วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

หน่วยที่ 5-6


หน่วยที่ 5 Facing the Challenge
1. ความท้าทายของการเรียนภาษาอังกฤษอยู่ที่การใช้สำนวนภาษา ทักษะต่างๆ ไวยากรณ์ และคำศัพท์ให้สามารถสื่อสารสิ่งที่ต้องการได้ โดยอาจใช้พจนานุกรมเป็นแหล่งข้อมูล
2. ในการสื่อสารเพื่อให้ได้ความหมายที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการ ต้องใช้ภาษาใน language functions ต่างๆ กัน และต้องสื่อสารโดยการฟัง การพูด การอ่าน หรือการเขียน
3. ไวยากรณ์หรือกฎเกณฑ์ทางภาษาช่วยให้การสื่อสารถูกต้องตามความหมายที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการ
4. คำศัพท์และสำนวนภาษาเป็นส่วนสำคัญของการเรียนภาษา ช่วยให้สามารถสื่อสารข้อความได้กว้างขวาง หลากหลาย และตรงตามความต้องการของผูพูด
5. พจนานุกรมเป็นการรวบรวมคำหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ไว้อย่างเป็นระบบ ช่วยให้สามารถค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์สำนวน ไวยากรณ์ และ language functions ต่างๆ ได้
6. การทบทวนภาษาที่ใช้ใน language functions/skills ต่างๆ ไวยากรณ์ และคำศัพท์สำนวนที่เรียนมาในหน่วยที่ 1-4 เป็นการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์ใหม่ ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการใช้ภาษามากขึ้น
ตอนที่ 5.1 Language Functions/Skills for Communication
1. ในการสนทนาเพื่อสื่อสารความคิดหรือความต้องการของผู้พูดในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ใช้ language functions ต่างๆ กัน
2. ในการเข้าสังคมทั่วไปผุ้ใช้ภาษาจำเป็นต้องใช้สำนวนภาษาในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การแนะนำตนเอง (introducing oneself) แนะนำผู้อื่น (introducing others) ทักทาย (greeting)
3. ในการเล่าเรื่องของตนเองผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องใช้สำนวนภาษาในการเล่ากิจวัตรประจำวันของตนเอง (describing routine)
4. ในการพูดคุยเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษของตนเอง ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องใช้สำนวนภาษา เช่น การระบุปัญหา (identifying problems), อธิบาย (explaining), ถามคำถาม (asking wh-questions), อธิบายความรู้สึก (expressing feelings), อธิบายความจำเป็น (expressing necessity), ให้คำแนะนำ (giving suggestions)
5. ในงานเลี้ยงผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องใช้สำนวนภาษาที่จำเป็น เช่น การขอร้อง (making requests), ตอบรับคำขอร้อง (accepting requests), เสนอตนให้ความช่วยเหลือ (offering help), ให้คำแนะนำ (making suggestions), การขอบคุณ (thanking) และต้องใช้เทคนิคการสนทนา (conversation techniques)
6. ในการเล่าถึงกระบวนการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องรู้ศัพท์สำนวนเกี่ยวกับการอธิบายกระบวนการ (describing a process)
A Summary of Language Functions/Skills in Units 1-4
               ในหน่วยที่ 1-4 นักศึกษาได้เรียน language functions และฝึกทักษะ (skills) ในสถานการณ์ต่างๆ กัน นักศึกษาลองกาเครื่องหมาย ü หน้า language functions/skills ที่ตนเองรู้ความหมายว่าอย่างไร และยกตัวอย่างประโยคที่ใช้สำนวนภาษาเรื่องนั้นๆ ถ้ายังไม่เข้าใจลองศึกษาทบทวนหัวข้อ language functions ซึ่งอยู่ในหัวข้อ language focus อีกครั้งหนึ่ง หลังจากเติมข้อความแล้วให้ตรวจสอบกับแนวคำตอบ
Unit 1
Functions/Skills
ความหมายภาษาไทย
ตัวอย่างสำนวนภาษา
introducing oneself
การแนะนำตนเอง

greeting


describing routine

I wake up at five every day.

Unit 2
Functions/Skills
ความหมายภาษาไทย
ตัวอย่างสำนวนภาษา
asking wh-questions


expressing positive/
negative feeling
แสดงความรู้สึกด้านบวกหรือลบ
I’m happy.
giving suggestions


expressing necessity


identifying difficulties
การระบุปัญหา
My problem is that I cannot distinguish different sounds.
giving examples


explaining



Unit 3
Functions/Skills
ความหมายภาษาไทย
ตัวอย่างสำนวนภาษา
making requests


accepting requests
การตอบรับคำขอร้อง
Yes, of course.
declining requests


offering help


accepting offers


declining offers
การปฏิเสธข้อเสนอ
That’s all right. Thank you.
making suggestions


thanking


conversation techniques
เทคนิคการสนทนา
Could you repeat that?

