วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดลพบุรี (อ. ธีระพงษ์ สุวรรณรุจิ หัวหน้าภาควิชาภูมิศษสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ วค.เทพสตรี, ๒๕๓๕)

บทนำ

     สภาพภูมิศาสตร์ของบริเวณใดๆ ก็คือ ประากฏการณ์ทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมที่แจกกระจาย (distribution) อยู่บนพื้่นที่ผิวโลกของบริเวณนั้นๆ ความนใจของนักภูมิศาสตร์ต่อปรากฏการณ์ดังกล่าว ในทางกว้างก็คือการมุ่งทำความเข้าใจและได้มาซี่งข้อเท็จจริงว่า ในพื้นที่ทำการศึกษษมีปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง เกิดขึ้นที่ใด และปรากฏการณ์เหล่านั้นมีความสัมพันธ์ต่อสภาพการดำเนินชีวิตของผู้คนภายในพื้นที่นั้นอย่างๆร ขณะที่ในทางลึกนักภูมิศษสตร์ได้ประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบประกฏการณ์ การคาดการณ์ และการจัดปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสนองตอบต่อความเป็นไปได้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในบริเวณนันๆ
     ความรู้ที่ได้จากการศึกษาทางภูมิศษสตร์ทั้ง 2 แนวทางนั้น เป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงยิ่ง ไม่เพียงแต่สำหรับนักภูมิศษสตร์ แต่ยังเอื้อประโยชน์ต่อศาสตร์แขนงต่างๆ ในอันที่จะนำข้อมูลความรู้ที่นักภูมิศษสตร์ได้รวบรวมไว้ ไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สุขของทุกคนโดยส่วนรวมในท้ายที่สุด

ที่ตั้งของจังหวัดลพบุรี

๑. ที่ตั้งสัมพันธ์
     ทิศเหนือ     ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครสวรรค์
     ทิศใต้          ติดต่อกับจังหวัดสระบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ
     ทิศตะวันตก  ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดนครสวรรค์
๒. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
     จังหวัดลพบุรีมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ระหว่างละติจูดที่ 14 องศา 39' เหนือ ถึง 15 องศา 30' เหนือ และลองติจูดที่ 100 องศา 26' ตะวันออก ถึง 101 องศา 27' ตะวันออก (สำนักงานจังหวัดลพบุรี, ๒๕๓๕)
๓. ผลที่เกิดจากที่ตั้ง
  ๓.๑ ผลทางธรรมชาติ
   ๓.๑.๑ ที่ตั้งของจังหวัดลพบุรีซึ่งอยู่ทางขอบด้านตะวันออกของที่ราบภาคกลางตอนล่าง และมีพื้นที่แผ่กระจายต่อเนื่องกับขอบของที่ราบสูงโคราช ก่อให้เกิดความแตกต่างทั้งสภาพทางธรณีวิทยาและสภาพภูมิประเทศ ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวได้ส่งผลอย่างสำคัญต่อปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรดิน น้ำ และแร่ธาตุ
   ๓.๑.๒ ที่ตั้งตามละติจูดของจังหวัดลพบุรีมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการได้รับพลังงาานความร้อนจากดวงอาทิตรย์ และอิทธิพลของลมประจำ เมื่อผนวกเข้ากับปัจจัยอื่นก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ สภาพภูมิอากาศ ที่เป็นทั้งปัจจัยเอื้อและปัจจัยอุปสรรคต่อสภาพการดำเนินชีวิตของชาวจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะต่อเกษตรกรส่วนใหญ่ของจังหวัด
  ๓.๒ ผลทางสังคมวัฒนธรรม
     จังหวัดลพบุรีมีที่ตั้งที่น่าจะเป็นความได้เปรียบหรือก่อให้เกิดผลดีต่อปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมภายในจังหวัด กล่าวคือเขตตัวเมืองลพบุรีจะตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางถนนและเส้นทางรถไฟเพียง ๑๕๔ และ ๑๓๓ กิโลเมตร ตามลำดับ ระยะทางที่สั้นดังกล่าวย่อมทำให้การติดต่อกับศูนย์กลางของประเทศกระทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัด แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาประกอบกับปัจจัยแวดล้อมด้านอื่นๆ ความได้เปรียบดังกล่าวไม่นับว่ามีความสำคัญมานัก และโดยเฉพาะเมื่อวิเคราะห์ผลในลักษณะเดียวกันนี้ที่เกิดขึ้นกับจังหวัดสระบุรีและสิงห์บุรี ซึ่งมีที่ตั้งติดต่อกับจงหวัดลพบุรีจะพบว่าที่ตั้งของสองจังหวัดดังกล่าวได้ลดความสำคัญทางด้านที่ตั้งของจังหวดัลพบุรีเกือบสิ้นเชิง โดยเฉพาะต่อปรากฏการณ์ทางด้านการคมนาคมขนส่งทางถนน ความเสียเปรียบดังกล่าวนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงความเสียเปรียบด้านอื่นๆ ของจังหวัดลพบุรีต่อจังหวัดสระบุรีและสิงห์บุรี เช่น โอกาสในการเป็นศูนย์กลางการค้า และศูนย์กลางการอุตสาหกรรมในระดับภาค เป็นต้น

