วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทักษะการเรียนให้ประสบความสำเร็จ (จากเอกสารปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ มสธ.)

* อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางคำเพื่อผู้อ่านทุกระดับ
   
     ทักษะการเรียนเป็นต้นทุนตัวช่วยที่สำคัญที่สุดของผู้เรียน ทักษะการเรียนจะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจบทเรียนได้ด้วยตนเอง ทำข้อสอ่บได้ ประหยัดเวลาในการอ่าน ทักษะการเรียนที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการอ่าน การจดบันทึก การจำ การทำข้อสอบปรนัย การทำข้อสอบอัตนัย ทักษะการเรียนจึงเป็นสิ่งที่ผู้เรียนควรฝึกปฏิบัติให้คล่องจะช่วยให้ประสบความสำเร็จทางการเรียนได้ง่ายขึ้น

เทคนิคการอ่านให้ได้ใจความ
     การอ่านจับใจความเป็นเทคนิคการอ่านพื้ันฐานที่สำคัญสำหรับนักเรียน นักศึกษา ซึ่งต้องฝึกบ่อยๆ ฝึกซ้ำๆ เพื่อก่อให้เกิดความชำนาญในการอ่าน การกวาดสายตามองเนื้อหาสาระจากเอกสารการสอนจำเป็นต้องใช้ความสังเกต และมีสมาธิอย่างสูง ผู้ชำนาญการอ่านจับใจความกวาดสายตาเพียง 1 รอบ ก็สามารถจับประเด็นสาระสำคัญ
     การอ่านจับใจความ คือ การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องหรือของหนังสือแต่ละเล่ม นักศึกษาต้องหาใจความสำคัญของเรื่องให้ได้
     ใจความสำคัญของเรื่อง คือ ข้อความที่เป็นสาระสำคัญที่สุดคลุมข้อความอื่นๆ เป็นเพียงส่วนขยายใความสำคัญเท่านั้น ข้อความหนึ่งหรือตอนหนึ่งอาจมีใจความสำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียว นอกนั้นเป็นใจความรอง ผู้เรียนจะหาใจความสำคัญของเรื่องได้จาก ประโยคต้นหรือประโยคท้ายของย่อหน้า หรือผู้อ่านต้องพยายามสรุปสาระสำคัญของเรื่องให้ได้จากการอ่านด้วยตนเอง

ตัวอย่างการอ่านจับใจความ
     จากทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงประชากรในเรื่องที่  4.2.1 หากเรานำมาประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงประชากรกับสังคมไทยสามารถแบ่งสถานการณ์ทางประชากรออกเป็น 3 ระยะ หรือ 3 ขั้นตอน ดังนี้
     ขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นระยะที่อัตราเกิดและอัตราตายอยู่ในระดับสูงพอๆ กัตนเป็นเวลาหลายร้อยปี ย้อนหลังจนถึง พ.ศ. 2490 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้น อัตราเพิ่มตามธรรมชาติของไทยจึงอยู่ในอัตราต่ำ สาเหตุที่เกิดอัตราเกิดสูง เพระาค่านิยมในสังคมไทยนิยมครอบครัวใหญ่ และการคุมกำเนิดยังไม่เป็นที่รู้จักหรือใช้กันแพร่หลาย ส่วนอัตราตายสูงและสาเหตุหลักของการตายมาจากโรคระบาดหรือโรคติดเชื้อ เพราะการแพทย์และสาธารณสุขของไทยยังไม่ได้พัฒนาเมื่อมีการทำสำมะโนประชากรครั้งแรกใน พ.ศ. 2543 ประชากรไทยในยุคนั้นมีเพียง 8 ล้านคน และการที่ประชากรมีจำนวนน้อย คงจะเป็นที่วิตกของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองในยุคนั้น ดังเช่น สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงปรศรัยเมื่อ พ.ศ. 2449 แสดงความห่วงใยที่ประชากรของไทยมีน้อย
     "สยามประเทศย่อมเป็นประเทศบริบูรณ์ มีพื้นดินอันอุดม...แต่ที่หย่อนกำลังอยู่ก็ด้วยราษฎรมีน้อย เพราะว่าจะเป็นการฝ่ายทหารก็ดีหรือพลเรือนก็ดี ถ้ามีผู้คนมากกำลังของบ้านเมืองก็ทวีขึ้นมาก การทำไร่นาค้าขาย อันเป็นเหตุให้เจริญโภคทรัพย์ก็จะบริบูรณ์ยิ่งขึ้น และภาษีอากรการผลประโยชน์ของบ้านเมืองก็จะทบทวีขึ้นตามกัน"
     ปัญหาการเพิ่มของประชากรไทยในระดับต่ำได้เรื้อรังไปจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังจะเห็นได้จากรายงานใน พ.ศ. 2457 ของพระยามหาอำมา่ตยาธิบดี ผู้รักษาการแทนเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ที่ทำรายงานกราบบังคมทูลล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 ว่า
     "ควรจัดการรักษาพยาบาลและป้องกันการเจ็บป่วยของพลเมืองเพื่อให้จำนวนพลเมืองมากขึ้น เพราะราษฎรพลเมืองในสยามมีอยู่น้อยมากถึงแม้จะมีพลเมืองขึ้นอีกสัก 10 เท่านี้ ก็ยังจะมีที่ดินทำไร่นาเรือกสวนและการหาเลี้ยงชีพได้เพียงพอกัน"
     เมื่อมีการจัดตั้งกรมสาธารณสุขใน พ.ศ. 2461 ก็มีการแต่งคำขวัญชักชวนประชาชนให้มีบุตรมากกว่า "พลเมืองจะดกดื่นดก เพราะทารก สงเคราะห์" มาในช่วง พ.ศ. 2460-2480 ในยุคนี้เริ่มีการกังวลว่าประชากรมีแนวโน้มเพิ่มสูง จึงเริ่มเผยแพร่วิธีการคุมกำเนิด แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วง พ.ศ. 2485-2487 ซึ่งประเทศกำลังอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลในยุคนี้มีนโยบายให้คนไทยมีบุตรมาก เพื่อความเป็นมหาอำนาจ และม่มาตรการส่งเสริมการสมรส การประกาวดการมีบุตรมาก
           ที่มา : หน่วยที่ 4 เรื่อง ประชากรศาสตร์และสังมมนุษย์ ชุดวิชาสังคมมุนษย์ (10131)
           ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ ดร. วิภาวี พิจิตบันดาล
................................................
      จากเนื้อหาดังกล่าว ใจความสำคัญจะอยู่ที่บรรทัด 1-2 ซึ่งได้แก่ "ขึ้นตอนที่ 1 เป็นระยะที่อัตรเกิดและอัตรตายอยู่ในระดับสูงพอๆ กัน เป็นเวลาหลายร้อยปี ย้อนหลังจนถึง พ.ศ. 2490 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2" ซึ่งเป็นข้อความที่มี่สาระคลุมข้อความอื่ีนๆ ในย่อหน้านี้ หลังข้อความนี้เป็นการอธิบาย ขยายความและยกตัวอย่างทั้งหมด


การจดบันทึก
      การจดบันทึก นับว่าเป็นทักษะในการเรียนที่สำคัญและจำเป็นมาก สำหรับการเรียนด้วนตนเอง เพราะในแต่ละภาคการศึกษา มีเนื้อหาสาระหลากหลายเป็นจำนวนมากหากไม่มีเทคนคหรือเครื่องมือช่วยในการจำที่ดีจะทำให้เกิดความสับสนและเมื่อต้องมีการทบทวนก่อนสอบ บันทึกย่อที่ทำไว้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
     การจดบันทึกจะช่วยให้ผู้เรียนมีความจำในสิ่งที่อ่านมาแล้วได้มากขึ้น ในการจดบันทึก ผู้เรียนจะต้องกลั่นกรองสิ่งที่ได้จากการอ่านแล้วนำมาสรุปเป็นประเด็นสั้นๆ จะช่วยให้เราจดได้ดีกว่าการจดบันทึกยาวๆ สิ่งที่ผู้เรียนควรบันทึก ควรเป็นคำสำคัญหรือประโยคใจความสำคัญ ที่อ่านพบในเนื้อเรื่องและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนการสอนประจำหน่วย
วัตถุประสงค์ของการจดบันทึก
  1. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมความรู้ที่อ่าน
  2. เพื่อประมวบความคิดหลังจากการอ่าน
  3. เพื่อได้กรอบความคิดในเนื้อหาสาระสำหรับการอ่านต่อไป
แนวทางการจดบันทึก
ผู้เรียนสามารถใช้แนวทางในการจดบันทึก ดังนี้่
1. บันทึกสาระสำคัญ ได้แก่ การบันทึกคำหรือประเด็นสำคัญทั้งชื่อเรื่อง หัวข้อหลัก และหัวข้อรอง รวมทั้งความหมายของคำสำคัญ ฯลฯ โดยการตอบคำถามตามสูตร 5W1H อาทิ ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอะไร มีใครเข้ามาเกี่ยวข้อง เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อไร ที่ไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และเกิดขึ้นได้อย่างไร
2. บันทึกชื่อหนังสือหรือตำรา และหัวข้อ รวมทั้งชื่อผู้แต่ง หรือชื่อหัวข้อ และชื่ออาจารย์ผู้บรรยาย การบันทึกดังกล่าวจะช่วยในการค้นคว้าเมื่อต้องการรายละเอียด รวมทั้งการอ้างอิงได้ทัน
3. จัดหมวดหมู่ของสาระสำคัญ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม หรือหมวดหมู่ตามแต่เนื้อหา ่ทั้งนี้เพื่อค้นคว้าหรือทบทวนได้สะดวก และจดจำได้ง่ายขึ้น การจัดหมวดหมู่ของสาระสำคัญทำได้หลายวิธี เช่น จัดหมวดหมู่ตามหัวข้อ จัดหมวดหมู่ตามความเหมือนหรือความแตกต่าง ฯลฯ
4. เรียงลำดับเรื่องให้อ่านและเข้าใจง่าย ที่สำคัญคือ เชื่อมโยงประเด็นให้เห็นความสัมพันธ์ทั้งหมด และถูกต้องตามความหมาย การเรียงลำดับเรื่องทำได้หลายวิธี อาทิ เรียงลำดับตามลำดับเวลา เรียงลำดับตามตำแหน่งพื้นที่ เรียงลำดับตามสาเหตุไปสู่ผล ฯลฯ
5. ใช้ถ้อยคำที่กระชับ แต่ชัดเจน เข้าใจง่าย และครอบคลุมเนื้อหามากที่สุด โดยอาจใช้เทคนิคการบันทึกโดยใช้คำสัมผัส ซึ่งการใช้คำที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองจะช่วยให้จำได้ดี
รูปแบบการจดบันทึก
     การจดบันทึก ผู้เรียนสามารถทำได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระของเอกสารที่อ่าน และความถนัดของผู้เรียน โดยแบ่งออกเป็นประเภท ดังนี้
1. การจดบันทึกลงในแบบบันทึก
การจดบันทึกลงในแบบบันทึก เป็นการบันทึกสาระสำคัญและรายละเอียดพร้อมสรุปในแบบบันทึกที่แบ่งพื้นที่ เป็น 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 สาระสำคัญ
     สาระสำคัญ ได้แก่ คำสำคัญ ประเด็นสำคัญหรือประโยคสำคัญที่มีคุณลักษณะสำคัญ คือ เป็นประโยคหรือคำที่มีความหมายครอบคลุมย่อหน้าใดย่อหน้าหนึ่งมากที่สุด อาจเป็นเนื้อหาในส่วนที่ผู้เขียนเน้นย้ำมากที่สุดและอาจเป็นคำหรือข้อความที่อธิบายรายละเอียด อธิบายสนับสนุนหรือความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยทั่วไปมักปรากฏเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่ หรือตัวอักษรหนาเข้ม หรือตัวอักษรเอียง ฯลฯ
ส่วนที่ 2 รายละเอียด
     รายละเอียด คือ ส่วนข้อความที่เป็นเนื้อหาสาระที่ขาดไม่ได้หรือเมื่อไม่มีแล้วอาจทำให้ไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดได้
ส่วนที่ 3 ส่วนสรุป
     ส่วนสรุป เป็นหารสรุปความหรือย่อความ เป็นการนำเอาเรื่องราวต่างๆ มาเขียนใหม่ ด้วยสำนวนภาษาของผู้เขียนเอง เมื่อเขียนแล้วเนี้อความเดิมจะสั้นลง แต่ยังมีใจความสำคัญครบถ้วน การย่อนี้ไม่มีขอบเขตว่าย่อลงไปเท่าใด จึงจะเหมาะสม เพราะบางเรื่องมีใจความมากก็จะย่อได้ 1 ใน 2 บางครั้งมีใจความสำคัญน้อยอาจเหลือ 1 ใน 4 หรือมากกว่านั้น แต่ที่สำคัญควรครอลคลุมใจความหรือเนื้อหาสาระสำคัญเดิม

2. การจดบันทึกเป็นแผนภูมิแบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์
     แผนภูมิ หมายถึง แผนที่ เส้น หรือตารางที่ทำขึ้นเพื่อแสดงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การจดบันทึกแบบแผนภูมิเชื่อมโยงความสัมพันธ์ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรวบรวมเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนต้องการได้อย่างต่อเนื่องเป็นระุบบ ดูง่าย จำง่าย

3. การจดบันทึกแบบแผนที่ความคิด (Mind Map)
     Mind Map แปลตรงตัวเป็นภาษาไทยได้ว่า แผนที่ความคิดเป็นทฤษฎีในการนำเอาระบบการคิดของสมองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ทฤษฎีของโทนี่ บูซาน ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการนำมาช่วยในการเขียนแผนที่ความคิดการเขียนแผนที่ความคิดในอดีตจะเน้นเขียนลงบนกระดาษว่างๆ จากจุดศูนย์กลางกระจายเป็นรูปคล้ายๆ การแตกกิ่งก้านของต้นไม้
     Mind Map ช่วยอะไรได้บ้าง
  • เป็นการสร้างสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
  • ช่วยในการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์
  • ใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ประกอบในการตัดสินใจกรณีมีทางเลือกหลายๆ ทาง
  • ใช้ในการสรุปเนื้อหามากๆ ให้สั้นลง
ขั้นตอนการเขียนแผนที่ความคิด
  1. เริ่มต้นด้วยการเขียนหรือวาดภาพ หัวเรื่อง/แนวคิด/คำหลัก ที่กึ่งกลางหน้ากระดาษที่ไม่มีเส้นบรรทัด โดยใช้ดินสิสีหรือปากกา
  2. ขีดเส้นโดยไม่ใช้ไม้บรรทัดออกจาก หัวเรื่อง/แนวคิด/คำหลัก
  3. เขียนหัวข้อความคิดหลักที่เชื่อมโยงจาก  หัวเรื่อง/แนวคิด/คำหลัก บนเส้นที่ลากออกมา
  4. เขียน คำลูก ออกจากความคิดหลัก เป็นเส้นคล้ายกิ่งต้นไม้ และสามารถเขียนได้หลายเส้น จนกระทั่งเนื้อหาครบสมบูรณ์ตามความคิดหลัก
  5. วาดรูปประกอบ/ใช้รูปภาพ/สัญลักษณ์ แทนตัวอักษรให้มากที่สุดเพราะรูปภาพจะทำให้จดจำได้ง่ายกว่าตัวอักษร
  6. ตัวอักษรต้องเขียนอยู่บนเส้นเสมอ
ผู้เรียนควรมีทักษะทางด้าน การอ่าน การฟัง โดยสามารถเชื่อมโยงเนื้อหากับภาพในใจ (ในสมอง) ที่มีอยู่อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าในในเนื้อหาและสามารถบันทึกแนวคิดหลักออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจเนื้อหาในครั้งแรกที่เรียน ผู้เรีนยอาจอ่านหนังสือ ่ตำรา หรือเอกสารประกอบการเรียนรอบที่ 2 หรือสอบถามจากอาจารย์ผู้สอน ซึ่งจำทำให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถจดบันทึกได้ถูกต้อง

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สำหรับการเขียนโครการค่ะ เพื่อให้รองรับการประเมิน SAR จริงๆ คิดว่า จะมีแบบที่เหมาะมากกว่านี้อีกนะคะ

การเขียนโครงการ: จากแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ Project Writing: From idea into Practice.   ข่าวทั้งหมด
 21 มีนาคม 2556

