วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ตำนานพระพุทธบาท ตอนที่ 3

วันขึ้นพุธ (๔) (ไม่แน่ใจในการตีความนะคะ) ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ จุลศักราช ๑๑๔๖ ปีมะโรง สัมฤทธิศก ขุนสัจพันธคีรี ขุนอิินทพิทักษ์ ขุนธัมการ ปะขาวเพ่ง นั่งพร้อมกัน บนที่ทักษิณโรงประโคม จึงบอก (ต้นฉบับเดิมลบเลือนอ่านไม่ได้ความ) ได้ทำราชการมาแต่ครั้งบรมโกศ มาจนถึงพระที่นั่งสุริยามรินท์ จึงเอาตำรารายจดหมายอย่างธรรมเนียมท้องที่อำเภอพระพุทธบาทแต่ก่อนนั้นมาส่งให้ฉันเป็นอย่างธรรมเนียมมาแต่ก่อน ขุนหมื่นกรมการค่าพระพุทธบาทนั้น ขุนยกบัตร ข้าหลวงกำกับท่านมาตั้งแต่กรุงเทพมหานคร ครั้นเมื่อเทศกาลถือน้ำ ขุนยกบัตรนั้นได้ลงไปถือน้ำกรุงเทพมหานครทุกปี ถ้าและราษฎรชาวบ้านจะร้องฟ้องหาความแก่กันด้วยความสิ่งใดๆ ถ้าและเป็นความแพ่งสลักหลังฟ้องส่งให้ขุนเทพสุภาชลธีหมื่นสรีพุทธบลราชรักสาเอาไปพิจารณา ถ้าเป็นความอาญาประทับฟ้องส่งให้ขุนเฉลิมราชปลัดเอาไปพิจารณา ถ้าเป็นควมมหันตโทษนครบาลประทับฟ้องส่งให้หมื่นชินบาลชาญราชรักษาเอาไปพิจารณา ถ้าเป็นความด้วยไร่นา ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนา ได้เอาไปพิจารณา ถ้าจะให้เรียกเงินทองวิวาทแก่กัน ขุนอินทพิทักส์ ขุรพรหมรักสา หมื่นพิทักส์สมบัติ หมื่นพิทักส์รักสา เอาไปพิจารณา เป็นสัจด้วยความสิ่งใดๆ ส่งสัจไปบริบนเมืองลพบุรี เมืองสระบุรี นะเมืองนครขีดขินนี้แต่ก่อนเป็นเมืองคู่ปรับกัน ครั้นมาเมื่อครั้งบรมโกศได้เสวยราชสมบัติ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทจึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ข้าหลวงขึ้นมาเป็นที่ยกบัตรนั้นไม่ยืนนานปีหนึ่งตายสองปีตาย แต่นี้สืบไปเมื่อหน้าให้จัดขุนหมื่นข้าพระพุทธบาทเป็นที่ขุนยกบัตรบ้างเถิด แล้วให้ขุนยกบัตรขึ้นไปถือน้ำกรุงเทพมหานครเลย ให้ถวยบังคมเทียนพรรษาซึ่งจบพระหัตถ์ขึ้นมานั้นให้พร้อมกัน ถ้าผู้ใดขาดมิได้ถวยบังคม มีโทษถึงสิ้่นชีวิต ถ้าและพิจารณาเนื้อความอันใด เป็นความมโนสาเร่ ก็ให้ว่ากล่าวกันให้เสียให้สำเร็จแต่ในพระพุทธบาทนี้เถิด ถ้าและเป็นความมหันตโทษ พิจารณาเป็นสัจความข้อใหญ่นั้นให้บอกส่งสัจลงไปปรับยังลูกขุนศาลาหลวงพิจารณามิตกลงกันให้บอกส่งลงไปยังลูกขุนศาลา อย่าให้(ต้นฉบับโดนลบ) เมืองสระบุรีเหมือนยังแต่ก่อนเลย เป็นตำแหน่งเมืองนครขีดขินอยู่ก็จริงแต่ว่าขุนหมื่นเหล่านี้ได้รักษาประพุทธบาทอยู่ด้วย จะให้ขึ้นแก่ผู้รั้งกรมการเมืองใดหามิได้ จึงขาดแต่วันนั้นมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินท์ จึงมิได้ไปปรับ ณ เมืองลพบุรี เมืองสระบุรีแต่ครั้งนั้นมา