ขนาดและรูปร่างของจังหวัดลพบุรี

     จังหวัดลพบุรีจัดเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ทางด้านพื้นที่ คือมีพื้นที่ประมาณ ๖,๕๕๖.๒๓๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔,๐๙๗๖๔๖.๑๒๕ ไร่ (สำนักงานจังหวัดลพบุรี, ๒๕๓๕) แบ่งตามเขตการปกครองออกเป็น ๘ อำเภอ ๓ กิ่งอำเภอ ๑๒๐ ตำบล และ ๑,๐๗๓ หมู่บ้าน
     รูปร่างของจังหวัดลพบุรีมีลักษณะค่อนไปทางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีอัตราส่วนระหว่างด้านกว้างตามแนวเหนือ-ใต้ ต่อด้านยาวตามแนวตะวันตก-ตะวันออก เท่ากับ ๑ ต่อ ๑.๓๓ รูปร่างดังกล่าวเมื่้อพิจรณษให้สัมพันธ์กับขนาดพื้นที่ที่กว้างใหญ่ของจังหวัด และที่ตั้งของศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด ซึ่งตั้งค่อนไปทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้พื้นที่บางส่วนอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครองมาก โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ทางด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด

ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี

     ลักษณะภูมิประเทศ คือ รูปร่างของแผ่นดินที่เป็นผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกโดยกระบวนการทางธรณีวิทยา สำหรับจังหวัดลพบุรีเมื่อพิจารณาภูมิประเทศของจังหวัดตามแนวตะวันตก-ตะวันออกจะพบว่า ทางด้านตะวันตกพื้นที่มีลักษณะเป็ฯที่ราบลุ่มน้ำ ที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำลพบุรีและสาขา ลักษณะพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบดังปราฎในเขตตะวันออกของอำเภอเมือง อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอบ้านหมี่ ถัดจากเขตนี้ไปทางตะวันออก พื้่นที่จะปรากฏลักษณะเป็นที่ราบลอนคลื่น ความสูงและความต่างระดับของพื้นที่จะเพิ่มมากขึ้นจนไปจรดกับภูมิประเทศแบบภูเขาและเนินเขาที่ทอดตัวกระจายเป็นวงโค้งจากด้านเหนือ ตอนกลาง และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่จังหวัด ต่อจากนั้นพื้นที่จะกลับลาดลงสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักซึ่งเป็นที่ราบลุ่มน้ำแคบๆ ยาวตามแนวเหนือ-ใต้ ถัดจากที่ราบดังกล่าวพื้นที่จะกลับสูงขึ้นอีกครังหนึ่งจนไปติดต่อกับแนวภูเขาที่ทอดตัวตาแนวเหนือ-ใต้ ชิดขอบเขตด้านตะวันออกของจังหวัด
     กล่าวโดยสรุป พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดลพบุรี (ประมาณ ๗๓.๑๓%) มีลักษณะภูมิประเทศแบบที่ราบลอนคลื่นแทรกสลับกับภูเขาและเนินเขา ส่วนพื้นที่ที่เหลือประมาณ ๒๓.๘๗% เป็นที่ราบลุ่มน้ำอันได้แก่ที่ราบลุ่มน้ำของแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก (กองวางแผนโครงการ ททท., ๒๕๓๐) สภาพภูมิประเทศดังรายละเอียดข้างต้นจะมีความเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากต่อการดำเนินกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของประชากรในจังหวัดลพบุรี ลักษณะผลผลิต ตลอดจนกิจกรรมทางการคมนาคมขนส่ง และการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐษน (infrastructure) ดังนั้น ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางด้านภูมิประเทศจึงมีส่วนอย่างสำคัญในการทำความเข้าใจกิจกรรมด้านต่างๆ ของประชากรที่ปรากฏในพื้นที่