      
การเขียนโครงการจากแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ
Project Writing: From idea into Practice.
อธิปัตย์ คลี่สุนทร *
            การทำงานขององค์การของรัฐและเอกชนเพื่อหาทางแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น หรือเพื่อการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น มักเริ่มต้นด้วยการกำหนดนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไร ต่อมาก็เป็นกระบวนการวางแผนที่อธิบายวัตถุประสงค์ชัดเจน มีการจัดลำดับความสำคัญ หลังจากนั้น เป็นกระบวนการจัดทำโครงการภายใต้แผนดังกล่าว ดังนั้น นโยบาย การวางแผน และการเขียนโครงการ จึงมีความสัมพันธ์กันมาก การเขียนโครงการต้องมีความชัดเจนทุกองค์ประกอบ ที่สำคัญมากคือโครงการควรต้องระบุวัตถุประสงค์ ขอบข่ายการทำงาน ขั้นตอนการดำเนินการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และเกณฑ์การประเมินผล โครงการที่ชัดเจน จะสามารถทำให้แนวความคิดของนโยบาย เป็นความจริงได้ในการปฏิบัติ

            In order to solve certain problems or bring desired improvement, a public or private organization should first lay down clear policies. Then, they should do their planning based on capable goals. The plan should clearly explain and prioritized the objectives and projects. Thus, policy, plan and projects are closely related. All the components of the projects should be clearly defined. It is extremely important that report clearly describes the project's scope, its objective, procedures, evaluation criteria and the expected results. Clearly defined project can bring the ideas into practices.  

