วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุปเนื้อหา วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มสธ. หน่วยที่ 1


วัตถุประสงค์ของวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
1. เพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
2. เพื่อศึกษาโครงสร้าง ศัพท์ และสำนวนภาษาอังกฤษที่สำคัญ
หน่วยที่ 1 My Life
1. การกล่าวทักทายกันมีสำนวนให้เลือกใช้หลายสำนวน ตลอดจนการแนะนำตนเองก่อนที่จะสนทนากันต่อไปเป็นสิ่งที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวตะวันตกเมื่อพบกันครั้งแรก  โดยอาจให้ข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
2. การสนทนาเกี่ยวกับชีวิตของตนเองและครอบครัวต้องอาศัยการถามและตอบคำถาม ตลอดจนศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวข้อง
3. การเล่าเรื่องกิจวัตรประจำวันมักต้องใช้ศัพท์สำนวนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน รวมทั้งงานบ้านต่างๆ โดยรูปของคำกริยาจะแสดงถึงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำหรือสม่ำเสมอ
ตอนที่ 1.1 Nice to meet you
1. เมื่อทักทายกัน ควรเลือกใช้สำนวนท่เหมาะสมแก่เวลาและโอกาส
2. การแนะนำตนเองอาจเริ่มด้วยการทักทายก่อน แล้วจึงบอกเชื่อเสียงเรียงนาม โดยอาจใช้สำนวนเกริ่นนำก่อนก็ได้
3. การถามและให้ข้อมูลส่วนตัวมักเกี่ยวกับชื่อ อายุ ที่อยู่อาศัย ภูมิลำเนา การงานอาชีพ และความสนใจหรืองานอดิเรก
4. การฝึกสังเกตสำเนียงที่แตกต่างกันของคนชาติต่างๆ มีส่วนช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
Greetings
               การทักทายโดยทั่วไปมักใช้สำนวนต่อไปนี้
                              Good morning. (เช้าถึง 12.00 น.)
                              Good afternoon. (บ่ายถึง 18.00 น.)
                              Good evening. (ประมาณ 18.00 น. เป็นต้นไป)
               การทักทายตอนกลางคืนยังคงใช้ Good evening. ไม่ใช่ Good night. ซึ่งใช้กล่าวลากันยามดึกหรือลาก่อนไปนอน
               ส่วนการทักทายแบบกันเองมักใช้ว่า Hello. หรือ Hi. เมื่อกล่าวคำทักทายใคร นิยมเรียกชื่อผู้นั้นด้วย เช่น Hi, Arin. แล้วถามทุกข์สุขโดยใช้คำถาม เช่น
How are you?                      How are you doing?                          How is it going?
การตอบคำทักทายดังกล่าวอาจใช้สำนวนต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น
Fine/Good, thanks.             Not too bad, thanks                           Pretty good.
หลังจากกล่าวตอบแล้ว ตามธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามควรถามกลับโดยอาจใช้คำถามว่า
And how are you?               What/How about you?        How about yourself?
บางครั้งอาจแสดงความดีใจที่ได้พบกันอีกโดยพูดว่า
(It’s) good/nice to see you again.
               สำนวนข้างต้นคล้ายคลึงกับสำนวนที่มักใช้ทักทายผู้ที่เพิ่งพบกันครั้งแรก แตกต่างกันเฉพาะคำกริยาที่ใช้และไม่มีคำว่า again ดังนี้
               (It’s) good/nice to meet you.
               ในปัจจุบัน อาจได้ยินผู้ที่เพิ่งรู้จักกันทักทายด้วยสำนวน How are you? ซึ่งโดยปกติมักใช้กับผู้ที่เคยพบกันมาก่อนแล้ว ทั้งนี้ เป็นไปตามวิวัฒนาการของภาษาที่มักเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  และ การใช้ภาษาของแต่ละบุคคล
Introductions
               สำนวนที่ใช้ในการแนะนำตนเองมีหลายสำนวน โดยอาจเริ่มด้วยการทักทาย แล้วจึงบอกชื่อเสียงเรียงนาม เช่น                        Good morning. May name is …(name).
                              Hello. I’m …(name).
               ในกรณีที่ต้องการเกริ่นนำก่อนบอกชื่อ อาจใช้สำนวนว่า
                              Hi! I don’t think we’ve met. I’m…(name).
               การแนะนำชื่อของตนจะไม่มีคำนำหน้าชื่อว่า Mr., Miss, Mrs., หรือ Ms. ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้อื่นใช้เรียกเรา แต่จะระบุชื่อและนามสกุลเท่านั้น เช่น I’m Ananya Sithi-amnuai.
