วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

ความรู้ที่สรุปจากการอ่าน (3)

ด้านการร่วมงาน (collaboration) Tinzmann and others, 1990 ได้กล่าวถึงการร่วมงานหรือห้องเรียนแบบร่วมงาน (collaborative classroom) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เลียนแบบการทำงานในสังคมที่จะมีกลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล้ก มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

  1. การแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน (shared knowledge among teachers and students)
  2. การสับเปลี่ยนกันเป็นผู้เชี่ยวชาญระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน (shared authority among teacher and students)
  3. ครูเป็นผู้ประสานสัมพันธ์ (teachers as mediators)
  4. การจัดให้นักเรียนในกลุ่มีความรู้ความคิดเห็นแตกต่างกัน (heterogeneous grouping of students)
จากลักษณะของการร่วมงานและสแกฟโฟลดิ้ง ดังกล่าว การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวก็อตสกี้ จึงมีลักษณะสำคัญ 6 ประการ คือ (Wells,1999)

  1. ห้องเรียนเป็นชุมชนแห่งการทำงาานและเรียนรู้ร่วมกัน
  2. กิจกรรมการเรียนรู้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนในทุกๆ ด้าน
  3. ผู้เรียนตระหนักในความเป็นมา และความสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้
  4. หลักสูตรเป็นแนวทางพื้นฐานไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด
  5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ริเริ่มสร้างสรรค์
  6. ผลการเรียนรู้ควรเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
แนวโน้มการศึกษาไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต
  1. การศีึกษาเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความสามารถเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม เพื่อเสิรมสร้างการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  2. การศึกษาเป็นกระบวนการถ่ายทอดและเรียนรู้ในการที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาคนทั้งในแง่ความรู้ ความคิด ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถสนองตอบทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ ซึ่งประเทศที่ตอ้งการความก้าวหน้าต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยอาศัยการศึกษาเป็นเครื่องมือ สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีปัญหาเกี่ยวกับกำลังคนที่จะตอบสนองนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างมาก อันสืบเนื่องมากจากระบบและวิธีการจัดการศึกษาที่ไม่สามารถสร้างและกระจายโอกาส รวมทั้งคุณภาพการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคอุตสาหกรรมที่ผ่านมาและการก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรุ้ในทศวรรษที่ 21 ดังนั้นระบบการศึกษาของประเทศไทยจึงถูกท้าทายจากแรงผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมค่อนข้างมาก
  3. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) กล่าวว่า "มนุษย์มีชีวิตที่ดีที่มีประโยชน์ ก็จะต้องฝึก ต้องเรียนรู้.. การเรียนรุ้ การฝึกฝนพัฒนารนี้เป็นความพิเศษของมนุษย์ มนุษย์ที่ฝึกตนหรือมีการเรียนรู้ จึงเปลี่ยนแปลงไปและทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย..."
  4. การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนประเทศเป็นอย่างยิ่งเพราะการศึกษาเปรียบประดุจเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของคน ซึ่งหากสังคมหรือประเทศใดประชาชนโดยเฉลี่ยมีการศึกษาอยู่ในระดับต่ำสังคมหรือประเทศนั้นก็จะด้อยการพัฒนากว่าสังคมหรือประเทศที่ประชาชนโดยเฉลี่ยมีการศึกษาอยู่ในระดับสูง
"คนจน" ตามแนวทางของธนาคารโลก ว่า หมายถึง คนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนหรือต้นทุน/ค่าใช้จ่ายปัจเจกบุคคลในการได้มาซึ่งอาหารและสินค้าบริการพื้นฐานจำเป็นนการดำรงชีวิต เช่น พ.ศ. 2550 คำนวณไว้ที่ 1,443 บาท ต่อเดือน ทำสถิตคนจนตามคำนิยามนี้มีสัดส่วนไม่สูงนัก คือ มีร้อยละ 8.48 ของประชากรทั้งหมด หรือราว 5.4 ล้านคน (ใน พ.ศ. 2550)

ข้อความที่สรุปจากการอ่าน (2)

ทฤษฎีของ Vygotsky มีลักษณะสำคัญ

  1. การเรียนแบบร่วมงาน (collaborative learning) หมายถึง การจัดกิจกรรมที่มีลักษณะการเรียนรู้จากการทำงานและการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม โดยอาจเรียนแบบร่วมมือ (cooperative learning) ให้ผู้เรีนช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนสามารถพัฒนากลวิธีในการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ในที่สุด
  2. สแกฟโฟลดิ้ง (scaffolding) หมายถึง การช่วยเหลือ แนะนำ ที่ตรงกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้การพูดกับตนเอง (private speech) หรือการคิดถ้อยคำเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นอยู่ เป็นแนวทาง ในการค้นพบแนวทางการทำงานและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ในที่สุด
เวบสเตอร์ และคณะ (1996) กล่าวว่า สแกฟโฟลดิ้ง ประกอบด้วย กิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ

  1. การเชิญชวนให้เข้าร่วมและจัดระบบการทำงาน (Recruitment and management (to task))
  2. การทบทวนความเข้าใจในแนวทางการทำงาน (Representation and clarification (on task))
  3. การพิจารณางานอย่างรอบคอบ (Elaborating (in task))
  4. การสื่อความเข้าใจผ่านการเขียนหรือพิมพ์งาน (Meditation through print/text (about task))
  5. การสรุปงาน (Finishing (after work))
สแฟโฟลดิ้ง จะได้ผลดีควรประกอบด้วย คุณลักษณะ 5 ประการ (Berk and Winsler, 1995) คือ

  1. การแก้ปัญหาร่วมกัน (Join problem solving) คือ การสร้างความกระตือรือร้นต่อสิ่งที่น่าสนใจ มีความหมายทางวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกัน ระหว่างเด็กกับเด็กหรือเด็กกับผู้ใหญ่
  2. การสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Inter subjectivity) คือ กระบวนการที่เริ่มจากผู้ที่มีความเข้าใจต่างกัน มาแลกเปลี่ยนความเข้าใจกัน และการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ในที่สุด การสร้างความเข้าใจร่วมกันจะสร้างความเข้าใจพื้นฐานสำหรับผู้ร่วมงานแต่ละคนในการติดต่อสื่อสารและสร้างทัศนะที่เหมาะสมต่อกันและผู้ใหญ่พยายามสร้างความเข้าใจร่วมกันในขณะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของตนให้แก่เด็ก
  3. การตอบสนองอย่างอบอุ่น (warms and responsiveness) คือ การที่ผู้ใหญ่มีการตอบสนองต่อกิจกรรมต่างๆ ของเด็กอย่างชื่นชม และเป็นมิตรเพื่อให้เด็กรู้สึกมีความสุข กระตือรือร้นในการทำงานที่ท้าทายความสามารถของตน
  4. การเอาใจใส่ดูแลผู้เรียน (Keep the child in the ZPD) คือ การช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนด้วยการทำงานไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยทำได้ 2 ทาง คือ 1) การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กับความต้องการของเด็ก เช่น ถ้างานนั้นยากเกินไปก็ช่วยทำให้ง่ายขึ้น หรือถ้าเด็กเริ่มเบื่อก็นำเสนองานที่ท้าทายให้ 2) การสอดแทรกในจังหวะที่เหมาะสม คือ การให้ความช่วยเหลือ และการสอนเมื่อเด็กต้องการและคอยสังเกตอยู่ห่างๆ เมื่อเด็กทำงานได้แล้ว
  5. การส่งเสริมการกำกับตนเอง (promote self-regulation) คือ การสนับสนุนให้เด็กกำกับกิจกรรมที่ทำร่วมกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยกระตุ้นให้เด็กพยายามแก้ปัญหาจนสำเร็จได้ด้วยตนเองมากกว่าการให้คำตอบสำเร็จรูปและการออกคำสั่งให้เด็กทำตาม เพื่อให้เด็กสามารถทำงานโดยอิสระได้ในที่สุด
วูด (1988) ได้จำแนกระดับของสแกฟโฟลดิ้ง จากน้อยไปมากได้ 5 ระดับ คือ

  1. การให้คำแนะำนอย่างกว้างๆ
  2. การบอกแนวทางในจุดที่เป็นปัญหา
  3. การให้แนวทางเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
  4. การจัดวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ให้
  5. การสาธิตให้ดู
บุษบง ตันติวงศ์ (1994) ได้ศึกษาการใช้คำพูดของครู ในลักษณะ สแกฟโฟลดิ้ง พบว่าคำพูดที่ประสบความสำเร็จในการทำให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ มี 4 ลักษณะ คือ

  1. การให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีความหมายกับผู้เรียน หรือ ตรงตามปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนในขณะนั้น
  2. การวิเคราะห์งาน เพื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจงานอย่างชัดเจนและทำให้งานดูง่ายขึ้น
  3. การทบทวนคำพูด หรือ ทบทวนความมุ่งหมายของสิ่งที่กระทำอยู่
  4. การยืดหยุ่นให้ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะการมีส่วนร่วมได้ตามความสนใจของเขา



ข้อความที่สรุปจากการอ่าน (1)

สุดาพร ลักษณียนาวิน (2540) กล่าวว่า "รัฐบาลไทยตระหนักถึงปัญหาในความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนในชาติ และมีความพยายามจะปรับปรุงให้มีการสอนภาษาอังกฤษตลอดมา เริ่มจากระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา เพื่อที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนได้ดีมีสมรรถนะทางภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ สามารถที่จะมีความรู้ ความเข้าใจ สารสนเทศต่างๆ ที่มีอยู่ได้เป็นอย่างดี คือ มีความรู้พอที่จะเลือกสารสนเทศต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ ความคิดของคนในประเทศไทยได้ อันนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ดังนั้นการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายจะเป็นไปได้ยากหากยังใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษเดิม วิธีการสอนเดิม"

คุรุรักษ์ ภิรมย์รักษ์ (2540) กล่าวว่า "การอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมโลกปัจจุบัน คือ ช่วยให้ผู้ที่เข้าถึงการอ่านสามารถดำเนินชีวิตได้ตามที่ตนเองต้องการ มีความเข้าใจสังคมโลก และสามารถอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข แม้สังคมโลกจะเข้าถึงสารสนเทศที่ก้าวหน้า การอ่านก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ตลอดเวลา"
   