Unit 4
Functions/Skills
ความหมายภาษาไทย
ตัวอย่างสำนวนภาษา
describing a process


talking about past activities
การพูดถึงเหตุการณ์หรือกิจกรรมในอดีต
Ayutthaya used to be the capital of Thailand.
describing places



กลยุทธ์ในการสื่อสาร
               การสื่อสารเป็นเรื่องของการแสดงความตั้งใจหรือข้อความออกไปให้คู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งรับทราบ (expressing intentions) และยังเป็นเรื่องของการตีความสารที่ส่งมาจากอีกฝ่ายหนึ่ง (interpreting messages) ต่อรองความหมายกับอีกฝ่ายหนึ่ง (negotiating meaning) Rubin และ Thompson (1994) ได้กล่าวถึงกลวิธีการสื่อสารไว้ใน How to be a More Successful Language Learner สรุปได้ดังนี้
               เมื่อเรียนภาษาแม่ การเรียนภาษาเป็นเรื่องของการพิจารณาว่าจะนำเสนอสิ่งที่ผู้พุดต้องการในลักษณะที่เป็นที่ยอมรับในสังคม และจะตีความสารที่ส่งมาจากอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไร การแสดงออกในภาษาอื่นก็เช่นกัน เราจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าจะแสดงว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยได้อย่างไร จะระมัดระวังความรู้สึกเมื่อไร อย่างไร จะร้องขออย่างไร จะเริ่มบทสนทนาอย่างไร จะชมหรือขอบคุณอย่างไร
               การตีความสารที่อีกฝ่ายหนึ่งส่งมาก็เป็นเรื่องซับซ้อน การตีความถ้อยคำเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่สมบูรณ์ เช่น การตอบว่า “ไม่” ในภาษาต่างๆ เรามักจะไม่ปฏิเสธออกมาตรงๆ คนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาจึงต้องสังเกตความละเอียดอ่อนของภาษาเหล่านี้ด้วย หรือต้องละเอียดอ่อนกับการใช้ภาษาในวัฒนธรรมต่างๆ เราต้องเรียนรู้ที่จะแสดงตนเองอย่างเหมาะสม ผู้ฟังอาจจะไม่พอใจหรือโกรธเราได้ถ้าเราไม่เข้าใจวัฒนธรรมในการแสดงออกของเจ้าของภาษานั้นๆ
               การต่อรองเรื่องความหมาย (negotiation) การใช้ภาษาเป็นการใช้ภาษาโต้ตอบกัน ฝ่ายหนึ่งอาจจะเข้าใจ ทว่าอีกฝ่ายหนึ่งยังเข้าใจไม่ถ่องแท้ ต้องมีการโต้ตอบไปมา ตัวอย่างเช่น การเชื้อเชิญในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันจะระบุวันเวลาที่แน่นอน แต่ถ้าพูดเพียงว่า Let’s get together soon. มักจะไม่ได้เป็นการเชื้อเชิญอย่างจริงจัง เป็นไปตามมารยาทในสังคม ถ้าจะให้เกิดการเชื้อเชิญจริงจะต้องมีการถามต่อว่าเมื่อไร คือมีการต่อรองเรื่องความหมาย
               ในฐานะผู้สื่อสาร เราต้องพยายามให้ข้อความที่เราต้องการสื่อสารเป็นที่เข้าใจมากในระดับที่เหมาะสม โดยดูจากปฏิกิริยาโต้ตอบของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น สีหน้าท่าทาง (Rubin and Thompson, 1994)
               ในการใช้ภาษาสื่อสารในสถานกาณ์จริงอาจใช้ language functions และใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะและบุคคลอีกด้วย โดยต้องสังเกตคู่สนทนาว่ามีความเข้าใจสิ่งที่เราพูดหรือไม่อย่างไร หากไม่เข้าใจสิ่งที่คู่สนทนาพูดด้วยก็อาจถามให้ขยายความโดยใช้สำนวนภาษา ต้องกล้าเสี่ยงที่จะลองใช้ภาษามีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ ที่ยังไม่ชัดเจน และต้องสังเกตลักษณะเฉพาะของสังคม สถานภาพทางสังคมและยังต้องเข้าใจภาษาท่าทางวอีด้วย เช่น การสบตา การยิ้ม การจับมือ การคำนับ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละชาติแต่ละภาษา
               ระดับความสามารถในการใช้ภาษาอาจแสดงให้ผู้เรียนรู้ว่าจะวางเป้าหมายในการเรียนภาษาไปเพื่ออะไร ต้องการใช้ภาษาในระดับใด Rubin และ Thompsone (1994) ได้แบ่งระดับความสามารถในการใช้ภาษาเป็นระดับต่างๆ ดังนี้
               1. novice: prefunctional level ระดับมือใหม่หรือระดับก่อนใช้งาน ผู้เรียนภาษาจะต้องผ่านระดับนี้ก่อนที่จะเข้าสู่ระดับใช้งานได้ ผู้เรียนภาษามีความสามารถในการสื่อสารเล็กน้อย ในสถานการณ์ประจำวันที่คาดเดาได้ด้วยสิ่งที่ตนเองได้เรียนมา สำนวนภาษาสำเร็จรูป (formulaic phrases) เช่น การทักทาย ขอบคุณ ผู้ใช้ภาษาระดับนี้จะสามารถพูดได้เป็นคำๆ โดยไม่ได้สร้างประโยคใหม่ขึ้น อาจจะเข้าใจยาก แม้กระทั่งต่อเจ้าของภาษาที่คุ้นเคยกับผู้ที่ใช้ภาษาเป็นภาษาต่างประเทศ
