วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

ตำนานพระพุทธบาท (ตอนที่ 2)

ครั้นอยู่มานานมาถึงพระยาเอกาทศรถ คือ พระนารายณ์ได้เสวยราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา ท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโมถวายพระพรขอหัตถกรรม จะกระทำพระมณฑป ทรงพระราชศรัทธาถวายหัตถกรรมให้ช่างขึ้นไปกะทำประมณฑป สูงสิบแปดวา สองศอกคืบ พรื้นพระทณฑปะพระราชทานเงิน 600 ชั่งให้ดาดพื้นกระจกใหญ่ประดับฝาผนังในกว้างแผ่นละ 3 ศอกคืบสี่เหลี่ยมกระจำประดับผนังข้างนอก 180 แผ่น กระจกประดับเสา 320 แผ่น ทองคำบุหลังคา 62 ชั่ง ทองคำเปลว 294,600 แผ่น พื้นมณฑปข้างใจ แต่พำระซ่นออกไปถึงผนัง 5 ศอก แต่ปลายพระบาทถึงผนัง 5 ศอกคืบ แต่ข้างพระบาทไปถึงผนังข้างขวา 6 ศอกคืบ ข้างซ้าย 6 ศอก ครั้นพระมณฑปสำเร็จแล้ว ท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโมเห็นต้นไม่ใหญ่สามอ้อม มีมาแต่โบราณดอกโตเท่าฝาบาตร มีสัณฐานดังดอกทานตะวัน เพลาเช้าบานหันเข้าสู่พระมณฑปทุกดอก เพลากลางวันดอกตูม เวลาเย็นบาน ท่านสมเด็จแตงโมเห็นว่าบังพระมณฑปอยู่จึงให้ตัดไม้นั้นเสียท่านสมเด็จแตงโมเห็นว่าบังพระมณฑปอยู่จึงให้ตัดไม้นั้นเสีย ท่านสมเด็จเจ้าแตงโมจึงเกิดวิบัติลงโลหิตจนถึงแก่อนิจกรรม สมเด็จบรมกรุงกษัตริย์เอกาทศรถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ องค์พระนารายณ์ทางทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ เสด็จขึ้นไปถวายนมัสการฝ่าพระพุทธบาทผ้าทรงผืนหนึ่ง สำเภายนต์ทองคำลำหนึ่ง ช้างทองคำตัวหนึ่ง ม้าทองคำตัวหนึ่ง กวางทองคำตัวหนึ่ง ไม่กัลปพฤกษ์สามต้น ทองต้นหนึ่ง เงินต้นหนึ่ง นากต้นหนึ่ง ให้มีปืนไว้สำหรับคลัง 6 กระบอก ใหญ่สองกระบอก หามแล่นสองกระบอก ขานกยางสองกระบอก จึงให้ตั้งขุนหมื่นไว้รักษาพระพุทธบาท เอกนามพระสัจพันธตั้น จะตั้งเป็นพระก็ไม่ได้ จะตั้งเป็นหลวงก็ไม่ได้ ด้วยท่านได้อรหัตแล้ว จึงตั้งเป็นขุนสัจพันธคีรนพคูหาพนมโขลน จึงตั้งหมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นแผ้วอากาศ หมี่นชินธาติ หมื่นสรีสัปรุส สี่คนให้รักษาพระมณฑปจึงตั้ง นายประตูสี่นาย หมื่นราชาบาลมุนินท์ หมื่นอินทรักษา หมื่นสุทธิเจดีย์ หมื่นสรีพุทธบาท จึงตั้งขุนหมื่นรักษาคลังสี่นาย ขุนอินทพิทักส์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักส์สมบัติ หมื่นพิทักส์ รักสา จึงตั้งหมื่นสนั่นไพเราะ หมื่นเสนาะเวหา พันเสนาะ รองเสนาะ สี่คนนี้สำหรับประโคมยาม ทั้งกลางวัน กลางคืน มิได้ขาด ขุนธัมการนั้นได้ตรวจตราว่ากล่าวพระสงฆ์เถรเณร ปะขาวรูปชีซึ่งวิวาทแก่กันเป็นกระทรวงธรรมการๆ นั้นตราตั้งมีเสมาธัมจักร หมื่นจิตรจอมไจราชนั้นสำหรับได้ไปเบิกน้ำมันหลวง ขึ้นมาตามถวายพระพุทธบาท หมื่นท่องจังหวัดไพรี หมื่นสรีไรพสนท์ สองคนเป็นพรานสำหรับป่าได้นำเสด็จ หมื่นทิพชลธี หมื่นพันธคิรีคงคาสองคนได้รักษาอ่างแก้วเชิงเขา หมื่นสรีชลธารได้รักษาธารทองแดง หมื่นสรีวานรได้รักษาพระตำหนักพระราชวังหลวง ครั้นเวลาเช้าเย็นได้ไล่วานรมารับพระราชทานเข้าสกทุกเพลา กว่าจะเสด็จพระราชดำเนินเข้ากรุงเทพมหานคร หมื่นสรีรักสาได้รักษาพระตำหนักกรมพระราชวังหน้าพันบาลอุโบสถได้รักษาพระอุโบสถ หมื่นพรหมพันทดพันทองพันคำ 4 คนสำหรับได้ว่ากล่าวโยมสงฆ์ให้สีซ้อมจันหันนิจภัตถวายพระสงฆ์ซึ่งจำพระวรรสาอยู่ ณ เขาจังหวัดพระพุทธบาทองค์ละ 30 ทนาน พระมหามงคลเทพมุนีได้เงินเดือน 4 ตำลึง 10 สลึง พระสงฆ์อันดับได้เดือนละ 6 สลึง ขุนหมื่นพันทนายตั้งไว้สำหรับพระพุทธบาท 27 คน จึงยกเอากรมการสำหรับปะรันตะปะนครราชธานีนั้นขึ้นมารักษาพระพุทธบาทด้วย หลวงสารวัตรราชธานีสรีบริบาลเป็นจางวาง ขุนเฉลิมราชปลัด ขุนเทพยกบัตร ตั้งเป็นขุนสรีพุทธบาทยกบัตร ขุนเทพสุภานั้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทนั้น กับตำรวจในสองคนกำกับกันไปรักษาน้ำศิลาดาษ จึงตั้งว่าขุนเทพสุภาชลธี หมื่นรองสุภานั้นเป็นหมื่นสรีพุทธบาลราชรักสาเป็นปลัดขุนยกบัตร ขุนจ่าเมืองนั้นตั้งเป็นขุนชินบาลชาญราชรักสา เป็นปลัดขุนสัจพันธคีรี ขุนสัสดีตั้งเป็นหมื่นมาสคีรีสมุห์บัญชี แต่ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนาคงที่เดิมแต่ก่อนมา หลวงสาระวัตถือตรารูปองคต ขุนสัจพันธคีรีถือตรารูปคนถือดอกบวยถือเทียนข้างหนึ่ง ขุนเฉลิมถือตรารูปช้าง ขุนยกบัตรถือตรารูปคนถือโคม ขุนเทพสุภาถือตรารูปหงส์ ขุนชินบาลถือตรารูปคนถือดอกบัว ขุนอินทรเสนาถือตรารูปคนถือเชือก ขุรพรหมเสนาถือตรารูปคนถือสมุด หมื่นพระพุทธบาทถือตรารูปคนถือธง หมื่นมาสคีรีคือตรารูปคนถือสมุด หมี่นสุวรรณปราสาทถือตรารูปมณฑป ขุนอินทพิทักส์ถือตรารูปคนถือพาน ขุนพรหมรักสาถือตราบัว หมื่นพิทัส์สมบัติถือตรารูปสิงห์ หมื่นพิทักรักสาถือตรารูปตะไกร ขุนสัจพันธคีรีได้ค่าที่นั่งตำลึงหนึ่ง ขุนยกบัตรได้ค่าที่นั่ง ๘ สลึง ขุนเฉลิมราชผลัดได้ค่าที่นั่ง ๘ สลึง แล้วตรัสสั่งให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ปโรหิตมุขมนตรีให้แต่งพระกลัปนาตราพระราชสีห์ไว้สำหรับพระพุทธบาท พระราชทานสัตโทรคมใช้ไว้ให้แก่ขุนหมื่นสัจพันธคีรี ๖ คน ชุนเทพยกบัตร ๔ คน ขุนเฉลิมราชปลัด ๔ คน ชุนชินบาลชาญราชรักสา ๒ คน ขุนเพทสุภาชลธีได้ ๒ คน หมื่นสรีพุทธบาลราชรักสาได้ ๒ คน ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนา ได้ ๑๐ สลึง หมื่นชลธราได้ ๒ คน หมื่นมาสคิริีได้ ๒ คน ขุนหมื่นทั้งนั้นได้คนละคน แล้วหนึ่งในพระกลัปนานั้น ห้มมิให้ ผู้ใดกะเกณฑ์เอาไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปใช้สอยนอกกว่าการพระพุทธบาท ถ้าผู้ใดมิฟังเบียดเบียนฉ้อพระกัลปนาเอาไพร่ข้า พระโยมสงฆ์ไว้ใช้สอยฉ้อตระบัดเอาพัสดุเงินทองแก่ไพร่ข้า