     อนึ่งแต่โบราณมา เมื่อยังมีอำเภอพระพุทธบาท มีกรมการสำหรับเมืองขีดขินนั้น ๘ คน หลวงสรวัราชธานีศรีบริบาลคนหนึ่ง ขุนเฉลิมราชปลัดคนหนึ่ง ขุนเทพยกบัตรคนหนึ่ง ขุนเทพสุภาคนหนึ่ง ขุนจ่าเมืองคนหนึ่ง ขุนสัสดีคนหนึ่งขุนอินทเสนาคนหนึ่ง ขุนพรหมเสนาคนหนึ่ง มีพรานคนหนึ่ง เมื่อจะพบฝ่าพระพุทธบาทครั้งนั้น ท้ายอภัยทสราชได้เสวยราชสมบัติในกรุงเทพมหานคร พระสงฆ์ไปไหว้พระบาทเมืองลังกาจึงมีลายเข้ามาว่ามีพระพุทธบาทอยู่ ณ กรุงเทพมหานครอยู่ในเขาสัจพันบรรพต ในแว่นแคว้นปรันตะปะนครราชธานีไปจากปะรันตะปะนครนั้น หนทางประมาณ ๓๐๐ เส้น ครั้นพระสงฆ์กลับเข้ามาแต่เมืองลังกา จึงถวยพระ (ต้นฉบับโดนลบ) แต่พระมหากษัตรธิราชเจ้า จึงให้ไปหาบนยอดเขาสัจพันธ์ (ต้นฉบับโดนลบ) เรื่องราวแต่นายพรานจึงพบฝ่าพระพุทธบาท มีศิลาเป็นลิ้นถอดกปิดอยู่ มีน้ำขังอยู่ในรอยแต่พอเนื้อนกกินได้ ครั้นนายพรานยิงเนื้อถูกเข้าลำบาก เนื้อนั้นก็วิ่งไปถึงฝ่าพระพุทธบาทได้กินน้ำในรอยก็หายดีไป นายพรานนั้นเป็นเหตุประหลาดอยู่ เข้าไปดูเห็นศิลาลิ้นถอดมีน้ำขังอยู่ นายพรานจึงตักน้ำนั้นมากิน นายพรานเป็นเกลื้อนกลากก็หายหมดนายพรานจึงวิดน้ำเสียให้แห้งแล้วจึงเห็นพระลัษณะสำคัญว่ารอยคนโบราณ นายพรานก็นิ่งความไว้ ครั้นพระสงฆ์ถวายพระพร นายพรานนั้นนำไปจึงพบฝ่าพระพุทธบาท ท่านจึงให้ก่อเป็นผนังทำเป็นหลังคามุงกระเบื้องไว้อย่างวัดเจ้าพนังเชิง ท่านจึงให้ตั้งขุนหมื่นไว้ให้รักษาพระพุทธบาท เอานามพระสัจพันธคีรีตั้ง จะตั้งเป็นพระก็ไม่ได้ จะตั้งเป็นหลวงก็ไม่ได้ด้วยท่านได้อรหัตแล้ว จึงตั้งเป็นขุนสัจพันธคีรีนพคูหาพนมโขลน จึงตั้งหมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นแผ้วอากาศ หมื่นชินธาตุ หมื่นสรีสัปรุส ๔ คนนั้นรักษาประมณฑป ให้บังคับบัญชาว่ากล่าวปะขาวในมณฑป จึงตั้งนายประตู ๔ นาย หมื่นราชชำนาญมุนินท์ หมื่นอินทรักษา หมื่นบุญชาเจดียื หมื่นศรีพุทธบาล จึงตั้งขุนหมื่นรักษาคลัง ๔ นาย ขุนทินพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่อนพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษา ในครั้งนั้นแต่ก่อนมีผ้าทรงนารายณ์ผืนหนึ่ง ม่านปักวันทองผืนหนึ่ง สำเภาทองมียนต์ลำหนึ่ง ช้างทองคำตัวหนึ่ง ม้าทองคำตัวหนึ่ง กวางทองคำตัวหนึ่ง ต้นไม้กัลปพฤกษ์ ๓ ต้น ทองต้นหนึ่ง เงินต้นหนึ่ง นากต้นหนึ่ง มีปืนใหญ่ ๒ กระบอก หามแล่น ๒ กระบอก ขากนกยาง ๒ กระบอก ๖ กระบอกสำหรับคลัง จึงตั้งหมื่นสนั่นไพเราะ หมื่นเสนาะเวหา พันเสนาะ รองเสนาะ ๔ คนนี้สำหรับประโคมยามทั้งกลางวันกลางคืนทุกวันมิได้ขาด ขุนธัมการนั้นได้ตราจตราว่ากล่าวพระสงฆ์สามเณรปะขาวรูปชีซึ่งวิวาทแก่กันเป็นกระทรวงธรรมการๆ นั้นมีตราตั้งมีเสมาธรรมจักร ประเสด็จได้ตั้ง