            2. intermediate: survival level ระดับกลางหรือระดับที่เอาตัวรอดได้ การใช้ภาษาในระดับนี้เป็นระดับใช้งานได้ระดับแรกเพื่อให้เอาตัวรอดได้ในบริบทที่ใช้ภาษาต่างประเทศนั้นๆ เช่น การจองห้องพัก การเรียกรถรับจ้าง สั่งอาหาร หรือซื้อของใช้ในห้างสรรพสินคาได้ ถามทางได้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง เช่น ชื่อ ที่อยู่ อาชีพได้ สามารถใช้ภาษาในสังคมได้อย่างถูกกาลเทศะ สุภาพ เช่น การขอร้อง ขอบคุณ โดยทั่วไปผู้เรียนภาษาในระดับนี้มีความรู้ทางไวยากรณ์และคำศัพท์ที่จำกัด มักจะพูดอย่างไม่คล่องนัก ติดขัด และออกเสียงไม่ใคร่ถูกต้อง ใช้ศัพท์ ไวยากรณ์ไม่ใคร่ถูกต้อง สนทนายาวๆ ยังไม่ได้
               3. advanced: limited working proficiency ระดับก้าวหน้า ความสามานรถใช้ภาษาในการทำงานที่จำกัด การใช้ภาษาระดับนี้เป็นระดับใช้ประโยชน์ได้เพราะช่วยให้ทำงานได้ เรียนหนังสือเป็นภาษาต่างประเทศได้ และใช้ภาษาในการเข้าสังคมได้ง่าย แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับจำกัดก็ตาม ผู้ใช้ภาษาในระดับนี้สามารถอธิบายงานที่ทำได้ จัดกาเรื่องที่เกี่ยวกับงานง่ายๆ ได้ บอกทิศทางในที่ทำงานได้ รับโทรศัพท์และจัดการสถานการณ์ที่ค่อนข้างซับซ้อนในการสนทนาได้ เจ้าของภาษาสามารถเข้าใจการใช้ภาษาของผู้ใช้ภาษาระดับนี้ได้ไม่ยากนัก
               4. superior: professional proficiency ระดับสูงหรือระดับมืออาชีพ ผู้ใช้ภาษาในระดับนี้จะสามารถเข้าร่วมในสถานการณ์การสนทนาที่ใช้ภาษาต่างประเทศไ มีความรู้ทางไวยากรณ์ที่มากพอและรู้คำศัพท์ที่ครอบคลุมเรื่องหลายหัวข้อ ยังจะมีข้อผิดพลาดบ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็จะไม่กระทบความคล่องในการใช้ภาษา หากผู้เรียนภาษามีความประสงค์จะใช้ภาษาให้ได้ถึงขั้นนี้ต้องใช้เวลาเรียนมากขึ้น มักจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษานั้นๆ ระยะหนึ่ง
               5. distinguished proficiency: near native proficiency ระดับดีเด่นหรือระดับที่ใกล้เคียงเจ้าของภาษา ถ้าผุ้เรียนภาษามีความตั้งใจสูงและต้องการพัฒนาตนเองให้ใช้ภาษาได้คล่อง ถูกต้อง ใช้ศัพท์สำนวนได้อย่างถูกต้อง เป็นเป้าหมายที่ท้าทายอันหนึ่ง
               ระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ยกมาให้ดูนี้เป็นเพียงตัวอย่างแสดงระดับความสามารถของผู้เรียนแนวทางหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้นักศึกษามองเห็นภาพการใช้ภาษาอังกฤษในระดับต่างๆ หากนักศึกษาท่านใดมีวัตถุประสงค์เฉพาะของตนที่จะฝึกฝนเรียนรู้เพื่อให้ใช้ภาษาได้ตามที่ต้องการ ก็ต้องมีความพยายามและมีการฝึกฝนมากขึ้นตามระดับความสามารถที่ตนต้องการบรรลุ ในส่วนของชุดวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนี้ หากจะเปรียบเทียบกับระดับความสามารถที่ยกมาเป็นตัวอย่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถสื่อสารได้ในระดับ intermediate ถึง advanced
ตอนที่ 5.2 Grammar for Communication
1. ไวยากรณ์เป็นกฎเกณฑ์ของภาษา มีความสำคัญในการสื่อสาร จะทให้ผู้พูดหรือผู้เขียนกับผู้ฟังหรือผู้อ่านเข้าใจตรงกัน
2. personal pronouns เป็นคำแทนที่คำนาม มีรูปต่างๆ กัน เมื่อทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม และแสดงความเป็นเจ้าของ
3. present simple tense ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือเป็นปกติวิสัย
4. adverb of frequency ใช้บอกความถี่ของการกระทำ
5. wh-questions เป็นการถามคำถามโดยใช้คำขึ้นต้นคำถาม what, when, where, why, how, who, whom, whose หรือ which
6. การแสดงความสามารถว่าทำได้หรือทำไม่ได้อาจใช้ can/cannot + V base form
7. parts of speech หรือชนิดของคำต่างๆ ในภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย คำนาม (noun), คำสรรพนาม (pronoun), คำกริยา (verb), คำคุณศัพท์ (adjective), คำกริยาวิเศษณ์ (adverb), คำบุพบท (preposition), คำสันธาน (conjunction), และคำอุทาน (interjection)
8. present continuous tense ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กังเกิดขณะพูด หรือสิ่งที่จะเกิดในอนาคตที่ได้วางแผนไว้อย่างแน่นอน
9. tag questions เป็นคำถามที่มีคำว่า หรือไม่ต่อท้าย โดยต้องใช้คำกริยา คำสรรพนาม และ tense ให้ถูกต้อง
10. past simple tense ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและจบสิ้นไปแล้ว
11. passive voice มีรูปคำกริยา BE + past participle ใช้เมื่อต้องการเน้นผลของการกระทำ
12. การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ขั้นกว่า เติม er ท้ายคำคุณศัพท์หรือใช้ more + ADJ + than
13. การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ขั้นสูงสุด เติม est ท้ายคำคุณศัพท์หรือใช้ (the) most + ADJ