สิ่งที่สำคัญในการอ่าน คือ ผู้อ่านควรจะเข้าใจและสามารถจับใจความจากเรื่องที่อ่านได้ (Dallman,et.al, 1987) กล่าวว่า การจับใจความเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้การอ่านแต่ละครั้ง บรรลุจุดมุ่งหมายที่หวังไว้เพราะพื้นฐานของความเข้าใจจะพัฒนาขึ้นตั้งแต่ขั้นต่ำสุด คือ ความเข้าใจข้อเท็จจริง จนถึงขั้นสูงสุด คือ ขั้นวิจารณ์ประเมินค่าสิ่งที่อ่าน ซึ่งการพัฒนาจะสร้างขึ้นจากการฝึกอ่านประจำ

ทิพย์วัลย์ มาแสง (2532), พัชรพิมล บุญรมย์ (2538) กล่าวว่า "ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สรุปได้ว่า เพราะนักเรียนขาดความสนใจและแรงจูงใจในการเรียน ไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ในการเรียนภาษาอังกฤษไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อภาษาอังกฤษ"

ปานตา ใช้เทียมวงศ์ (2537) กล่าว "ครูขาดความมั่นใจในการสอน เพราะไม่เข้าใจวิธีสอนและวัตถุประสงค์ในการสอนภาษาอังกฤษทำให้การสอนไม่มีประสิทธิภาพ"

สาลี่ ศิลปธรรม (2539) กล่าวว่า "พบว่านักเรียนไม่สามารถอ่านจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องได้เนื่องจากครูส่วนใหญ่สอนโดยวิธีแปล"

วรรณา ช่องดารากุล (2539) กล่าวว่า "สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม แป้ง อาหาร สถานที่ต่างๆ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ มักเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยว การเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์และเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค ทำให้คนไทยมีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวและติดต่อค้าขายเจรจาการเมืองมากยิ่งขึ้น"

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์ (2534) กล่าวว่า "ควรนำเนื้อหาจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันมาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน"

Robinson (1980) กล่าวว่า "การที่ผู้เรียนสามารถนำเนื้อหาจากสื่อไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้ผู้เรียนเห็นควยามสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ"

ศ.ดร.พิณทิพย์ ทวยเจริญ (2547) กล่าวว่า "การสอนภาษาอังกฤษให้เกิดผลดีแก่ประชากรไทยนั้นผู้สอนไม่ควรมุ่งวิธีสอนแบบหนึ่งแบบใด โดยเฉพาะ เนื่องจากวิธีการสอนต่างๆ เป็นแนวคิดริเริ่มมาจากยุโรปและอเมริกาเพื่อบุคลากรในสังคมนั้นที่มีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม และการปลูกฝังความคิดแตกต่างไปจากสังคมไทย การที่จะยืมแนวคิดทางหลักสูตรหรือวิธีสอนมาใช้ในประเทศไทยโดยไม่พิจารณาพื้นฐานทางสังคมและการอบรมตลอดจนพื้นฐานทางระบบการศึกษานั้นเป็นการปฏิบัติที่ขัดกับความเป็นจริง"

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์ (2549) กล่าวว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจมี 4 กลวิธี (strategy) ตามจุดประสงค์การอ่านซึ่งได้แก่ การอ่านจับใจความ (scanning), การอ่านอย่างรวดเร็ว (extensive reading), การอ่านเพื่อความบันเทิงและจับใจความสำคัญของบทความ (intensive reading) เป็นการอ่านที่ทำความเข้าใจกับบทความทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ ถ้าผู้อ่านฝึกใช้กลวิธีต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมจะทำให้พัฒนาการอ่านได้เร็ว

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

สรุปเอกสารงานวิจัย (4)

