง ๘ สลึง แล้วตรัสสั่งให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ปโรหิตมุขมนตรีให้แต่งพระกลัปนาตราพระราชสีห์ไว้สำหรับพระพุทธบาท พระราชทานสัตโทรคมใช้ไว้ให้แก่ขุนหมื่นสัจพันธคีรี ๖ คน ชุนเทพยกบัตร ๔ คน ขุนเฉลิมราชปลัด ๔ คน ชุนชินบาลชาญราชรักสา ๒ คน ขุนเพทสุภาชลธีได้ ๒ คน หมื่นสรีพุทธบาลราชรักสาได้ ๒ คน ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนา ได้ ๑๐ สลึง หมื่นชลธราได้ ๒ คน หมื่นมาสคิริีได้ ๒ คน ขุนหมื่นทั้งนั้นได้คนละคน แล้วหนึ่งในพระกลัปนานั้น ห้มมิให้ ผู้ใดกะเกณฑ์เอาไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปใช้สอยนอกกว่าการพระพุทธบาท ถ้าผู้ใดมิฟังเบียดเบียนฉ้อพระกัลปนาเอาไพร่ข้า พระโยมสงฆ์ไว้ใช้สอยฉ้อตระบัดเอาพัสดุเงินทองแก่ไพร่ข้า พระโยมสงฆ์ไปเป็นอาณาประโยชน์ของตัวนั้นให้ตกนรกแสนกัป อนันตชาติอย่าให้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้เกิดฉันวุติโรค ๙๖ ประการ ตามสังหารผลาญชีวิตบุคคลผู้นั้นให้ฉิบหายไปด้วยราชภัย อัคคีภัย อุทกภัย ปิศาจภัย ถ้าเป็นผู้ใดจะเข้าไปทำมาหากินในท้องที่อำเภอพระพุทธบาท ทำไร่นาตัดเสาตัดหวายฟืน ทำยาง ฉีกตอก ลอกเชื่อกสารพัดการทั้งปวง แต่ไม้ท่อนหนึ่ง ฟืนดุ้นหนึ่งก็ให้ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนา เรียกเอาหัวป่าค่าที่เป็นค่ากัลปนามาแบ่งเป็น ๓ ส่วน เป็นของพระพุทธส่วนหนึ่ง ของพระธรรมส่วนหนึ่ง ของพระสงฆ์ส่วนหนึ่ง ผู้ได้เรียกนั้นได้รับพระราชทาน ๑๐ ฬสหนึ่ง ถ้าเป็นผู้ใดมิได้เสียค่ากัลปนาแช่งไว้แสนกัปอนันตชาติ อย่าให้รู้ผุดเกิดเลย ให้ฉิบหายไปด้วยภัยต่างๆ ดุจพรรณนามาแต่หลัง ถ้าไพร่ข้าพระโยมสงฆ์จะเกิดวิวาทกันขึ้นกับข้าหลงงและสังกัดพรรคด้วยความสิ่งใดๆ โจทจับช้างม้าโคกระบือแก่กันก็ดี ถ้าและพิจารณาเป็นสัจ ถ้าข้าพระแพ้สั่งจัจไปปรับๆ มามีแต่สิไหม พินัย ท่านให้ยกเสีย ท่านว่าข้าพระนั้นเป็นคนหลวง ถ้าข้าหลวงแพ้ปรับได้ทั้งสินไหมพินัย อนึ่งให้ขุนอินท์ ขุรพรหม เรียกค่าพระกัลปนาเก็บเอาหัวป่าค่าที่นาคู่ละ ๑๐ สลึง ที่อ้อยไร่ละบาท ทำยางนั้นห้าวันไปตักทีหนึ่งได้มา ๒ หาบเรียกปีหนึ่งเอา ๒ สลึง ตัดไม้เป็นแต่พร้าปีหนึ่งเอาแต่เฟื้องหนึ่ง ถ้าตัดเสาเป็นไม้ใหญ่ปีหนึ่งเอา ๒ สลึง ถ้าตัด สี ฟัน ตัดหวาย ฉีกตอกลอกเชือกสารพัดการทั้งปวง ถ้าผู้ชายเอาสลึงหนึ่ง