             ๑. ความนำ  ในการหาทางดำเนินการตามนโยบายของผู้บริหารเพื่อแก้ไขปัญหาตอบสนองต้องการจำเป็น หรือเพื่อการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น ผู้ดำเนินงานมักคิดวางแผนก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไรในอนาคต แล้วจึงเขียนร่างความคิดเป็นการวางแผน ซึ่งแผนส่วนใหญ่จะประกอบด้วยโครงการ โครงการเดียวหรือหลายโครงการ ที่ทำให้เกิดความชัดเจนในด้านกระบวนการทำงาน วัตถุประสงค์ของงาน ขอบเขต ระยะเวลา งบประมาณหรือทรัพยากรที่ต้องใช้ และผู้รับผิดชอบให้งานแล้วเสร็จ ซึ่งเมื่อนำแต่ละโครงการภายใต้แผนการทำงานโดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณมาผนวกกัน ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายโดยรวมของแผน เพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบ และขอรับการสนับสนุน ให้ดำเนินการได้ตามนโยบายต่อไป
            วงจรการทำงานส่วนใหญ่ของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ เริ่มต้นที่การกำหนดนโยบาย(policyy setting) จากการศึกษาข้อมูลสารสนเทศ (information) รวมทั้ง การศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่าในช่วงระยะเวลาในอนาคต ควรจะดำเนินการอย่างไร  แล้วเลือกว่า จะกระทำหรือเลือกไม่กระทำกิจการบางอย่างให้สาธารณะ  (Dye, 1981) ชึ่งโดยทั่วไปแล้ว นโยบายที่ดี จะมีลักษณะสำคัญ (Dunn, 1994; Bottery, 2000; สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, ๒๕๕๕) พอสรุปได้ดังนี้ คือ ๑) เป็นลายลักษณ์อักษร กระทัดรัด ชัดเจน  ๒) มีที่มาจากข้อมูลที่เชื่อมั่นได้ ๓) ตอบสนองความจำเป็นที่แท้จริง ๔) ปฏิบัติได้ เป็นจริงได้ ประเมินผลได้ ในช่วงเวลาที่ต้องการ ๕) เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ๖) ไม่ผิดหลักกฎหมายและกฎศีลธรรม และ ๗) ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ หลังจากนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้อง ก็จัดทำเป็นแผน ตอบสนองต่อนโยบายที่กำหนดไว้
             ขั้นตอนต่อมาคือ การวางแผน (planning)) ซึ่งเป็นการคิดหาทางหรือหาวิธีการที่จะทำให้นโยบายเป็นจริงได้ การวางแผนเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงสภาพความเป็นจริงปัจจุบัน ไปสู่ความคาดหวังที่จะแก้ปัญหาหรือการพัฒนาในอนาคต ซึ่งผู้นำหรือผู้วางแผนยุคใหม่ (Anderson & Anderson, 2010) (Tracy, 2010) ขั้นต่อมาคือ การเตรียมโครงการ  ซึ่งจะทำให้นโยบายและการวางแผนที่เป็นความคิดกลายเป็นความจริง โครงการส่วนใหญ่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ ยกเว้นโครงการที่เป็นเชิงนามธรรม เช่น โครงการพัฒนาจิต โครงการสร้างเสริมระเบียบวินัย (แต่ก็สามารถวัดและประเมินผลได้ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ) แผนงานหนึ่งอาจจะประกอบด้วยหลายโครงการได้ เช่น แผนพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน อาจจะประกอบด้วย โครงการอบรมครูอาจารย์ผู้สอน โครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา โครงการพัฒนาห้องสมุด โครงการจัดทำสื่อการสอน โครงการจัดหาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยสอน เป็นต้น บางสถานศึกษาอาจจะวางแผนพัฒนาอาคารสถานที่ ซึ่งอาจประกอบด้วย โครงการปรับปรุงโรงอาหาร โครงการห้องน้ำสะอาด โครงการพัฒนาภูมิทัศน์ของโรงเรียน เป็นต้น ขั้นตอนต่อมาคือ การเขียนโครงการ ซึ่งเป็นการระบุรายละเอียดที่สำคัญเพื่อนำความคิดไปดำเนินการ(implementation) ก่อนนำไปสู่การประเมินผล (evaluation)
             จุดหมายหลักของข้อเขียนนี้คือ การเสนอแนวความคิดเรื่องการเขียนโครงการ ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าเอกสาร และจากประสบการณ์การทำงานใน สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รวม ๑๐ ปี ซึ่งคาดว่า น่าจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องกับการร่างหรือการเขียนโครงการ สามารถเขียนเสนอโครงการด้านการศึกษาหรือโครงการด้านอื่นของหน่วยงานใดก็ตาม ให้มีความชัดเจน กระทัดรัด เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และได้รับการอนุมัติ สนับสนุนให้ดำเนินการ เพื่อการแก้ปัญหา หรือเพื่อการพัฒนาเรื่องต่างๆ ได้ต่อไป
              ๒.  ความหมาย
              พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำ โครงการ (Project) ว่า หมายถึง ” (๑) แนวความคิดและการเตรียมการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อหาทางดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้นๆ อย่างแน่ชัดและมีระบบ (๒) กลุ่มของกิจกรรมที่มุ่งวัตถุประสงค์เดียวกัน โดยมีการกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการดำเนินการอย่างชัดเจน (๓) ส่วนหนึ่งของแผนงาน (Program)” (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๕. น. ๔๒๖)
             โครงการ โดยทั่วไปแล้ว เกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาหรือขจัดปัญหาหรือเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต  (Lester, 2003; Young, 2006) โครงการในภาพรวม สามารถแยกได้หลายประเภท ทั้งแบ่งตามลักษณะความจำเป็นเร่งด่วน ขนาดของโครงการ หรือระยะเวลาดำเนินการ ประเทศไทย มีโครงการหลายประเภท อาทิ โครงการพระราชดำริ โครงการตามนโยบายเร่งด่วน โครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) หรือโครงการเฉพาะเรื่อง เช่น โครงการสร้างฝายน้ำล้น โครงการปลูกป่าชายเลน โครงการอาหารกลางวัน โครงการบวชสามเณรฤดูร้อน โครงการฝึกสมาธิ โครงการชุมชนรักษ์ป่า โครงการออมไว้ไม่ขัดสน โครงการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์จำเป็นฯ โครงการถนอมอาหาร โครงการโรงเรียนสีขาว โครงการซื้อเองขายเอง (สถานศึกษาบางแห่งจัดสิ่งของไว้ขายโดยไม่มีผู้ขาย นักเรียนผู้ซื้อต้องชำระเงินและทอนเงินเอง วัตถุประสงค์โครงการนี้เพื่อเพาะบ่มเรื่องความซื่อสัตย์) เป็นต้น
  การเตรียมการเขียนโครงการ
             การเตรียมการก่อนเขียนโครงการหรือวางโครงการเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่ง (Bungay, 2011) ซึ่งผู้มีหน้าที่ ต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลประกอบ และควรคำนึงถึงเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
              ๓.๑ การเตรียมและเขียนโครงการ ต้องจัดคำนึงถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ
                    บอกรายละเอียดทุกขั้นตอน เพื่อผู้อื่นเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ (Kapur, 2005)
              ๓.๒ โครงการบางโครงการอาจจะเกิดขึ้นจากความต้องการในอนาคต แล้วพบว่าจำเป็นที่
                     จะต้องทำโครงการขึ้น  เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นก่อนปัญหาจะเกิด เช่น โครงการขุดลอกคู คลอง ในหน้าแล้ง
              ๓.๓ การเตรียมเขียนโครงการในแต่ละขั้นตอน ควรคำนึงถึงเค้าโครงใหญ่ ๆ ที่สำคัญ คือ
- จะต้องจัดหาและเตรียมอะไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
- หากไม่ทำโครงการที่คิด มีทางเลือกอย่างอื่นหรือไม่
- ขั้นตอนการดำเนินงาน ควรจะดำเนินการอย่างไร
- ผลจากการทำขั้นตอนต่าง ๆจะสัมพันธ์กับขั้นตอนต่อๆไป อย่างไร
- ผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น มีคุณค่า และคุ้มค่า หรือไม่ ((ECKES, 2005)
หลังจากนั้น จึงเริ่มต้นกระบวนการ เพื่อจะเขียนโครงการ
๔. กระบวนการเขียนโครงการร
                   การเขียนโครงการ เริ่มต้นจากการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ สภาพปัจจุบันและปัญหา ความต้องการจำเป็น ตามกรอบนโยบาย เลือกปัญหา พิจารณาสาเหตุ หรือความต้องการ จัดลำดับความสำคัญ แล้วจึงกำหนดแผนงาน กิจกรรมของแผน ศึกษาทรัพยากร ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด แล้วจึงเขียนร่างโครงการตามกิจกรรมสำคัญของแผน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการจะนำไปสู่การแก้ปัญหา หรือการตอบสนองความต้องการจำเป็น ที่ถูกจัดลำดับความสำคัญแล้ว
     อนื่ง ความต้องการของมนุษย์ นั้น สามารถแยกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ความต้องการจำเป็น (need) ซึ่งเป็นเรื่องปัจจัยในการดำรงชีวิตโดยทั่วไป ๔ อย่าง คือ น้ำและอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดมิได้ กับ ความต้องการที่จะทำให้การมีชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น สะดวก สบายขึ้น (want) เช่น การศึกษา ยานพาหนะ สะพาน ถนน ระบบชลประทาน เขื่อน ไฟฟ้า  เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นักการศึกษาบางท่านเห็นว่า การศึกษา เป็นความต้องการจำเป็น ของมนุษย์ซึ่งจะขาดมิได้ และถือเป็นปัจจัยที่ ๕ (พนม พงษ์ไพบูลย์) ดังนั้น การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (need) หรือ ความต้องการที่เกี่ยวข้องมากกับความต้องการจำเป็น กับเรื่องที่อำนวยความสะดวก (want) จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ (ฐาปนา  ฉิ่นไพศาล และ อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, ๒๕๕๓) มิฉะนั้น บางโครงการที่ดำเนินการ อาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนทรัพยากร ทั้งด้าน งบประมาณ กำลังคน และเวลา รวมทั้งอาจจะเป็นการสูญเปล่า ใช้ประโยชน์มิได้ (ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ, ๒๕๔๕; ; วิกรม กรมดิษฐ์, ๒๕๔๘) ซึ่งหากนำทรัพยากรที่จะต้องเสียไป ไปทำเรื่องอื่นน่าจะแก้ปัญหาได้ตรงจุดกว่า หรือมีประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า
               ๕.  องค์ประกอบของโครงการ
                    องค์ประกอบพื้นฐานในแต่ละโครงการ ควรจะมีดังนี้
                    ๕.๑ ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการ ที่มีลักษณะงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองนโยบายการพัฒนาที่กำหนดไว้ เช่น  แผนงานพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษ ตามนโยบายพัฒนาการสอนภาษาต่างประเทศ อาจจะประกอบด้วย โครงการอบรมครู โครงการพัฒนาห้องฝึกภาษา(Sound lab) โครงการจัดหาครูเจ้าของภาษามาร่วมสอน โครงการแข่งขันสะกดคำภาษาอังกฤษ (Spelling bee)
                    ๕.๒ ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้งจนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ โดยทั่วไป มักไม่นิยมนำวัตถุประสงค์มาเป็นชื่อโครงการ
                    ๕.๓ หลักการและเหตุผล เป็นการเขียนชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความต้องการจำเป็นที่เกิดขึ้นซึ่งจะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการ และหากโครงการที่จะดำเนินการตามนโยบาย สอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนอื่น  ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ ควรต้องชี้แจงว่าหากไม่ทำโครงการดังกล่าวจะเกิดผลเสียหายโดยตรง หรือผลเสียหายในระยะยาวอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์และความจำเป็นของโครงการชัดเจนและกว้างขวางขึ้น
                    ๕.๔ วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ วัดและประเมินผลได้ ในระยะหลัง ๆ นี้ มักจะเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือเขียนให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม เช่น นักเรียนสามารถปลูกพืชผักสวนครัวได้ผลผลิตนำมาปรุงอาหารรับประทานได้ แทนที่จะเขียนเป็น ให้นักเรียนเข้าใจวิธีปลูกและประโยชน์ของพืชผักสวนครัว
                    การทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์มากกว่า ๑ ข้อได้ แต่ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ หลายข้อ โดยมักนำผลพลอยได้ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียนรวมไว้ด้วย อาจทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจไม่ชัดเจน และอาจดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ทั้งหมดเวลาประเมินผล  ดังนั้น จึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ เป็นจริงได้ ประเมินผลได้ เพียง ๑-๔ข้อ
                    ๕.๕ เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฎเป็นรูปตัวเลข หรือจำนวนที่จะทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด การระบุเป้าหมาย ควรระบุ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความสามารถในการทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการด้วย เช่น อบรมรองผู้อำนวยการ ๖๐ คน อบรมลูกเสือชาวบ้าน ๑๖๐ คน แปลงพืชผักปลอดสารพิษ ๑ ไร่ จัดหาจักรยานให้นักเรียน ๒๐๐ คัน เป็นต้น
                    ๕.๖ วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมในการดำเนินงาน คืองานหรือกิจกรรม ซึ่งจะต้องปฏิบัติในการดำเนินโครงการ โดยรวบรวมกิจกรรมทุกอย่าง แล้วนำมาจัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนระบุไว้ตามลำดับ รวมไปถึงการประเมินผลที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำให้ทราบว่าโครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ (ซึ่งขั้นตอนการเสนอโครงการให้ได้รับอนุมัติเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งหมดของโครงการ))
                    ๕.๗ ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นเตรียมโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ ปัจจุบันนิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น  การระบุจำนวนเวลาของโครงการ เช่น ๖  เดือน หรือ ๒ ปี โดยไม่ระบุวัน เดือน ปี ของการเริ่มต้นและสิ้นสุด หรือ ระบุ ๑ ปีงบประมาณ(ตั้งแต่ ตุลาคม ไปถึง กันยายน) เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์ เสมือนผู้เตรียมโครงการยังคิดไม่ชัดเจน
                    ๕.๘ งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายให้อย่างชัดเจน เช่น ยอดรายจ่ายค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ค่าตอบแทนวิทยากร บุคลากร เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าสถานที่ ค่าพาหนะ  ฯลฯ งบประมาณค่าใช้จ่ายโดยรวม อาจมีที่มาจากเงิน 3 ประเภท คือ
- เงินงบประมาณแผ่นดิน
- เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินบริจาคจากเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น
                   การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย ทั้งนิ้ ไม่ควรคิดคำนวณขอตั้งยอดงบประมาณเกินจริง เพราะภายใต้งบประมาณโดยรวมที่มีจำกัด หากหน่วยงานเราได้รับมาก หน่วยงานอื่นก็จะได้รับน้อย
                   ๕.๙ เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบโครงการ บางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคล รับผิดชอบเป็นรายโครงการ
                   ๕.๑๐  สถานที่หรือพื้นที่ดำเนินการ แสดงให้ทราบที่ที่จะทำโครงการซึ่งอาจจะอยู่ภายในองค์การ หรืออยู่พื้นที่อื่นใดนอกองค์การหรือนอกหน่วยงาน
                   ๕.๑๑ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทาง แก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการอาจต้องทำงานกับหน่วยงานอื่น หรือกลุ่มบุคคลอื่น เป็นการบูรณาการการทำงาน ควรประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงที่ตั้งไว้
                   ๕.๑๒ การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใด และใช้วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งอาจจะใช้วิธี สังเกต ดูพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง สัมภาษณ์ ให้ตอบแบบสอบถาม ดูผลผลิต ประเมินจากสภาพจริง การเปรียบเทียบผลต่าง ก่อนและหลังการทำโครงการ ความเป็นรูปธรรมของงาน เช่น ผลการก่อสร้าง  การปรับปรุง ฯลฯ ผลของการประเมินเหล่านี้ สามารถนำมาวิเคราะห์ความคุ้มค่า และความมีคุณค่าของโครงการ รวมทั้งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการ เตรียมโครงการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไปได้
                   ๕.๑๓ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้าง ใครเป็นผู้ได้รับ เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าที่เชื่อว่าโครงการสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ หรือช่วยทำให้เกิดการพัฒนาได้ เรื่องนี้สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงต่อองค์การ ชุมชน เป้าหมายหรือพื้นที่เป้าหมาย และผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อการดำเนินการในเชิงแก้ปัญหาหรือการพัฒนาอื่นๆต่อไปป
๖. ลักษณะโครงการที่ดี
                โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้
                ๖.๑ มิใช่งานประจำแต่เป็นงานที่จำเป็นต้องทำนอกเหนือจากงานประจำในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อจะสามารถพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น หรือเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนหรือปัญหาระยะยาวขององค์การหรือของท้องถิ่นได้ โดยมีบุคคลหรือคณะบุคคลรับผิดชอบเป็นการเฉพาะ
                ๖.๒ เกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการจำเป็น เร่งด่วน หากไม่ดำเนินการจะเกิดผลเสียหาย รวมทั้งมีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถาม ต่อไปนี้ได้ คือ
- โครงการอะไร                                     = ชื่อโครงการ
- ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ                     = หลักการและเหตุผล
- ทำเพื่ออะไร                                       = วัตถุประสงค์
- ปริมาณที่จะทำเท่าไร                            = เป้าหมาย
- ทำอย่างไร                                         = วิธีดำเนินการหรือกิจกรรม
- จะทำเมื่อไร นานเท่าใด                         = ระยะเวลาดำเนินการ
- ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน        = งบประมาณ แหล่งที่มา
- ใครทำ                                              = ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ทำที่ไหน                                           = สถานที่ดำเนินการ
- ต้องประสานงานกับใคร                         หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
- บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่                       การประเมินผล
- เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร          = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                 ๖.๓ รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ ต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีดำเนินการต้องเป็นทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ และการประเมินผลก็ประเมินตามวัตถุประสงค์ ฯลฯ เป็นต้น
๖.๔ โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
-  สนองตอบหรือสนับสนุนนโยบายขององค์การ หรือหน่วยงานระดับกรม กระทรวง จังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ
- ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนหรือการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ
- แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด ตรงประเด็น
๖.๕ รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสามารถดำเนินการตามโครงการได้
                   ๖.๖ เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้ ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยบุคคลหรือคณะบุคคลของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และสามารถติดตามและประเมินผลได้ ทั้งระหว่างดำเนินการและเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
๖.๗ ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทั้งเพื่อการแก้ปัญหาหรือเพื่อการพัฒนา


