วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทักษะการเรียนให้ประสบความสำเร็จ (จากเอกสารปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ มสธ.)

* อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางคำเพื่อผู้อ่านทุกระดับ
   
     ทักษะการเรียนเป็นต้นทุนตัวช่วยที่สำคัญที่สุดของผู้เรียน ทักษะการเรียนจะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจบทเรียนได้ด้วยตนเอง ทำข้อสอ่บได้ ประหยัดเวลาในการอ่าน ทักษะการเรียนที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการอ่าน การจดบันทึก การจำ การทำข้อสอบปรนัย การทำข้อสอบอัตนัย ทักษะการเรียนจึงเป็นสิ่งที่ผู้เรียนควรฝึกปฏิบัติให้คล่องจะช่วยให้ประสบความสำเร็จทางการเรียนได้ง่ายขึ้น

เทคนิคการอ่านให้ได้ใจความ
     การอ่านจับใจความเป็นเทคนิคการอ่านพื้ันฐานที่สำคัญสำหรับนักเรียน นักศึกษา ซึ่งต้องฝึกบ่อยๆ ฝึกซ้ำๆ เพื่อก่อให้เกิดความชำนาญในการอ่าน การกวาดสายตามองเนื้อหาสาระจากเอกสารการสอนจำเป็นต้องใช้ความสังเกต และมีสมาธิอย่างสูง ผู้ชำนาญการอ่านจับใจความกวาดสายตาเพียง 1 รอบ ก็สามารถจับประเด็นสาระสำคัญ
     การอ่านจับใจความ คือ การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องหรือของหนังสือแต่ละเล่ม นักศึกษาต้องหาใจความสำคัญของเรื่องให้ได้
     ใจความสำคัญของเรื่อง คือ ข้อความที่เป็นสาระสำคัญที่สุดคลุมข้อความอื่นๆ เป็นเพียงส่วนขยายใความสำคัญเท่านั้น ข้อความหนึ่งหรือตอนหนึ่งอาจมีใจความสำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียว นอกนั้นเป็นใจความรอง ผู้เรียนจะหาใจความสำคัญของเรื่องได้จาก ประโยคต้นหรือประโยคท้ายของย่อหน้า หรือผู้อ่านต้องพยายามสรุปสาระสำคัญของเรื่องให้ได้จากการอ่านด้วยตนเอง