14. คำคุณศัพท์เป็นคำขยายคำนาม มีการเรียงลำดับที่แน่นอนดังนี้ ขนาด อายุ รูปร่าง สี ที่มา วัสดุ จุดมุ่งหมาย
15. ในการกล่าวถึงสาเหตุและผล (causes and effects) มีศัพท์สำนวนเฉพาะ
16. prefix เป็นส่วนที่เติมหน้าคำอื่นๆ แล้วทำให้ความหมายหรือหน้าที่ของคำเปลี่ยนไป
17. suffix เป็นส่วนที่เติมท้ายคำอื่นๆ แล้วทำให้ความหมายหรือหน้าที่ของคำเปลี่ยนไป
18. reported speech เป็นการถ่ายทอดข้อความที่ผู้อื่นพูด โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงกริยานำประโยค รูปคำกริยา คำสรรพนาม และคำขยายอื่นๆ ให้สอดคล้องกัน
A Summary of Grammar in Units 1-4
            นักศึกษาสามารถทบทวนไวยากรณ์เรื่องต่างๆ ในหน่วยที่ 1-4 ได้ จากเอกสารการสอนในส่วน language focus ของแต่ละตอน ตารางต่อไปนี้สรุปประเด็นสำคัญทางไวยากรณ์จากหน่วยที่ 1-4
Grammar Topics
Units
Examples
present simple tense
past simple tense
adverbs of frequenct
expressing ability
personal pronouns
parts of speech
present continuous tense
wh-questions
tag questions
passive voice
comparative degree of adjectives
superlative degree of adjectives
modifiers
causes and effects
prefixes
suffixed
reported speech
1
2
2
2
2
2
3
3
3
4
4
4
4
4
4
4
4
I’m Horoshi from Japan.
Ayutthaya was the capital of Thailand.
I always read the textbooks twice.
I can use computers.
He is my friend.
‘English’ is a noun.
I’m calling from Chiang Mai.
When do you like to study?
You like English, don’t you?
Vimanmek was built by King Rama V.
Tabtim can type faster than Korn.
Paul is the best teacher.
Khao Wang is one of the most beautiful palaces.
Smoke from industry causes air pollution.
We should recycle the things that we used.
Be careful when you use a verb.
Tabtim said that she liked English very much.
Grammar for Communication
               การใช้ไวยากรณ์หรือกฎเกณฑ์ทางภาษาให้ถูกต้องเป็นเรื่องจำเป็นในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนภาษาอังกฤษเมื่อผู้เรียนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผู้เรียนไม่มีโอกาสพบกับการใช้ภาษาจำนวนมากและไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษ (exposure) จึงทำให้ไม่อาจสรุปกฎเกณฑ์การใช้ภาษาออกมาจากข้อมูลทางภาษาที่ได้รับจำนวนมาก เช่นที่ผู้เรียนภาษาบางคนที่เรียนเป็นภาษาแรกหรือภาษาแม่หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นประจำวันได้ การรู้กฎเกณฑ์ทางภาษาจึงเป็นวิธีเรียนภาษาที่ช่วยให้สามารถมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงเมื่อจะใช้ภาษาได้ เช่น เมื่อต้องการบอกว่า ฉันมีหนังสือหลายเล่ม จะต้องรู้กฎเกณฑ์ทางภาษาเรื่องรูปประโยค และการใช้คำนามรูปเอกพจน์พหูพจน์ ซึ่งมีลักษณะต่างจากภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาแม่
               การที่จะบอกว่าเรารู้ภาษาใดภาษาหนึ่งหมายความว่าอย่างไร หมายความว่าจะต้องรู้รูปแบบการใช้ภาษานั้นๆ รู้ว่าภาษานั้นๆ ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างไร รู้การรวมภาษาเข้าเป็นบทสนทนาหรืองานเขียน และรู้จักคำศัพท์ที่จะบอกเนื้อหาของเรื่องราว การรู้รูปแบบของภาษาส่วนหนึ่งก็คือการรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา (usage) หรือรู้ไวยากรณ์นั่นเอง บางคนอาจจะบอกว่าไม่จำเป็นต้องรู้กฎเกณฑ์ทางภาษาเพียงแต่ใช้ภาษาได้ก็เพียงพอ ทัศนคตินี้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เนื่องจากการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศต้องการกฎเกณฑ์หรือไวยากรณ์ไว้อ้างอิงเวลาจะใช้ภาษา และการใช้ไวยากรณ์ที่ผิดอาจจะทำให้สื่อสารผิดความหมายได้ในบางกรณี ทั้งนี้การรู้ไวยากรณ์ยังช่วยให้สามารถใช้ภาษาที่ได้มาตรฐานอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในการสื่อสารหากกังวลเรื่องกฎเกณฑ์การใช้ภาษามากเกินไป ก็จะทำให้การสื่อสารไม่ราบรื่นเท่าที่ควร เราควรมุ่งเน้นที่การสื่อสารความหมายให้ถูกต้อง โดยใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้องด้วย
               การเรียนไวยากรณ์อาจจะเรียนอย่างเป็นทางการ คือเรียนไปทีละเรื่อง เฉพาะไวยากรณ์ล้วนๆ หรือเรียนโดยการสรุปกฎเกณฑ์ต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น นักศึกษาเห็นว่าเมื่อประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 จะต้องเติม s ท้ายคำกริยาที่อยู่ใน present simple tense ก็สรุปกฎเกณฑ์ว่า เมื่อประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 รูปคำกริยาใน present simple tense จะต้องเติม s ท้ายคำ เป็นต้น