๘. ความสรุป
             ในการเขียนโครงการนั้น ผู้จัดทำโครงการจะต้องศึกษาปัญหา ความต้องการจำเป็น ก่อนการเขียนโครงการ การสำรวจข้อมูล การสังเกต การประชุมปรึกษา การพบปะพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้จัดทำโครงการมีแนวคิดในการจัดเตรียมโครงการ และจะช่วยให้โครงการเป็นไปได้อย่างรอบคอบ เหมาะสม มีน้ำหนัก มีเหตุผล น่าเชื่อถือ คุ้มค่า เป็นประโยชน์ยั่งยืนแท้จริง (Simmons & Simmons, 2006; พระธรรมปิฎก, ๒๕๕๒) บางโครงการที่ร่างจากนโยบายที่มีการศึกษา วิเคราะห์ ไม่ชัดเจนและหากเตรียมการไม่ละเอียดรอบคอบ ผลเสียอาจเกิดขึ้นได้ อย่างน้อยก็ไม่คุ้มทุน หรือไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน สูญเสียแรงงาน เสียเวลา เสียทรัพยากร บางโครงการสำคัญที่มิได้มีการเตรียมการอย่างเพียงพอ หรือจัดทำขึ้นโดยเร่งด่วน ขาดการศึกษาปัญหาหรืออุปสรรคหรือผลกระทบอย่างรอบคอบ อาจไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ซึ่งนอกจากไม่คุ้มค่าของการลงทุนแล้ว ยังอาจทำให้องค์การหรือชุมชนต้องประสบปัญหาใหม่ ๆ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินโครงการนั้น ๆ ด้วย ดังเช่นโครงการก่อสร้างที่ทำไม่สำเร็จ ดำเนินการต่อมิได้  รื้อถอนก็เสียค่าใช้จ่ายมาก หรือทำสำเร็จแต่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ใช้ประโยชน์ได้เพียงระยะสั้น ปรักหักพังอยู่ให้เห็นหลายแห่ง ทั้งของรัฐและของเอกชน หรือโครงการบางเรื่อง ที่ช่วงการวิเคราะห์ ศึกษาพบแต่แนวโน้มที่ส่งผลดีหรือผลทางบวกอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงตัวแปรอื่นที่อาจก่อให้เกิดผลลบ เมื่อดำเนินการก็พบว่าไม่คุ้มค่าดังคาดไว้ และขาดทุน ยิ่งทำต่อยิ่งยิ่งก่อให้เกิดปัญหาใหม่
              ดังนั้น การเขียนโครงการจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ และประการสำคัญที่สุดคือ ต้องเขียนบนพื้นฐานของข้อมูลรอบด้าน และการวิเคราะห์ปัญหา หรือแนวทางการพัฒนาที่ดี มีการจัดลำดับความสำคัญ แล้วตัดสินใจได้ว่า ส่วนรวมจะได้ประโยชน์สูงสุด หลังจากนั้น จึงเขียนโครงการที่มี หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินการ ชัดเจน เป็นจริงได้ สำเร็จได้ ประเมินผลได้ มีคุณค่า คุ้มต่อการลงแรง และคุ้มค่าของเงินลงทุน(Value for money) ชึ่งจะเกิดผลทางสร้างสรรค์ต่อองค์การ ชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ ในที่สุด
_________________________________

                                                                                บรรณานุกรม

ฐาปนา  ฉิ่นไพศาล และ อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ.  (๒๕๕๓). การบริหารโครงการและการศึกษาความเป็นไปได้
  กรุงเทพฯ ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
ประสิทธิ์ ตงยิ่งศริ. (๒๕๔๕). การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. (๒๕๔๑) การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ 
ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้.            กรุงเทพฯ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปราชญา กล้าผจัญ. (๒๕๕๔). ๘๘ ลู่ทางสู่ความสำเร็จของนักบริหาร. กรุงเทพฯ: ปราชญา พับบลิชชิ่ง.
พนม พงษ์ไพบูลย์. การศึกษาคือปัจจัยที่ ๕ http://www.moe.go.th/web-panom/article-  panom/article10.htm  Retrieved  November 28, 2012.
พระธรรมปิฎก. (ประยุทธ์ ปยุตโต).  (๒๕๕๒).  การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
  กรุงเทพฯมูลนิธิโกมล คีมทอง.
ราชบัณฑิตยสถาน . (๒๕๕๕).   พจนานุกรม  ศัพท์ศึกษาศาสตร์.  กรุงเทพฯ: อดุลการพิมพ์.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (๒๕๕๑). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯบพิธการพิมพ์. 
วิกรม กรมดิษฐ์, วิมล ไทรนิ่มนวล เรียบเรียง (๒๕๔๘). มองโลกแบบวิกรม.  กรุงเทพฯแอล. ที. เพรส.
ศุภชัย ยาวะประภาษ และ ปิยากร หวังมหาพร. (๒๕๕๒). นโยบายสาธารณะไทยกำเนิด พัฒนาการ และสถานภาพของศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯจุดทอง.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (๒๕๕๕) นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๓) การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายการศึกษาของพรรค          การเมือง ในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ บริษัท พีเพรส จำกัด.

