วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

หน่วยที่ 11-12


หน่วยที่ 11 Out and About
               1. อาหารของแต่ละชาติแตกต่างกัน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานก็แตกต่างกันด้วย ปัจจุบันชาวต่างชาตินิยมรับประทานอาหารไทย การพาชาวต่างชาติไปรับประทานอาหาร จะมีการพูดคุยถึงลักษณะอาหารในรายการอาหารและส่วนผสม การสั่งอาหารรับประทาน และการรับคำสั่งอาหาร ในการสื่อความจะต้องใช้ภาษา โครงสร้างภาษา และคำศัพท์ที่เหมาะสม
               2. การพาชาวต่างชาติไปซื้อของ จะมีการพูดคุยถึงชื่อเรียกสิ่งของซึ่งเป็นสินค้า ลักษณะ ประโยชน์ใช้สอย วัสดุที่นำมาทำเป็นสิ่งของนั้น แหล่งที่ผลิต ราคาและการต่อรองราคา การกล่าวชื่นชม ในการสื่อความหมายในสถานการณ์ดังกล่าวจะต้องใช้โครงสร้างภาษาและคำศัพท์ที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการสื่อสาร
               3. สินค้าส่วนมากจะมีคำแนะนำการใช้ บางชนิดจะให้คำแนะนำการดูแลรักษา วิธีอธิบายคำแนะนำการใช้สินค้าบางประเภทจะใช้ภาษาและภาพเพื่ออธิบายทีละขั้นตอน บางประเภทใช้ภาษาเพื่อสื่อความเพียงอย่างเดียว โดยอาจบอกเป็นข้อๆ หรืออธิบายเป็นข้อความต่อเนื่องเป็นย่อหน้า และใช้ตัวเชื่อมเพื่อเชื่อมความระหว่างประโยค คำศัพท์มาหลากหลายเพราะสินค้าแต่ละประเภทมีส่วนประกอบและประโยชน์การใช้สอยต่างกัน
ตอนที่ 11.1 Let’s Eat Out
               1. การให้คำแนะนำใช้ประโยคคำถามว่า “Why don’t you …?” และประโยคบอกเล่าที่มี่กริยาช่วย should, ought to, หรือ had better หรือประโยคบอกเล่าที่ขึ้นต้นประโยคว่า “It would be a good idea to …”
               2. ประโยค unreal present / future conditionals ใช้ในการให้คำแนะนำได้
               3. การให้คำเสนอแนะ (recommendation) อาจใช้ประโยคคำถามว่า “Why don’t you …?” และประโยคบอกเล่าบางสำนวนได้
               4. การบรรยายหรืออธิบายเรื่องอาหารมีศัพท์และสำนวนเฉพาะ
               5. การบรรยายหรืออธิบายเรื่องอาหารมักต้องใช้สำนวนที่บอกส่วนประกอบและ modifiers
6. การบรรยายหรืออธิบายเรื่องอาหารอาจใช้ past participle เป็น modifier
7. ในร้านอาหาร ผู้มารับประทานอาหารจะพูดคุยซักถามเกี่ยวกับอาหารชนิดต่างๆ กันเอง อาจจะขอคำเสนอแนะ แล้วพูดสั่งอาหารกับบริกร
8. การเรียนรู้คำศัพท์และรูปแบบประโยคต้องขยันจดบันทึก
9. การพูดต้องฝึกพูดเสมอเมื่อมีโอกาสและด้วยวิธีต่างๆ
คำอธิบาย
               อาหารของแต่ละชาติแตกต่างกัน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานก็แตกต่างกันด้วย เช่น อาหารทางตะวันตกมีรสไม่จัด และมักจะเป็นอาหารจัดอยู่ในจานเดียวกัน มีมันบทหรือมันเผา เนื้อ 1 ชิ้นใหญ่ๆ ซึ่งจะเป็นเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อปลา และผักสุกหรือสลัดผักสด ในการรับประทานอาหารจะใช้มีดและส้อม ทั้งนี้เพราะอาหารในจานโดยเฉพาะเนื้อจะเป็นชิ้นใหญ่ต้องใช้มีดหั่น สำหรับอาหารญี่ปุ่นจะมีข้าวและอาหารอื่นๆ โดยจานที่มีเนื้อ (ซึ่งอาจเป็นเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อปลา) เป็นจานหลัก และปรุงในลักษณะต่างๆ บางครั้งอาจจะปรุงแบบสุกี้ยากี้ สุกี้ยากี้ในประเทศญี่ปุ่นจริงๆ ไม่เหมือนของประเทศไทย จะมีน้ำน้อยกว่า รับประทานกับข้าวและเครื่องเคียงอื่นๆ เช่น ผักดอง อุปกรณ์ในการรับประทานคือ ตะเกียบ
               บทสนทนาใน Presentation ช่วงแรก อริน กร และนักศึกษาในกลุ่ม พร้อมทั้ง Pete กำลังรับประทานอาหารด้วยกัน ดังนั้นจึงพูดคุยกันเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นมารยาทอย่างหนึ่ง กล่าวคือเมื่อมีชาวต่างชาติอยู่ด้วยควรจะพูดภาษาที่ชาวต่างชาตินั้นสามารถเข้าใจและร่วมวงสนทนาได้ด้วย เพื่อบุคคลนั้นจะได้ไม่เก้อเขินหรือรู้สึกอึดอัด และเข้าร่วมในการสนทนาได้ด้วย
               กรได้เล่าว่าตนจะต้องรบรองลูกค้าโดยพาไปรับประทานอาหารและซื้อของฝาก และได้ชวนอรินไปช่วยด้วยในวันเสาร์นี้ โดยทั้งสองวางแผนว่าจะพาไปห้างสรรพสินค้าซึ่งจะซื้อของและรับประทานอาหารที่นั่นด้วยเลย Pete จึงแนะนำว่าควรจะพาไปตลาดนัดที่สวนจตุจักร และไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารไทยจะดีกว่าเพราะคนอังกฤษชอบอาหารไทย
               และในช่วงต่อมาอรินและกรได้พาลูกค้ามานั่งอยู่ในร้านอาหารและพูดคุยถึงอาหารในรายการอาหารและสั่งอาหารรับประทาน
               ใน Presentation ของตอนที่ 11.1 นี้มีสำนวนต่างๆ ดังนี้   
               1. the exams are over หมายความว่า การสอบได้จบสิ้นลงแล้ว สำนวน BE over หมายถึง เสร็จสิ้นลง หรือจบลง ซึ่งใช้แทนคำว่า BE finished ได้
               2. to take my client out to eat and shop for some souvenirs for their family and friends หมายความว่า พา (ใคร) ไปรับประทานอาหาร และซื้อของฝากสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนๆ
               3. Why don’t you take them to the Weekend Market at Chatuchak Park? หมายความว่าทำไมคุณไม่พาเขา (ลูกค้า) ไปดูหรือซื้อของที่ตลาดนัดจะดีกว่า
               4. You know, … จะเป็นคำพูดที่ผู้พูดใช้ก่อนจะพูดอะไรต่อเพื่อคิดหาคำพูดต่อไป ในขณะเดียวกันก็ดึงความสนใจของผู้ฟังไว้ด้วย
               5. English people are fond of Thai dishes. หมายความว่า คนอังกฤษชอบรับประทานอาหารไทยมากๆ สำนวน BE fond of พูดอีกแบบได้ว่า like (something / someone) very much ส่วน Thai dishes หมายถึง อาหารไทย คำว่า dish ใช้แทนคำว่า food แต่ละชนิด
               6. (they) are very popular, too … (they แทนคำว่า ร้านอาหารไทย) หมายความว่า ร้านอาหารไทยเป็นที่นิยมมากด้วย
               ในตอนต่อมา อริน กร และลูกค้า กำลังนั่งอยู่ในร้านอาหารขุนนาง (ชื่อสมมติ) หลังจากเดินชมตลาดนัดสักครู่ ที่ร้านนี้บริกรสามารถพูดภาษาอังกฤษได้เนื่องจากลูกค้าชาวต่างชาตินิยมมารับประทานอาหารที่นี่
               7. … it was rather hot and muggy หมายความว่า เพราะอากาศค่อนข้างร้อนและอบอ้าว
               8. We’ll probably need some time to look through the menu. หมายความว่า เราคงต้องใช้เวลาดูรายการอาหารสักครู่
               9. These are the side dishes. หมายความว่า พวกนี้เป็นกับข้าว (กับข้าวเรียกว่า side dish)
               10. It’s deep-fried fish meat. หมายความว่า นี่คือเนื้อปลาทอด (deep-fried หมายถึงทอด)
               11. scraped fish meat หมายความว่า เนื้อปลาที่ขูดออกมา
               12. chopped string beans or winged beans หมายความว่า ถั่วฝักยาว หรือถั่วพูหั่น (ปกติคำว่า chop หมายถึง สับ, ฟัน)
               13. Then the mixture is kneaded to make it hold together. หมายความว่า แล้วจึงนวดส่วนผสมเพื่อให้มันเกาะกัน
               14. red curry paste หมายความว่า น้ำพริกแกงเผ็ด
               15. What’s your specialty? หมายความว่า มีอาหารอะไรเป็นอาหารจานพิเศษ / อาหารจานเด็ด
               16. our crispy noodles and prawn cake are always appreciated by both Thai and foreign customers. หมายความว่า ลูกค้าทั้งไทยและเทศชื่นชอบหมี่กรอบและทอดมันกุ้งของเรา
               17. I’d like to recommend them as an hors d’oeurve. หมายความว่า ผมคิด (ขอเสนอแนะ) ว่าควรสั่งอาหารเหล่านั้นเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยก็ดีครับ (hors d’oeuvre [ออเดิฟ] เป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง อาหารเรียกน้ำย่อย)
               18. Kratong Tong and spring rolls are also our customers’ favorite hors d’oeurve. หมายความว่า กระทงทอง และปอเปี๊ยะทอด ก็เป็นอาหารเรียกน้ำย่อยที่ลูกค้าเราชอบมากครับ
               19. …. and then plain boiled rice, prawn cakes, fish cakes, and Tom Yum Kung to follow หมายความว่า แล้วค่อยนำเอาข้าวเปล่า ทอดมันกุ้ง ทอดมันปลา และต้มยำกุ้งมาทีหลัง
               20. Would you care for anything else, like some stir – fried vegetables? หมายความว่า คุณสนใจอย่างอื่นอีกไหม เช่น ผัดผัก
               21. I think that will do for now. หมายความว่า ผมคิดว่าแค่นี้คงพอก่อน
กลยุทธ์ในการเรียนรู้
Learning Vocabulary and Sentence Patterns
            1.1 ร้านอาหารบางร้านจะมีรายการอาหารเป็นภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาไทย เมื่อไปรับประทานตามร้านเหล่านี้ควรจะจดชื่อไว้ หรือจดจำไว้เป็นการเพิ่มพูนคำศัพท์ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในโอกาสที่จำเป็น เช่น อธิบายให้เพื่อนชาวต่างชาติฟัง
               1.2 จดบันทึกคำศัพท์และตัวอย่างการใช้คำเหล่านั้นในประโยคลงในสมุดเล็กๆ เพื่อความสะดวกในการพกพาติดตัว และนำออกมาอ่านเมื่อมีโอกาส
               1.3 จดจำประโยคง่ายๆ ที่ใช้ในสถานการณ์ต่าง เพื่อนำไปใช้ในโอกาสที่จำเป็นในภายหน้า
Speaking Strategies
            นักศึกษาไทยมักจะไม่ค่อยมีโอกาสฝึกพูดภาษาอังกฤษ ทำให้พูดไม่ค่อยได้เมื่อมีความจำเป็นต้องพูดภาษาอังกฤษ อีกประการหนึ่งก็คือไม่ค่อยกล้าพูดเพราะกลัวพูดผิด ดังนั้นควรปฏิบัติดังนี้
               2.1 ควรพยายามพูดเมื่อมีโอกาส เช่น ทำความรู้จักกับชาวต่างชาติที่มีท่าทางเป็นมิตร ให้ความช่วยเหลือกับชาวต่างชาติที่มีท่าทางต้องการความช่วยเหลือ เช่น การบอกทิศทาง หรือการบอกตำแหน่งแหล่งที่ของสถานที่ เป็นต้น
               2.2 ถ้าบังเอิญนักศึกษามีเพื่อนชาวต่างชาติ ควรเชิญมาร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เสมอและพยายามชักชวนพูดคุย
               2.3 ฝึกใช้คำและประโยคง่ายๆ ในสถานการณ์ต่างๆ ที่จดบันทึกไว้ โดยคิดหรือพูดภาษาอังกฤษในใจ เช่น ดูเวลาแล้วคิดเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘Oh, it’s almost eight o’clock. I must hurry.’ หรือ ‘This fried rice tastes good.’ ฯลฯ จะทำให้ค่อยๆ พูดได้คล่องเมื่อต้องใช้พูดจริงๆ
Giving advice
               ในบทสนทนา Pete ให้คำแนะนำ โดยพูดว่า Why don’t you take them to the Weekend Market at Chatuchak Park?, You’d better take them to look around the Weekend Market., If I were you, I would take them to a restaurant that serves Thai dishes.
ในการให้คำแนะนำสามารถใช้สำนวนที่มีรูปแบบประโยคต่างๆ กัน และมักจะพูดตอบดังนี้
ลักษณะประโยค
ตัวอย่าง
คำพูดตอบ
ประโยคคำถาม
Why don’t you take them to the Weekend Market?
-(Yes.) I guess I should.
-(Yes.) I suppose I should.
-(Yes.) Maybe I should.
-OK.
-I see.
-All right.
-That might be a good idea.
ประโยคบอกเล่าโดยใช้กริยาช่วย should, ought to, had better (ตัวย่อ:’d better)
Perhaps you should/ought to/’d better take them to the Weekend Market.
It would be a good idea to take them to the Weekend Market.
if clause
If I were you, I would take them to the Weekend Market.