Asking for and giving personal information
            การสอบถามและให้ข้อมูลส่วนตัวอาจใช้คำถามและคำตอบหลากหลาย เช่น
Question
Answer
What’s your name?*
My name’s …………………………….
How old are you?**
I’m …………….. years old.
Where do you live?
I live in Nonthaburi.
I live on Chaeng Watthana Road.
Where are you from?
I come from Thailand.
I was born in Malaysia.
What do you do?
I’m a teacher.
I work for an accounting company.
What are your interests?
What are your hobbies?
Football and basketball.
What do you like to do in your free time?
I like shopping and watching TV.
What is your favorite food?
Spaghetti.
               *นักศึกษาพึงระวังเมื่อคำถามบางคำถามซึ่งอาจฟังดูไม่สุภาพได้ เช่น ในกรณีต้องการทราบชื่อคู่สนทนาหลังจากแนะนำตัวแล้วควรใช้น้ำเสียงที่สุภาพในการถามคำถามนี้ หรืออาจไม่จำเป็นต้องถามโดยตรง เนื่องจากคู่สนทนามักทักทายกลับ พร้อมบอกชื่อตนเองเช่นกันในบางสถานการณ์ เช่น ให้ผู้บริการพูดกับลูกค้า ควรต้องใช้คำถามที่สุภาพมากขึ้น เช่น May I have your name, please? แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ที่เป็นกันเองหรือเป็นการพูดคุยกับเด็ก อาจใช้คำถามดังกล่าวได้
               **คำถามนี้เป็นคำถามที่ถือว่าไม่สุภาพ โดยเฉพาะเมื่อใช้กับผู้ที่เพิ่งรู้จักกัน นอกจากนี้ ยังมีคำถามอื่นๆ ที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจัดว่าไม่สุภาพในทัศนะของชาวตะวันตกซึ่งไม่นิยมสอบถามเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นที่มีความสนิทสนนมกัน อาทิ อายุ สถานภาพสมรส เงินเดือนหรือเรื่องที่เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ตัวอย่างเช่น Are you married/single?, How much do you earn?
ตอนที่ 1.2 My Family
1. บทสนทนาเกี่ยวกับชีวิตของตนเองและครอบครัวมักต้องอาศัยการถามและตอบคำถามแบบ yes-no questions
2. การย่อคำกริยา BE และกริยาช่วยบางคำมักใช้ในภาษาพูด
3. คำศัพท์ที่หมายถึงสมาชิกในครอบครัวหรือบรรดาวงศาคณาญาติมีหลายคำที่ควรรู้
4. การนำคำศัพท์ทั้งหลายที่เคยเรียน ตลอดจนกฎไวยากรร์และการใช้สำนวนภาษาต่างๆ มาใช้ประโยชน์อีก นับเป็นกลวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญประการหนึ่ง
Explanation
1. it’s me ในตอนนี้ อรินกล่าวทักทายเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ฟังเธอแนะนำตัวในตอนที่ 1.1 ถือว่ารู้จักคุ้นเคยกันแล้ว จึงบอกว่า “นี่ฉันเอง”
               2. older brother and sister หมายถึง พี่ชายและพี่สาว คำตรงข้ามคือ younger ในที่นี้สามารถใช้ elder แทนได้ แต่ elder จะใช้ขยายคำนามที่เป็นคนและมักใช้กับคนในครอบครัว ในขณะที่ older สามารถใช้ได้กับคนและสิ่งของ อีกทั้งใช้เปรียบเทียบขั้นกว่าได้ด้วย
               3. get together หมายถึง (พบปะ) ชุมนุมกัน ถ้าต้องการระบุว่าโอกาสใด จะใช้คำตามหลังคำบุพบท for เช่น get together for birthdays หรืออาจใช้เป็นส่วนขยายคำนามได้ด้วย เช่น a get-together party (งานเลี้ยงสังสรรค์)
               4. take turns doing the dishes หมายถึง ผลัดเวรกันล้างจาน take turns doing something หมายถึง ผลัดกันทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขอให้สังเกตว่าคามด้วยกริยาที่เติม -ing
Recycling Words and Grammar Rules/ Language Functions Previously Learned
               กลวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับนักศึกษาคือ การนำคำศัพท์ทั้งหลายที่เคยเรียนตลอดจนกฎไวยากรณ์และการใช้สำนวนภาษาต่างๆ มาใช้ประโยชน์อีก คำหรือสำนวนเหล่านั้นอาจปรากฏในสถานการณ์ที่แตกต่างจากที่เคยประสบ โดยคงความหมายเดิมหรือมีความหมายใหม่ แต่นักศึกษาสามารถใช้ความรู้เดิมมาช่วยมาช่วยในการทำความเข้าใจได้ กล่าวคือ ต้องสามาถโยงความรู้เดิมและสถานการณ์ใหม่เข้าด้วยกัน จึงจะบังเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังเช่น การที่นักศึกษาฟังหรืออ่านเรื่องครอบครัวของอรินใน Presentation ซึ่งเป็นทำนองเดียวกับสิ่งที่นักศึกษาต้องตอบคำถามใน Warm up