พระโยมสงฆ์ไปเป็นอาณาประโยชน์ของตัวนั้นให้ตกนรกแสนกัป อนันตชาติอย่าให้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้เกิดฉันวุติโรค ๙๖ ประการ ตามสังหารผลาญชีวิตบุคคลผู้นั้นให้ฉิบหายไปด้วยราชภัย อัคคีภัย อุทกภัย ปิศาจภัย ถ้าเป็นผู้ใดจะเข้าไปทำมาหากินในท้องที่อำเภอพระพุทธบาท ทำไร่นาตัดเสาตัดหวายฟืน ทำยาง ฉีกตอก ลอกเชื่อกสารพัดการทั้งปวง แต่ไม้ท่อนหนึ่ง ฟืนดุ้นหนึ่งก็ให้ขุนอินทเสนา ขุนพรหมเสนา เรียกเอาหัวป่าค่าที่เป็นค่ากัลปนามาแบ่งเป็น ๓ ส่วน เป็นของพระพุทธส่วนหนึ่ง ของพระธรรมส่วนหนึ่ง ของพระสงฆ์ส่วนหนึ่ง ผู้ได้เรียกนั้นได้รับพระราชทาน ๑๐ ฬสหนึ่ง ถ้าเป็นผู้ใดมิได้เสียค่ากัลปนาแช่งไว้แสนกัปอนันตชาติ อย่าให้รู้ผุดเกิดเลย ให้ฉิบหายไปด้วยภัยต่างๆ ดุจพรรณนามาแต่หลัง ถ้าไพร่ข้าพระโยมสงฆ์จะเกิดวิวาทกันขึ้นกับข้าหลงงและสังกัดพรรคด้วยความสิ่งใดๆ โจทจับช้างม้าโคกระบือแก่กันก็ดี ถ้าและพิจารณาเป็นสัจ ถ้าข้าพระแพ้สั่งจัจไปปรับๆ มามีแต่สิไหม พินัย ท่านให้ยกเสีย ท่านว่าข้าพระนั้นเป็นคนหลวง ถ้าข้าหลวงแพ้ปรับได้ทั้งสินไหมพินัย อนึ่งให้ขุนอินท์ ขุรพรหม เรียกค่าพระกัลปนาเก็บเอาหัวป่าค่าที่นาคู่ละ ๑๐ สลึง ที่อ้อยไร่ละบาท ทำยางนั้นห้าวันไปตักทีหนึ่งได้มา ๒ หาบเรียกปีหนึ่งเอา ๒ สลึง ตัดไม้เป็นแต่พร้าปีหนึ่งเอาแต่เฟื้องหนึ่ง ถ้าตัดเสาเป็นไม้ใหญ่ปีหนึ่งเอา ๒ สลึง ถ้าตัด สี ฟัน ตัดหวาย ฉีกตอกลอกเชือกสารพัดการทั้งปวง ถ้าผู้ชายเอาสลึงหนึ่ง ถ้าผู้หญิงเอาเฟื้องหนึ่ง ที่ตลาดนั้นร้านละ ๒ สลึง หาบของมาขาย เอาเฟื้องหนึ่ง อนึ่งถึงเทศกาลเสด็จและสัปรุสขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทนั้น ให้ขุนสุวรรณปราสาท หมื่นชินธาติ ลงไปตั้งด่านอยู่ที่ท้ายเขาตก ถ้าลูกค้าวานิช เอาสิ่งอันใดขึ้นไปขาย ให้ตรวจตราดูเก่าและปลาเป็ดไก่สุกร สิ่งอันมีชวิตอย่าให้เอาขึ้นไปขายเป็นอันขาดทีเดียว ถ้าและ ผู้ใดมิฟัง เอาสัตว์มีชีวิตขนไปขาย จับตัวได้ให้ทำโทษจงหนัก ข้างเมืองลพบุรีนั้นก็ให้ไป ตั้งด่านอยู่ที่ห้วยมันหวานหนทางไปเมืองลพบุรี ให้ตรวจตรา ดูสิ่งของต้องห้ามดุจเดียวกัน ข้างเมืองป่าชุม เมืองซงบาดาล เมืองท่าโรงให้ตั้งอยู่ธารทองแดง ข้างเมืองสระบุรีนั้นให้ตั้งอยู่ข้างทุ่งแฝก ให้ตรวจตราดูผู้คนไปมา เพลากลางคืนนั้นให้ไปมาแต่ยามหนึ่ง ถ้าพ้นจากยามหนึ่งนั้น ผู้ใดไปมาถือเครื่องศาสตราวุธเป็นประหลาดอยู่นั้นให้จับตัวส่งให้ข้าหลวงทำตามโทษานุโทษ ข้อหนึ่งขุนหมื่นซึ่งรักษาพระพุทธบาทนั้นให้รู้จักคดี ๒ ประการ คือ คดีโลก คดีธรรม ให้ตั้งอยู่ในนิจศีลจึงจะถาวรไปในชั่วนี้และชั่วหน้า จบพระหัตถ์บูชาอุทิศถวายข้าพระโยมสงฆ์ และพระกัลปนาด้วยทรงพระประสงค์จะบำรุงพระศษสนาให้ถาวรถ้วนห้าพันพระวัสสาหนังสือตำบนซึ่งมีมาสิ้นแต่เพียงเท่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น