หมื่นจิตรจอมใจราชนั้นสำหรับไปเบิกน้ำมันหลวงขึ้นมาตามถวายพระพุทธบาท หลวงจังหวัดไพรี หมื่นศรีไพรสนท์ เป็นพรานสำหรับป่าได้นำเสด็จ หมื่นทิพชลธี หมื่นพันธคีรีคงคา ได้รักษาอ่างแก้วเชิงเขา หมื่นศรีชลธารได้รักษาอ่างทองแดง หมื่นศรีวารได้รักษาตำหนักพระราชวังหลวง ครั้นเวลาเช้าเย็นไล่วานรมารับประราชทานเข้าสุกทุกเวลา กว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้ากรุงเทพมหานคร หมื่นศรีรักษาได้รักษาตำหนักกระมพระราชวังหน้า พันบลอุโบสถได้รักษาพระอุโบสถ หมื่นพรหมพันทด พันทอง พันคำ ๔ คน สำหรับได้ว่ากล่าวข้าพระโยมสงฆ์ให้สีซ้อมจันหันนิจภัต ถวายพระสงฆ์ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ เขา จังหวัดพระพุทะบาทองค์ละ ๓๐ ทนาน พระมหามงคลเทพมุนี ได้เงินเดือนๆ ละ ๔ ตำลึง ๑๐ สลึง พระสงฆ์อันดับได้เดือนละ ๖ สลึง ขุนหมื่นพันทนย ตั้งไว้สำหรับพระพุทธบาท ๒๗ คน จึงยกเอากรมการสำหรับปะรันตะปะนครราชราชธานีนั้นขึ้นมารักษาพระพุทธบาทด้วย หลวงสารวัตรราชธานีศรีบริบาลเป็นจางวาง ขุนเฉลิมราชปลัด พันสารวัต ขุนเทพยกบัตรตั้เป็นขุนศรีพุทธบาลยกบัตร ขุนเทพสุภานั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทนั้น กับตำรวจใน ๒ คน กำกับกันไปรักษาน้ำศิลาดาษ จึงตั้งว่าขุนเทพสุภาชลธี หมื่นรองสภานั้นเป็นหมื่นศรีพุทธบาลราชรักษา เป็นปลัดขุนยกบัตร ขุนจ่าเมืองนั้นตั้งเป็นขุนชินบาลชาญราชรักษา เป็นปลัดขุนสัจพันธคีรี ขุนสัสดีตั้งเป็นเหมื่นมาศคีรีสมุห์บัญชี แต่ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนาคงที่เดิมแต่ก่อนมา หลวงสารวัตถือตรารูปองคต ขุนสัจพันธคีรีถือตรารูปคนถือดอกบัวถือเทียนข้างหนึ่ง ขุนเฉลิมถือตรารูปช้าง ขุนยกบัตรถือตรารูปคนถือโคม ขุนเทพสุภาถือตรารูปหงส์ ขุนชินบาลถือตรารูปคนถือดอกบัว ขุนอินทรเสนาถือตรารูปคนถือเชือก ขุนพรหมเสนาถือตรารูปคนถือสมุด หมื่นพระพุทธบาลถือตรารูปคนถือทาง หมื่นมาสคีรีถือตรารูปคนถือสมุด หมื่นสุวรรณปราสาทถือตรารูปมณฑป ขุนอินทพิทักษ์ถือตารรูปคนถือพาน ขุนพรหมรักสาถือตราดอกบัว หมื่นพิทักส์สมบัติถือตรารูปสิงห์ หมื่นพิทักรักษาถือตรารูปตะไกร ขุนสารวัตรขุนสัจพันธคีรี ขุนหมื่น ทั้งนี้ท่านมหาดไทยได้ตั้ง แต่ท่านขุนยกบัตรนั้น ท่านกรมวังได้ตั้งแต่เดิมมา มีทั้งพระกัลปนาตราพระราชสีห์ พระธัมนูญ พระธัมสาสตร์ หลักอินทภาส ไว้สำหรับให้ว่าเนื้อความตามตำแหน่งแมืองปะรันตะปะนครราชธานีแต่ก่อนมาทุกๆ พระองค์ ซึ่งหลวงสารวัตราชธานีสรีบริบาล ได้พินัยจ่ายราชการกึ่งหนึ่ง ขุนสัจพันธคีรีได้ค่าที่นั่งตำลึงหนึ่ง ขุนยกบัตรค่าที่นั่ง ๘ สลึง ถ้าเป็นความแพ่งได้ค่าที่นั่งกึ่งหนึ่ง เป็นอย่างทำเนียบสืบๆ กันมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น