Recommending
               Recommending เป็นการเสนอแนะ เช่น เสนอแนะให้ลองรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งดังที่ปรากฏในบทสนทนา เช่น
บริกรพูดว่า             I’d like to recommend them as an hors d’ oeuvre.
กรพูดว่า                 I think we will have some hors d’ oeuvre while waiting for the main dishes.
               ในการเสนอแนะ สามารถใช้สำนวนที่มีรูปแบบประโยคต่างๆ กัน และมักจะพูดตอบดังนี้

ลักษณะประโยค
ตัวอย่าง
คำพูดตอบ
ประโยคคำถาม
Why don’t you try the fish cake?
How about fish cake?


-Oh, that sounds nice.
-Oh, that sounds delicious.
ประโยคบอกเล่า
Perhaps you’d like fish cake and roasted duck in curry.
I would recommend fish cake and roasted duck in curry.
Fish cakes are very delicious.
Roasted duck in curry is very good.

Describing food
               ในการพาชาวต่างชาติไปรับประทานอาหาร จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับอาหาร ผู้พาไปมักจะอธิบายให้ฟังว่าอาหารต่างๆ นั้นชื่ออะไร มีรสอย่างไร มีส่วนประกอบอะไร และอาจจะอธิบายถึงวิธีทำด้วย ถ้ามีรายการอาหารชาวต่างชาติอาจอ่านชื่อและถามว่าอาหารนี้คืออะไรก็ได้ เช่น
คำถาม
คำอธิบาย
“What’s this? Tod Mun Pla….
fish cake? (= Fish cake นี่คืออะไร)