               ในการเรียนไวยากรณ์ นักศึกษาอาจทำดังต่อไปนี้
·       พยายามบันทึกกฎเกณฑ์ต่างๆ ไว้
·       พยายามสังเกตรูปแบบของภาษา (patterns) เวลาใช้ภาษา
·       รู้คำศัพท์เกี่ยวกับไวยากรณ์ต่างๆ เช่น คำนาม คำสรรพนาม ประโยค กริยาช่วย เป็นต้น วิตกกังวลจนเกิดเหตุ เราสามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาดเหล่านั้น
·       จดข้อผิดพลาดที่ตนเองมักจะทำบ่อยๆ และพยายามแก้ไข
·       จดบันทึกหลักไวยากรณ์ไว้อย่างเป็นหมวดหมู่
·       ทดลองใช้กฎเกณฑ์นั้นๆ ในบริบทใหม่
·       มีความอดทน
(Rubin and Thompson, 1994; Lewis, 1999.)
               การเลือกตำราทางไวยากรณ์มาศึกษาเพิ่มเติม นักศึกษาต้องพิจารณาชื่อและคุณวุฒิของผู้เขียน สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ ว่ามีความเชื่อถือได้ ทันสมัยมากน้อยเพียงไร
ตอนที่ 5.3 Vocabulary for Communication
1. ในการพูดถึงตนเอง หรือวิธีการเรียนภาษา และการพูดคุยในงานเลี้ยงและในระหว่างออกไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ มีศัพท์สำนวนเฉพาะ
2. การเรียนคำศัพท์ต้องสามารถรู้ความหมายของศัพท์ จำความหมายและรูปคำต่างๆ และนำมาในบริบทใหม่ได้
A Summary of Vocabulary Learning Strategies
            จากการที่นักศึกษาเรียนคำศัพท์จากหน่วยที่ 1-4 จะพบว่าการเรียนคำศัพท์ให้รู้อย่างเชิงรุก (active use) นั้น จะต้องรู้ความหมาย เก็บไว้ได้ (จำได้) และนำมาใช้เมื่อต้องการได้ การรู้ความหมายของคำศัพท์ต้องรู้ความหมายในบริบท และรู้ชนิดของคำ การจำคำศัพท์มีเทคนิควิธีการหลายๆ วิธี เช่น ท่องจำทีละคำ  อีกวิธีหนึ่งคือจำความหมายในบริบท และจำศัพท์ในสำนวนต่างๆ หรือคำที่มักใช้ด้วยกัน (collocations) การที่จะรู้ความหมายของคำศัพท์อย่างเชิงรุก จะต้องสามารถนำคำศัพท์นั้นมาใช้ใหม่ได้ในบริบทใหม่ด้วยตัวเอง
               การเรียนคำศัพท์ในบริบทจะช่วยให้เข้าใจคำศัพท์นั้นได้ดียิ่งขึ้น การเรียนคำศัพท์หากเป็นคำใหม่ที่ได้จากการฟัง นักศึกษาต้องสะกดตามเสียงที่ออกให้ได้ก่อนแล้วจึงไปค้นหาความหมายในพจนานุกรม หากเป็นการอ่านให้จดออกมาแล้วไปค้นหาความหมาย การอ่านโดยเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบทสามารถช่วยให้นักศึกษาเข้าใจความหมายโดยรวมของบทอ่านได้ แต่หากนักศึกษาต้องการศึกษาศัพท์และความหมายอย่างละเอียด ควรเกิดพจนานุกรมศึกษาคำๆ นั้น
ตอนที่ 5.4 Dictionary Usage
1. พจนานุกรมเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการเรียนรู้ภาษา สามารถใช้อ้างอิงได้
2. การใช้พจนานุกรมจำเป็นต้องทราบลักษณะและส่วนประกอบต่างๆ ของพจนานุกรม
3. การฝึกฝนการหาความหมายจากพจนานุกรม จะช่วยให้ใช้พจนานุกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
The Importance of the Dictionary
·       พจนานุกรมภาษาอังกฤษเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับคำต่างๆ ในภาษาอังกฤษ บางเล่มยังมีข้อมูลด้านอื่นๆ เช่น ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ชื่อบุคคล อีกด้วย พจนานุกรมทั่วไปเป็นการบอกข้อมูลเกี่ยวกับคำ พจนานุกรมศัพท์เฉพาะหรือเฉพาะด้าน เช่น Dictionary for Computer Users, Dictionary for Business บอกข้อมูลทางภาษา หรืออาจจะอธิบายเนื้อหาเฉพาะสาขาวิชาด้วย นอกจากนี้ยังมีพจนานุกรมประเภทหมวดหมู่ของคำ เช่น Thesaurus จัดกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกัน และต่างกัน พจนานุกรมบอกการใช้คำที่เกี่ยวเนื่องกับคำนั้นๆ เช่น Longman Lanugage Activator (Longman Group UK Limited, 1993.)
·       การเลือกพจนานุกรมมีความสำคัญ นักศึกษาอาจใช้พจนานุกรมอังกฤษแปลเป็นไทย ซึ่งจะให้ข้อมูลได้มากพอสมควร หรือพจนานุกรมอังกฤษแปลเป็นอังกฤษ ซึ่งให้ข้อมูลมากและมีตัวอย่างการใช้คำในประโยคประกอบด้วย
·       พจนานุกรมแบบต่างๆ จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน นักศึกษาควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพจนานุกรมนั้นๆ ก่อน เช่น หากเขียนว่าสำหรับผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาศาสตร์ก็อาจจุยังไม่เหมาะสมในขั้นตอนที่นักศึกษาต้องการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หากบอกว่าสร้างขึ้นเพื่อผู้เรียนภาษาจะมีความเหมาะสมมากกว่า และยังต้องดูระดับอีกด้วย เช่น พจนานุกรมสำหรับเด็กหรือสำหรับนักศึกษา