อธิปัตย์ คลี่สุนทร. (๒๕๒๗). การเขียนโครงการ. การวางแผนและการจัดการทางการศึกษา
         กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
Anderson, L. A. & Anderson, D. (2010). The Change Leader’s Roadmap (2nded.). San Francisco, CA.: Pfeiffer.
Bottery, M. (2000). Education, Policy and Ethics. London: Continuum.
Bungay, S. (2011). The Art of Action: How Leaders Close the Gaps between Plans, Actions and Results. London: Nicholas Brealey Publishing.

Buttrick, R. (2000). The Project Workout. London: Financial Times/Prentice Hall.

Denhardt, R. B. (2011). Theories of Public Organization (6th ed.). New Jersey Prentice Hall.
Dunn, W.N. (1994). Public Policy: an introduction. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Dye, T. R. (1981). Understanding Public Policy (4th ed.). New York: Prentice Hall.

ECKES, G. K. (2005). Six Sigma Team Dynamics: The Elusive Key of Project Success. New Jersey: John Wiley and Sons, Inc.

Kapur, G.K. (2005). Project  Management for Information, Technology, Business and Certification. New Jersey: Pearson/Prentice Hall.

Lester, A. (2003). Project Planning and Control. Amsterdam: ELSEVER.

Simmons & Simmons. (2006). The Sustainable Enterprise: Profiting from the Best Practice. ((2nded.). London: Kogan Page.

Tracy, B. (2010). How the Best Leaders Lead. New York: AMACOM.

Williams, D. & Parr, T. (2006). Enterprise Programme Management: Delivering Value. Great Britain: Creative Print & Design.
Young, T. L. (2006). Successful Project Management. Great Britain: MPG Books Ltd.


คำสำคัญการเขียนโครงการ การวางแผน นโยบายที่ดี องค์ประกอบของโครงการ ความต้องการจำเป็น
Keywords: Project writing, Planning, Good policy, Project components, Essential needs.

              ลงพิมพ์ใน  RAJABHAT JOURNAL OF SCIENCE, HUMANITIES & SOCIAL SCIENCES. Vol. 13 No. 2 July-December 2012, 1-9.

                * อธิปัตย์ คลี่สุนทร  ค.บ., ค.ม., พบ.ม., M.S., Cert. in Policy Sci., Ph. D.
Athipat Cleesuntorn, Senior lecturer,Graduate School of eLearning, Assumption University.

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เก็บมาฝากค่ะ

ผลการวิจัยพบว่า : สังคมโดยรอบ มีผลต่อผู้เรียนไม่ว่าจะเป็น ผู้สอน, เพื่อน, ผู้บริหาร, ผู้ร่วมสังเกตการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของไวก็อตสกี้ ที่เชื่อว่า ปรากฏการณ์ ทางจิตวิทยาเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม ซึ่งปรากกฏในรูป ความสัมพันธ์ภายในสังคม, แบบจำลองภายในสังคม เช่น สัญลักษณ์, ป้าย, และข้อกำหนดทางสัทศาสตร์

ศิลปะแห่งการดำเนินชีวิต
ชีวิตเรามันต้องขึ้นอยู่กับธรรมะ ธรรมะต้องเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงและควบคุมจิตใจตลอดเวลา ซึ่งก็เหมือนกับว่ามีเกราะเพชร 7 ชั้น ป้องกันภัย อันตราย ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา สภาพของในนั้นเหมือนกระดาษซับ สามารถซับน้ำหมึกดำได้ น้ำหมึกแดงได้ เมื่อซับเข้ามันก็อยู่ในกระดาษนั้นตลอดเวลา ฉันใด ใจคนก็เหมือนกันฉันนั้น รับทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว เอามาไว้ในใจตัว บุคคลใดที่รับเรื่องดีมาก จิตใจก็เป็นสุข ถ้ารับเรื่องชั่วมาก จิตใจก็เป็นทุกข์ หาความสุข ความเจริญไม่ได้
จากศิลปะแห่งความเป็นมนุษย์ โดย พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทะภิกขุ)

ศิลปะแห่งการครองใจคน : คนอ่อนแอสามารถเข้าถึงคนได้ทุกเหล่า และนำคนกระด้านมาใช้ได้ แต่...คนแข็งกระด้าง ไม่สามารถนำคนอ่อนโยนมาใช้ได้ มนุษย์เราต้องทำหน้าที่แผ่เมตตา ให้คนอื่นมีสุข เพราะตัวเราเองก็ยังต้องการอย่างนั้น จึงควรทำในสิ่งที่เราปรารถนาให้ต่อผู้อื่นบาง ถ้าเรารักและปรารถนาดีต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจเขาก็จะรัและปรารถนาดีต่อเรา และไม่เกลียดเรา แต่ถ้าเราแสดงความเกลียดต่อเขา ผลก็คือ...เขาจะเกลียดตอบเรานั่นเอง

ศิลปะแห่งการงาน : งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขในขณะทำงาน, ตื่นตัว ว่องไว ก้าวหน้า ทำงานแข่งกับเวลา พัฒนาตนเองและสังคม, นิสัยอันไม่ดีของพวกเราอีกอย่างคือ เป็นคน เลือกงาน ตีราคาของตัวเองสูงเกินไป จนไม่มีงานที่เหมาะสมทำเลย อย่างนี้ไม่ดี จึงนึกเสียใหม่ว่า... ไม่มีใครกระโดดขึ้นตึกได้โดยไม่มีบันได ทุกคนจะต้องเดินขึ้นไปทีละขั้น จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง

ศิลปะแห่งการคบมิตร : เวลาใดเราขาดความไว้วางใจต่อเพื่อน เรามีอะไรซ่อนอยู่ในใจ เกี่ยวกับความประพฤติ ความเห็นของเพื่อน และเรารู้สึกไม่ชอบใจ เก็บความไม่ชอบใจเอาไว้ มันจะประทุษร้ายใจตนเอง และอาจจะประทุษร้ายต่อเพื่อนด้วย แสดงว่าเราไม่ซื่อสัตย์ต่อเพื่อน เราควรเปิดเผยต่อเพื่อนของเรา แสดงความรู้สึกต่อเพื่อนอย่างจริงใจ ถ้าเราเป็นคนหึงหวงและริษยา เราจะเป็นผู้ห่างเหินมิตรสหาย ถ้าเรามีมุทิตาในความสำเร็จของผู้อื่น เราจะเป็นที่รักของเพื่อนฝูง และจะมีความเจริญในมิตรภาพ

ศิลปะแห่งการครองเรือน : ในครอบครัว ถ้าหากว่าได้ประพฤติธรรม พ่อแม่ประพฤติธรรม ลูกประพฤติธรรม ถ้ามีคนงานที่เราจ้างมาทำงาน ก็สอนให้เขาประพฤติธรรม ให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ บ้านนั้นก็จะกลายเป็นธรรมะไป ทุกคนในบ้านก็จะมีความสุข มีความสงบ ไม่มีความยุ่งยากลำบากเดือดร้อน พ่อบ้านแม่เรือนนั้นต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่าคนใจเดียวกันไม่ใช่สองใจ จึงมีหลักว่า....หากจะอยู่ด้วยกันด้วยความสุขนั้น ต้องมีความเชื่อเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน มีความเสียสละทัดเทียมกัน สามีภรรยาคู่นั้น ก็ชื่อว่ามีใจเดียวกัน

ศิลปะแห่งความเป็นข้าราชการ : ข้าราชการ คือ  ผู้ที่ทำางานให้ประชาชนชื่นใจ มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อบุคคล มีน้ำใจเสียสละ ภูมิใจ สุขใจ เมื่อได้ทำงานสุจริต ข้าราชการต้องบำเพ็ญบารมีในฐานะเป็นราชการ คือ ต้องสำนึกว่า...เราทำราชการเพื่อรับใช้ประชาชน เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนให้พ้นจากความทุกข์ยาก ยิ่งทำมากเท่าไรบารมีก็สูงขึ้น ความนิยมก็เพิ่มขึ้น ทำอะไรก็สำเร็จสมหมาย เพราะประชาชนเลื่อมใส จะทำอะไรก็ได้รับความร่วมมือร่วมใจ นั่นคือ... การบำเพ็ญบารมีที่ถูกต้องของข้าราชการ

จิตสำนึกความเป็นครู

จิตสำนึกความเป็นครู คืออะไร?
จิตสำนึก : ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัว สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้งห้า
ครู : ผู้สั่งสอนศิษย์
ครูพึงปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ โดยตั้งตนอยู่ในธรรม 5 ประการของผู้แสดงธรรม
  1. จัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีขั้นตอนถูกลำดับ
  2. จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล
  3. ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปราถนาดี
  4. ไม่มีจิตเพ็งเล็ง มุ่งเห็นแก่อามิส
  5. วางจิตตรงไม่กระทบตนและผู้อื่น
ครูที่ดีต้องมี 4 รู้
  1. รู้จักรัก
  2. รู้จักให้
  3. รู้อภัย
  4. รู้เสียสละ
ครูที่ดีต้องมี 5 ว
  1. วินัย
  2. วิชา
  3. วิธี
  4. วิจารณญาณ
  5. เวลา
ครูยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
ครู     เป็นผู้ชี้ทางแห่งความรู้
ครู     ต้องเป็นนักเทคโนโลยี
ครู     ต้องรู้ภาษาอังกฤษดี
ครู     ต้องเป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้
ครู     ต้องเป็นนักเรียน

พระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษา

“ท่านทั้งหลายคงจะตระหนักอยู่แล้วว่าการศึกษาเล่าเรียน เป็นเรื่องที่มีมีสิ้นสุด ผู้ปราถนาความเจริญในการประกอบกิจการงานจะต้องหมั่นเอาใจใส่แสวงหาความรู้ให้เพิ่มพูนอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะกลายเป็นผู้ที่ล้าสมัย เสื่อมสมรรถภาพไป" 
มธ. 23 ก.พ. 2504

"การประกอบกิจการงานหรือการดำเนินชีวิต จะใช้วิชาการที่ได้ศึกษามาแล้วเท่านั้นยังไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ"
มธ. 25 ต.ค. 2505

"การให้การศึกษาเป็นงานที่ละเอียด ซับซ้อน และกว้างขวางมาก จะต้องกระทำโดยอาศัยความรู้ ความสังเกต จดจำ และความฉลาดรอบคอบอย่างสูง ทั้งต้องอาศัยความเสียสละอดทน ความเพียรพยายาม ความสุจริต และความเมตตาอันกว้างขวางด้วยพร้อม จึงจะสำเร็จผลที่พึงประสงค์ได้"
มศว. มหาสารคาม 25 มิ.ย. 2519

"ต้องพัฒนาอาชีพความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอาชีพไม่ใช่เพียงแต่ปลูกผัก ถั่ว งา ให้หลานเฝ้า แต่เป็นเรื่องของความอยู่ดีกินดี ความรู้การศึกษาที่กล่าว่าต้องช่วยให้การศึกษาดีขึ้น เพราะถ้าการศึกษาไม่ดี คนไม่สามารถทำงาน การศึกษาต้องได้ทุกระดับ ถ้าพูดถึงระดับสูง หมายความว่า นักวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ถ้าไม่มีการเรียนชั้นประถม อนุบาล ไม่มีทางที่จะให้คนไทยขึ้นไปเรียนขั้นสูง หรือเรียนขั้นสูงไม่ดี ซึ่งเดี๊ยวนี้ก็ยังไม่ดี เพราะขั้นสูงนั้น ต้องมีรากฐาานจากขั้นต่ำ ถ้าไม่มีก็เรียนขั้นสูงไม่รู้เรื่อง"
5 ธ.ค. 2546

พระราชดำรัสของในหลวง-ข้อคิดในการใช้ชีวิต

  1. อย่าทำลายความหวังของใครเพราะเขาอาจเหลืออยู่แค่นั้นก็ได้
  2. เมื่อมีคนเล่าว่าตัวเขามีส่วนในเหตุการณ์สำคัญอะไรก็ตามเราไม่ต้องไปคุยทับ ปล่อยเขาฟุ้งไปตามสบาย
  3. รู้จักฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึง แบบแว่วๆ เท่านั้น
  4. หยุดอ่านคำอธิบายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่ริมทางเสียบ้าง
  5. จงคิดการใด จงคิดให้ใหญ่ๆ เข้าไว้ แต่เติมความสนุกสนานลงไปด้วยเล็กน้อย
  6. หัดทำสิ่งดีๆ ให้กับผู้อื่นจนเป็นนิสัยโดยไม่จำเป็นต้องให้เขารับรู้
  7. จำไว้ว่าข่าวทุกชนิดล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
  8. เรื่องเล่นเกมกับเด็กๆ ก็ปล่อยให้แกชนะไปเถิด
  9. ใครจะวิจารณ์เราอย่างไรก็ช่าง ไม่ต้องไปเสียเวลาตอบโต้
  10. ให้โอกาสผู้ที่อื่นเป็นครั้งที่ "สอง" แต่อย่าให้ถึง "สาม"
  11. อย่าวิจารณ์จายจ้าง ถ้าทำงานกับเขาแล้วไม่มีความสุขก็ลาออกซะ
  12. ทำตัวให้สบายอย่าคิดมากถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย อะไรๆ มันก็ไม่สำคัญอย่างที่คิดไว้ทีแรกหรอก
  13. ใช้เวลาน้อยๆ ในการคิดว่า "ใคร" เป็นคนถูก แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า "อะไร" คือสิ่งที่ถูก
  14. เราไม่ได้ต่อสู้กับ "คนโหดร้าย" แต่เราสู้กับ "ความโหดร้าย" ในตัวคน
  15. คิดให้รอบคอบ ก่อนที่จะให้เพื่อนต้องมีภาระในการรักษาความลับ
  16. เมื่อมีใครมาสวมกอดคุณ ให้เขาเป็นฝ่ายปล่อยก่อน
  17. เป็นคนถ่อมตัว คนเขาทำอะไรต่ออะไรสำเร็จกันมามากมาย ตั้งแต่เรายังไม่เกิด
  18. ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายเพียงใด สุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
  19. อย่าไปหวังเลยว่า ชีวิตนี้จะมีความยุติธรรม
  20. อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นเขาเบื่อหน่าย ถ้ามีใครมาถามเราว่า "เป็นยังไงบ้างตอนนี้" ก็บอกเขาไปเลยว่า "สบายมาก"
  21. อย่าพูดว่ามีเวลาไม่พอ เพราะเวลาที่คุณมีมันก็วันละ ยี่สิบสี่ชั่วโมง เท่าๆ กับที่ หลุยส์ปาสเตอร์, ไมเคิล แองเจลโล, แม่ชีเทเรซา, ลีโอนาร์โด ดาวินซี, ทอมัน เจฟเฟอร์สัน, หรือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขามีนั่นเอง
  22. เป็นคนในกล้าและเด็ดเดี่ยว เมื่อเหลียวกลับไปดูอดีต เราจะเสียใจในสิ่งที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำ มากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
  23. ประเมินตนเองด้วยมาตรฐานของตัวเอง ไม่ใช่ด้วยมาตรฐานของคนอื่น
  24. จริงจังและเคี่ยวเข็ญต่อตนเอง แต่อ่อนโยนและผ่อนปรนต่อผู้อื่น
  25. อย่าระดมสมองเพราะไอเดียวดีๆ ใหม่ๆ และยิ่งใหญ่จนสามารถเปลี่ยนเแปลงโลกได้ ล้วนมาจากบุคคลที่คิดค้นอยู่แต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น
  26. คงไว้ซึ่งความเป็นคนเปิดเผย อ่อนโยน และอยากรู้อย่าเห็น
  27. ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ว่างานที่เขาทำนั้นจะกระจอกงอกง่อยสักปานใด
  28. คนึงถืองการมีชีวิตให้ "กว้างขวาง" มากกว่าการมีชีวิตให้ "ยืนยาว"
  29. มีมารยาทและอดทนกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

ความรู้ที่สรุปจากการอ่าน (3)

ด้านการร่วมงาน (collaboration) Tinzmann and others, 1990 ได้กล่าวถึงการร่วมงานหรือห้องเรียนแบบร่วมงาน (collaborative classroom) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เลียนแบบการทำงานในสังคมที่จะมีกลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล้ก มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