What’s this – Kaeng Per ped Yang?
(อะไร) = It’s deep – fried fish meat.
(รส) = It’s a little spicy.
(ส่วนประกอบและวิธีทำ) = Scraped fish meat is mixed with eggs and a portion of curry paste, chopped string beans or winged beans and salt water or a few other seasonings.
(อะไร) = It’s roasted duck,
(ส่วนประกอบและวิธีทำ) = … cooked in coconut milk with red curry paste
(เป็นอาหารชนิดใด) = It’s a side dish. / It’s an hors d’oeuvre.
ในการพูดถึงส่วนประกอบและวิธีทำจะต้องใช้ modifier (คำขยาย) ซึ่งอาจจะเป็น
1. Adjective เช่น red (adj.) curry paste
2. Noun ทำหน้าที่เป็น modifier โดยวางไว้หน้าคำนามหลัก เช่น red curry (n.) paste (n.) , salt (n.) water (n.)
3. Participle เช่น scraped (v.3) fish meat / chopped (v.3) string beans
นอกจากนี้อาจจะใช้สำนวนต่อไปนี้ในการบอกส่วนประกอบ
It’s made from …                เช่น         It’s made from sugar, flour, coconut milk, and eggs.
It consists of …                   เช่น         It consists of sugar, flour, coconut milk, and eggs.
It contains …                       เช่น         It contains sugar, flour, coconut milk, and eggs.
Ordering food
               ในบทสนทนาบริกรนำรายการอาหารมาให้ดูและถามว่า
บริกร:      Can I take your order now or would you like me to come back later?
กร:          We’ll probably need some time to look through the menu. Can you come back later?
               ในร้านอาหารเมื่อลูกค้าเข้าร้านมาบริกรจะพาไปนั่งและนำเอารายการอาหารมาให้ดู แต่บางครั้งลูกค้าอาจต้องขอรายการอาหารจากบริกร
               1. ลูกค้าขอรายการอาหารจากบริกรจะพูดว่า May I have the menu (, please)?, Can I have the menu (,please)?, The menu, please.
               2. บริกรถามลูกค้าว่าพร้อมจะสั่งอาหารเลยหรือไม่ May I take your order now, sir / madam?, Can I take your order now, sir / madam? , Are you ready to order now, sir / madam?, Would you like to order now, sir / madam?, Have you decided what you will have, sir / madam?
               3. ลูกค้าอาจขอคำแนะนำจากบริกร หรือถามว่ามีอาหารจานพิเศษอะไรโดยพูดว่า What do you recommend? (คุณจะให้คำแนะนำอะไรล่ะ) What’s today’s special? (มีอาหารจานพิเศษอะไรวันนี้) What’s your specialty? (มีอาหารจานพิเศษอะไร)
               4. บริกรถามลูกค้าว่าต้องการอาหารอะไร หรือลักษณะอย่างไร What kind of food / drink would you like? (คุณต้องการอาหาร / เครื่องดื่มอะไร) What would you like for an hors d’oeuvre? (คุณต้องการอะไรเป็นออเดิฟ) What would you like for a starter? (คุณต้องการอะไรเป็นสตาร์ทเตอร์) How would you like with fried rice? (คุณต้องการรับประทานอะไรกับข้าวผัด) How would you like your steak? (คุณต้องการสเต็กลักษณะอย่างไร / แบบไหน) Would you like your roast pork with tomato sauce? (คุณต้องการหมูย่างพร้อมด้วยซอสมะเขือเทศไหม) Would you like any vegetable with fried rice? (คุณต้องการผักมากับข้าวผัดไหม)
               5. ลูกค้าสั่งอาหารพูดว่า I’ll have …. (ชื่ออาหาร) , Can you bring me …, please? , I’d like …., please.
การใช้ should, ought to และ had better + V base form
            1. should และ ought to มีความหมายใกล้เคียงกันมาก แต่ ought to มีน้ำหนักมาก should ใช้ในการให้คำแนะนำทั่วๆ ไป (general advice) ought to มักจะแสดงนัยว่า ควรกระทำดังที่แนะนำ อาจจะเพราะเป็นหน้าที่หรือเพื่อความถูกต้อง/เหมาะสม เช่น You should take your clients to the Weekend Market., You ought to go to the Weekend Market early in the morning when it is not too hot and muggy.
            2. had better มักจะตามด้วยเหตุผลว่าควรกระทำดังที่แนะนำเพราะอะไร You’d better take your clients to the Weekend Market. They can look at many different things there.
Unreal present / future conditionals
            ในการให้คำแนะนำ สามารถใช้ unreal present / future conditionals ได้ เช่น ในบทสนทนาตอนหนึ่ง Pete ให้คำแนะนำโดยพูดว่า If I were you, I would take them to a restaurant that serves Thai dishes.
ประโยค if clause ประเภทนี้เป็นการ
               1) แสดงเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ เช่น If I were you, I would take them to a Thai restaurant. (ถ้าผมเป็นคุณผมจะพาพวกเขาไปร้านอาหารไทย แต่จริงๆ แล้ว ผมไม่ใช่คุณ) ส่วนมากใช้ในการให้คำแนะนำอย่างสุภาพ
               2) สมมติที่ตรงข้ามกับการกระทำ หรือเหตุการณ์ที่เป็นจริง If Wit had money, he would buy a car. (ถ้าวิทย์มีเงินเขาจะซื้อรถ) (จริงๆ แล้ววิทย์ไม่มีเงินและเขาไม่ได้ซื้อรถ)
โครงสร้างประโยค
If + (subject) + past tense, (subject) + would / could + V base form หรือ (subject) + would / could + V base form + if + (subject) + past tense,
               ถ้าเอา if ขึ้นต้นประโยคต้องใส่ comma หลัง if-clause แต่ถ้าเอา if-clause ไว้ท้ายประโยคไม่ต้องมี comma สำหรับ verb to be นั้น ต้องใช้ were กับประธานทุกตัว (I, you, he, she, it, we, they)
Past participle as modifiers
Past participle ได้แก่ กริยา เช่น boiled, broken, canned, etc. นำมาใช้ขยายคำนามได้ดังนี้ boiled rice ข้าว (ที่นำไป) ต้ม (แล้ว), broken chair เก้าอี้ที่หัก (แล้ว), canned food อาหารที่นำมาบรรจุในกระป๋อง, stir-fried vegetables ผักผัด, ตัวอย่าง: He had rice and stir-fried vegetables for lunch.
ตอนที่ 11.2 Let’s Go Shopping
               1. การซื้อขายจะมีการถามและตอบ บรรยายหรืออธิบายลักษณะของสิ่งของที่เป็นสินค้าซึ่งมักจะถามตอบกันว่าเป็นิส่งของอะไร ใช้ทำอะไร วัสดุที่ใช้ในการผลิต รูปลักษณ์ของสิ่งของ แหล่งที่ผลิต และ/หรือ ชนิดหรือยี่ห้อของสิ่งของ ซึ่งแต่ละหัวข้อใช้ศัพท์และสำนวนเฉพาะ
                              1.1 การบอกว่า เป็นสิ่งของอะไร บางครั้งต้องใช้ present participle เป็น modifier
                              1.2 การถามตอบว่า สิ่งของใช้ทำอะไร นอกจากจะใช้ ‘use for’ แล้ว ยังพูดได้หลายสำนวน
                              1.3 การถามตอบว่า สิ่งของใช้วัสดุอะไรทำ ใช้สำนวน BE made of, BE made from และ BE made with
                              1.4 การพูดถึงรูปลักษณ์ของสิ่งของต้องใช้คำขยาย (modifier) ในการพรรณนาหรืออาจจะใช้วิธีเปรียบเทียบ
                              1.5 การถามตอบเกี่ยวกับแหล่งที่ผลิต ใช้ศัพท์และสำนวน BE made in, BE produced in BE manufactured in, come from
                              1.6 การถามตอบเกี่ยวกับชนิดหรือยี่ห้อของสิ่งของ ใช้ make หรือ brand และมีรูปแบบประโยคเฉพาะ
               2. การซื้อขายอาจเกี่ยวข้องกับการพูดต่อรองราคา
               3. ในขณะซื้อเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ ผู้ซื้อจะลองสวมใส่ ผู้ขายหรือผู้ที่มาด้วยจะช่วยกล่าวติชม การกล่าวชนจะใช้คำว่า nice, smart, charming, etc. ได้ในสำนวนต่าง
               4. การลงเสียงหนักในคำ (stress) และการออกเสียงสูงต่ำในประโยค (intonation) มีส่วนในการสื่อความหมายของผู้พูด
คำอธิบาย
               หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ในที่สุด Mr. และ Mrs. Howards ก็ตกลงจะเดินดูของที่ตลาดนัดก่อน แล้วจึงไปร้านขายผ้าไหมที่ถนนสีลม ที่ตลาดนัดพ่อค้าแม่ค้าบางคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะมีชาวต่างชาติมากมายมาซื้อของ ทั้งหมดตกลงจะไปดูผ้าไหมที่ขายที่ตลาดนัด ซึ่งรินบอกว่าร้านผ้าไหมมีหลายร้านและมีผ้าไหมหลากหลายชนิด คือมาจากส่วนต่างๆ ของประเทศและมี่แบบและลายต่างๆ กัน
               ขณะเดินไปร้านผ้าไหม Mr. และ Mrs. Howards แวะซื้อของ ซึ่งมี ไม้เท้า หมวก สร้อยข้อมือ สร้อยคอ ต่างหู ทำด้วยเงิน Mr. Howards จะให้ไม้เท้าแก่พี่ชาย แต่หมวกเป็นของตัวเอง และ Mrs. Howards จะให้สร้อยข้อมือแก่ Sue (หลานสาว) ส่วนสร้อยคอและต่างหูซื้อให้ตัวเอง Mrs. Howards ได้ต่อรองราคาด้วยตนเอง ซึ่งก็ได้ลด 50 บาท
               ศัพท์สำนวนที่ปรากฏในบทสนทนามีดังนี้
               1. every dish was really lovely หมายความว่า อาหารทุกจานอร่อยจริงๆ คำว่า lovely ในที่นี้ก็หมายถึง delicious นั่นเอง
               2. …. what sort of things would you like to see first? หมายความว่า คุณตอ้งการดูของประเภทไหนก่อนละครับ
               3. … there are plenty of Thai silk shops หมายความว่า มีร้านขายผ้าไหมไทยหลายร้าน
               4. a variety of silk หมายความว่า ผ้าไหมหลากหลายชนิด
               5. That sounds interesting. หมายความว่า ฟังดูน่าสนใจดีนะ
               6. They are heading for the silk shops. หมายความว่า พวกเขามุ่งไปที่ร้านไหมไทย
               7. On the way they pass many other kinds of products … หมายความว่า ระหว่างทางพวกเขาผ่านร้านขายสินค้าประเภทอื่นๆ ด้วย
               8. look at that trunk หมายความว่า ดูหีบนั่นสิ
               9. It is made of rattan. หมายความว่า มันทำด้วยหวาย
               10. I’ll get them on the way back. หมายความว่า ฉันจะกลับมาซื้อตอนเขา (เดิน) กลับ
               11. They must be from Ayutthaya. หมายความว่า ของพวกนี้คงต้องเป็นสินค้ามาจากอยุธยาแน่ๆ เลย
               12. It’s rather rare. หมายความว่า มันค่อนข้างหายาก
               13. It has beautiful grain on it. หมายความว่า บนไม้เท้านี้มีลายไม้สวย
               14. It’s rather hot and muggy, isn’t it? หมายความว่า อากาศค่อนข้างร้อนและอบอ้าวนะ
               15. Let’s get a hat from that wicker shop. หมายความว่า เราไปซื้อหมวกที่ร้านจักสานนั้นกันเถอะ
               16. How do you like this hat? หมายความว่า คุณว่าหมวกใบนี้เป็นอย่างไร
               17. Oh, you look very smart. หมายความว่า คุณดูโก้เก๋จัง / คุณดูเท่จัง
               18. They are of good quality and cheap. หมายความว่า ของพวกนี้คุณภาพดีและถูก
               19. Is that a reasonable price, Arin? หมายความว่า อรินราคานี้แพงไหม
               20. Why, thank you. I’ll take it. หมายความว่า โอ ขอบคุณ ฉันซื้อละ Why เป็นคำอุทาน ไม่ใช่คำถาม
               21. She looks charming in those, doesn’t she? หมายความว่า เธอใส่แล้วดูสวยมีเสน่ห์ดีนะ
กลยุทธ์ในการเรียนรู้
Pronunciation
               การออกเสียงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสนทนา ถ้าผู้พูดออกเสียงไม่ถูกต้องผู้ฟังก็จะไม่เข้าใจข้อความที่ผู้พูดพยายามจะสื่อ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องฝึกออกเสียงให้ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อพบคำใหม่ๆ หลังจากศึกษาการออกเสียงคำคำนั้นแล้ว ซึ่งอาจทำได้โดยวิธีตรวจสอบการออกเสียงจากพจนานุกรมหรือวิธีอื่นๆ ดังได้เคยกล่าวมาแล้ว
Vocabulary, Pronunciation and Sentence Patterns
            ผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยมีนานาชนิด บางชนิดชาวต่างชาติรู้จักและนิยมมาก เช่น ผ้าไหมไทย ดังนั้นควรจะได้สึกษาและรวบรวมรายชื่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งวัสดุที่นำมาผลิต และวิธีการผลิตตามขั้นตอนดังนี้
               2.1 รวมชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ต่างๆ และชื่อเรียกวัสดุที่นำมาผลิต โดยเฉพาะที่เป็นผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่นของตน
               2.2 ฝึกออกเสียงชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อวัสดุที่นำมาผลิต
               2.3 ฝึกพูดอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้ประโยคง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยคที่ซับซ้อนนัก นักศึกษาจะได้เรียนรู้การพูดอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในตอนนี้ และนำไปฝึกได้
               ควรศึกษาค้นคว้าคำศัพท์และตัวอย่างการอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเอกสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
Describing objects
            การพูดบรรยายถึงลักษณะของสิ่งของที่เป็นสินค้า อาจถาม-ตอบ เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้
1. สิ่งของนี้คืออะไร ถ้าเป็นของที่ไม่เคยเห็นมาก่อนหรือมีลักษณะแปลกๆ
คำถาม:  What’s this? / What are these?
คำตอบ: It’s a walking stick. / It’s a kind of Thai musical instrument. / They’re walking sticks./ Walking sticks.
หรืออาจจะถาม-ตอบว่า สิ่งของนั้นใช้ทำอะไร
คำถาม: What is it used for? / What’s it used for? / What’s it for? / What do you use it for? / What does it do?
คำตอบ: For holding a pen. (สำหรับเสียบปากกา) / It’s a pen holder. (มันเป็นที่เสียบปากกา) / You use if for holding a pen. (คุณใช้สำหรับเสียบปากกา) / You can keep your jewelry in this. (คุณใส่เครื่องประดับในนี้ได้) / It has many uses. (ใช้ได้หลายอย่าง) / It can be used for many purposes. (ใช้ได้หลายอย่าง) etc.
2. วัสดุที่ใช้ในการผลิต
คำถาม
คำตอบ
คำอธิบาย
What is it made of?
What are they made of?
It’s made of bamboo stick.
They’re made of rattan.
made of (ทำด้วยอะไร) ใช้เมื่อสิ่งของนั้นยังคงเห็นวัสดุเดิมอยู่
What is this wine made from?
It’s made from pineapple.
made from (ทำจากอะไร) ใช้เมื่อวัสดุเดิมไม่คงรูปไว้ให้เห็นอีกต่อไป
What is this desert made with?
It’s made with sticky rice four, palm sugar, and coconut milk.
made with (ทำด้วยอะไร) ใช้เมื่อนำส่วนประกอบหลายๆ อย่างมาประกอบเป็นสิ่งใหม่
3. รูปลักษณ์ของสิ่งของ (physical appearance) การพูดถึงรูปลักษณ์ของสิ่งของ เช่น ขนาด สี ความสวยงาม ซึ่งต้องใช้คำขยาย (modifier) ในการพรรณนา หรืออาจะใช้วิธีเปรียบเทียบ
               - It’s big, strong and beautiful.
               - It has beautiful grain on it.
               - Those hats are bigger than this one.
               - These two vases are smaller than those two, but the designs are more beautiful.
               - These trunks look very strong.
4. สิ่งของนั้นผลิตที่ไหน
ถาม: Where is it made? / Where are they made? / Where is it from? / Where are they from? / Where does it come from? / Where do they come from? / Where is it produced? / Where are they produced? / Where is it manufactured? / Where are they manufactured?
ตอบ: It’s / They’re + made / produced / manufactured + in Chiang Mai. , It’s / They’re + from Chiang Mai. , It comes / They come + from Saraburi. , In / From + Chiang Mai.
5. ชนิดหรือยี่ห้อของสิ่งของ สิ่งของบางชนิด ถ้าไม่ใช่พวกงานช่างฝีมือจะมียี่ห้อด้วย อาจจะพูดคุยถึงยี่ห้อ
คำถาม: What make is it? / What is its make? / What is its brand name?
คำตอบ: It’s a Tanin.
คำอธิบาย: make และ brand มีความหมายคล้ายกัน make มักจะใช้กับสิ่งของชิ้นใหญ่ๆ เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ฯลฯ brand มักจะใช้กับสิ่งชองขนาดเล็ก ราคาไม่แพง
Bargaining
            การซื้อของจากพ่อค้า แม่ค้า มีการพูดต่อรองราคากัน เช่น Mrs. Howards ต่อรองราคาสร้อยข้อมือ Mrs. Howards: Can I have it for 900? การพูดต่อรองราคา ถาม - ตอบ มีดังนี้
พูดต่อรองราคา
ตอบ
That’s too expensive.
That price is unreasonable.
That price is not reasonable.
Can I have it for (90 baht) ?
Can you give me a discount?
All right.
OK.
Sorry. This price is reasonable.
           This is a reasonable price.
Complimenting
               ขณะซื้อหมวด Mr. Howards ลองสวมหมวก Mrs. Howards พูดชมว่า Mrs. Howards: Oh, you look very smart. และเมื่อ Mrs. Howards ลองสวมสร้อยและต่างหู Mr. Howards พูดชมว่า Mr. Howards: She looks charming, doesn’t she?
คำพูดชม            You look (very) nice / smart.             That’s a (very) nice / smart coat (you’re wearing).
                              This coat suits you very well.            What a charming dress!
(คำที่อยู่ในวงเล็บจะไม่มีก็ได้ คำที่เป็นตัวเอนเปลี่ยนเป็นคำอื่นได้)
พูดตอบคำชม     Thank you.
Grammar: Present participle as a modifier
               Present participle ได้แก่ กริยาเติม ing (V -ing) เช่น walking, drinking, etc. นำมาใช้ขยายคำนามได้ดังนี้
a walking stick ไม่เท้า (ไม้ที่ใช้ช่วยในการเดิน)                  drinking water น้ำดื่ม (น้ำใช้สำหรับดื่ม)            
a feeding bottle    ขวดนม (ขวดสำหรับป้อนนม)
ตัวอย่าง: Mr. Howards bought a walking stick for his brother., Mrs. Howards wanted to buy a bottle of drinking water.
Speaking: Stress and intonation
            การออกเสียงให้ถูกต้อง จำเป็นจะต้องฝึกฝนโดยทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ออกเสียงคำโดดๆ เช่น customer
2. นำคำนั้นมาเข้ากลุ่มคำและฝึกออกเสีงกลุ่มคำ เช่น my first customer
3. นำกลุ่มคำขยายเป็นประโยคและฝึกออกเสียงประโยคนั้น คำที่ตองลงเสียงหนักคือคำพวก ‘content words’ ซึ่งได้แก่ nouns, verbs, adjectives, adverbs และคำพวก demonstratives เช่น this, that, these, those เช่น You’re my first customer. , Since you’re my first customer, I’ll sell it to you then.
               นอกจากนี้ในการฝึกออกเสียงกลุ่มคำและประโยคควรจะฝึกในเรื่อง
1. การเชื่อมโยงเสียงคำที่อยู่ติดกันบางคำในกลุ่มคำหรือในประโยค เช่น Fred doesn’t like coffee.
2. การออกเสียงสูงต่ำในประโยค (intonation) เช่น As you are my first customer, I’ll sell it to you then.
               การลงเสียงหนักในคำ (stress) และการออกเสียงสูงต่ำในประโยค (intonation) มีส่วนในการสื่อความหมายของผู้พูด เช่น
A. She lives in Paris.  ลงเสียงต่ำท้ายประโยค เป็นการบอกเล่า
B. She lives in Paris? ขึ้นเสียงสูงท้ายประโยค เป็นการถาม
A. He wants to see your son Larry. (ลูกชายชื่อ Larry)
B. He wants to see your son, Larry. (ผู้พูดกำลังพูดกับ Larry ซึ่งมีลูกชาย และเราไม่รู้จักชื่อลูกชายของ Larry)
ตอนที่ 11.3 Know How
               1. สินค้าส่วนมากมีคำแนะนำการใช้ซึ่งจะประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ 2 ประเภท คือ คำแนะนำ การใช้ และคำเตือน
               2. สินค้าบางชนิดเขียนคำแนะนำการใช้และคำเตือนโดยใช้ประโยคคำสั่ง (imperative sentence) เขียนเป็นข้อๆ สินค้าบางชนิดเขียนเป็นข้อความต่อเนื่องเป็นย่อหน้าโดยใช้ประโยคคำสั่ง หรือประโยคบอกเล่าธรรมดาเชื่อมความระหว่างประโยคด้วยคำ first/ firstly, second/ secondly, then, next เป็นต้น
               3. ในคำแนะนำการใช้อาจจะมีการแจงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องปฏิบัติดังกล่าว โดยใช้คำหรือกลุ่มคำต่อไปนี้นำหน้าเหตุผล to, in order to, so as to, for, หรือ so that
               4. คำแนะนำการใช้ของสินค้าแต่ละประเภทใช้คำศัพท์อธิบายต่างกัน
คำอธิบาย
               บทอ่านใน Presentation เป็น instructions เกี่ยวกับการดูแลรักษาผ้าไหม ซึ่ง Mr. และ Mrs. Howards ได้รับแจกมาจากร้านขายผ้าไหมที่คนทั้งสองซื้อมา 3 ชิ้น
ศัพท์สำนวนที่ปรากฏในบทอ่านมีดังนี้
               1. A piece of uncut silk should be rolled (on a cardboard tube). หมายความว่า ควรนำผ้าไหมที่ยังไม่ได้ตัดมาม้วน (บนหลอดที่ทำด้วยกระดาษแข็ง)
               2. Do not fold it because it will crease. หมายความว่า อย่าพับเพราะจะทำให้เป็นรอยพับ
               3. Store it in a special insect-proof box. หมายความว่า เก็บไว้ในกล่องที่แมลงเข้าไม่ได้
               4. Scatter peppercorns around it in order to prevent it from being eaten by insects. หมายความว่า โรยพริกไทยเม็ดไว้รอบๆ ผ้าไหม เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงกินผ้าไหม
               5. Black peppercorns are more effective that white ones. หมายความว่า พริกไทยเม็ดชนิดสีดำมีประสิทธิภาพกว่าพริกไทยขาว
               6. … and air it every three months to prevent the threads from disintegrating and the creases from becoming permanent. หมายความว่า และนำออกมาให้ถูกอากาศทุกๆ 3 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นด้ายแยกและผ้าเป็นรอยพับ
               7. Silk garment หมายความว่า เสื้อผ้าที่ตัดจากผ้าไหม
               8. Before having a silk textile made into a garment … หมายความว่า ก่อนที่จะนำผ้าไหมมาตัดเสื้อผ้า
               9. …. soak it in cold water with a little hair conditioner so as to soften it หมายความว่านำผ้าไหมแช่ในน้ำเย็นที่ผสมกับครีมนวดผมเล็กน้อยเพื่อให้ผ้านุ่ม
               10. This will also allow it to shrink a little หมายความว่า การทำเช่นนี้จะทำให้ผ้าหดเล็กน้อย (shrink แปลว่า หด stretch แปลว่า ยืด)
               11. A silk garment should always be washed separately by hand in a very mild soap or hair shampoo. หมายความว่า ควรซักเสื้อผ้าที่ตัดจากผ้าไหมด้วยมือโดยซักแยกกับผ้าอื่น ซักด้วยสบู่อ่อนๆ หรือแชมพูสระผม
               12. … hang it up wet to drip dry in the shade หมายความว่า เมื่อซักแล้วให้ยกขึ้นตาก (โดยไม่บิด) ในที่ร่ม
               13. Avoid direct sunlight as the color will fade. หมายความว่า อย่าให้ผ้าถูกแดดตรงๆ จะทำให้สีซีด (สีตก หมายถึง discolor, ซักแห้ง คือ dry-clean)
               14. Iron it while the silk garment is still damp. หมายความว่า รีดขณะที่เสื้อผ้ายังคงชื้นอยู่