ตัวอย่างการอ่านจับใจความ
     จากทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงประชากรในเรื่องที่  4.2.1 หากเรานำมาประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงประชากรกับสังคมไทยสามารถแบ่งสถานการณ์ทางประชากรออกเป็น 3 ระยะ หรือ 3 ขั้นตอน ดังนี้
     ขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นระยะที่อัตราเกิดและอัตราตายอยู่ในระดับสูงพอๆ กัตนเป็นเวลาหลายร้อยปี ย้อนหลังจนถึง พ.ศ. 2490 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้น อัตราเพิ่มตามธรรมชาติของไทยจึงอยู่ในอัตราต่ำ สาเหตุที่เกิดอัตราเกิดสูง เพระาค่านิยมในสังคมไทยนิยมครอบครัวใหญ่ และการคุมกำเนิดยังไม่เป็นที่รู้จักหรือใช้กันแพร่หลาย ส่วนอัตราตายสูงและสาเหตุหลักของการตายมาจากโรคระบาดหรือโรคติดเชื้อ เพราะการแพทย์และสาธารณสุขของไทยยังไม่ได้พัฒนาเมื่อมีการทำสำมะโนประชากรครั้งแรกใน พ.ศ. 2543 ประชากรไทยในยุคนั้นมีเพียง 8 ล้านคน และการที่ประชากรมีจำนวนน้อย คงจะเป็นที่วิตกของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองในยุคนั้น ดังเช่น สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงปรศรัยเมื่อ พ.ศ. 2449 แสดงความห่วงใยที่ประชากรของไทยมีน้อย
     "สยามประเทศย่อมเป็นประเทศบริบูรณ์ มีพื้นดินอันอุดม...แต่ที่หย่อนกำลังอยู่ก็ด้วยราษฎรมีน้อย เพราะว่าจะเป็นการฝ่ายทหารก็ดีหรือพลเรือนก็ดี ถ้ามีผู้คนมากกำลังของบ้านเมืองก็ทวีขึ้นมาก การทำไร่นาค้าขาย อันเป็นเหตุให้เจริญโภคทรัพย์ก็จะบริบูรณ์ยิ่งขึ้น และภาษีอากรการผลประโยชน์ของบ้านเมืองก็จะทบทวีขึ้นตามกัน"
     ปัญหาการเพิ่มของประชากรไทยในระดับต่ำได้เรื้อรังไปจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังจะเห็นได้จากรายงานใน พ.ศ. 2457 ของพระยามหาอำมา่ตยาธิบดี ผู้รักษาการแทนเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ที่ทำรายงานกราบบังคมทูลล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 ว่า
     "ควรจัดการรักษาพยาบาลและป้องกันการเจ็บป่วยของพลเมืองเพื่อให้จำนวนพลเมืองมากขึ้น เพราะราษฎรพลเมืองในสยามมีอยู่น้อยมากถึงแม้จะมีพลเมืองขึ้นอีกสัก 10 เท่านี้ ก็ยังจะมีที่ดินทำไร่นาเรือกสวนและการหาเลี้ยงชีพได้เพียงพอกัน"
     เมื่อมีการจัดตั้งกรมสาธารณสุขใน พ.ศ. 2461 ก็มีการแต่งคำขวัญชักชวนประชาชนให้มีบุตรมากกว่า "พลเมืองจะดกดื่นดก เพราะทารก สงเคราะห์" มาในช่วง พ.ศ. 2460-2480 ในยุคนี้เริ่มีการกังวลว่าประชากรมีแนวโน้มเพิ่มสูง จึงเริ่มเผยแพร่วิธีการคุมกำเนิด แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วง พ.ศ. 2485-2487 ซึ่งประเทศกำลังอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลในยุคนี้มีนโยบายให้คนไทยมีบุตรมาก เพื่อความเป็นมหาอำนาจ และม่มาตรการส่งเสริมการสมรส การประกาวดการมีบุตรมาก
           ที่มา : หน่วยที่ 4 เรื่อง ประชากรศาสตร์และสังมมนุษย์ ชุดวิชาสังคมมุนษย์ (10131)
           ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ ดร. วิภาวี พิจิตบันดาล
................................................
      จากเนื้อหาดังกล่าว ใจความสำคัญจะอยู่ที่บรรทัด 1-2 ซึ่งได้แก่ "ขึ้นตอนที่ 1 เป็นระยะที่อัตรเกิดและอัตรตายอยู่ในระดับสูงพอๆ กัน เป็นเวลาหลายร้อยปี ย้อนหลังจนถึง พ.ศ. 2490 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2" ซึ่งเป็นข้อความที่มี่สาระคลุมข้อความอื่ีนๆ ในย่อหน้านี้ หลังข้อความนี้เป็นการอธิบาย ขยายความและยกตัวอย่างทั้งหมด