·       สำหรับชุดวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนี้ จะเน้นที่อารอ่านข้อมูลในพจนานุกรมทั่วไป ภาษาที่ใช้ในการอธิบายเป็นภาษาอังกฤษระดับนักศึกษา
·       การหาคำในพจนานุกรม คำในพจนานุกรมจะเรียงตามตัวอักษร โดยเริ่มจากตัวแรกและตัวที่สอง และตัวต่อๆ ไปจาก a – z การหาคำที่ต้องการให้พบ นักศึกษาอาจใช้วิธี scanning ไปทีละตัวอักษระ หากเป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษาก็พิมพ์คำที่ต้องการเพื่อค้นหา หากเป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์สองภาษาก็สามารถพิมพ์คำในภาษาหนึ่งเพื่อหาความหมายในอีกภาษาหนึ่งได้ พจนานุกรมหลักที่ยกตัวอย่างในเอกสารการสอนชุดนี้คือ
-         Oxford Advanced Learner’s Dictionary. 6th ed. Wehmeier, S. Oxford: Oxford University Press, 2000.
-         Collins Cobuild English Language Dictionary. London and Glasgow: Collins, 1990.
-         American Heritage Dictionary. Second College Edition. Boston: Houghton Mifflin Company, 1982.
-         Merriam Webster’s New Collegiate Dictionary. Springfield: Merriam – Webster Incorporated 2001.
Information in the Dictionary
               โดยทั่วไปพจนานุกรมให้ข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้ (บางเล่มอาจจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไป)
1. ตัวสะกด (spelling)
            นักศึกษาสามารถหาตัวสะกดที่ถูกต้องได้จากพจนานุกรม โดยอาจมีคำที่เขียนไว้ใกล้เคียง แล้วตรวจสอบในพจนานุกรมว่าสะกดถูกต้องหรือไม่ หรือคำที่นักศึกษาออกเสียงได้แต่สะกดไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด เช่น นักศึกษาต้องการหาความหมายของคำว่า believe แต่นักศึกษาสะกดผิดเป็น believe* ต้องพยายามคิดว่าอาจจะใส่ลำดับตัวสะกดผิด หรืออกเสียงผิดไป ต้องหาหลายๆ คำ พยายามลำดับตัวอักษรตามเสียง
               การหาคำในพจนานุกรมต้องดูคำหลัก เช่น หากนักศึกษาต้องการหาความหมายของคำว่า relies ควรดูที่ rely ก่อน เพราะเป็นคำกริยาที่ผันจากรูป base form รวมอยู่ในกลุ่มของคำ rely : rely   relies      relying    relied
2. การออกเสียง (pronunciation)
               ในการใช้พจนานุกรมนักศึกษาควรอ่านสัญลักษณ์สำหรับเสียงต่างๆ ก่อน ซึ่งจะรวบรวมไว้ในส่วนคำนำหรือท้ายเล่ม
               การใส่เครื่องหมาย stress ของพจนานุกรมเล่มนี้ ใส่หน้าพยัญชนะของพยางค์ /ses/ พจนานุกรมเล่มอื่นๆ อาจใส่เครื่องหมายต่างไป เช่น ใส่ ไว้บนสระของพยางค์นั้นๆ หรือใส่ _ ไว้ใต้สระของคำนั้นๆ
3. การแบ่งพยางค์ (syllable division)
            ในพจนานุกรมบางเล่มจะแบ่งพยางค์ไว้ให้เพื่อการออกเสียงคำ ให้สังเกตขีดคั่นระหว่างพยางค์
4. ประวัติความเป็นมาของคำ (derivation)
            ส่วนนี้จะให้ความเป็นมาของคำ ประวัติคำโดยย่อ เช่น คำว่า design มาจาก old French ว่า designer มาจากภาษาละตินว่า designare
5. ความหมาย (meaning)
            ส่วนนี้ให้ความหมายของคำ ซึ่งอาจมีหลายความหมาย โดยใส่เครื่องหมายตัวเลขบอก เช่น 1. 2.  ตัวอย่างคำว่า ‘design’ ถ้าใช้ในลักษณะ transitive verb มี 5 ความหมาย ถ้าเป็น intransitive verb มี 2 ความหมาย และเป็นคำนาม มี 8 ความหมาย ความหมายที่หนึ่งเมื่อใช้เป็น transitive verb คือ To conceive in the mind; invent ความหมายที่ 2 คือ To form a plan for
6. ชนิดของคำ (parts of speech)
            ส่วนนี้จะบอกชนิดของคำว่าเป็น คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ คำกริยาวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน คำอุทาน โดยใช้ตัวอักษรย่อ เช่น n. หมายถึงคำนาม ให้นักศึกษาอ่านคำนำของพจนานุกรมเล่มนั้นๆ ก่อน เพื่อทราบเกณฑ์การใช้อักษรย่อว่าหมายถึงอะไร บางเล่มจะบอกด้วยว่าเป็นคำนามนับได้ [C] หรือ นับไม่ได้ [U]
7. ตัวอย่างการใช้คำ (usage)
            ส่วนนี้เป็นตัวอย่างกลุ่มคำหรือประโยคที่ใช้คำศัพท์นั้นๆ เช่น ตัวอย่างการใช้คำ ความหมายที่ 1: To conceive in the mind; invent ใช้ว่า design his dream vacation
8. คำเหมือน คำตรงข้าม (synonyms and antonyms)
            ส่วนนี้บอกคำที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงที่สุด หรือคำที่มีความหมายตรงข้าม
9. ข้อมูลทั่วไป (general information)
            ข้อมูลอื่นๆ เช่น อาจบอกว่าเป็นคำที่ใช้ในภาษาพูด คำที่ควรระมัดระวังในการใช้คำไม่สุภาพ (offensive)


