กลยุทธ์ในการเรียนรู้
Developing Understanding
            การทำความเข้าใจกับ instructions หรือคำแนะนำการใช้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อซื้อสินค้ามาจะต้องศึกษา instructions ที่แนบมาด้วย ถ้าสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย คำแนะนำการใช้จะเป็นภาษาไทยซึ่งก็จะทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ถ้าเป็นสินค้าจากต่างประเทศ คำแนะนำการใช้จะเป็นภาษาอังกฤษ บางคนอาจจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจ แม้ว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่จะพยายามใช้ภาษาง่ายๆ และมีรูปภาพประกอบ ปัจจุบันสินค้าบางชนิดจะมีคำแนะนำการใช้เป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้ซื้อก็จะอ่านภาษาไทยได้ แต่สินค้าบางชนิดยังคงใช้คำแนะนำการใช้เป็นภาษาอังกฤษอยู่ ดังนั้นควรฝึกทำความเข้าใจโดย
               1. พยายามอ่านเอกสารคำแนะนำการใช้ของที่พบเห็นเพื่อศึกษาคำศัพท์และโครงสร้างภาษาที่ใช้ในการให้คำแนะนำการใช้
               2. หาคำแนะนำการใช้ที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ภาษาไทย-อังกฤษเพื่อเป็นการเรียนรู้คำศัพท์และโครงสร้างภาษา
               3. จดบันทึกคำศัพท์เฉพาะที่ใช้กับสินค้าแต่ละประเภท
               4. ศึกษาคำแนะนำการใช้สินค้าแต่ละประเภทของหลายๆ ยี่ห้อ เช่น ยาย้อมผม (ซึ่งมีหลายยี่ห้อ) นำมาเปรียบเทียบการใช้ศัพท์และโครงสร้างภาษา
Giving instruction
            instruction หรือบางคนเรียก directions มีมาพร้อมกับสินค้าต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในบ้าน ข้อมูลสำคัญในคำแนะนำการใช้มีข้อมูลอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ
               1. คำแนะนำการใช้
               2. คำเตือน
คำแนะนำการใช้และคำเตือนมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
               1. ใช้ภาษาและภาพเพื่ออธิบายวิธีใช้ทีละขึ้นตอน คำแนะนำวิธีใช้และคำเตือนลักษณะนี้เข้าใจง่ายเพราะภาษาที่ใช้มักจะสั้นๆ และมีภาพประกอบด้วย
               2. ใช้ภาษาเพื่ออธิบายวิธีใช้ ซึ่งมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
                              2.1 เขียนเป็น imperative sentence หรือประโยคคำสั่งโดยใช้ imperative verb form เช่น Store it in a special insect-proof box. , Scatter peppercorns around it. หรือในการการสนทนาอาจจะใช้ you เป็นประธาน เช่น You (can) store it in a special insect-proof box. , You scatter peppercorns around it.
                              2.2 เขียนเป็นข้อความต่อเนื่องเป็นย่อหน้าโดยใช้ประโยคคำสั่งหรือประโยคบอกเล่าธรรมดาโดยเชื่อมความระหว่างประโยคด้วย first / firstly, second / secondly, then, next เป็นต้น เช่น
               In order to maintain the condition of a piece of silk cloth, you roll it instead of folding it so that it will not crease. Then you put it in a special box so insects cannot get in. And in order to keep insects away, you can scatter some peppercorn around the cloth.
Expressing purposes
               ในคำแนะนำการใช้ผู้เขียนคำแนะนำอาจจะแจงเหตุผลว่าทำไมจึงต้องปฏิบัติดังกล่าว (why something should be done that way / why someone does something) ทั้งนี้มีวิธีพูดหลายแบบ เช่น In order to maintain the condition of a piece of silk cloth, you roll it instead of folding it so that it will not cease., Soak it in cold water with a little hair conditioner so as to soften it.
Imperative sentence
               Imperative sentence หรือประโยคคำสั่ง เป็นประโยคที่ขึ้นต้นด้วย Verb โดยไม่มีประธาน ดังเช่น Store it in a special insect-proof box., Scatter peppercorns around it., Iron it while it is damp.
The use of to, in order to, so as to, for, so that
               To, in order to, so as to, for, so that ใช้นำข้อความที่แสดงวัตถุประสงค์ (purpose) มีที่ใช้ดังนี้
1. การใช้ to, in order to, so as to
to
in order to
so as to

+ V base form
in order not to
so as not to
+ V base form
ตัวอย่าง: To maintain the condition of a piece of silk cloth, you roll it instead of folding it., In order to maintain the condition of a piece of silk cloth, you roll it instead of folding it. (in order to + V base form และ so as to + V base form เป็น formal style มากกว่าการใช้ to + V base form)
2. การใช้ for           for + noun / V -ing               ตัวอย่าง They went out for lunch (noun)., We will go out for a walk.
3. การใช้ so that    so that + clause (ใน clause จะมีกริยาช่วยต่อไปนี้ตัวใดตัวหนึ่ง: can, will, could, would)
                                             (clause: S + [can/will/could/would] + V)
ตัวอย่าง  Roll the cloth so that it will not crease.



หน่วยที่ 12 Sports Day
               1. ในการไปร่วมกิจกรรมงานวันกีฬา อาจมีการเชื้อเชิญ การกล่าวตอบรับหรือปฏิเสธคำเชื้อเชิญ การขอและให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตลอดจนการนัดแนะเรื่องวัน เวลา และสถานที่ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการนัดหมาย
               2. กฎกติการเป็นสิ่งจำเป็นในการเล่นหรือแข่งขันกีฬาทุกประเภท ซึ่งผู้เล่นจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจว่าสิ่งใดทำได้หรือทำไม่ได้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้จากการกระทำที่ผิดกติกา เช่น การบาดเจ็บ การตัดสินที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรม เป็นต้น กีฬาแต่ละประเภทมีกฎกติกาเฉพาะประเภท
               3. การใช้ชีวิตอย่างมีสุขพลานามัย ปราศจากอาการป่วยหรืออาการบาดเจ็บ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกคน การออกกำลังกาย การทำกิจกรรม และการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการอย่างสมดุลสามารถส่งเสริมให้สุขภาพและจิตสมบูรณ์ด้วย
ตอนที่ 12.1 Where Do You Suggest I Meet You?
               1. ในการเชื้อเชิญบุคคลให้กระทำบางสิ่งบางอย่าง เราอาจใช้สำนวนต่างๆ เช่น Can you …?, Why don’t you ….?, Would you like to …?, We’d like to invite you to …, I was wondering if you’d like to … สำนวนในการตอบรับหรือตอบปฏิเสธการเชื้อเชิญก็มีอยู่หลายสำนวน
               2. การขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมีสำนวนที่นิยมใช้หลายสำนวน การขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะโดยทั่วไป เช่น What do you suggest?, What do you recommend? หากเป็นการขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเฉพาะเรื่อง เช่น สถานที่ เวลา หรือสิ่งของก็จะมีสำนวนเฉพาะ การกล่าวตอบก็มีหลายสำนวน ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะ
               3. กรณีที่ใช้คำกริยาบางคำ เช่น suggest, recommend, require, demand, request, ask, insist, prefer, propose หรือโครงสร้างประโยค It is/ was necessary (หรือ important, essential, strange, better), เราจะตามด้วย that + subject ของประโยค (+ should) + V base form ….
               4. ประโยคเงื่อนไขแบบ past unreal ใช้เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำในอดีตที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เป็นข้อสมมติถึงเหตุการณ์ท่ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นการสมมติในสิ่งที่ตรงข้ามกับข้อเท็จจริงในอดีต โครงสร้างประโยคประกอบด้วย if clause และ main clause โดยกริยาใน if clause เป็น past perfect (had + past participle) สำนวนกริยาใน main clause จะเป็น future perfect in the past (would have + past participle)
               5. กีฬาสามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท เช่น ประเภทบอล ประเภทกรีฑา และอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมกัน กีฬาแต่ละประเภทมีคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกชื่อกีฬาชื่อสถานที่ที่ใช้เล่นและชื่อผู้เล่น กรรมการ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบาย
Presentation A
               1. สำนวน help someone out หมายถึง ให้การช่วยเหลือแก่ใครบางคน เช่น
               A:           I have so much work to do tonight. I’m not sure if I can finish it. Can you help me out?
               B:            Certainly. What would you like me to do to help you out?
Presentation B
               2. การกล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดที่น่าห่วงหรือเป็นกังวลใจ
Ÿ การกล่าวถึงความกังวลใจในปัจจุบันหรืออนาคต อาจใช้สำนวน เช่น I don’t think you’ve anything to worry about., I don’t think there’s anything to worry about., I think there’s nothing to worry about.
Ÿ การกล่าวถึงความกังวลใจในอดีต อาจใช้สำนวน เช่น See, I told you there was nothing to worry about. (เห็นไหมล่ะ บอกแล้วว่าไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง)
               3. สำนวน can/could make it หมายถึง ทำได้ เช่น
               A: Can you come to the Sports Day next Friday?                        B: Yes, I can certainly make it.
               A: What about you, C?                                                                   C: Well, I’m afraid I can’t make it.
               4. สำนวน make someone do (หรือ V base form อื่นๆ) something หมายถึง ทำให้ใครบางคนทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น I think we should make Rasa do Paul’s washing for a month. (ฉันคิดว่าเราควรให้รสาซักผ้าของพอลเป็นเวลาหนึ่งเดือน), What makes you come to school late? (อะไรทำให้คุณมาโรงเรียนสาย)
กลยุทธ์ในการเรียนรู้
Receptive Skills Through Meaningful Exposure
            ในการสื่อสารและการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศนั้นมีทักษะเกี่ยวข้องคือ ทักษะการรับรู้ (receptive skills) เช่น การอ่านและการฟัง และทักษะการแสดงออก (productive skills) เช่น การพูดและการเขียน ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีความสัมพันธ์กัน เพราะการรับรู้แบบอย่างภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมย่อมเป็นพื้นฐานของการแสดงออกได้เป็นอย่างดี ในการพัฒนาตนเองด้านภาษาอังกฤษ นักศึกษาจึงจำเป็นต้องหมั่นขวนขวายศึกษาหาความรู้จากสื่อต่างๆ ทั้งสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นแบบอย่างทั้งด้านการใช้คำศัพท์ โครงสร้างประโยค ตลอดจนลีลาการเขียนหรือพูด แล้วนำแบบอย่างนั้นมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ของตนเอง
               ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักศึกษาเห็นตัวอย่างประโยคจากการศึกษาเรื่อง การเชื้อเชิญ (invitations) ซึ่งตัวอย่างประโยคที่ยกมานั้น อาจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวนักศึกษาหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวนักศึกษาหรือสถานการณ์ที่นักศึกษาต้องการ กรณีเช่นนี้นักศึกษาควรใช้ประโยคดังกล่าวนั้นเป็นแบบอย่างและแต่งประโยคของตนเองตามข้อมูลของนักศึกษาหรือตามสถานการณ์ที่ต้องการ เช่น เมื่อนักศึกษาเรียนโครงสร้างการเชื้อเชิญ Would you like to + V จากประโยคตัวอย่าง “Would you like to come to dinner this Saturday? นักศึกษาก็อาจแต่งประโยคของตนเองใหม่ได้ว่า Would you like to come to see me this evening? หรือ Would you like to go to a movie with me tonight? หรือ Would you like to play tennis this Friday? เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่นักศึกษาต้องการ
Invitations and replies
               ในการเชื้อเชิญบุคคลให้กระทำบางสิ่งบางอย่าง เราอาจใช้สำนวนต่างๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสถานการณ์และสัมพันธภาพระหว่างคู่สนทนา ในสถานกาณณ์ที่เป็นทางการหรือเป็นการสนทนาระหว่างผู้ที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากนัก คำเชื้อเชิญก็จะมีความเป็นทางการมากขึ้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นสำนวนที่ยาวมากขึ้นด้วย เพราะมีข้อความที่แสดงความเกรงใจเกริ่นไว้ด้วย
               ตัวอย่างสำนวนการเชื้อเชิญเรียงลำดับจากสำนวนภาษาที่ใช้กับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกัน จนถึงสำนวนภาษาที่ค่อนข้างเป็นทางการ ดังนี้
สำนวนภาษา
ตัวอย่างประโยค
Ÿ Can you + V base form …?
Ÿ Why don’t you + V base form …?
Ÿ How about + V -ing/ noun (phrase)….?

Ÿ Would you like to + V …?
Ÿ We’d like to invite you to + V / noun (phrase) ….
Ÿ I was wondering if you’d like to + V ….
Ÿ We were wondering if you’d like to + V ….
Ÿ Can you come to the Sports Day?
Ÿ Why don’t you join us?
Ÿ How about going out for dinner together?
Ÿ How about dinner?
Ÿ Would you like to come to dinner this Saturday?
Ÿ We’d like to invite you to lunch on Sunday.
Ÿ I was wondering if you’d like to come along and help out.
Ÿ We were wondering if you’d like to go to a movie with us tonight.
               การตอบรับหรือตอบปฏิเสธคำเชื้อเชิญมีสำนวนหลายสำนวน สำนวนที่เป็นที่นิยมมีดังนี้

