วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ตำนานพระพุทธบาท ตอนที่ 1

ขอกราบขอบพระคุณผู้เผยแพร่ "ตำนานพระพุทธบาท และอธิบายเรื่องพระบาท" ออกเมรุงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมรัตนากร (มณี สุพโจ ป.ธ.6) วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2534 เพื่อระลึกถึงคุณความดีของ พระธรรมรัตนากร สุนทรพรหมปฏิบัติ สมณวัตรโกศล วิมลปิฎกธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (มณี สุพโจ ป.ธ.๖) ชาตะ ๑๓ กันยายน ๒๔๕๐ มรณภาพ ๒๑ กันยายน ๒๕๓๓
     จะกล่าวถึงตำบนที่พระพุทธบาท ตามพระกะแสพระพุทธฎีกา ตั้งแต่พระพุทธเจ้าของเราได้ตรัสโปรดสัตว์ได้ 8 วัสสา มหาบุญมาอาราธนาไปจากเมืองสาวัตถี ให้ไปโปรดชาววานิชคามแดนเมืองสุนาปรันตะปะ ให้ตั้งอยู่ในประไตรสรนาคม แล้วเสด็จกลับมาประดิษฐานพระรอยไว้แทบฝั่งน้ำนำมะทา พาพระสงค์มาถึงเขาสุวรรณ พระอรหัสต์สัจพันธ์การบทูนขอพระเจดีย์ พระชินสีห์จึงพระราชทานพระรอยไว้ให้เป็นเจดียสถาน แล้วไปโปรดชาวเมืองโยนก ออกจากเมืองโยนมาซงยั้งนั่งใต้ร่มไม้ประดู่ใหย่ได้เก้าอ้อมอยู่ชายทะเลทอดพระเนตรเห็นหนองโสน เห็น 3 สัตว์ คือ นกยางตัวหนึ่ง จังกวดตัวหนึ่ง พานรตัวหนึ่ง จึ้งแย้มพระโอษฐ์ ฝ่ายพระอานนท์ก็กราบทูนถามจะใคร่แจ้งความที่พระองค์เจ้าแย้มพระโอษฐ์ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกรอานนท์ที่อันนี้แต่ก่อนเป็ฯเมืองลักษณ์และราม มีนามว่าเมืองหนองโสน พระรามสิ้นพระชนม์ไปได้ 106 ปี พระตถาคตจึงได้มาตรัสเทศนาให้อานนท์ฟัง วันนั้นเป็นวันพฟหัสเดือนยี่ขึ้น 6 ค่ำปีเถาะ เวลาบ่ายสองชั้นฉาย ครั้นจบเทศนาแล้วยังมีพราหมณ์คน 1 ชื่อ กุล พราหมณ์จึงเอาลูกสมอมาถวาย ทรงนั่งฉันเสมอที่ตอตะเคียน แล้วแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์ทูลถาม จึงมีพระพุทธฎีกาพยากรณ์ไว้ให้พระอานนท์ฟังว่า สมอนี้เป็นยา นานไปข้างหน้าเมืองหนองโสนนี้จะได้ชื่อว่า ศรีอยุธยา เมื่อพระตถาคตเข้าสู่พระนฤพานไปแล้วได้ 7 ปี จะมีพระยาองค์หนึ่งทรงนามว่า พระยาภัยทศราช เธอจะมาสร้างพระนครขึ้น เธอจะได้เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนี้ได้ 120 ปี ครั้นสิ้นบุญพระยาอภัยทศราชแล้ว ยังมีพระยาองค์หนึ่งทรงนามกรว่า พระยากาลราช เธอเสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองได้ 100 ปี ครั้นสิ้นอายุพระยากาลราชนั้นแล้วยังมีพระยาองค์หนึ่งทรงพระนามกรว่า ท้าวอู่ทอง ครั้นสิ้นบุญท้ายอู่ทองนั้นแล้วแต่บรรดาลูกหลานหว่านเครือท้ายอู่ทองนั้นก็สิ้นเชื้อกษัตริย์ ยังมีขุนเมืองคนหนึ่งชื่อพระยาโคตะบองครองสมบัติมา ครั้นสิ้นบุญพระยานั้นแล้ว พระยาแกรกได้ครองสมบัติเป็นลำดับกษัตริย์ต่อกันมาจนถึงสมเด็จพระบิดาพระนเรศวร์ กรุงศรีอยุธยาก็จะเสียแก่เจ้าหงสาลิ้นดำ ครัง้นั้นคนศีรษะใหญ่เท่าบาตร ครั้งกรุงศรีอยุธบาเสียแล้ว พระเจ้าหงสาวดีจึงให้กวาดเอาไพร่บ้านพลเมืองกับพระนเรศวร์ และสมเด็จพระพี่นางไปบ้านสัจพันธคาม และเมืองสุนาปะรันตะปะก็สูญแต่ครั้งนั้น หามีผู้ใดรักษาพระพุทธบาทไม่ พระพุทธบาทก็ลี้ลับอยู่ช้านาน กรุงศรีอยุธยานั้นก็ยังว่างเหล่าอยู่ ยังหามีกษัตริย์พระองค์ใดจะมาเสวยราชสมบัติไม่ ครั้นพระนเรศวร์กลับมาแต่หงสาวดี จึงได้มาเสวยราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา เธอมีอานุภาพดุจหนึ่งจะพลิกแผ่นดินหง่าย ครั้นสิ้นบุญพระนเรศวร์แล้ว สมเด็จบรมกษัตริย์ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อกันมา จนถึงสมเด็จพระอิศวรอิศเรศได้เสวยราชสมบัติก็ยังหาพบฝ่าพระพุทธบาทไม่ ครั้งนั้นพระสงฆ์เจ้าออกไปนมัสการฝ่าพระพุทธบาท ณ เมือง ลังกา พระยาเทวานังปิยดิส จึงมีพระราชโองการตรัสถามประสงฆ์เจ้าว่า ดูกร พระผู้เป็นเจ้า ฝ่าพระพุทธบาท ณ กรุงศรีอยุธยาหามีไม่ พระผู้เป็นเจ้าจึงอุตส่าห์ออกมาถึงนี่ พระสงฆ์จึงถวายพระพรแก่พระยาเทวานังปิยดิสว่า ฝ่าพระพุทธบาทมีอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา อยู่บนยอดเขาสุวรรณบรรพตข้างทิศอุดร สถิตย์เหนือกรุงศรีอยุธยา พระยาเทวานังปิยดิส จึงทรงพระราชอักษรเป็นราชสาส์นถวายกับพระสงฆ์เจ้าให้เอาข่าวสาส์นมาถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา พระสงฆ์เจ้ารับพระราชสาส์นแล้ว ก็ถวายพระพรลาพระยาเทวานังปิยสิสกลับเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา จึงนำเอาพระราชสาส์นตรานั้นขึ้นถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ๆ ได้ทราบในพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงลังกานั้นแล้ว จึงมีพระราชโองการดำรัสสั่งแก่เสนาบดีทูลละองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ให้บาดหมายป่าวร้องอาณาประชาราษฎรให้เที่ยวค้นคว้าหาพระพุทธบาทจงได้ จึงชวนกันเที่ยวค้นคว้าหาฝ่าพระพุทธบาทจงได้มานานแล้วยังหาพบไม่
     ตสฺมึ กาเล ในกาลครั้งนั้นยังมีนายพรานผู้หนึ่งเที่ยวยิงเนื้อในแว่นแคว้นแดนปรันตะปะนครราชธานี นายพรานคนนี้ถือสัจมั่นคงอยู่ทุกวันฉะนี้ ว่าจะยิงตัวดำ ถ้าและตัวแดงขวางหน้าหายิงไม่ ถ้าจะยิงตัวเมียตัวผู้ขวางหน้าหายิงไม่ ถือสัจอยู่ฉะนี้ ครั้นอยู่มากาลวันหนึ่งนายพรานยิงเนื้อตาย พอพระฤาษีลงไปสรงน้ำที่ท่าวัด นายพรานจึงสั่งพระฤาษี่าช่วยบอกพระคงคาให้ไหลขึ้นมาจะล้างเนื้อ พระฤาษีจึงว่ากับนายพราน แต่กูสวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันค่ำเข้ามิได้ขาดแต่หนุ่มจนแก่แล้ว กูไม่เรียกพระคงคาขัี้นมาบนเขาได้เลย ต้องลงไปอาบถึงท่าน้ำวัด มึงฆ่าสัตว์อยู่เป็นนิจ จะสั่งให้พระคงคาไหลขึ้นมาถึงบนเขา กูยังไม่เห็นด้วยเลย นายพรานจึงว่ากับพระฤาษีว่าไปบอกเถิดว่าอ้ายพรานมันสั่งมาให้ไหลขึ้นมาบนเขามันจะล้างเนื้อ พระฤาษีลงไปถึงท่าวัด จึงบอกพระคงคาว่าอ้ายพรานมันสั่งมาให้ไหลขึ้นไปบนเขามันจะล้างเนื้อ พระคงคาก็ไหลขึ้นไปที่นายพรานยิงเนื้อไว้นั้น นายพรานจึงเอาก้อนศิลานั้นกั้นน้ำเข้าไว้ให้เป็นขอบคันบ่ออยู่ นายพรานจึงล้างเนื้อในบ่อนั้น จึงเป็นสำคัญอยู่ทุกวันนี้ จึงเรียกว่าบ่อล้างเนื้อสือบๆ กันมาดังนี้ พระฤาษีเห็นว่าอ้ายพรานเรียกพระคงคาไหลขึ้นบนเขา จึงถามนายพรานว่ามีวิชาอาคมประการใด จึงเรียกพระคงคาขึ้นไปได้บนเขา นายพรานจึงว่ากับพระฤาษีว่า จะใครเห็นดีกันในกลางคืนวันนี้ ลงไปนอนด้วยกันในสระบัว ครั้นเพลาค่ำพระฤาษีกับนายพรานพากันลงไปในสระ พระฤาษีกับนายพรานขึ้นนอนบนใบบัวคนละใบ ครั้นจะใกล้รุ่งพระฤาษีเคยลุกขึ้นสวดมนต์ภาวนา ครั้นสวดมนต์แล้วพระฤาษีจึงว่า พรานรุ่งแล้วจะนอนคลุมหัวไปถึงไหน นายพรานเปิดศีรษะออกและดูพระอาทิตย์หาเห็นไม่ นายพรานจึงว่าพระฤาษีสับปลับยังไม่รุ่งก็ว่ารุ่ง พระฤาษีก็ตกลงไปจมน้ำอยู่ นายพรานก็กลับนอนไปจนพระอาทิตย์ขึ้น นายพรานจึงว่ารุ่ง อยู่มากาลวันหนึ่งนายพรานยิงเนื้อ นายพรานตามเนื้อ ๆ นั้นได้รับพระราชทานน้ำในฝ่าพระพุทธบาท อาพาธที่ถูกปืนนั้นก็หายไป แต่นายพรานยิงเนื้อลำบากไปถึงสถานที่นั้น เนื้อนั้นก็หายอาพาธไปหลายตัวแล้ว นายพรานเห็นประหลาดอยู่จึงเข้าไปดูในสถานที่นั้น จึงเห็นศิลานั้นเป็นลิ้นถอดมีน้ำขังอยู่แต่พอเนื้อนกได้รับประทาน นายพรานจึงตักเอาน้ำนั้นมารับประทาน แล้วจึงเอาลูบกายของนายพราน อาพาธเกลื้อนกลากที่หายของนายพรานก็หายไป นายพรานจึงชักศิลาลิ้นถอดที่ฝ่าพระพุทธบาทนั้นออก แล้วนายพรานจึงตักน้ำนั้นเสียให้แห้ง แล้วจึงเห็นพระลักษณะพระลายลักษณ์พระกงจักรผ่องแผ้วกระจ่างปรากฏอยู่ นายพรานสำคัญว่ารอยคนโบราณ นายพรานก็นิ่งความนั้นไว้ จะได้บอกเล่าให้ผู้ใดใครผู้หนึ่งให้รู้เห็นนั้นหามิได้ ครั้นข้าหลวงกรมการพบนายพราน จึงถามว่า ท่านเที่ยวยิงเนื้อในประเทศราวป่านี้พบเห็นสิ่งใดปรากฏบ้าง นายพรานจึงเล่าให้ข้าหลวงกรมการนั้นฟังความมีมาแต่หนหลังนั้น ข้าหลวงกรมการได้แจ้งเรื่องราวที่นายพรานนั้นแล้วก็ให้นายพรานนำขึ้นไปที่ฝ่าพระพุทธบาทนั้น เห็นปรากฏแล้วพากันกราบถวายนมัสการแล้วแต่บรรดาข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อยก็พากันลงไปกราบทูลพระกรุณาแก่สมเด็จพระบรมกษัตริย์ ได้ทรงทราบว่าพระพุทธบาทสถิตย์อยู่หนือยอดเขาสุวรรณบรรพตคีรี จึงโปรดเกล้าฯ ขอให้ก่อเป็นฝาผนังหลังคามุงกระเบื้องอย่างวัดเจ้าพระยาเชิง ให้เป็นร่มพระพุทธบาทไว้ จึงตั้งให้นายพรานเป็นขุนสัจพันธคีรีนพคูหาพนมโขลน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น