หน่วยที่ 6 Nine to Five
1. โทรศัพท์เป็นอุปกรณ์สำนักงานที่เป็นเครื่องช่วยอันสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การใช้โทรศัพท์ในที่ทำงานครอบคลุมถึงการโทรศัพท์ไปหาบุคคลอื่น การรับโทรศัพท์จากบุคคลอื่น ตลอดจนการจดข้อความที่รับฝากให้ผู้อื่นในที่ทำงาน
2. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับและส่งข้อความได้ด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันคนทำงานส่วนใหญ่จะติดต่อสื่อสารถึงกันและกันโดยการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
3. การสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูล ถ่ายทอดเรื่องราวจิปาถะต่างๆ ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการทำงาน
ตอนที่ 6.1 Using the Telephone
1. การใช้โทรศัพท์ในที่ทำงานครอบคลุมถึงการโทรศัพท์ไปหาบุคคลอื่นทั้งในและนอกหน่วยงาน การรับโทรศัพท์จากบุคคลอื่นทั้งในและนอกหน่วยงาน ตลอดจนการจดข้อความที่รับฝากทางโทรศัพท์ให้ผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน
2. การโทรศัพท์ไปหาบุคคลอื่นและการรับโทรศัพท์จากบุคคลอื่น มีสำนวนภาษาที่ใช้ในแต่ละสถานการณ์แตกต่างกันไป
3. ผู้รับฝากข้อความทางโทรศัพท์ควรรู้หลักการฟังเพื่อความเข้าใจทางโทรศัพท์ รูปแบบ และองค์ประกอบของแบบฟอร์มฝากข้อความ และวิธีการเขียนข้อความที่รับฝาก
4. ผู้ใช้โทรศัพท์ควรรู้จักวิธีการบอกหมายเลขโทรศัพท์ วันที่ และเวลา เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้พูดและฟัง
คำอธิบาย
1. การใช้โทรศัพท์ในที่ทำงาน
            การใช้โทรศัพท์ในที่ทำงานโดยทั่วไปไม่ว่าในภาษาใดมักจะมีลำดับขั้นตอนคล้ายคลึงกัน ดังนี้
               1.1 ผู้รับโทรศัพท์รับสายโดยระบุชื่อบริษัท หรือแผนกที่ตนทำงาน หรือชื่อตนเองเพื่อให้ผู้โทรมาทราบว่าได้โทรศัพท์มาถูกที่ ดังเช่น การรับสายของอรินใน Dialog ที่ 2 และ 3 ที่พูดว่า Arin speaking. ในบางกรณีเป็นการต่อสายผ่านหมายเลขกลางของหน่วยงาน หรือเป็นการต่อสายผ่านเลขานุการมาถึงเครื่องรับโทรศัพท์บนโต๊ะทำงานของผู้รับ ผู้รับสายอาจเพียงแค่เอ่ยคำทักทาย ดังเช่นใน Dialog ที่ 1 Mr. Johnson รับสายโดยพูดเพียง Hello เนื่องจากทราบว่าอรินได้ต่อสายผ่านเลขานุการของตนมาแล้วจึงไม่จำเป็นต้องระบุชื่อบริษัท UNOCAL หรือชื่ออของตนเองซ้ำ
               1.2 ผู้โทรแจ้งแก่ผู้รับว่าตนเองเป็นใคร หากรู้จักกันมาก่อนและไม่ได้พบกันบ่อยๆ ช่วงนี้ก็จะเป็นการทักทายถามสารทุกข์สุกดิบตามมารยาท
               1.3 ผู้โทรแจ้งวัตถุประสงค์ของการโทร เช่น เพื่อนัดหมาย ขอข้อมูล ให้ข้อมูลต่างๆ หรือขอพูดกับบุคคลอื่น เป็นต้น
               1.4 ผู้รับโทรศัพท์ดำเนินการตามประสงค์ของผู้โทร เช่น ให้หรือรับข้อมูลที่ต้องการ ในกรณีที่บุคคลที่ผู้โทรต้องการพูดด้วยไม่อยู่หรือไม่ว่าง ผู้รับโทรศัพท์ควรเสนอความช่วยเหลือ เช่น รับฝากข้อความให้บุคคลดังกล่าว เป็นต้น
               1.5 ผู้โทรกล่าวปิดการสนทนา ตามมารยาทของการใช้โทรศัพท์ ผู้รับโทรศัพท์จะเป็นฝ่ายรอให้ผู้โทรกล่าวปิดการสนทนา
2. Dialog 1
            2.1 This is Arin from the Thai – American Chamber of Commerce. เป็นการแจ้งแก่ผู้รับโทรศัพท์ว่าตนเองเป็นใคร ทำงานที่ใด ในกรณีที่คุ้นเคยกันดี ผู้โทรอาจแจ้งแต่ชื่อเท่านั้น
               2.2 I’m calling about … เป็นการระบุวัตถุประสงค์ของการโทร
               2.3 already made a reservation ในที่นี้หมายถึงได้จัดการจองโต๊ะที่ร้านอาหารไว้แล้ว คำกริยา make และคำนาม reservation มักจะเป็นคำที่ใช้ควบคู่กัน (verb – noun collocation)
               2.4 jot it down in my diary ในที่นี้หมายถึงการจดรายละเอียดเกี่ยวกับนัดหมายลงในสมุดนัดหมาย สำนวน jot something down มักจะหมายถึง การเขียนหรือจดข้อความแบบสั้นๆ เพื่อเตือนความจำ
               2.5 discuss plans for next year with you and Mr. Farnan. หมายถึงเจรจากับคุณและ Mr. Farnan เรื่องแผนการต่างๆ สำหรับปีหน้า ขอให้นักศึกษาสังเกตคำว่า discuss นี้ หากใช้ในรูปแบบประโยคบางรูปแบบจะไม่มีคำบุพบท about ตามหลัง ดังนี้
               Ÿ discuss + หัวข้อเรื่องที่จะเจรจาพูดคุย + with + someone เช่น discuss our products with you
               Ÿ discuss + with + someone + about + หัวข้อเรื่องที่จะเจรจาพูดคุย เช่น discuss with you about our products
3. Dialog 2