การตอบรับ (Accepting Invitations)
การตอบปฏิเสธ (Declining Invitation)
Ÿ I’d love to.
Ÿ I’d like that very much.
Ÿ I’d be delighted to.
Ÿ That would be very nice.
Ÿ Sure
Ÿ That sounds great.
Ÿ That sounds like fun.
Ÿ I’m afraid I can’t.
Ÿ I’m (terribly) sorry, but + เหตุผลว่าทำไมจึงรับคำเชิญไม่ได้)
I’m really sorry but I’m not free that day.
Ÿ I’d (really) like to, but + เหตุผลว่าทำไมจึงรับคำเชิญไม่ได้
I’d really like to, but I’ve already made other plans.
Ÿ Thank you very much, but + เหตุผลว่าทำไมจึงรับคำเชิญไม่ได้
Thank you very much, but + I’ve already arranged something else.
Ÿ Oh, sorry, I can’t. Anyway, thanks for asking.
Ÿ Thanks, but I can’t make it.
Suggestions and recommendations
               การขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งและการกล่าวตอบ มีตัวอย่างสำนวนที่นิยมใช้กันดังนี้
สถานการณ์การใช้
ตัวอย่างการขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะ
ตัวอย่างการกล่าวตอบ
การขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะโดยทั่วไป
What do you suggest/recommend?
Ÿ I think you should see a doctor.
Ÿ I’d suggest that you play some sports.
Ÿ I recommend that you start eating a healthy diet.
การขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถานที่
Where do you suggest that I meet you?
Suggesting a place:
Ÿ How about at the Big Department Store?
Ÿ I suggest that we meet in front of the stadium.
การขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเวลา
Ÿ What time do you suggest that I meet you?
Ÿ What time should I arrive?
Suggesting the time:
Ÿ Is 6.30 a.m. too early for you?
Ÿ How about 7 o’clock tonight?
การขอคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งของที่ต้องนำไปด้วย
Ÿ Is there anything that you recommend that I bring with me?
Ÿ I recommend that you take an umbrella or a hat with you.
Subjunctives
               กรณีที่ใช้คำกริยาบางคำ เช่น suggest, recommend, require, demand, request, ask, insist, prefer, propose หรือโครงสร้างประโยค It is/ was necessary (หรือ important, essential, strange, better) เราจะตามด้วย that + subject ของประโยค + should + V base form … เช่น I suggest that you should join STOU Sports Day., Is it necessary that he should take the examination?, He insisted that Pete should be here at noon.
               อย่างไรก็ดี มีข้อที่น่าสังเกตและจดจำคือ โดยทั่วไปกริยาช่วย should ที่อยู่ใน that-clause ซึ่งทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยาต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นนั้น มักถูกละหรือตัดออก ดังนี้
               He insisted that Pete should be here at noon. ® He insists that Pete be here at noon.
               เมื่อละหรือตัด should ออกแล้ว กริยาใน that – clause ต้องอยู่ในรูปของ base form (กริยาไม่ผัน) เสมอ เช่น v. to be, to do, to have, go เป็นต้น และไม่ต้องเติม s หรือ es เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ด้วย เช่น Paul suggested that Tubtim study harder for her exam. (study ไม่ใช่ studies หรือ studied)
If – clauses
            ประโยคเงื่อนไขมี 3 แบบหลักๆ ต่อไปนี้ แต่เนื่องจากนักศึกษาได้ศึกษาเรื่องประโยคเงื่อนไข (if-clauses) แบบที่ 1 และ 2 มาบ้างแล้ว ในหน่วยนี้จึงขอทบทวนแบบที่ 1 และ 2 เพียงสั้นๆ
               1. Future Possible ใช้เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำในอนาคตที่เป็นไปได้ เกิดขึ้นได้ โครงสร้างประโยคประกอบด้วย If + present simple, future simple (will + V base form) เช่น If you study hard, you will succeed.
               2. Present Unreal ใช้เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำในปัจจุบันที่ไม่เกิดขึ้นจริง กล่าวคือตรงข้ามกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน โครงสร้างประโยคประกอบด้วย If + past simple, past future simple (would + V base form) เช่น If you studied hard, you would succeed.
               3. Past Unreal (Third Conditionals) ใช้เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในอดีต เป็นข้อสมมติถึงเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นการสมมติในสิ่งที่ตรงข้ามกับข้อเท็จจริงในอดีต โครงสร้างประโยคประกอบด้วย If + past perfect, future perfect in the past (would have + past participle) เช่น If you had studied hard, you would have succeeded. หรือ Had you studied hard, you would have succeeded. ข้อเท็จจริงคือ You didn’t study hard, so you didn’t succeed. ตัวอย่างที่พบในบทสนทนาคือ If Paul hadn’t wanted to go, he would have told Rasa that he couldn’t make it. (ข้อเท็จจริงคือ Paul wanted to go, so he didn’t tell Rasa that he couldn’t make it.)
ส่วนใหญ่แล้ว หลักการจดจำเรื่องประโยคเงื่อนไขอย่างง่ายๆ คือ
ประเภทของเงื่อนไข
กริยาใน If-clauses
กริยาใน Main clauses
future possible
present simple
future simple คือใช้ will + กริยาไม่ผัน
present unreal
past simple
past future คือใช้ should หรือ would + กริยาที่ไม่ผัน
past unreal
past perfect (had + past participle)
future perfect in the past คือใช้ should หรือ would + have + past participle
Vocabulary: Sports terms
               กีฬาสามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท ทั้งประเภทบอล กรีฑา และอื่นๆ
Ball games
Games
People
Places
Equipment
basketball
basketball-player
court
basketball
volleyball
volleyball-player
court
volleyball, net
badminton
badminton-player
court
racket, shuttlecock
squash
squash player
court
racket, squash ball, training shoes
tennis
tennis player, umpire, line judges
court
racket, tennis ball, net, shorts or tennis skirts, tennis-style shoes
football (soccer)
footballer, referee, linesmen
field, pitch
football, goals, spikes, shorts, shirt
baseball
baseball player, umpire
field, diamond
bat, baseball, caps, protective clothing (catcher’s mitt, face mask, helmet, etc.)
rugby
rugby player, referee
pitch
rugby ball, goal posts
cricket
cricketer, umpire
field, pitch
bat, pads, cricket ball
hockey / field hockey
hockey player, referee
field, pitch
stick, shorts, protective gloves, shin pads, safety-helmet
table-tennis
table-tennis player

bat, ball, table
snooker / pool / billiards
snooker player

cue, table
golf
golfer
course
clubs, gloves
Athletics (some field events)
Games
People
Places
Equipment
running
runner
track


vest, shorts, running shoes or spikes
javelin
javelin thrower

field
high jump
high jumper
long jump
long-jumper
pole vault
pole-vaulter
 Other popular sports
Games
People
Places
Equipment
boxing
boxer
ring
shorts, gloves, boots
swimming
swimmer
pool
swimming costume, swimsuits (women), trunks (men)
horse racing
jockey
race course
jockey suit, saddle
windsurfing
windsurfer
lake, sea
wind surfboard
sailing
sailor, yachtsman/ women
lake, sea
boat, dinghy boom, mast, sail, ruddel
canoeing
canoeist
lake, sea, waterway
paddle, canoe
skiing
skier
slopes (piste)
sticks, ski suit, ski boots
motor racing
racing driver
track
crash helmet, car
hang gliding
hang-glider
at the top of the hill
hang glider
bowling
bowler
lane, alley
pins, bowling balls
darts
darts player
clubs, pubs
darts, dartboard
judo / karate
judo / karate doer