ภูมิอากาศของจังหวัดลพบุรี

        จังหวัดลพบุรีมีสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกับบริเวณภาคกลางและภาคอีสานของประเทศ คือ มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปี โดยมีเดือนเมษายนเป็นเดือนที่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด และเดือนธันวาคมเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด อุณหภูมิ ๓๐.๗ และ ๒๕.๗ องศาเซลเซียส ตามลำดับ ปริมาณน้ำฝนที่ได้รับส่วนใหญ่ได้รับในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม คิดเป็น ๘๕% ของปริมาณน้ำฝนที่ได้รับตลอดปี โดยมีเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากที่สุด ลักษณะอากาศดังกล่าวข้างต้นทำให้จังหวัดลพบุรีมีสภาพภูมิอากาศแบบทุ่งเมืองร้อน (Aw) ตามวิธีการจำแนกภูมิกากาศของคอปเปน (Koppen)

ลักษณะเด่นทางด้านอุณหภูมิและฝน

        กรุมอุตุนิยมวิทยา (๒๕๓๐) ได้จัดพิมพ์เอกสารแสดงข้อมูลภูมิอากาศที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพลมฟ้าอากาศของบริเวณต่างๆ ของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๙ - ๒๕๒๘ รวม ๓๐ ปี พบว่า ในส่วสนของจังหวัดลพบุรี สภาพภูมิอากาศมีลักษณะเด่นทางด้านลักษณะอุณหภูมิและลักษณะฝน ดังนี้
๑. ลักษณะอุณหภูมิ
        จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีอากาศร้อนตลอดปี โดยมีเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด (อุณหภูมิเฉลี่ย ๓๐.๗ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด ๔๑.๘ องศาเซลเซียส) ถัดจากเดือนเมษายนอุณหภูมิอากาศจะเริ่มลดลงเป็นลำดับจนต่ำที่สุดในเดือนธันวาคม (อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๕.๗ องศาเซลเซียส) ทั้งนี้เป็นผลมาจากการได้รับอิทธิพลของฝนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และการได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นมวลอากาศเย็นในช่วงเวลาที่เหลือ ในเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อุณหภูมิอากาศจะกลับสูงขึ้นอย่างมาก จนสูงสุดในเดือนเมษายน ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลงและแสงตั้งฉากของดวงอาทิตย์ได้เคลื่อนเข้ามามีอิทธิพลแทนที่ ทำให้ค่าพลังงานความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้น
๒. ลักษณะฝน
   ๒.๑ ปริมาณน้ำฝนรวมตลอดปีของจังหวัดลพบุรีเฉลี่ยประมาณ ๑,๒๔๘.๒ มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าปริมาณน้ำฝนที่ได้รับค่อนข้างมาก
   ๒.๒ การกระจายของฝนไม่สม่ำเสมอตลอดปี กล่าวคือประมาณ ๘๕% ของปริมาณฝนรวม จะได้รับในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ส่วนระยะเวลาอีก ๖ เดือนที่เหลือได้รับปริมาณน้ำฝนรวมกันเพียง ๑๕% ของฝนรวมตลอดปี ช่วงเวลาดังกล่าวจึงมักเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในเขตชนบทที่เกษตรกรทำการผลิตโดยการพึ่งพาน้ำฟ้าเป็นหลัก
   ๒.๓ จำนวนวันที่มีฝนตกเท่ากับ ๑๐๙.๒ วันต่อปี โดยมีเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีจำนวนวันที่่มีฝนตกมากที่สุด (๑๙.๒ วัน) และเดือนมกราคมเป็นเดือนที่มีจำนวนวันที่มีฝนตกน้อยที่สุด (๑.๐ วัน)

ลักษณะประชากร

       เมื่อสิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๓๔ จังหวัดลพบุรีมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ ๗๕๓,๖๑๐ คน เป็นเพศชาย ๓๗๙,๔๙๖ คน และเพศหญิง ๓๗๔,๑๑๔ คน มีค่าความหนาแน่นของประชากเฉลี่ยต่อพื้นที่รวมของจังหวัดเท่ากับ ๑๑๕ คน/ตารางกิโลเมตร อำเภอเมืองจะเป็นอำเภอที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของจังหวัด (ประมาณ ๔๕๗ คน/ตารางกิโลเมตร) และถ้าแยกพิจารณาเฉพาะเขตเทศบาลเมืองลพบุรีจะพบว่า ค่าความหนาแน่นของประชากรในเขตดังกล่าวจะสูงถึงประมาณ ๕,๘๐๐ คน/ตาตางกิโลเมตร
       ทางด้านอัตราการ เกิด-ตาย พบว่าในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จังหวัดลพบุรีมีอัตราการเกิด ๑.๒% ขณะที่อัตราการตายเท่ากับ ๐.๓% อัตราการเพิ่มประชากรของจังหวัดลพบุรีจึงมีอัตราค่อนข้างต่ำ

ทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดลพบุรี

       ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตและการผลิตในเชิงเศรษฐกิจ พื้่นที่ใดที่มีโอกาสครอบครองทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากทั้งทางด้านชนิด ปริมาณ และคุณภาพ ผู้คนในพื้นที่นั้นก็มีโอกาสสูงในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมส่วนรวม สำหรับจังหวัดลพบุรีเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมจะพบว่าทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรากฐานของการผลิตสาขาการเกษตรนับเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัด (ไม่นับรวมทรัพยากรมนุษย์) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรดินและน้ำ ส่วนทรัพยากธรรมชาติชนิดอื่นๆ นับว่ามีความสำคัญรองลงไปหรือมีความสำคัญน้อย
๑. ทรัพยากรดิน
        จากรายงานการสำรวจดินจังหวัดลพบุรี โดย วิจิตรและคณะ (๒๕๑๙) พบว่า จังหวัดลพบุรีประกอบด้วยดินที่มีสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ต่างกันจนสามารถจัดแบ่งในระดับชุดดิน (series) ได้ถึง ๙๔ ชุดดิน ในจำนวนนี้มีชุดดิน ๓๙ ชุด ครอบคลุมพื้่นที่ประมาณ ๖๑.๒% ของพื้นที่จังหวัดเป็นดินที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูงถึงสูง และมีพื้นที่เพียงประมาณ ๕% ของพื้นที่จังหวัดที่เป็นเขตดินที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ แต่เมื่อพิจารณาจำแนกถึงระดับความเหมะสมในการใช้ประโดยชน์ที่ดิน (land suitability) พบว่าพื้่นที่ประมาณ ๒๕% ของพื้นที่จังหวัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำมีความเหมาะสมในการทำนา ประมาณ ๔๓% ของพื้่นที่จังหวัดเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชไร่ ประมาณ ๒๐% อาจใช้ทำนาทำไร่ได้แต่มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ส่วนที่เหลือประมาณ ๑๒% ซึ่งเป็นพื่้นที่ที่มีความลาดชันมากและหน้าดินตื้นไม่ควรใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรมจึงควรฟื้นสภาพหรือคงสภาพป่าไม้ให้ปกคลุมพื้นที่ไว้
๒. ทรัพยากรน้ำ
       แหล่งน้ำที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในเขตจังหวัดลพบุรีมาจากแหล่งน้ำฟ้า น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน ในจำนวนนี้น้ำฟ้ายังคงมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดอาศัยอยู่ในเขตเกษตรน้ำฝน สำหรับแหล่งน้ำผิวดินจังหวัดลพบุรีประกอบด้วยระบบลุ่มน้ำ ๒ ระบบ คือระบบลุ่มน้ำลพบุรี อันประกอบด้วนแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำบางขามเป็นหลัก ซึ่งมีพื้นที่ให้น้ำอยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัด ส่วนทางด้านตะวันออกของจังหวัดมีระบบลุ่มน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำป่าสักและลำสนธิ ที่มีทางน้ำแคบ ลึก และคดเคี้ยว จึงค่อนข้างมีขีดจำกัดในการใช้ทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำดังกล่าวนี้
๓. ทรัพยากรป่าไม้
        ในอดีตจังหวัดลพบุรีเคยมีป่าไม้ปกคลุมอยู่เกือบทั่วไป อันเป็นผลจากปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่ผลจากความต้องการที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและความต้องการผลผลิตจากผ่า ทำให้ป่าไม้ของจังหวัดถูกทำลายจนเหลือพื้นทีป่าเพียง ๑.๗๗๖.๑๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๗% ของพื้นที่จังหวัด และที่น่าวิตกยิ่งกว่านั้นคือป่าที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์มีพื้่นที่เหลืออยู่เพียงประมาณ ๔.๕% ของพื้นที่จังหวัดเท่านั้น (สำนักงานจังหวัดลพบุรี, ๒๕๓๕ อ้างถึงข้อมูลสำนักงานป่าไม้จังหวัดลพบุรี)
        สภาพการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ป่าไม้ที่คงเหลืออยุ่ของจังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ต่ำกว่าขีดจำกัดจนน่าจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสมดุลย์ธรรมชาติและต่อคุณภาพชีวิตของชาวลพบุรีในท้ายที่สุด ภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบัน เป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้เข้าเกณฑ์มาตรฐษน (๔๐% ของพื้นที่) สิ่งที่มีความเป็นไปได้มากกว่าคือการรักษาพื้่นที่ป่าหรือสภาพป่าสมบูรณ์ที่เหลืออยู่ไม่ให้ถูกทำลายอีกต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกๆ ฝ่าย
๔. ทรัพยากระแร่ธาติและหิน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น