การจดบันทึก
      การจดบันทึก นับว่าเป็นทักษะในการเรียนที่สำคัญและจำเป็นมาก สำหรับการเรียนด้วนตนเอง เพราะในแต่ละภาคการศึกษา มีเนื้อหาสาระหลากหลายเป็นจำนวนมากหากไม่มีเทคนคหรือเครื่องมือช่วยในการจำที่ดีจะทำให้เกิดความสับสนและเมื่อต้องมีการทบทวนก่อนสอบ บันทึกย่อที่ทำไว้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
     การจดบันทึกจะช่วยให้ผู้เรียนมีความจำในสิ่งที่อ่านมาแล้วได้มากขึ้น ในการจดบันทึก ผู้เรียนจะต้องกลั่นกรองสิ่งที่ได้จากการอ่านแล้วนำมาสรุปเป็นประเด็นสั้นๆ จะช่วยให้เราจดได้ดีกว่าการจดบันทึกยาวๆ สิ่งที่ผู้เรียนควรบันทึก ควรเป็นคำสำคัญหรือประโยคใจความสำคัญ ที่อ่านพบในเนื้อเรื่องและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนการสอนประจำหน่วย
วัตถุประสงค์ของการจดบันทึก
  1. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมความรู้ที่อ่าน
  2. เพื่อประมวบความคิดหลังจากการอ่าน
  3. เพื่อได้กรอบความคิดในเนื้อหาสาระสำหรับการอ่านต่อไป
แนวทางการจดบันทึก
ผู้เรียนสามารถใช้แนวทางในการจดบันทึก ดังนี้่
1. บันทึกสาระสำคัญ ได้แก่ การบันทึกคำหรือประเด็นสำคัญทั้งชื่อเรื่อง หัวข้อหลัก และหัวข้อรอง รวมทั้งความหมายของคำสำคัญ ฯลฯ โดยการตอบคำถามตามสูตร 5W1H อาทิ ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอะไร มีใครเข้ามาเกี่ยวข้อง เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อไร ที่ไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และเกิดขึ้นได้อย่างไร
2. บันทึกชื่อหนังสือหรือตำรา และหัวข้อ รวมทั้งชื่อผู้แต่ง หรือชื่อหัวข้อ และชื่ออาจารย์ผู้บรรยาย การบันทึกดังกล่าวจะช่วยในการค้นคว้าเมื่อต้องการรายละเอียด รวมทั้งการอ้างอิงได้ทัน
3. จัดหมวดหมู่ของสาระสำคัญ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม หรือหมวดหมู่ตามแต่เนื้อหา ่ทั้งนี้เพื่อค้นคว้าหรือทบทวนได้สะดวก และจดจำได้ง่ายขึ้น การจัดหมวดหมู่ของสาระสำคัญทำได้หลายวิธี เช่น จัดหมวดหมู่ตามหัวข้อ จัดหมวดหมู่ตามความเหมือนหรือความแตกต่าง ฯลฯ
4. เรียงลำดับเรื่องให้อ่านและเข้าใจง่าย ที่สำคัญคือ เชื่อมโยงประเด็นให้เห็นความสัมพันธ์ทั้งหมด และถูกต้องตามความหมาย การเรียงลำดับเรื่องทำได้หลายวิธี อาทิ เรียงลำดับตามลำดับเวลา เรียงลำดับตามตำแหน่งพื้นที่ เรียงลำดับตามสาเหตุไปสู่ผล ฯลฯ
5. ใช้ถ้อยคำที่กระชับ แต่ชัดเจน เข้าใจง่าย และครอบคลุมเนื้อหามากที่สุด โดยอาจใช้เทคนิคการบันทึกโดยใช้คำสัมผัส ซึ่งการใช้คำที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองจะช่วยให้จำได้ดี
รูปแบบการจดบันทึก
     การจดบันทึก ผู้เรียนสามารถทำได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระของเอกสารที่อ่าน และความถนัดของผู้เรียน โดยแบ่งออกเป็นประเภท ดังนี้
1. การจดบันทึกลงในแบบบันทึก
การจดบันทึกลงในแบบบันทึก เป็นการบันทึกสาระสำคัญและรายละเอียดพร้อมสรุปในแบบบันทึกที่แบ่งพื้นที่ เป็น 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 สาระสำคัญ
     สาระสำคัญ ได้แก่ คำสำคัญ ประเด็นสำคัญหรือประโยคสำคัญที่มีคุณลักษณะสำคัญ คือ เป็นประโยคหรือคำที่มีความหมายครอบคลุมย่อหน้าใดย่อหน้าหนึ่งมากที่สุด อาจเป็นเนื้อหาในส่วนที่ผู้เขียนเน้นย้ำมากที่สุดและอาจเป็นคำหรือข้อความที่อธิบายรายละเอียด อธิบายสนับสนุนหรือความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยทั่วไปมักปรากฏเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่ หรือตัวอักษรหนาเข้ม หรือตัวอักษรเอียง ฯลฯ
ส่วนที่ 2 รายละเอียด
     รายละเอียด คือ ส่วนข้อความที่เป็นเนื้อหาสาระที่ขาดไม่ได้หรือเมื่อไม่มีแล้วอาจทำให้ไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดได้
ส่วนที่ 3 ส่วนสรุป
     ส่วนสรุป เป็นหารสรุปความหรือย่อความ เป็นการนำเอาเรื่องราวต่างๆ มาเขียนใหม่ ด้วยสำนวนภาษาของผู้เขียนเอง เมื่อเขียนแล้วเนี้อความเดิมจะสั้นลง แต่ยังมีใจความสำคัญครบถ้วน การย่อนี้ไม่มีขอบเขตว่าย่อลงไปเท่าใด จึงจะเหมาะสม เพราะบางเรื่องมีใจความมากก็จะย่อได้ 1 ใน 2 บางครั้งมีใจความสำคัญน้อยอาจเหลือ 1 ใน 4 หรือมากกว่านั้น แต่ที่สำคัญควรครอลคลุมใจความหรือเนื้อหาสาระสำคัญเดิม

2. การจดบันทึกเป็นแผนภูมิแบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์
     แผนภูมิ หมายถึง แผนที่ เส้น หรือตารางที่ทำขึ้นเพื่อแสดงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การจดบันทึกแบบแผนภูมิเชื่อมโยงความสัมพันธ์ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรวบรวมเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนต้องการได้อย่างต่อเนื่องเป็นระุบบ ดูง่าย จำง่าย

3. การจดบันทึกแบบแผนที่ความคิด (Mind Map)
     Mind Map แปลตรงตัวเป็นภาษาไทยได้ว่า แผนที่ความคิดเป็นทฤษฎีในการนำเอาระบบการคิดของสมองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ทฤษฎีของโทนี่ บูซาน ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการนำมาช่วยในการเขียนแผนที่ความคิดการเขียนแผนที่ความคิดในอดีตจะเน้นเขียนลงบนกระดาษว่างๆ จากจุดศูนย์กลางกระจายเป็นรูปคล้ายๆ การแตกกิ่งก้านของต้นไม้
     Mind Map ช่วยอะไรได้บ้าง
  • เป็นการสร้างสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
  • ช่วยในการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์
  • ใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ประกอบในการตัดสินใจกรณีมีทางเลือกหลายๆ ทาง
  • ใช้ในการสรุปเนื้อหามากๆ ให้สั้นลง
ขั้นตอนการเขียนแผนที่ความคิด
  1. เริ่มต้นด้วยการเขียนหรือวาดภาพ หัวเรื่อง/แนวคิด/คำหลัก ที่กึ่งกลางหน้ากระดาษที่ไม่มีเส้นบรรทัด โดยใช้ดินสิสีหรือปากกา
  2. ขีดเส้นโดยไม่ใช้ไม้บรรทัดออกจาก หัวเรื่อง/แนวคิด/คำหลัก
  3. เขียนหัวข้อความคิดหลักที่เชื่อมโยงจาก  หัวเรื่อง/แนวคิด/คำหลัก บนเส้นที่ลากออกมา
  4. เขียน คำลูก ออกจากความคิดหลัก เป็นเส้นคล้ายกิ่งต้นไม้ และสามารถเขียนได้หลายเส้น จนกระทั่งเนื้อหาครบสมบูรณ์ตามความคิดหลัก
  5. วาดรูปประกอบ/ใช้รูปภาพ/สัญลักษณ์ แทนตัวอักษรให้มากที่สุดเพราะรูปภาพจะทำให้จดจำได้ง่ายกว่าตัวอักษร
  6. ตัวอักษรต้องเขียนอยู่บนเส้นเสมอ
ผู้เรียนควรมีทักษะทางด้าน การอ่าน การฟัง โดยสามารถเชื่อมโยงเนื้อหากับภาพในใจ (ในสมอง) ที่มีอยู่อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าในในเนื้อหาและสามารถบันทึกแนวคิดหลักออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจเนื้อหาในครั้งแรกที่เรียน ผู้เรีนยอาจอ่านหนังสือ ่ตำรา หรือเอกสารประกอบการเรียนรอบที่ 2 หรือสอบถามจากอาจารย์ผู้สอน ซึ่งจำทำให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถจดบันทึกได้ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น