judo / karate costume
jogging
jogger
park
running shoes
ตอนที่ 12.2 Could You Please Tell Me What the Rules and Regulations Are?
               1. กริยา modal (modal verb) เป็นกริยาช่วยที่มีไว้เพื่อเพิ่มความหมายให้กับประโยค ได้แก่ กริยาจำพวก can, could, may, might, must, have to, shall, should, ought to, will, would กริยาที่ตามหลังกริยา modal เหล่านี้ จะต้องเป็นกริยาที่ยังไม่ผัน (V base form) กริยาแต่ละคำเหล่านี้มีความหมายและวิธีใช้แตกต่างกัน
               2. การแสดงพันธะหน้าที่ในอดีตว่าควรจะได้ทำหรือน่าจะได้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ในอดีต (past obligation) แต่ข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้ทำเช่นนั้น เราจะใช้รูปกริยาดังนี้ should + have + past participle หรือ ought to + have + past participle
               3. ในบางโอกาส การถามคำถามออกไปตรงๆ อาจฟังดูไม่สุภาพเท่ากับการขอร้องให้อีกฝ่ายช่วยบอกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากต้องการให้ฟังดูสุภาพเราจึงนิยมใช้สำนวน Could you please tell me ….?
               4. กีฬาแต่ละประเภทมีวิธีการเล่น กฎกติกา การตัดสิน การนับคะแนนเฉพาะประเภท ซึ่งมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์สำนวนต่างๆ ที่ใช้ในการรายงานผลการแข่งขันกีฬาด้วย
คำอธิบาย
            ในบทสนทนาจะเห็นว่ามีผู้ร่วมวงสนทนากันอยู่หลายคนและพูดคุยกันหลายเรื่อง นับตั้งแต่การแนะนำตนเองและบุคคลอื่นให้รู้จักกัน จุดประสงค์ของการเชิญชาวต่างประเทศมาร่วมงานเพิ่มเติม ชนิดของกีฬาที่จะแช่งขัน จนถึงการระบุกฎกติการของการเล่นแบดมินตัน
               ขอให้สังเกตว่ามีช่วงหนึ่งที่เสาวลักษณ์กล่าวแย้งบิลเมื่อเขากล่าวถึงชนิดของกีฬาที่จะแข่งขันเพราะบิลเผลอพูดว่า Today you will play eight sports – football, basketball, chairball, volleyball, badminton, tennis, swimming and athletics เพราะอันที่จริงแล้วเราจะไม่ใช้กริยา play กับกีฬาบางชนิด เช่น swimming, athletics เป็นต้น นอกจากกีฬา 8 ชนิดแล้ว จะยังมีการเชียร์ (cheerleading) ด้วย
กลยุทธ์ในการเรียนรู้
Memorization Techniques and General Knowledge
            การท่องจำหรือทำความเข้าใจกับคำศัพท์ต่างๆ ทั้งในด้านความหมาย รวมทั้งวิธีใช้ และสถานการณ์ที่ใช้  ตลอดจนการนำคำศัพท์เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในเรื่องที่ใกล้ตัวหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน สามารถช่วยในการฝึกฝนและพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องที่ 12.2.5 Language Focus ที่นักศึกษาจะได้เรียนต่อไปนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของคำกริยาแบบ modal (modal verbs) เช่น can could, may, might, should, ought to, must เป็นต้น นักศึกษาก็อาจใช้วิธีการจำคำศัพท์และความหมาย ตลอดจนวิธีใช้ โดยอาจใช้เทคนิคการจำแบบเรียงตามลำดับจาก modal ที่มีความหมายเชิงบังคับรุนแรง ไปหา modal ที่มีความหมายอ่อนลง เช่น ความหมายเชิงการแสดงความเป็นไปได้หรือน่าจะเป็น เป็นต้น นักสึกษาบางคนอาจใช้เทคนิคการจำศัพท์โดยเทียบกับเสียงที่มีในภาษาไทยหรือจำเป็นภาพ เช่น เมื่อเห็นลูกขนไก่ ก็นึกถึง shuttlecock เป็นต้น นักศึกษาแต่ละคนควรหาแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุดเพื่อให้การเรียนได้ผลดี
               เทคนิคการเรียนอีกลักษณะหนึ่งก็คือการนำความรู้ทั่วไป (general knowledge) มาช่วยในการคาดเดาเรื่องราวหรือคำตอบ ในกิจกรรมที่นักศึกษาจะได้ฝึกต่อไปในเรื่องที่ 12.2.6 นั้น นักศึกษาก็จะได้ฝึกการใช้ความรู้ทั่วไปที่มีอยู่เกี่ยวกับกีฬาชนิดต่างๆ เพื่อช่วยในการตอบคำถาม โดยใช้กริยา modal รวมถึงการเลือกกฎกติกาที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย
Modal verbs
               กริยา modal (modal verb) เป็นกริยาช่วยที่มีไว้เพื่อเพิ่มความหมายให้กับประโยค ได้แก่ กริยาจำพวก can, could, may, might, must, have to, shall, should, ought to, will, would กริยาที่ตามหลังกริยา modal เหล่านี้จะต้องเป็นกริยาที่ยังไม่ผัน (V base form) ขอให้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับวิธีใช้และตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
Can (Can’t) and Could (Couldn’t)
Modal
Uses
Examples
can (can’t)
To express ability (เพื่อแสดงความสามารถ)
Ÿ I can play tennis.
Ÿ My daughter can’t do judo.
To ask permission (เพื่อขออนุญาต)
Ÿ Why can’t I play football?
Ÿ Can I join the team, please?
To express a possibility (เพื่อแสดงความเป็นไปได้)
Ÿ We can beat Brazil if they come to Thailand.
Ÿ Tammy can win a gold medal from this tournament.
could (couldn’t)
To express ability in the past (เพื่อแสดงความสามารถในอดีต)
Ÿ I could run very fast when I was your age.
To ask for permission (in the past or the future) (เพื่อขออนุญาต – ในอดีตหรือในอนาคต)
Ÿ Why couldn’t referee the rugby game today?
To express a present possibility (เพื่อแสดงความเป็นไปได้ในปัจจุบัน)
Ÿ We could easily win this game.
In conjunction with a conditional (ใช้ร่วมกับประโยคเงื่อนไข)
Ÿ If she trained harder, she could make the national squad.
can / could
To make offers and requests (เพื่อเสนอสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือขอร้อง)
Ÿ Can I help you choose a racket?
Ÿ Can I get you another bucket of golf balls?
Ÿ Can you get me some more tennis balls, please?
Ÿ Could you please make the highest score today?
Ÿ Could you explain the rules for badminton, please?
May (May not) and Might (Mightn’t)
               may (may not) และ might (mightn’t) ใช้เมื่อขออนุญาต (asking for and giving permission) ดังตัวอย่างต่อไปนี้ May I go to the tennis match now?, Might I go to the tennis match now? ประโยคทั้งสองนี้เป็นประโยคที่สุภาพทั้งคู่ แต่ประโยคแรกจะมีลักษณะที่เป็นการยืนยันหนักแน่นมากกว่าประโยคที่สอง
               may และ might ยังสามารถใช้เพื่อแสดงความเป็นไปได้ (to express a possibility) อีกด้วย might จะมีความเป็นไปได้น้อยกว่า may ดังตัวอย่างต่อไปนี้ Paradon may win today., Paradon might win tomorrow.
Will and Would
               will และ would มีความหมายและวิธีใช้คล้ายคลึงกันมาก แต่ก็มีความแตกต่างอยู่บ้าง ดังนี้
               will จะใช้เพื่อแสดงความเต็มใจที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น I will (I’ll) go to the fitness center with you. ซึ่งสามารถขยายประโยคให้เป็นประโยคเงื่อนไขได้ เช่น I’ll go to the fitness center with you if you help me clean the house first. นอกจากนี้ will ยังสามารถใช้เพื่อแสดงความตั้งใจหรือการคาดคะเนได้อีกด้วย
               would สามารถใช้เพื่อแสดงความเต็มใจที่จะทำบางสิ่งบางอย่างได้เช่นเดียวกัน เช่น Would you help me please? นอกจากนี้ would ยังสามารถใช้เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ประจำวัน
               will และ would ยังสามารถใช้การเสนอสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (offers) และการขอร้อง (requests) ได้เช่นเดียวกับ can และ could ด้วย
Shall, Should, and Ought to
               shall ใช้เพื่อแสดงอนาคตสำหรับประธานบุรุษที่ 1 ส่วน will ใช้เพื่อแสดงอนาคตสำหรับประธานทุกบุรุษ นอกจากนี้ในสถานการณ์ที่เป็นทางการเรานิยมใช้ shall เพื่อแสดงพันธะหน้าที่ เช่น Paul shall be responsible for refereeing the football game.
               ส่วน should มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า shall แต่เป็นที่นิยมใช้มากกว่า และแสดงถึงความต้องการมากกว่าเล็กน้อย ยกตัวอย่างกรณีที่โค้ชพูดกับนักกีฬา ดังนี้ You shall be here by 6 p.m., You should be here by 6 p.m.
               ความหมายของประโยคทั้งสองนี้คล้ายคลึกงกัน แต่ประโยคแรกสื่อความหมายว่า โค้ชคาดหวังให้นักกีฬากลับมาที่นี่ภายในเวลา 18.00 น. ส่วนประโยคที่สองจะสื่อความหมายว่า โค้ชต้องการให้นักกีฬากลับมาที่นี่ภายในเวลา 18.00 น.
               ought to มีควาหมายว่า “ควร” เช่นเดียวกับ should และมีวิธีการใช้เหมือนกัน แต่ should จะเป็นที่นิยมใช้มากกว่า
Must and Have to
               must ใช้เพื่อแสดงพันธะหน้าที่ส่วนบุคคล (“personal” obligation) สิ่งที่คุณคิดว่าคุณหรือผู้อื่นหรือสิ่งอื่นต้องกระทำ ส่วนกรณีที่เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือกฎหมายที่กำหนดโดยผู้รับผิดชอบที่เป็นที่ยอมรับกัน เรานิยมใช้ have to แทน must เช่น
               The government really must do something to provide more sports complexes., You have to have a passport to visit most foreign countries.
Past obligation
               การแสดงพันธะหน้าที่ในอดีตว่า ควรจะได้ทำหรือน่าจะได้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ในอดีต แต่ข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้ทำเช่นนั้น เราจะใช้รูปกริยาดังนี้ should + have + past participle หรือ ought to + have + past participle เช่น
-         I should have said you will play football, chairball, volleyball, badminton, and tennis and there will also be swimming and athletics (but I didn’t).
-         John didn’t do well in this tournament. He should have practiced harder (but he didn’t).
-         My sister ought to have put her money in the locker (but she didn’t). Otherwise, it wouldn’t have been stolen.
Changing wh-questions into polite requests
               ในบางโอกาส การถามคำถามออกไปตรงๆ อาจฟังดูไม่สุภาพเท่ากับการขอร้องให้อีกฝ่ายช่วยบอกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ขอให้นักศึกษาเปรียบเทียบประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
Questions
Polite Requests
What are the rules and regulations?
Could you please tell me what the rules and regulations are?
What sports will be played?
Could you please tell me what sports will be played?
Who is going to be the referee for this afternoon game?
Could you please tell me who is going to be the referee for this afternoon game?
What is your favorite sport?
Could you please tell me what your favorite sport is?
Where do you usually play tennis?
Could you please tell me where you usually play tennis?
What time will the game start?
Could you please tell me what time the game will start?
How long did the game take?
Could you please tell me how long the game took?
               ขอให้สังเกตว่า ในประโยคขอร้องเมื่อขึ้นต้นด้วยคำขอร้อง Could you please tell me (หรือกรรมรองอื่นๆ ) ข้อความที่เป็นคำถามในประโยคคำถามเดิมจะเปลี่ยนไป กล่าวคือ ข้อความในส่วนนี้จะมีการเรียงลำดับสลับที่กัน โดยเรียงประธานก่อนแล้วตามด้วยกริยา ซึ่งต่างจากเดิมที่เป็นประโยคคำถามโดยตรง จึงมีการสลับเอากริยาขึ้นก่อนประธานของประโยค แต่เนื่องจากในตัวอย่างที่ 2-3 คำว่า what sports และ who เป็นประโนของประโยคอยู่ก่อนแล้ว โดยมีกริยาตามหลังมา การเรียงตำแหน่งของประธานและกริยาในประโยคทั้งสองนี้จึงคงเดิมได้
Verbs used to mention sports – do, play or go
               การระบุเกี่ยวกับการเล่นกีฬาแต่ละประเภทจะมีคำกริยาที่ใช้แตกต่างกัน หากเป็นการระบุแบบกลางๆ ไม่ระบุประเภทกีฬา ก็อาจใช้ว่า do sport หรือ play sports ดังเช่น Do you do a lot of sport?, We always played sports together when we were kids.
               กรณีที่ต้องการระบุประเภทกีฬาเราจะต้องเลือกใช้คำกริยา do, play หรือ go ให้ถูกต้องตามกลุ่มดังนี้
do
go
play
aerobics
athletics
gymnastics
judo
karate
the high jump
the long jump
the pole vault
weightlifting
wrestling
yoga
angling
bowling
cycling