  1. การแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน (shared knowledge among teachers and students)
  2. การสับเปลี่ยนกันเป็นผู้เชี่ยวชาญระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน (shared authority among teacher and students)
  3. ครูเป็นผู้ประสานสัมพันธ์ (teachers as mediators)
  4. การจัดให้นักเรียนในกลุ่มีความรู้ความคิดเห็นแตกต่างกัน (heterogeneous grouping of students)
จากลักษณะของการร่วมงานและสแกฟโฟลดิ้ง ดังกล่าว การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวก็อตสกี้ จึงมีลักษณะสำคัญ 6 ประการ คือ (Wells,1999)

  1. ห้องเรียนเป็นชุมชนแห่งการทำงาานและเรียนรู้ร่วมกัน
  2. กิจกรรมการเรียนรู้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนในทุกๆ ด้าน
  3. ผู้เรียนตระหนักในความเป็นมา และความสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้
  4. หลักสูตรเป็นแนวทางพื้นฐานไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด
  5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ริเริ่มสร้างสรรค์
  6. ผลการเรียนรู้ควรเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
แนวโน้มการศึกษาไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต
  1. การศีึกษาเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความสามารถเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม เพื่อเสิรมสร้างการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  2. การศึกษาเป็นกระบวนการถ่ายทอดและเรียนรู้ในการที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาคนทั้งในแง่ความรู้ ความคิด ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถสนองตอบทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ ซึ่งประเทศที่ตอ้งการความก้าวหน้าต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยอาศัยการศึกษาเป็นเครื่องมือ สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีปัญหาเกี่ยวกับกำลังคนที่จะตอบสนองนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างมาก อันสืบเนื่องมากจากระบบและวิธีการจัดการศึกษาที่ไม่สามารถสร้างและกระจายโอกาส รวมทั้งคุณภาพการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคอุตสาหกรรมที่ผ่านมาและการก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรุ้ในทศวรรษที่ 21 ดังนั้นระบบการศึกษาของประเทศไทยจึงถูกท้าทายจากแรงผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมค่อนข้างมาก
  3. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) กล่าวว่า "มนุษย์มีชีวิตที่ดีที่มีประโยชน์ ก็จะต้องฝึก ต้องเรียนรู้.. การเรียนรุ้ การฝึกฝนพัฒนารนี้เป็นความพิเศษของมนุษย์ มนุษย์ที่ฝึกตนหรือมีการเรียนรู้ จึงเปลี่ยนแปลงไปและทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย..."
  4. การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนประเทศเป็นอย่างยิ่งเพราะการศึกษาเปรียบประดุจเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของคน ซึ่งหากสังคมหรือประเทศใดประชาชนโดยเฉลี่ยมีการศึกษาอยู่ในระดับต่ำสังคมหรือประเทศนั้นก็จะด้อยการพัฒนากว่าสังคมหรือประเทศที่ประชาชนโดยเฉลี่ยมีการศึกษาอยู่ในระดับสูง
"คนจน" ตามแนวทางของธนาคารโลก ว่า หมายถึง คนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนหรือต้นทุน/ค่าใช้จ่ายปัจเจกบุคคลในการได้มาซึ่งอาหารและสินค้าบริการพื้นฐานจำเป็นนการดำรงชีวิต เช่น พ.ศ. 2550 คำนวณไว้ที่ 1,443 บาท ต่อเดือน ทำสถิตคนจนตามคำนิยามนี้มีสัดส่วนไม่สูงนัก คือ มีร้อยละ 8.48 ของประชากรทั้งหมด หรือราว 5.4 ล้านคน (ใน พ.ศ. 2550)

ข้อความที่สรุปจากการอ่าน (2)

ทฤษฎีของ Vygotsky มีลักษณะสำคัญ

  1. การเรียนแบบร่วมงาน (collaborative learning) หมายถึง การจัดกิจกรรมที่มีลักษณะการเรียนรู้จากการทำงานและการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม โดยอาจเรียนแบบร่วมมือ (cooperative learning) ให้ผู้เรีนช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนสามารถพัฒนากลวิธีในการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ในที่สุด
  2. สแกฟโฟลดิ้ง (scaffolding) หมายถึง การช่วยเหลือ แนะนำ ที่ตรงกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้การพูดกับตนเอง (private speech) หรือการคิดถ้อยคำเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นอยู่ เป็นแนวทาง ในการค้นพบแนวทางการทำงานและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ในที่สุด
เวบสเตอร์ และคณะ (1996) กล่าวว่า สแกฟโฟลดิ้ง ประกอบด้วย กิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ

  1. การเชิญชวนให้เข้าร่วมและจัดระบบการทำงาน (Recruitment and management (to task))
  2. การทบทวนความเข้าใจในแนวทางการทำงาน (Representation and clarification (on task))
  3. การพิจารณางานอย่างรอบคอบ (Elaborating (in task))
  4. การสื่อความเข้าใจผ่านการเขียนหรือพิมพ์งาน (Meditation through print/text (about task))
  5. การสรุปงาน (Finishing (after work))
สแฟโฟลดิ้ง จะได้ผลดีควรประกอบด้วย คุณลักษณะ 5 ประการ (Berk and Winsler, 1995) คือ

  1. การแก้ปัญหาร่วมกัน (Join problem solving) คือ การสร้างความกระตือรือร้นต่อสิ่งที่น่าสนใจ มีความหมายทางวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกัน ระหว่างเด็กกับเด็กหรือเด็กกับผู้ใหญ่
  2. การสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Inter subjectivity) คือ กระบวนการที่เริ่มจากผู้ที่มีความเข้าใจต่างกัน มาแลกเปลี่ยนความเข้าใจกัน และการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ในที่สุด การสร้างความเข้าใจร่วมกันจะสร้างความเข้าใจพื้นฐานสำหรับผู้ร่วมงานแต่ละคนในการติดต่อสื่อสารและสร้างทัศนะที่เหมาะสมต่อกันและผู้ใหญ่พยายามสร้างความเข้าใจร่วมกันในขณะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของตนให้แก่เด็ก
  3. การตอบสนองอย่างอบอุ่น (warms and responsiveness) คือ การที่ผู้ใหญ่มีการตอบสนองต่อกิจกรรมต่างๆ ของเด็กอย่างชื่นชม และเป็นมิตรเพื่อให้เด็กรู้สึกมีความสุข กระตือรือร้นในการทำงานที่ท้าทายความสามารถของตน
  4. การเอาใจใส่ดูแลผู้เรียน (Keep the child in the ZPD) คือ การช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนด้วยการทำงานไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยทำได้ 2 ทาง คือ 1) การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กับความต้องการของเด็ก เช่น ถ้างานนั้นยากเกินไปก็ช่วยทำให้ง่ายขึ้น หรือถ้าเด็กเริ่มเบื่อก็นำเสนองานที่ท้าทายให้ 2) การสอดแทรกในจังหวะที่เหมาะสม คือ การให้ความช่วยเหลือ และการสอนเมื่อเด็กต้องการและคอยสังเกตอยู่ห่างๆ เมื่อเด็กทำงานได้แล้ว
  5. การส่งเสริมการกำกับตนเอง (promote self-regulation) คือ การสนับสนุนให้เด็กกำกับกิจกรรมที่ทำร่วมกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยกระตุ้นให้เด็กพยายามแก้ปัญหาจนสำเร็จได้ด้วยตนเองมากกว่าการให้คำตอบสำเร็จรูปและการออกคำสั่งให้เด็กทำตาม เพื่อให้เด็กสามารถทำงานโดยอิสระได้ในที่สุด
วูด (1988) ได้จำแนกระดับของสแกฟโฟลดิ้ง จากน้อยไปมากได้ 5 ระดับ คือ

  1. การให้คำแนะำนอย่างกว้างๆ
  2. การบอกแนวทางในจุดที่เป็นปัญหา
  3. การให้แนวทางเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
  4. การจัดวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ให้
  5. การสาธิตให้ดู
บุษบง ตันติวงศ์ (1994) ได้ศึกษาการใช้คำพูดของครู ในลักษณะ สแกฟโฟลดิ้ง พบว่าคำพูดที่ประสบความสำเร็จในการทำให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ มี 4 ลักษณะ คือ

  1. การให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีความหมายกับผู้เรียน หรือ ตรงตามปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนในขณะนั้น
  2. การวิเคราะห์งาน เพื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจงานอย่างชัดเจนและทำให้งานดูง่ายขึ้น
  3. การทบทวนคำพูด หรือ ทบทวนความมุ่งหมายของสิ่งที่กระทำอยู่
  4. การยืดหยุ่นให้ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะการมีส่วนร่วมได้ตามความสนใจของเขา