การใช้ศิลป์ภาษาพัฒนาทักษะการ (เขียน), แต่งคำประพันธ์
ผู้วิจัย   อ.ศรีอัมพร ประทุมนันท์ โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลย์
กลุ่มตัวอย่าง   นักเรียน ป. 5 โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลก์ จำนวน 31 คน
เวลา   3 เดือน ปีการศึกษา 2543
จุดประสงค์การวิจัย   เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ ของนักเรียน ป.5 โรงเรียนวัดป่าเลไลก์ ปีการศึกษา 2543
ทฤษฎี   ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการจำการลืม
ความรู้การแต่งคำประพันธ์ โดยใช้ ทักษะ ได้แก่ ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล, กฎแห่งการฝึก, ทักษะการคิด, กาเรียนแบบมีส่วนร่วม     เจตคติ ได้แก่ จิตวิทยาเด็ก, แรงจูงใจ, ทฤษฎีเสริมแรง
กระบวนการ
  1. รู้จักเด็กทุกคนดี
  2. ชี้ให้เห็นความสำคัญ
  3. ผู้สัมพันธ์ศิลปะ
  4. ฝึกทักษะให้ซึมซาบ
  5. เน้นศักยภาพส่วนบุคคล
  6. เพิ่มพูลผลบูรณาการ
  7. ใครชำนาญครูส่งเสริม
  8. ประเมินผลเริ่มทุกขั้นตอน
ผลการวิจัย
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ รูปแบบ หรือฉันทลักษณ์ และวิธีการแต่งคำประพันธ์ดีขึ้น
  2. นักเรียนที่เรียนเก่งพัฒนาถึงขั้นจุดหมาย 3 คน
  3. นักเรียนปานกลางพัฒนาถึงขั้น จุดหมาย ได้ 3 คน
  4. นักเรียนอ่น พัฒนาถึงขั้นจุดหมายได้ 1 คน
  5. นักเรียนปานกลาง พัฒนาถึงขั้นราชาศัพท์ ได้ 1 คน
  6. นักเรียนอ่อน สามารถพัฒนาถึงขั้นราชาศัพท์ได้ 1 คน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  1. การสร้างความตระหนักโดยสื่อและวิธีการหลากหลายส่งให้นักเรียนตั้งใจศึกษาค้นคว้าจนเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
  2. การยอมรับความคิดเห็นจะทำให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง
  3. การนำสื่อที่นักเรียนชอบหรือสนใจประกอบช่วยให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จในการเรียน
  4. นักเรียนพึงพอใจ เพระาทุกคนมีโอกาสเลือกสื่่้อมาทำกิจกรรม
  5. การจัดกิจกรรมสั้นๆ แต่สม่ำเสมอในระยะพอสมควรทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างคงทน
  6. นักเรียนสัมผัสสื่อหลากหลาย ช่วยพัฒนาทักษะการคิด และเพิ่มพูนอย่างหลากหลายที่เป็นวัตถุดิบในการแต่งคำประพันธ์
  7. การเสริมแรงสร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนาตนเอง
  8. การวางแผนกิจกรรมบูรณาการอย่างเหมาะสม แทรกทักษะการแต่งคำประพันธ์ในทุกแผน ฝึกทักษะสม่ำเสมอให้เกิดการเรียนรู้อย่างถาวร
  9. การจัดนิทรรศการผลงาน สร้างการยอมรับความสามารถของตนเองและผู้อื่นได้
  10. การยกย่อง ชมเชยช่วยให้นักเรียนภาคภูมิใจและพยายามสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น
  11. การประเมินผลทุกขั้นตอนทำให้สามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้สอดคล้องกับปัญหาและสถานการณ์
  12. ความรักและความเมตตาของครูต่อศิษย์อย่างจริงใจเป็นสื่อที่มีค่าและประสิทธิภาพอย่างยิ่งต่อการจัดกิจกรรมการสอนทุกเนื้อหาวิชา
ความเห็น ความรู้สึกของครู
- ภูมิใจที่เอาชนะปัญหาได้
- สามารถพัฒนาเด็กตาม พรบ. การศึกษาฯ มาตรา 22 หมวดที่ 4 ที่ว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้
- ยังมีศิษย์อีกหลายคนที่ยังไม่สามารถค้นพบศักยภาพของเขา
- สุดท้ายจะพยายามช่วยนักเรียนโดยเฝ้าสังเกต ศึกษา วิเคราะห์ปัญหา หาวิธีแก้ไข พัฒนานวัตกรรมขึ้นใช้แก้ปัญหาให้ลุล่วง

สรุปเอกสารงานวิจัย (3)

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนระดับ ม.ปลาย
จุดประสงค์   
  1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
  2. เพื่อประเมินรูปแบบที่สร้างขึ้น
ประชากร   นักเรียน ม. 5 ของโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โดยสุ่มแบบเจาะจง และสุ่มห้องเรียนอย่างง่าย 2 ห้องเรียน
- กลุ่มควบคุม 1 ห้อง มี นักเรียน 40 คน เรียนด้วยวิธีสอนอ่านตามคู่มือครู
- กลุ่มทดลอง 1 ห้อง มีนักเรียน 42 คน เรียนด้วยรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
ระยะเวลา   12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ
การวิเคราะห์ข้อมูล   แบบทดสอบความสามารถ, แบบทดสอบความคิดเห็น
วิเคราะห์ความแปรปรวนรวม ความแปรปรวน 2 ทาง ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการทดลอง   คะแนนหลังเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน แต่คะแนนของผู้เรียนที่มีความสามารถในระดับต่ำ กลุ่มทดลองสูงกว่าโดยคะแนนหลังเรียน
- กลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาสูงกว่าก่อนเรียน ที่นัยสำคัญ .01 ทั้งคู่
- ค่าเฉลี่ย ลักษณะการเรียนรู้ ไม่แตกต่าง แต่กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่า
- กลุ่มทดลอง > 80% เห็นด้วยกับการเรียนตามรูปแบบยกเว้นความพอใจที่ไม่ต้องทำตามสิ่งที่ครูบังคับให้ทำ = 64.30%
ผู้วิจัย   นางสาวคณาพร คมสัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2540)

ความรู้จากการอบรมประกันคุณภาพ (5)

การประกันคุณภาพ
คุณภาพ (Quality) ประกอบด้วย

  1. Standard
  2. Customer Expectation or Satisfaction หรือ TQM
  3. Continuous Improvement ตามวงจรคุณภาพ (PDCA)
การพัฒนาโรงเรียนให้ได้มาตรฐานตามวงจรพัฒนาคุณภาพ (PDCA)