ทำให้สามารถทำความเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้นโดยอาศัยศัพท์สำนวนที่ใกล้เคียงกันซึ่งได้เรียนรู้มาก่อนแล้วหรือการโยงคำว่า turns (ดู Explanation ข้อ 4) เข้ากับความรู้เดิมว่า อาจใช้เป็นคำกริยาหรือคำนามก็ได้และมีหลายความหมาย ในกรณีที่เป็นคำนามอาจหมายถึง รอบ การเลี้ยว การหมุน ฯลฯ ในที่นี้ใช้เป็นคำนามร่วมกับคำกริยา take หมายถึง ผลัดกันทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นอกจากนี้ นักศึกษายังอาจนึกไปถึงกฎไวยากรณ์ที่เคยเรียนมาว่า ถ้าใช้คำกริยาสองตัวด้วยกัน ตัวที่ 2 จะต้องอยู่ในรูป -ing หรือ ใช้ to นำหน้า (infinitive with ‘to’) ในกรณีนี้ do ซึ่งเป็นกริยาตัวที่สอง จังเป็น doing ไม่ใช่ do
1. Language Functions: Answering yes-no questions
               Yes-no questions คือ คำถามที่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No เป็นหลัก ขอให้ดูตัวอย่าง
Question
Answer
Do you come from a large family?
e.g. Yes, I have many brothers and sisters./
No, I don’t. I’m the only child.
Do you live at home with your parents?
e.g. Yes, I do./ No, I live in an apartment.
Do you have any aunts/uncles/cousins?
e.g. Yes, I come from a large family./
No, I don’t.
Do you visit your family often?
e.g. Yes, I visit them every weekend.’
No, I visit them once a year.
Are you the oldest among your brothers and sisters?
e.g. Yes, I am./
No, I am the second youngest. I have one older brother, a younger brother and two older sisters.
Are there a lot of people in your family?
e.g. Yes, there are (10 people in my family)./
No, only my parents and me.
               ในกรณีที่เป็นการตอบแบบสั้น จะตอบด้วย Yes หรือ No + ประธาน + กริยา ซึ่งถ้ามีมากกว่า 1 ตัว ให้ใช้กริยาช่วย do, does, did, BE หรือ HAVE ขึ้นอยู่กับคำถาม สิ่งที่พึงระลึกไว้เสมอก็คือ เมื่อตอบ Yes ต้องตามด้วยบอกเล่า และ No ตามด้วยปฏิเสธ
               อย่างไรก็ตาม ในการสนทนากันมักมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมอยู่บ่อยครั้ง จึงอาจตอบแค่ Yes หรือ No แล้วตามด้วยข้อมูลที่ต้องการเสริม ดังตัวอย่างข้างต้น
Grammar: Contractions
               ในภาษาพูด มักมีการย่อคำกริยา BE (is, am, are) และคำกริยาช่วยบางคำ (has, have, had, did, will, would) เมื่อใช้กับคำสรรพนาม คำนาม และคำที่แสดงคำถาม ได้แก่ who, what, when, where, why และ how ส่วนในภาษาเขียนมักใช้กับคำสรรพนามเฉพาะในกรณีเป็นการเขียนแบบไม่เป็นทางการแต่มีน้อยมาที่ใช้กับคำนามและคำที่แสดงคำถาม
ตัวอย่างการย่อคำกริยาข้างต้น พร้อมกริยารูปเต็มในวงเล็บมีดังต่อไปนี้
               My name’s Arin and I’m the second youngest in my family. (is, am)
               Rasa met Nick at the university and they’re friends now. (are)
               Korn’s studied at STOU. (has)
               I’ve got an elder sister. (have)
               We’d been there before he arrived. (had)
               What’d you do yesterday? (did)
               She’ll be here soon. (will)
               Harry’d like to meet you. (would)
Vocabulary: Family members
            สมาชิกในครอบครัวแต่ละครอบครัวอาจมีองค์ประกอบและจำนวนมากน้อยแตกต่างกัน เมื่อต้องสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว นักศึกษาจึงควรเรียนรู้คำศัพท์ที่จำเป็นไว้ใช้ ขอให้อ่านเรื่องที่ 1.2.2 Presentation อีกครั้งหนึ่งและขีดเส้นใต้คำที่หมายถึงสมาชิกในครอบครัว
               คำศัพท์ที่หมายถึงสมาชิกในครอบครัวมีดังนี้
great grandparents             ทวด                       parents                  บิดามารดา            sister                     พี่สาว/น้องสาว
great grandmother              ยาย/ย่าทวด           mother                   มารดา                   brother                  พี่ชาย/น้องชาย