fishing
mountaineering
riding
skateboarding
skating
skiing
swimming
to aerobics, judo, etc.
(= to your aerobics, etc. class)
badminton
baseball
billiards
bowls
cricket
football
golf
hockey
against somebody
for a team
Sports rules
            กีฬาแต่ละประเภทมีกฎกติกาในการเล่นแตกต่างกัน จึงมีศัพท์สำนวนที่ใช้บรรยายเกี่ยวกับกฎกติการการเล่นที่แตกต่างกันด้วย ในกีฬาประเภทบอลแต่ละประเภทก็จะมีกฎกติกาที่กำหนดให้เกี่ยวกับการจับลูกบอลที่แตกต่างกัน เช่น ในกีฬาบานเกตบอลผู้เล่นสามารถใช้มือจับลูกบอลได้ แต่ในกีฬาฟุตบอลหากผู้เล่นใช้มือจับลูกบอลก็จะถือว่าฟาว์ล เป็นต้น
               กีฬาประเภทบอลมีหลากหลายและค่อนข้างเป็นที่นิยม ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้บรรยายเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เล่นสามารถกระทำกับลูกบอล อาทิ ขว้างบอล (throw the ball) ใช้ศีรษะโขกหรือโหม่งบอล (head the ball) ส่งผ่าน/ส่งต่อบอล (pass the ball) ตีบอล (hit the ball) จับบอล (catch the ball) เตะบอล (kick the ball) กระเด้งเลี้ยงบอล (bounce the ball) เป็นต้น
               นอกจากนี้ยังมีศัพท์สำนวนอื่นๆ ที่ใช้ในการกล่าวถึงวิธีการเล่นกีฬาบางชนิด เช่น ฟุตบอล รักบี้ เทนนิส และกอล์ฟ ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากการทำกิจกรรมในเรื่องที่ 12.2.6 ต่อไป
Winning, losing, and a draw
            การระบุผลการแข่งขันมีศัพท์สำนวนที่นิยมใช้หลายสำนวน อาทิ
สถานการณ์
คำศัพท์
ตัวอย่างประโยค
การชนะ (winning)
กริยา win, beat, defeat
นาม winner
Team A won the match.
Team A beat Team B 2-1.
Team A defeated Team B.
Team A were the winners.
การแพ้ (losing)
กริยา lose, BE defeated
นาม loser
Team B lost the match.
Team B were defeated 2-1 by Team A.
Team B were the losers.
การมีคะแนนเสมอกัน (a draw)
กริยา draw
นาม draw
We drew yesterday’s match/ game 2-2. Both teams had a draw (of 2-2).
ตอนที่ 12.3 How to Keep Fit and Well
               1. การบรรยายเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีสามารถใช้ศัพท์สำนวนต่างๆ เพื่อบรรยายเกี่ยวกับการมีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีการออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกต้องตามหลักโภชนาการ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ความเครียด และอาหารไม่พึงประสงค์ต่างๆ ตลอดจนปลอดจากการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
               2. การบรรยายเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ อาการเจ็บป่วย และการบาดเจ็บ สามารถใช้โครงสร้างประโยค ศัพท์สำนวน และคำชนิดต่างๆ แตกต่างกันไป ทั้งคำกริยา คำนาม และคำคุณศัพท์
               3. การให้คำแนะนำหรือระบุวิธีดูแลให้มีชีวิตอย่างมีสุขพลานามัยและวิธีรักษาเยียวยาปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีศัพท์สำนวนที่แตกต่างกันไปตามปัญหาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และปัญหาสุขภาพที่มี
               4. การออกเสียง ch เมื่อเป็นพยัญชนะต้นและตัวสะกด ในบางกรณีจะออกเสียงเป็นเสียง /k/ ดังในคำว่า ache ที่หมายถึงอาการเจ็บปวด เช่น headache, stomach-ache เป็นต้น นอกจากนี้ในการออกเสียงประโยคภาษาอังกฤษ มักมีการโยงเสียงพยัญชนะท้ายคำหน้ากับเสียงสระของคำถัดไป
คำอธิบาย
               1. to be fit หรือ to keep fit หมายถึง ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง มีความหมายคล้ายกับ to be healthy หรือ to keep healthy
               2. lead a healthy lifestyle หมายถึง ดำเนินชีวิตอย่างมีสุขพลานามัย
               3. What do you mean be …? หมายความว่า คุณหมายความว่าอย่างไรเมื่อกล่าวถึง ... ประโยค What do you mean by a healthy lifestyle? จึงหมายความว่า คุณหมายความว่าอย่างไรเมื่อกล่าวถึงคำว่า a healthy lifestyle
               4. eating a nutritious and balanced diet หมายถึง การรับประทานอาหารที่สมดุลและถูกต้องตามหลักโภชนาการ
               5. still water หมายถึง น้ำเปล่า (ตามแบบที่บ้านเรามีบรรจุขวดขายโดยทั่วไป) ตามปกติคำว่า still จะหมายถึง นิ่ง ในต่างประเทศบางแห่งจะมีน้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะฟู่ๆ แบบผสมโซดา เรียกว่า sparkling water ดังนั้นจึงมีคำว่า still water เพื่อแยกความแตกต่าง ส่วนคำว่า mineral water หมายถึง น้ำแร่
               6. ในบทสนทนามีการระบุอาการเจ็บป่วยหลายอย่างต่อไปนี้คือ fast heartbeats (หัวใจเต้นเร็ว) tense muscles (กล้ามเนื้อบีบรัดตึง) eating disorders (โรคเกี่ยวกับการรับประทาน) sleeplessness (การนอนไม่หลับ อีกคำหนึ่งที่นิยมใช้คือ insomnia) migraine (โรคไมเกรน หรืออาการปวดศีรษะข้างเดียว) stomach ulcers (การมีกรดในกระเพราะอาหารหรือที่เรียกว่า โรคกระเพาะ) skin rashes (ผื่นคันตามผิวหนัง) walk with a limp (เดินกระเผลก) pull a muscle in one’s leg (กล้ามเนื้อขาอักเสบ)
               7. pharmacy หมายถึง ร้านขายยา คำอื่นๆ ที่นิยมใช้คือ drugstore และ chemist’s
กลยุทธ์ในการเรียนรู้
Reviewing
               การทบทวน (reviewing) เป็นเทคนิคหรือกลวิธีการเรียนที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การทบทวนนี้ควรรวมถึงการทบทวนเกี่ยวกับโครงสร้างประโยค คำศัพท์ และสำนวน ทั้งในแง่ของความหมายและวิธีใช้ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนที่ 12.3 นี้ นักศึกษาจะได้ศึกษาคำศัพท์ใหม่ๆ เกี่ยวกับวิธีที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง การดำเนินชีวิตอย่างมีสุขพลานามัย และอาการเจ็บป่วยต่างๆ เมื่อศึกษาคำอธิบายและทำกิจกรรมต่างๆ ครบถ้วนแล้ว นักศึกษาควรพยายามนึกทบทวนในสิ่งที่ตนเองได้เรียนมาและฝึกพูดหรือเขียนประโยคต่างๆ นั้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและคล่องแคล่ว
Talking about a healthy lifestyle and how to keep fit and well
               วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา เราจึงจำเป็นต้องรู้จักว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีนั้นหมายรวมถึงสิ่งใดบ้าง โดยทั่วไปวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมักหมายรวมถึงการมีสุขภาพกายและจิตที่ดีนั้นหมายรวมถึงสิ่งใดบ้าง โดยทั่วไปวิธีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมักหมายรวมถึงการมีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีการออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสม และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกต้องตามหลักโภชนาการ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ความเครียด และอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ตลอดจนปลอดจากการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ การบรรยายเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีสามารถใช้สำนวนต่างๆ ได้ดังตัวอย่างที่พบในบทสนทนาระหว่างรสากับพอล
Rasa:      What do you mean by a healthy lifestyle?
Paul:       To me, it includes eating a nutritious and balanced diet, having time to relax, not having too many worries, getting some
exercise, and getting a good night’s sleep. What about you, Rasa? Do you have a healthy lifestyle?
Rasa:      I hope so. I try to eat healthy foods, get some exercise, sleep well and relax. I try to stay away from alcoholic drinks or
cigarettes. Instead, I drink a lot of still water and mineral water. Also, although stress is a part of life, I try to control it
effectively because too much stress or stress that goes on for a long time can become harmful.
Health: Illnesses and injuries
               ในการบรรยายด้านสุขภาพเกี่ยวกับอาการป่วย (illnesses) หรือการบาดเจ็บ (injuries) เราสามารถทำได้ดังนี้
               1. ใช้คำกริยา บอกอาการป่วยหรืออาการบาดเจ็บ เช่น cough (ไอ), sneeze (จาม), faint (หรือ pass out เป็นลม), hurt/injure (ทำให้เจ็บ), graze (ทำให้ถลอก), sprain (ทำให้เคล็ด), ache (เจ็บหรือปวด), vomit (อาเจียน) เป็นต้น เช่น I’ve been coughing and sneezing so much for over a week., Pim fainted on the bus on the way to work yesterday., Kelly hurt his leg badly during the football match last week., I fell off the motorbike and grazed my leg yesterday., Pete fell over during the basketball game and sprained his wrist.
            2. ใช้คำนาม บอกอาการป่วยหรือการบาดเจ็บ โดยใช้คำนามเหล่านี้กับคำกริยา v. to have หรือ have got เช่น
- a fever (หรือ a temperature อาการมีไข้) a common cold (ไข้หวัด) a flu (ไข้หวัดใหญ่) a sore throat (อาการเจ็บคอ) a cough (การไอ) sneezing (การจาม) asthma (โรคหอบหืด) hay fever (อาการแพ้เกสรดอกไม้และดอกหญ้า)
- a headache (อาการปวดศีรษะ) a backache (อาการปวดหลัง) a toothache (อาการปวดฟัน) a stomach-ache (อาการปวดท้อง) an earache (อาการปวดหู) migraine (อาการปวดศีรษะข้างเดียวหรือไมเกรน) chest pains (อาการเจ็บหน้าอก) a pain in my side (อาการเจ็บข้างลำตัว) painful joints (อาการเจ็บกระดูข้อต่อ) aching muscles (อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ)
- diarrhea / diarrhea (อาการท้องเสีย) constipation (อาการท้องผูก) indigestion (อาการอาหารไม่ย่อย)
- sleeplessness/insomnia (อาการนอนไม่หลับ) eating disorders (โรคเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร) sunburn (อาการถูกแดดจนไหม้) a rash on my chest (อาการผื่นคันที่หน้าอก) lung cancer (มะเร็งปอด) a heart attack (หัวใจวาย) a hangover (อาการเมาค้าง)
- a cramp (ตะคริว) a bruise (แผลถลอก) a broken leg (ขาหัก) a limp (อาการเดินกระเผลก) broken bones (กระดูกหัก) dislocated bones (หรือ dislocations กระดูกเคลื่อน)
ดังตัวอย่างต่อไปนี้  Korn isn’t feeling well. He has the flu and a high fever., I’ve had a terrible headache since last night., Do you have any eating disorders, like loss of appetite or overeating?, My sister had a car accident and she has got bruises all over her body., Have I got any broken or dislocated bones, Doctor?
               3. ใช้คำคุณศัพท์ บอกอาการป่วยหรือการบาดเจ็บ เช่น ill, sick, dizzy, nauseous (หรือ nauseated), depressed (ไม่เบิกบาน, เศร้าหมอง), constipated (ท้องผูก) เป็นต้น โดยใช้คำคุณศัพท์เหล่านี้กับกริยา v.to be หรือ feel หรือ get ส่วนคำว่า injured เรามักใช้กับกริยา v.to be หรือ get เช่น I feel dizzy and I think I’m going to faint., I think I’m car sick. I’m really nauseous and I want to vomit., Did anyone get sick or injured when the fire broke out?, I am constipated all the time.
/k/ sound in ache and stomach
               ขอให้นักศึกษาฟังและสังเกตว่า ch ในคำว่า ache และ stomach นั้น ออกเสียงเป็นเสียง /k/ ไม่ใช่ /ch/ เช่นในคำว่า headache, backache, earache, toothache, และ stomach-ache นอกจากนี้ยังมีคำอื่นอีกบางคำที่ ch ออกเสียงเป็น /k/ เช่น character, characterize, characteristic, characteristically, chaos, chaotic แต่ทั้งนี้ขอให้พึงระลึกว่ามี ch อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ออกเสียงเป็น /k/ แต่ออกเสียงเป็น /ch/ ดังนั้นเพื่อให้สามารถออกเสียงคำต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง นักศึกษาควรตรวจสอบวิธีการออกเสียงจากพจนานุกรมด้วย
Linking sounds
            ในการออกเสียงประโยคภาษาอังกฤษ มักมีการโยงเสียงระหว่างเสียงพยัญชนะท้ายของคำหน้ากับเสียงสระของคำถัดไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้ He has a sore throat., I have a stomach-ache., She has a cold., He has an earache.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น