  1. P (Plan) ทำแผนพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วมทุกฝ่าย
  2. D (Do) การปฏิบัติตามแผนจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการบริหารจัดการ (4M= Money, Men, Material, Management) อย่างเพียงพอ
  3. C (Check) การตรวจสอบ เพื่อพัฒนาโรงเรียน
  4. A (Action) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นในการวางแผน (Plan and Make Change) เพื่อแก้ปัญหา (Solving Problem)
Action มี 2 นัย คือ

  1. ถ้าผลการประเมินคุณภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ก็รักษาวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice)ไว้ แล้วนำมาจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard)ของสถานศึกษา
  2. ถ้าผลการประเมินไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ต้องนำผลการประเมินมาพิจารณาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเพื่อการวางแผนปรับปรุงพัฒนา (Plan) ในปีต่อไป รวมทั้งเรื่องที่ไม่เป็นปัญหาก็ต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
PDCA กับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ดังนี้
P = 

  1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษา
  2. การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา
  3. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
D = การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
C = 

  1. การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบ
  2. การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
  3. การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน
A = 

  1. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  2. การใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด (data wise)
  3. การจัดการความรู้ (KM)
  4. การใช้ประโยชน์จากผลการประเมิน (Evaluation Utilization)
  5. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)
"Everything we do is Quality" ความพึงพอใจ เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
SWOT --->  Stratitive Plan = แผนกลยุทธ์

"การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง"
โรงเรียนที่มีคุณภาพ
  1. มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียนชัดเจน
  2. มีการกำกับติดตามตรวจสอบสมำ่เสมอ
  3. มีความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียนแนบแน่น
  4. มีการตั้งความคาดหวังความสำเร็จไว้สูง
  5. โรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้ภายในอย่างหลากหลาย และมีการให้ผู้เรียนไปเรียนที่แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน
  6. โรงเรียนสร้างโอกาสการเรียนรู้และให้เวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน
  7. มีสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนสะอาด สวยงาม ร่มรื่น เป็นระเบียบ ปลอดภัย
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ที่ครูควรศึกษาและทำความเข้าใจ ดังนี้
  1. จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีทั้งความรู้และคุณธรรม อยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข
  2. จัดการเรียนการสอน ต้องให้ความสำคัญกับผู้เรียน พัฒนาผู้เรียนทุกคนตามธรรมชาติ เต็มศักยภาพ
  3. การจัดการความรู้และประสบการณ์ ต้องทำให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติตามจุดมุ่งหมายข้อ 1 ต้องเน้นความสำคัญทั้ง ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม
  4. การจัดกระบวนการเรียนรู้ หรือ การจัดการเรียนการสอน ควรมีลักษณะ ที่เอื้อต่อการให้ความรู้และประสบการณ์ในข้อ 3 ส่งไปถึงผู้เรียนจนทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ลงมือปฏิบัติ รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรรียนรู้ต่างๆ มีทักษะการคิด การจัดการ การประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่างๆ
  5. โรงเรียนต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน โดยอาศัยหลักสูตรแกนกลางเป็นแนวทาง
  6. ผู้สอนต้องทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
"วิสัยทัศน์" (Vision) คือ ความคาดหวังในอนาคตขององค์กรที่ต้องการจะเป็น เป็นข้อความซึ่งกำหนดทิศทางของพันธกิจ เป็นสภาพอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่องค์กรมุ่งหวังหรือประสงค์จะม่ีในอนาคต ต้องมีความชัดเจน กระชับ คำนึงถึงผู้เรียน ท้าทายความสามารถของบุคลากรในหน่วยงานให้เกิดความมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ชัดเจนในใจคน และชัดเจนในการปฏิบัติ
"วิสัยทัศน์ที่่ดี"
  1. มีความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ (Implement ability)
  2. ผู้บริหาร ครูทุกคน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วม (Participation)
  3. คำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง (Customer Satisfaction)
"พันธกิจ" (Mission) การกำหนดขอบเขตของงานหรือบทบาทหน้าที่ที่องค์กรต้องทำในลักษณะอาณัติ เพื่อให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ หรือ เป็นการระบุภารกิจที่องค์กรพยายามจะบรรลุหรือเป็นพันธสัญญาที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
"อัตลักษณ์ผู้เรียน" (Identity) เกิดจากการพัฒนาผู้เรียนตามวิสัยทัศน์และเกิดบรรลุผลโดดเด่น การประเมิน: ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นไปตามสาระที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์หรือไม่ อย่างไร การกำหนด: ต้องชัดเจน ง่ายต่อการเก็บข้อมูล ง่ายต่อการวัดและประเมิน ไม่ควรใช้คำที่มีความหมายกว้าง หรือตีความได้หลายความหมาย ต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์
"เอกลักษณ์สถานศึกษา" (Uniqueness) คือ ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นของสถานศึกษา (Best practice) ซึ่งบางโรงเรียนอาจมีจุดเด่นหลายด้าน แต่ควรเอาเอกลักษณ์ที่ดีที่สุด
"ตัวบ่งชี้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง" 
(Child Centered Approached Learning)
  1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
  2. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า สังเกต รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ คิดอย่างหลากหลาย สร้างสรรค์ และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
  3. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้วิธีศึกษาหาความรู้ และแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
  4. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี และสิ่งที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
  5. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียน พัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วน ทั้งด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา
  6. มีการจัดกิจกรรม เพื่อฝึก และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน
  7. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อกลุ่ม
  8. มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายต่อเนื่อง
  9. ผู้เรียนรักโรงเรียนของตนและมีความกระตือรือร้นในการมาโรงเรียน
สรุป คือ Child Centered Approach Learning = การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการคิดด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ เกิดความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปบูรณาการในชีวิตประจำวัน และมีคุณสมบัติตรงกับเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขกายและใจ

บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
"ผู้สอน" มีหน้าที่รับผิดชอบ
  1. ก่อนสอน ทำการวางแผน เตรียมการ เลือกกิจกรรมการเรียนรู้
  2. ขณะสอน ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (Facilitators) จัดการ แนะนำ สังเกต ช่วยเหลือ เสริมแรง (Reinforcement) และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
  3. หลังสอน ทำหน้าที่ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อใช้ในการวางแผนการสอนต่อไป หรือตัดสอนคุณภาพผู้เรียน
"ผู้เรียน" มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง โดยเลือกสิ่งที่ต้องการเรียน วางแผนการเรียน เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียน ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเอง และประเมินการเรียนรู้ของตน
"Constructionist" มีความเชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยตนเอง สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้งอกงามได้เรื่อยๆ โดยอาศัยพัฒนาโครงสร้างความรู้
"โครงสร้างความรู้" มีองค์ประกอบที่ืสำคัญ 3 ประการ คือ
  1. ความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่
  2. ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้รับ เป็นข้อมูล ความรู้ ความรู้สึก และประสบการณ์
  3. กระบวนการทางสติปัญญา เน้นกระบวนการทางสมองที่ผู้เรียนใช้ทำความเข้าใจกับความรู้ใหม่ และใช้เชื่อมโยง ปรับความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน
"กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี" ควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง
"กิจกรรมการเรียนรู้" คือ งานที่ผู้เรียนทำแล้วเกิดความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแสดงเป็นพฤติกรรมที่ผู้สอนกำหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้
"กิจกรรม" ควรเปิดโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และด้านอารมณ์


ความรู้จากการอบรมประกันคุณภาพ (4)

อุดมการณ์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
   เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนโดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาเพื่อปวงชนโดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองของโลก เพื่อเป็นรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต รวมทั้งเพื่อการพัฒนาหน้าที่การงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตัวและครอบครัว และเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต
หลักการสำคัยของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  1. หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
  2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย
  3. หลักแห่งความเสมอภาค
  4. หลักการมีส่วนร่วม
  5. หลักแห่งความสอดคล้อง
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 ด้าน 15 มาตรฐาน ให้ความสำคัญกับกระบวนการบริหารและการจัดการ ร้อยละ 70 คุณภาพผู้เรียน ร้อยละ 30
1.  มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน
1.1  ผู้เรียนมีสุขภาวะทีดีและมีสุนทรียภาพ
1.2  ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
1.3  ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.4  ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล
1.5  ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
1.6  ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
2.  มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา
2.1  ครูปฏิบัติ่งานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2.2  ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2.3  คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชน ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2.4  สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนา คุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน
2.5  สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ
2.6  สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3.  มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
3.1  สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
4.  มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
4.1  การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนดขึ้น
5.  มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม
5.1  การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น

ประกันคุณภาพ (3)

หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้
ก. หลักการสำคัญ

  1. การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานตามภารกิจที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
  2. การประกันคุณภาพมุ่งพัฒนการดำเนินงานตามความรับผิดชอบของตนให้มี่คุณภาพดียิ่งขึ้น เพราะผลการพัฒนาของแต่ละคนก็คือผลรวมของการพัฒนาทั้งสถานศึกษา
  3. การประกันคุณภาพเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำเพื่อเตรียมรบการประเมินเป็นครั้งคราวเท่านั้น
  4. การประกันคุณภาพต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถว่าจ้างหรือขอให้บุคคลอื่นๆ ดำเนินการแทนได้
  5. การประกันคุณภาพต้องเกิดจากการยอมรับและนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ข. การดำเนินงานของสถานศึกษา

  1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องดำเนินการและถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้
1.1  ศึกษา วิเคราะห์ มาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการใช้
1.2  พิจารณาสาระสำคัญที่จะกำหนดในมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่สะท้อนอัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา
1.3 กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้
1.4  ประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกรับทราบ
ทั้งนี้ สถานศึกษาอาจกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ได้

2. การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2.1  ให้สถานศึกษาจัดทำแผนการจัดการศึกษา ดังนี้
2.1.1 ศึกษา วิเคราะห์ สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลตามสภาพจริง
2.1.2  กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายด้านต่างๆ โดยมุ่งเน้นที่คุณภาพผู้เรียนที่สะท้อนคุณภาพ ความสำเร็จอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
2.1.3  กำหนดวิธีการดำเนินงานกิจกรรม โครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัย หรือข้อมูลที่อ้างอิงได้ ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
2.1.4  กำหนดแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
2.1.5  กำหนดบทบาท หน้าที่อย่างชัดเจนให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนร่วมรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.1.6  กำหนดบทบาท หน้าที่ และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงาน ชุมชน และท้องถิ่น
2.1.7  กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับกิจกรรม โครงการ
2.1.8  เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ/หรือ คณะกรรมการสถานศึกษา และ/หรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ
2.2 ให้สถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ดังนี้
2.2.1 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.2.2 ให้กำหนดปฏิทินการนำแผนปฏิบัติการประจำปีไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน
2.2.3  เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ/หรือ คณะกรรมการสถานศึกษา และ/หรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ

3. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
3.1  จัดโครงสร้างหรือระบบการบริหารงานของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
3.2  กำหนดผู้รับผิดชอบและจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน สะดวกต่อการเข้าถึงและการให้บริการ หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต้นสังกัด
3.3  นำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการบริหารและการพัฒนาการเรียนการสอน

4.  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
4.1  นำแผนปฏิบัติการประจำปีแต่ละปีสู่การปฏิบัติตามกรอบระยะเวลา และกิจกรรมโครงการที่กำหนดไว้
4.2  ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

5.  การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
5.1  กำหนดผู้รับผิดชอบในการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดบสถานศึกษา
5.2  ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษาอย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
5.3  รายงานและนำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา
5.4  เตรียมการและให้ความร่วมมือในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด

6.  การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
6.1  ให้มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย 3 คน ที่ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่หน่วยงานต้นสังกัดขึ้นทะเบียนไว้อย่างน้อย 1 คน เข้ามามีส่สวนร่วมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายใจของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
6.2 ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสม
7.  การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
7.1  สรุปและจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด
7.2  นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ/หรือ คณะกรรมการสถานศึกษา และ/หรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ
7.3  เผยแพร่รายงานต่อสาธารณชน หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
8.  การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
8.1  ส่งเสริมแนวความคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษามุ่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องให้เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา และพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จนเป็นวัฒนธรรมคุณภาพในการทำงานปกติของสถานศึกษา
8.2  นำผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาจากการประเมินตนเองหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา การบริหาร และการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
8.3  เผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา

ค.  การดำเนินงานของหน่วยงานต้นสังกัด
1.  ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมที่เกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
2.  ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบข้อมูลสารสนเทศ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำรายงานประจำปี เป็นต้น
3.  พัฒนาผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดที่รับผิดชอบ จัดทำทะเบียนรายชื่อ และประกาศให้สถานศึกษา ทราบ
4.  กำกับ และดูแล คุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับหรือรักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษา
5.  จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และแจ้งผลการติดตามตรวจสอบให้สถานศึกษาทราบ
6.  นำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพไปใช้วางแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
7.  เผยแพร่ผลการติดตา่มตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อหน่วยงานต้นสังกัดระดับเหนือขึ้นไป และสาธารณชน
8.  เชื่อมโยงผลการประเมินคุณภาพภายนอกกับผลการประเมินภายใน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
9.  สร้างเครือข่ายคุณภาพเพื่อร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
10.  ประกาศ เผยปพร่ผลการปฏิบัติดีของสถานศึกษาในสังกัดต่อสาธารณชนและหน่วยงานต่างๆ

สรุปเอกสารงานวิจัย (2)

การสร้างแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้สื่อการสอนจริง สำหรับนักเรียน ม. 1 โรเงรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม จ.นครปฐม
ผู้วิจัย    นางอารีย์ สุวรรณทัศน์ ม.ศิลปากร (2540)
จุดประสงค์   
  1. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการฟังโดยสร้างเอกสารจริง
  2. เปรียบเทียบความสามารถในการฟัง ก่อน-หลังเรียน
ประชากร   จำนวน 1 ห้องเรียน 43 คน ใช้แบบฝึกที่สร้างขึ้น 10 แบบฝึก 10 คาบ คาบละ 50 นาที
กระบวนการวิจัย   วิเคราะห์โดยใช้สถิติ t-test dependent
ผลการวิจัย ได้ค่า 80/77 = ดีมาก ที่ระดับนัยสำคัญ .05

สรุปเอกสารงานวิจัย (1)

เรื่อง การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ศึกษากรณีนักเรียนเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups) โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์
ผู้วิจัย      นางเจือจันทร โคตรอาชา (2545)
ประชากร   นักเรียน ม.6
ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2542 ใช้เทคนิคการเรียนแบบ Jigsaw
จุดประสงค์   