ถ้าผู้หญิงเอาเฟื้องหนึ่ง ที่ตลาดนั้นร้านละ ๒ สลึง หาบของมาขาย เอาเฟื้องหนึ่ง อนึ่งถึงเทศกาลเสด็จและสัปรุสขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทนั้น ให้ขุนสุวรรณปราสาท หมื่นชินธาติ ลงไปตั้งด่านอยู่ที่ท้ายเขาตก ถ้าลูกค้าวานิช เอาสิ่งอันใดขึ้นไปขาย ให้ตรวจตราดูเก่าและปลาเป็ดไก่สุกร สิ่งอันมีชวิตอย่าให้เอาขึ้นไปขายเป็นอันขาดทีเดียว ถ้าและ ผู้ใดมิฟัง เอาสัตว์มีชีวิตขนไปขาย จับตัวได้ให้ทำโทษจงหนัก ข้างเมืองลพบุรีนั้นก็ให้ไป ตั้งด่านอยู่ที่ห้วยมันหวานหนทางไปเมืองลพบุรี ให้ตรวจตรา ดูสิ่งของต้องห้ามดุจเดียวกัน ข้างเมืองป่าชุม เมืองซงบาดาล เมืองท่าโรงให้ตั้งอยู่ธารทองแดง ข้างเมืองสระบุรีนั้นให้ตั้งอยู่ข้างทุ่งแฝก ให้ตรวจตราดูผู้คนไปมา เพลากลางคืนนั้นให้ไปมาแต่ยามหนึ่ง ถ้าพ้นจากยามหนึ่งนั้น ผู้ใดไปมาถือเครื่องศาสตราวุธเป็นประหลาดอยู่นั้นให้จับตัวส่งให้ข้าหลวงทำตามโทษานุโทษ ข้อหนึ่งขุนหมื่นซึ่งรักษาพระพุทธบาทนั้นให้รู้จักคดี ๒ ประการ คือ คดีโลก คดีธรรม ให้ตั้งอยู่ในนิจศีลจึงจะถาวรไปในชั่วนี้และชั่วหน้า จบพระหัตถ์บูชาอุทิศถวายข้าพระโยมสงฆ์ และพระกัลปนาด้วยทรงพระประสงค์จะบำรุงพระศษสนาให้ถาวรถ้วนห้าพันพระวัสสาหนังสือตำบนซึ่งมีมาสิ้นแต่เพียงเท่านี้

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ตำนานพระพุทธบาท ตอนที่ 1

ขอกราบขอบพระคุณผู้เผยแพร่ "ตำนานพระพุทธบาท และอธิบายเรื่องพระบาท" ออกเมรุงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมรัตนากร (มณี สุพโจ ป.ธ.6) วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2534 เพื่อระลึกถึงคุณความดีของ พระธรรมรัตนากร สุนทรพรหมปฏิบัติ สมณวัตรโกศล วิมลปิฎกธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (มณี สุพโจ ป.ธ.๖) ชาตะ ๑๓ กันยายน ๒๔๕๐ มรณภาพ ๒๑ กันยายน ๒๕๓๓
     จะกล่าวถึงตำบนที่พระพุทธบาท ตามพระกะแสพระพุทธฎีกา ตั้งแต่พระพุทธเจ้าของเราได้ตรัสโปรดสัตว์ได้ 8 วัสสา มหาบุญมาอาราธนาไปจากเมืองสาวัตถี ให้ไปโปรดชาววานิชคามแดนเมืองสุนาปรันตะปะ ให้ตั้งอยู่ในประไตรสรนาคม แล้วเสด็จกลับมาประดิษฐานพระรอยไว้แทบฝั่งน้ำนำมะทา พาพระสงค์มาถึงเขาสุวรรณ พระอรหัสต์สัจพันธ์การบทูนขอพระเจดีย์ พระชินสีห์จึงพระราชทานพระรอยไว้ให้เป็นเจดียสถาน แล้วไปโปรดชาวเมืองโยนก ออกจากเมืองโยนมาซงยั้งนั่งใต้ร่มไม้ประดู่ใหย่ได้เก้าอ้อมอยู่ชายทะเลทอดพระเนตรเห็นหนองโสน เห็น 3 สัตว์ คือ นกยางตัวหนึ่ง จังกวดตัวหนึ่ง พานรตัวหนึ่ง จึ้งแย้มพระโอษฐ์ ฝ่ายพระอานนท์ก็กราบทูนถามจะใคร่แจ้งความที่พระองค์เจ้าแย้มพระโอษฐ์ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกรอานนท์ที่อันนี้แต่ก่อนเป็ฯเมืองลักษณ์และราม มีนามว่าเมืองหนองโสน พระรามสิ้นพระชนม์ไปได้ 106 ปี พระตถาคตจึงได้มาตรัสเทศนาให้อานนท์ฟัง วันนั้นเป็นวันพฟหัสเดือนยี่ขึ้น 6 ค่ำปีเถาะ เวลาบ่ายสองชั้นฉาย ครั้นจบเทศนาแล้วยังมีพราหมณ์คน 1 ชื่อ กุล พราหมณ์จึงเอาลูกสมอมาถวาย ทรงนั่งฉันเสมอที่ตอตะเคียน แล้วแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์ทูลถาม จึงมีพระพุทธฎีกาพยากรณ์ไว้ให้พระอานนท์ฟังว่า สมอนี้เป็นยา นานไปข้างหน้าเมืองหนองโสนนี้จะได้ชื่อว่า ศรีอยุธยา เมื่อพระตถาคตเข้าสู่พระนฤพานไปแล้วได้ 7 ปี จะมีพระยาองค์หนึ่งทรงนามว่า พระยาภัยทศราช เธอจะมาสร้างพระนครขึ้น เธอจะได้เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนี้ได้ 120 ปี ครั้นสิ้นบุญพระยาอภัยทศราชแล้ว ยังมีพระยาองค์หนึ่งทรงนามกรว่า พระยากาลราช เธอเสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองได้ 100 ปี ครั้นสิ้นอายุพระยากาลราชนั้นแล้วยังมีพระยาองค์หนึ่งทรงพระนามกรว่า ท้าวอู่ทอง ครั้นสิ้นบุญท้ายอู่ทองนั้นแล้วแต่บรรดาลูกหลานหว่านเครือท้ายอู่ทองนั้นก็สิ้นเชื้อกษัตริย์ ยังมีขุนเมืองคนหนึ่งชื่อพระยาโคตะบองครองสมบัติมา ครั้นสิ้นบุญพระยานั้นแล้ว พระยาแกรกได้ครองสมบัติเป็นลำดับกษัตริย์ต่อกันมาจนถึงสมเด็จพระบิดาพระนเรศวร์ กรุงศรีอยุธยาก็จะเสียแก่เจ้าหงสาลิ้นดำ ครัง้นั้นคนศีรษะใหญ่เท่าบาตร ครั้งกรุงศรีอยุธบาเสียแล้ว พระเจ้าหงสาวดีจึงให้กวาดเอาไพร่บ้านพลเมืองกับพระนเรศวร์ และสมเด็จพระพี่นางไปบ้านสัจพันธคาม และเมืองสุนาปะรันตะปะก็สูญแต่ครั้งนั้น หามีผู้ใดรักษาพระพุทธบาทไม่ พระพุทธบาทก็ลี้ลับอยู่ช้านาน กรุงศรีอยุธยานั้นก็ยังว่างเหล่าอยู่ ยังหามีกษัตริย์พระองค์ใดจะมาเสวยราชสมบัติไม่ ครั้นพระนเรศวร์กลับมาแต่หงสาวดี จึงได้มาเสวยราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา เธอมีอานุภาพดุจหนึ่งจะพลิกแผ่นดินหง่าย ครั้นสิ้นบุญพระนเรศวร์แล้ว สมเด็จบรมกษัตริย์ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อกันมา จนถึงสมเด็จพระอิศวรอิศเรศได้เสวยราชสมบัติก็ยังหาพบฝ่าพระพุทธบาทไม่ ครั้งนั้นพระสงฆ์เจ้าออกไปนมัสการฝ่าพระพุทธบาท ณ เมือง ลังกา พระยาเทวานังปิยดิส จึงมีพระราชโองการตรัสถามประสงฆ์เจ้าว่า ดูกร พระผู้เป็นเจ้า ฝ่าพระพุทธบาท ณ กรุงศรีอยุธยาหามีไม่ พระผู้เป็นเจ้าจึงอุตส่าห์ออกมาถึงนี่ พระสงฆ์จึงถวายพระพรแก่พระยาเทวานังปิยดิสว่า ฝ่าพระพุทธบาทมีอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา อยู่บนยอดเขาสุวรรณบรรพตข้างทิศอุดร สถิตย์เหนือกรุงศรีอยุธยา พระยาเทวานังปิยดิส จึงทรงพระราชอักษรเป็นราชสาส์นถวายกับพระสงฆ์เจ้าให้เอาข่าวสาส์นมาถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา พระสงฆ์เจ้ารับพระราชสาส์นแล้ว ก็ถวายพระพรลาพระยาเทวานังปิยสิสกลับเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา จึงนำเอาพระราชสาส์นตรานั้นขึ้นถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ๆ ได้ทราบในพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงลังกานั้นแล้ว จึงมีพระราชโองการดำรัสสั่งแก่เสนาบดีทูลละองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ให้บาดหมายป่าวร้องอาณาประชาราษฎรให้เที่ยวค้นคว้าหาพระพุทธบาทจงได้ จึงชวนกันเที่ยวค้นคว้าหาฝ่าพระพุทธบาทจงได้มานานแล้วยังหาพบไม่
     ตสฺมึ กาเล ในกาลครั้งนั้นยังมีนายพรานผู้หนึ่งเที่ยวยิงเนื้อในแว่นแคว้นแดนปรันตะปะนครราชธานี นายพรานคนนี้ถือสัจมั่นคงอยู่ทุกวันฉะนี้ ว่าจะยิงตัวดำ ถ้าและตัวแดงขวางหน้าหายิงไม่ ถ้าจะยิงตัวเมียตัวผู้ขวางหน้าหายิงไม่ ถือสัจอยู่ฉะนี้ ครั้นอยู่มากาลวันหนึ่งนายพรานยิงเนื้อตาย พอพระฤาษีลงไปสรงน้ำที่ท่าวัด นายพรานจึงสั่งพระฤาษี่าช่วยบอกพระคงคาให้ไหลขึ้นมาจะล้างเนื้อ พระฤาษีจึงว่ากับนายพราน แต่กูสวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันค่ำเข้ามิได้ขาดแต่หนุ่มจนแก่แล้ว กูไม่เรียกพระคงคาขัี้นมาบนเขาได้เลย ต้องลงไปอาบถึงท่าน้ำวัด มึงฆ่าสัตว์อยู่เป็นนิจ จะสั่งให้พระคงคาไหลขึ้นมาถึงบนเขา กูยังไม่เห็นด้วยเลย นายพรานจึงว่ากับพระฤาษีว่าไปบอกเถิดว่าอ้ายพรานมันสั่งมาให้ไหลขึ้นมาบนเขามันจะล้างเนื้อ พระฤาษีลงไปถึงท่าวัด จึงบอกพระคงคาว่าอ้ายพรานมันสั่งมาให้ไหลขึ้นไปบนเขามันจะล้างเนื้อ พระคงคาก็ไหลขึ้นไปที่นายพรานยิงเนื้อไว้นั้น นายพรานจึงเอาก้อนศิลานั้นกั้นน้ำเข้าไว้ให้เป็นขอบคันบ่ออยู่ นายพรานจึงล้างเนื้อในบ่อนั้น จึงเป็นสำคัญอยู่ทุกวันนี้ จึงเรียกว่าบ่อล้างเนื้อสือบๆ กันมาดังนี้ พระฤาษีเห็นว่าอ้ายพรานเรียกพระคงคาไหลขึ้นบนเขา จึงถามนายพรานว่ามีวิชาอาคมประการใด จึงเรียกพระคงคาขึ้นไปได้บนเขา นายพรานจึงว่ากับพระฤาษีว่า จะใครเห็นดีกันในกลางคืนวันนี้ ลงไปนอนด้วยกันในสระบัว ครั้นเพลาค่ำพระฤาษีกับนายพรานพากันลงไปในสระ พระฤาษีกับนายพรานขึ้นนอนบนใบบัวคนละใบ ครั้นจะใกล้รุ่งพระฤาษีเคยลุกขึ้นสวดมนต์ภาวนา ครั้นสวดมนต์แล้วพระฤาษีจึงว่า พรานรุ่งแล้วจะนอนคลุมหัวไปถึงไหน นายพรานเปิดศีรษะออกและดูพระอาทิตย์หาเห็นไม่ นายพรานจึงว่าพระฤาษีสับปลับยังไม่รุ่งก็ว่ารุ่ง พระฤาษีก็ตกลงไปจมน้ำอยู่ นายพรานก็กลับนอนไปจนพระอาทิตย์ขึ้น นายพรานจึงว่ารุ่ง อยู่มากาลวันหนึ่งนายพรานยิงเนื้อ นายพรานตามเนื้อ ๆ นั้นได้รับพระราชทานน้ำในฝ่าพระพุทธบาท อาพาธที่ถูกปืนนั้นก็หายไป แต่นายพรานยิงเนื้อลำบากไปถึงสถานที่นั้น เนื้อนั้นก็หายอาพาธไปหลายตัวแล้ว นายพรานเห็นประหลาดอยู่จึงเข้าไปดูในสถานที่นั้น จึงเห็นศิลานั้นเป็นลิ้นถอดมีน้ำขังอยู่แต่พอเนื้อนกได้รับประทาน นายพรานจึงตักเอาน้ำนั้นมารับประทาน แล้วจึงเอาลูบกายของนายพราน อาพาธเกลื้อนกลากที่หายของนายพรานก็หายไป นายพรานจึงชักศิลาลิ้นถอดที่ฝ่าพระพุทธบาทนั้นออก แล้วนายพรานจึงตักน้ำนั้นเสียให้แห้ง แล้วจึงเห็นพระลักษณะพระลายลักษณ์พระกงจักรผ่องแผ้วกระจ่างปรากฏอยู่ นายพรานสำคัญว่ารอยคนโบราณ นายพรานก็นิ่งความนั้นไว้ จะได้บอกเล่าให้ผู้ใดใครผู้หนึ่งให้รู้เห็นนั้นหามิได้ ครั้นข้าหลวงกรมการพบนายพราน จึงถามว่า ท่านเที่ยวยิงเนื้อในประเทศราวป่านี้พบเห็นสิ่งใดปรากฏบ้าง นายพรานจึงเล่าให้ข้าหลวงกรมการนั้นฟังความมีมาแต่หนหลังนั้น ข้าหลวงกรมการได้แจ้งเรื่องราวที่นายพรานนั้นแล้วก็ให้นายพรานนำขึ้นไปที่ฝ่าพระพุทธบาทนั้น เห็นปรากฏแล้วพากันกราบถวายนมัสการแล้วแต่บรรดาข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อยก็พากันลงไปกราบทูลพระกรุณาแก่สมเด็จพระบรมกษัตริย์ ได้ทรงทราบว่าพระพุทธบาทสถิตย์อยู่หนือยอดเขาสุวรรณบรรพตคีรี จึงโปรดเกล้าฯ ขอให้ก่อเป็นฝาผนังหลังคามุงกระเบื้องอย่างวัดเจ้าพระยาเชิง ให้เป็นร่มพระพุทธบาทไว้ จึงตั้งให้นายพรานเป็นขุนสัจพันธคีรีนพคูหาพนมโขลน