great grandfather ตา/ทวด                  father                     บิดา                       aunt                       ป้า/น้า/อา(หญิง)
grandmother                        ยาย/ย่า                  daughter               ลูกสาว                   uncle                     ลุง/น้า/อา(ชาย)
grandfather                          ปู่/ตา                      son                        ลูกชาย                   cousin                   ลูกพี่ลูกน้อง
granddaughter                     หลานสาว (ลูกของลูก)                          niece                     หลานสาว (ลูกของพี่หรือน้อง)
grandson                             หลานชาย (ลูกของลูก)                         nephew  หลายชาย (ลูกของพี่หรือน้อง)
relative                                 ญาติ
               นอกจากนี้ ยังมีการเติมส่วนขยายข้างหน้าและข้างหลัง เช่น
               half – (มีสายเลือดเดียวกันครึ่งหนึ่ง) เช่น half-sister, half-brother (พี่น้องต่างบิดาหรือมารดา)
               step- (ไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือด) เช่น step-father (พ่อเลี้ยง), step-brother (พี่/น้องชายซึ่งเป็นลูกพ่อหรือแม่เลี้ยง)
               -in-law (มีความเกี่ยวพันจากการแต่งงาน) เช่น mother-in-law (แม่ยายหรือแม่สามี), daughter-in-law (ลูกสะใภ้), son-in-law (ลูกเขย) ถ้าเป็นพหูพจน์ จะเติม s ที่ -laws
ตอนที่ 1.3 Daily Routine
1. การเล่าเรื่องกิจวัตรประจำวันมักใช้รูปของคำกริยาที่แสดงถึงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอหรือเป็นลักษณะนิสัย นั่นคือ present simple tense และอาจมีการถาม-ตอบคำถามได้หลายลักษณะ
2. ศัพท์สำนวนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน รวมทั้งงานบ้านต่างๆ เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้
3. การสังเกตคำสำคัญ (key word) และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะได้ยินได้ฟัง โดยอาศัยความรู้ที่ได้ศึกษามาก่อนแล้ว จะทำให้สามารถทำความเข้าใจเรื่องที่ฟังได้ง่ายขึ้น
4. การฝึกออกเสียงตามเทป การอ่านออกเสียงดังๆ ทุกวัน และการดูรายงานข่าว โดยสังเกตการณ์ออกเสียง การลงเสียงหนักในคำ และทำนองเสียง จะช่วยพัฒนาการออกเสียงได้
Learning Strategies
Listening for Key Words/ Making Predictions Based on Previous Knowledge
            ก่อนที่จะฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักศึกษาควรพิจารณาหัวข้อเรื่องว่าเกี่ยวกับอะไร เพื่อให้สามารถคาดการณ์ได้ถึงิส่งที่จะได้ยินได้ฟัง ในตอนแรก Nick สัมภาษณ์รสาเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของเธอ และตอนที่สอง Nick เล่าให้ฟังถึงกิจวัตรประจำวันของเขาในอเมริกา เมื่อนักศึกษาทราบเช่นนี้ ก็ควรเตรียมตัวก่นอที่จะฟังว่าต้องสังเกตคำสำคัญ (key word) อะไรบ้างที่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เช่น คำริยาบอกการกระทำที่อยู่ในรูป present simple tense คำหรือกลุ่มคำบอกเวลาและความถี่ (usually, normally, occasionally, at 6 a.m., around 5 p.m., about 10:30 p.m., during the week, on Saturday, etc.) คำแสดงลำดับขั้นตอน (then) สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษาติดตามและทำความเข้าใจเรื่องที่ฟังได้ง่ายขึ้น
Practicing Pronunciation
            การออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้องถือเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการใช้ภาษา จึงควรหมั่นฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
-         ฝึกออกเสียงตามเทป ถ้ามีบทอ่านประกอบด้วย อาจทดลองอ่านก่อน 1 ครั้ง แล้วจึงเปิดเทปฟัง
-         อ่านออกเสียงดังๆ ทุกวัน
-         ดูรายงานข่าวและสังเกตการออกเสียง การลงเสียงหนักในคำ และทำนองเสียง
Listening and Speaking
Talking about routine
            ใน Presentation ข้างต้น ทั้งรสาและ Nick ต่างพูดถึงกิจวัตรประจำวันของตน ต่อไปเป็นคำถามคำตอบที่นักศึกษาสามารถนำไปใช้ได้
Question
Answer
-         How do you start the day?