  1. ศึกษากระบวนการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
  2. ศึกษาผลงานการจัดกระบบการเรียนรู้
  3. ศึกษาความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนการสอนของกลุ่มนี้
กระบวนการวิจัย   ออกแบบกิจกรรมสร้างชุดการเตรียมผู้เรียนให้รู้วิธีเรียน 6 หน่วย สอน 6 ครั้ง ครั้งละ 2 คาบ ในเทอม 2 ปีการศึกษา 2542, 43, 44 วิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ว 411)
ผลการวิจัย   ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สูงกว่า 90/90 28 ชุด=87.50% ค่าประสิทธิภาพในเกณฑ์ 1 ชุด 3.13% ชุดทรัพยากรอากาศ 98.05%
ต่ำกว่าเกณฑ์ 3 ชุด คิดเป็น 9.38% ได้แก่ชุด ระบบนิเวศ 85.64/94.43, 99.65/87.73, 99.72/85.14
ความมีนัยสำคัญ = 0.01 ทุกชุด
* การจัดการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทุกกลุ่มที่ให้เรียน พบว่า นักเรียนมีความรู้สูงขึ้น
กิจกรรมการเรียนการสอน ทุกกุล่มให้การบรรยายประกอบสื่อกิจกรรมฐานความรู้=75% สื่อแผนภูมิ = 93.72% แบบฝึกปฏิบัติ ปริศนาอักษรไขว้ = 68.75%
ความเห็น   จากแบบสอบถาม มีคุณลักษณะสูง 3 ประการ

  1. บรรยายาศการเรียนอย่างมีความสุข
  2. คุณลักษณะที่ดีของนักเรียน
  3. ความรู้ความสามารถ 
(นัยสำคัญ = 0.01)
จากบันทึกอนุทินของนักเรียน พบว่านักเรียนที่เรียนแบบกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพัฒนานักเรียนด้านการเป็นคนดี เก่ง มีความสุข

วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2557

ประกันคุณภาพ (2)


  • ให้สำนักงานเขคพื้นที่การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
  • ให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบ คุณภาพการศึกษา อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 3 ปี และแจ้งผลให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ รวมทั้งให้เปิดเผยการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อสาธารณชน
  • การประกันคุณภาพภายนอกให้คำนึงถึงจุดมุ่งหมายและหลักการ ดังต่อไปนี้
  1. เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  2. ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม และโปร่งใส มีหลักฐาน ข้อมูล ตามสภาความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
  3. สร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติ โดยให้มีเอกภาพเชิงนโยบาย ซึ่งสถานศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถานศึกษาและผู้เรียน
  4. ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
  5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพ และพัฒนาการจัดการศุึกษาของรัฐ เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
  6. ความเป็นอิสระ เสรีภาพทางวิชาการ เอกลักษณ์ ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษา
  • ในการประกันคุณภาพภยนอก ให้สำนักงานทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาแต่ละแห่ง ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและครอบคลุมหลักเกณฑ์ ในเรื่อง ดังต่อไปนี้
  1. มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
  2. มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  3. มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำกรประเมินคุณภาพภายนอกจากมาตรฐานอื่นเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานประกาศกำหนดมาตรฐานอื่นได้โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี

  • วิธีการในการประเมินคุณภาพภายนอกให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานกำหนด
  • (ข้อ 40) ในกรณีที่ผลการประเมินคุณภาพภายนอกแสดงว่า ผลการจัดการศึกษา สถานศึกษาได้ "ไม่ผ่าน" เกณฑ์มาตรฐาน ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือพร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานแก่หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษานั้น และให้สถานศึกษานั้นปรับปรุงแก้ไขโดยจัดแผนพัฒนาคุณภาพและดำเนินการตามแผน เพื่อขอรับการประเมินใหม่ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมินครั้งแรก
ให้สถานศึกษาเสนอแผนพัฒนาคุณภาพต่อสำนักงานเพื่อพิจารณาอนุมัติภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน

  • ในกรณีที่สถานศึกษาไม่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายใจกำหนดเวลาตามข้อ 40 ให้สำนักงานรายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดอื่นแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
หมายเหตุ: เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 47 แห่ง พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ทั้งนี้ ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเรื่อง "การประกันคุณภาพ" 1 เมษายน 2557 (1)


  • ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ต้องประกอบด้วย
  1. การประเมินคุณภาพภายใน
  2. การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
  3. การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  • ระบบการประกันคุณภาพภายนอกเพื่อรับรองมาตรฐานและมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทุกระดับ ต้องประกอบด้วย

  1. การประเมินคุณภาพภายนอก
  2. การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
  • ให้สถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดและการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและเปิดเผยรายงานนั้นต่อสาธารณชน
  • สถานศึกษาต้องนำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปประกอบแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ข้อความจากพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๗ ตอนที่ ๒๓ก หน้า ๒๖ ข้อ ๑๔ ดังนี้
  • ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใจระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการ ดังต่อไปนี้
  1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
  2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
  3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
  4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
  5. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
  6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายใจตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
  7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
  8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  • ให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแล ของหน่วยงานต้นสังกัด
  • สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่สามารถปฏิบัติงานบางประการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่งได้ ให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือสำนักงานเขตพื้นที่การรศึกษา แล้วแต่กรณี ประกาศผ่อนผันการปฏิบัติและวางแนวทางในการประกันคุณภาพภายในให้เหมาะสมกับสภาพการจัดการศึกษานั้น แล้วรายงานให้รัฐมนตรีทราบ
  • กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ต้องสอดคล้องกับมาตรฐนการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด และต้องครอบคลุมสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่นด้วย
  • การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
  1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
  2. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
  3. กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา ผลการวิจัยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
  4. กำหนดแหล่งวิขาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
  5. กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครอง และองค์กรชุมชน
  7. กำหนดการใช้งลประมาณ และทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  8. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี