วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

ความรู้ที่สรุปจากการอ่าน (3)

ด้านการร่วมงาน (collaboration) Tinzmann and others, 1990 ได้กล่าวถึงการร่วมงานหรือห้องเรียนแบบร่วมงาน (collaborative classroom) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เลียนแบบการทำงานในสังคมที่จะมีกลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล้ก มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

  1. การแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน (shared knowledge among teachers and students)
  2. การสับเปลี่ยนกันเป็นผู้เชี่ยวชาญระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน (shared authority among teacher and students)
  3. ครูเป็นผู้ประสานสัมพันธ์ (teachers as mediators)
  4. การจัดให้นักเรียนในกลุ่มีความรู้ความคิดเห็นแตกต่างกัน (heterogeneous grouping of students)
จากลักษณะของการร่วมงานและสแกฟโฟลดิ้ง ดังกล่าว การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวก็อตสกี้ จึงมีลักษณะสำคัญ 6 ประการ คือ (Wells,1999)

  1. ห้องเรียนเป็นชุมชนแห่งการทำงาานและเรียนรู้ร่วมกัน
  2. กิจกรรมการเรียนรู้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนในทุกๆ ด้าน
  3. ผู้เรียนตระหนักในความเป็นมา และความสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้
  4. หลักสูตรเป็นแนวทางพื้นฐานไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด
  5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ริเริ่มสร้างสรรค์
  6. ผลการเรียนรู้ควรเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
แนวโน้มการศึกษาไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต
  1. การศีึกษาเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความสามารถเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม เพื่อเสิรมสร้างการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  2. การศึกษาเป็นกระบวนการถ่ายทอดและเรียนรู้ในการที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาคนทั้งในแง่ความรู้ ความคิด ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถสนองตอบทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ ซึ่งประเทศที่ตอ้งการความก้าวหน้าต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยอาศัยการศึกษาเป็นเครื่องมือ สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีปัญหาเกี่ยวกับกำลังคนที่จะตอบสนองนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างมาก อันสืบเนื่องมากจากระบบและวิธีการจัดการศึกษาที่ไม่สามารถสร้างและกระจายโอกาส รวมทั้งคุณภาพการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคอุตสาหกรรมที่ผ่านมาและการก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรุ้ในทศวรรษที่ 21 ดังนั้นระบบการศึกษาของประเทศไทยจึงถูกท้าทายจากแรงผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมค่อนข้างมาก
  3. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) กล่าวว่า "มนุษย์มีชีวิตที่ดีที่มีประโยชน์ ก็จะต้องฝึก ต้องเรียนรู้.. การเรียนรุ้ การฝึกฝนพัฒนารนี้เป็นความพิเศษของมนุษย์ มนุษย์ที่ฝึกตนหรือมีการเรียนรู้ จึงเปลี่ยนแปลงไปและทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย..."
  4. การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนประเทศเป็นอย่างยิ่งเพราะการศึกษาเปรียบประดุจเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของคน ซึ่งหากสังคมหรือประเทศใดประชาชนโดยเฉลี่ยมีการศึกษาอยู่ในระดับต่ำสังคมหรือประเทศนั้นก็จะด้อยการพัฒนากว่าสังคมหรือประเทศที่ประชาชนโดยเฉลี่ยมีการศึกษาอยู่ในระดับสูง
"คนจน" ตามแนวทางของธนาคารโลก ว่า หมายถึง คนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนหรือต้นทุน/ค่าใช้จ่ายปัจเจกบุคคลในการได้มาซึ่งอาหารและสินค้าบริการพื้นฐานจำเป็นนการดำรงชีวิต เช่น พ.ศ. 2550 คำนวณไว้ที่ 1,443 บาท ต่อเดือน ทำสถิตคนจนตามคำนิยามนี้มีสัดส่วนไม่สูงนัก คือ มีร้อยละ 8.48 ของประชากรทั้งหมด หรือราว 5.4 ล้านคน (ใน พ.ศ. 2550)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น