-         e.g. I usually wake up at 7 a.m.  and then have breakfast and go to work.
-         How does your routine differ from weekdays to weekends?
-         e.g. During the week, I wake up at 7 a.m.  every day to go to work and come home at 7 p.m. after I have finished. On weekends, I have no set routine so I can relax and do whatever comes up.
-         What is the most enjoyable time of the week for you?
-         e.g. The weekend, as I do not have to work and can relax.
-         What time do you start and finish work?
-         e.g. I start work at 8:30 a.m. and finish at 5 p.m.
-         What do you do in the evening?
-         e.g. I either watch TV or do homework
-         What do you do during the week?
-         e.g. I work.
The “r” sound
               เสียง “r” ในภาษาอังกฤษแตกต่างจากเสียง “ร” ในภาษาไทย กล่าวคือ การอออกเสียง /r/ ในภาษาอังกฤษนั้นเริ่มด้วยการห่อปาก ในขณะเดียวกันพับปลายลิ้นไปข้างหลังเตรียมพร้อมที่จะออกเสียงเมื่อจะออกเสียงให้สลัดปลายลิ้นไปข้างหน้าโดยมิให้ปลายลิ้นกระทบส่วนใดๆ ในปากเลย เสียงที่ได้ยินคือเสียง /r/ ในภาษาอังกฤษ (พิณทิพย์ ทวยเจริญ, 2539: 50)
               เสียงดังกล่วอยูในตำแหน่งทั้งต้น กลาง และ ท้ายคำ เช่น right, really, relative, very, America, strawberry, your, more ผู้ใช้ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษจะไม่ออกเสียง /r/ ข้างท้ายในขณะที่ผู้ใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมักจะออกเสียง /r/ ในตำแหน่งท้าย
Grammar: Present simple tense
            รูปของคำกริยาใน tense นี้ คือ คำกริยาที่ยังไม่ได้ผันหรือคำกริยาช่อง 1 ดังที่เรียกกันแบบไม่เป็นทางการ แต่ถ้าประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 กริยาจะเติม -s
I, You, We They
work.
He, She, It
works.
               Present simple tense ใช้ได้ในหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริง สิ่งที่เป็นลักษณะนิสัย สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติหรือเป็นจริงในปัจจุบัน หรือกล่าวถึงสภาพต่างๆ โดยใช้คำกริยาที่เรียกว่า stative verbs ซึ่งแสดงสภาพมากกว่าการกระทำ เช่น like, want, know หรือแสดงประสาทสัมผัส เช่น hear, see, smell
               บางครั้งนักษาอาจใช้ adverb of frequency ซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำที่บอกความถี่ของการกระทำ หรือ adverb of time ซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำบอกเวลา ประกอบการใช้ present simple tense ด้วย เช่น
a. I always watch TV. (adverb of frequency)
b. Rasa usually walks down to the bus stop with Arin. (adverb of frequency)
c. She arrives home around 5 p.m. (adverb of time)
d. They go shopping on the weekend. (adverb of time)
Vocabulary: Housework
               นักศึกษาควรเรียนรู้คำศัพท์สำนวนที่เกี่ยวกับงานบ้านไว้ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารต่อไปดังนี้
cook                                     ทำอาหาร                              do/wash the dishes                           ล้างจาน
dust (v.)                ปัดฝุ่น                                   vacuum the carpet                             ดูดฝุ่นพรม
sweep the floor    กวาดพื้น                mop the floor                                      ถูพื้น
do laundry                            ซักผ้า                                    iron clothes                                         รีดผ้า
clean the bathroom             ล้างห้องน้ำ                            polish the silverware                          ขัดเครื่องเงิน
mow the lawn                      ตัดหญ้า                                rake the leaves                   กวาดใบไม้
water the plants   รดน้ำต้นไม้                           wash the car                                      ล้างรถ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น