            3.1 colleague หมายถึง เพื่อนร่วมงาน
               3.2 John Smith และอรินทำงานที่หอการค้าไทย – อเมริกันด้วยกัน จึงมีความคุ้นเคยกันดีจน Smith ไม่ต้องบอกอรินว่าตนเองคือใคร เนื่องจากแน่ใจว่าอรินจำเสียงตนเองได้
               3.3 Is Susan there? เป็นการขอพูดโทรศัพท์กับบุคคลอื่น คือ Susan Day แบบไม่เป็นทางการ เนื่องจาก John Smith อริน และ Susan Day คุ้นเคยกันดี
               3.4 she’s on the other line หมายถึง กำลังพูดโทรศัพท์อยู่อีกสายหนึ่ง
4. Dialog 3
               4.1 Can I speak to Ms. Susan Day, please? จะเห็นว่า Robert Wilson ไม่รู้จักอรินและคงคุ้นเคยสนิทสนมกับ Susan Day จึงเอ่ยถึง Susan Day โดยใช้คำนำหน้าชื่อว่า Ms. ซึ่งเป็นคำนำหน้าชื่อผู้หญิงแบบที่ไม่ได้ระบุว่า Susan Day เป็นโสด (Miss) หรือแต่งงานแล้ว (Mrs.)
               4.2 I’m afraid Ms. Day’s in a meeting at the moment. สำนวน I’m afraid ใช่ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามประสงค์ของอีกฝ่าย ไม่ได้หมายความว่าผู้พูดเกรงกลัวอะไร สำนวน I’m afraid นี้สามารถใช้ I’m sorry แทนได้
               4.3 I think so. หมายความว่า Robert Wilson คิดว่า Susan Day ทราบหมายเลขโทรศัพท์ของตนแล้ว
กลยุทธ์ในการเรียนรู้
            การพัฒนาทักษะการสนทนาทางโทรศัพท์
            1. สำหรับผู้ที่ต้องพูดโทรศัพท์กับชาวต่างประเทศเป็นประจำ อาจเขียนสำนวนที่ต้องใช้บ่อยๆ วางไว้ข้างโทรศัพท์ที่ที่ทำงานหรือที่บ้านเพื่อช่วยเตือนความจำและเพื่อให้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
               2. ฝึกสังเกตการณ์ใช้สำนวนต่างๆ จากภาพยนตร์ อาจคาดการณ์ว่าผู้พูดจะใช้สำนวนอะไร หรือพูดอะไรในสถานการณ์ต่างๆ จะตรงกับที่นักศึกษาคิดไว้หรือเหมือนที่เรียนมาหรือไม่ เพราะเหตุใด จอกจากนั้นอาจฝึกออกเสียงพูดตามตัวละครที่เป็นเจ้าของภาษาเพื่อเป็นการฝึกสำเนียงและให้เกิดความเคยชิน
Language Functions: Making and answering telephone calls
            สำนวนภาษาที่ใช้ในการโทรศัพท์ในที่ทำงานมักจะแบ่งออกเป็นสำนวนภาษาของฝ่ายผู้โทรศัพท์เข้าไป และสำนวนภาษาของฝ่ายผู้รับโทรศัพท์ นักศึกษาอาจอยู่ทั้งในฐานะผู้โทรและผู้รับโทรศัพท์ จึงควรรู้สำนวนของทั้งสองฝ่ายตามตัวอย่างดังนี้
               Ÿ Answering the call (รับโทรศัพท์)
The Thai – American Chamber of Commerce
Mr. Smith’s office
Administration Department
Good morning / afternoon.
May / Can I help you?
Good morning/ Hello. The Thai -  American Chamber of Commerce. (Can I help you?)
(Hello.) John Smith (speaking).
            สำนวนภาษาที่ใส่วงเล็บไว้ หมายความว่า อาจพูดโดยละสำนวนภาษาเหล่านี้ได้ นักศึกษาต้องแทนที่ข้อมูลที่พิมพ์ด้วยตัวเอน ด้วยข้อมูลของนักศึกษาเอง
               Ÿ Asking to speak to someone (ขอพูดโทรศัพท์)
May/Can I speak to (Ms.) Susan Day, please?
I’d like to speak to Arin, please.
Is Susan there (, please)?
Is that Ms. Day? (ถ้าคนพูดดคิดว่ากำลังพูดกับ Ms. Day ซึ่งเป็นคนที่ต้องการพูดด้วยอยู่)
               Ÿ Requesting identify (ขอทราบรายชื่อ)
Who’s calling, please?
Who’s speaking, please?
Can I have your name, please?
               Ÿ Identifying oneself (แนะนำตนเอง)
(This is) Arin speaking.
This is Arin (speaking).
This is Robert Wilson of SKT Corporation.
               Ÿ Identifying the purpose of the call (บอกวัตถุประสงค์ของการโทร)
I’m calling about …
I’m calling to tell you about …
It’s about ….
               Ÿ Asking the caller to wait (ขอให้รอ)
One moment, please. (I’ll put you through.) (จะต่อสายไปให้)
Hold on, please.
Hold the line, please.
Can you hold, please?
Let me jot it down in my diary.
I’ll find the number for you.
I’ll get him for you. (จะไปตามให้)
I’ll see if she’s in.
            Ÿ Taking a message (รับฝากข้อความ)
(I’m afraid) she’s on the other line.
I’m sorry (but) she’s on another line.
Can I take a message?
Would you like to leave a message?
               ขอให้นักศึกษาสังเกตว่า หากใช้ I’m sorry สามารถใช้ but ตามได้ ในขณะที่ถ้าใช้ I’m afraid จะไม่มี but ตาม
               Ÿ Leaving a message (ฝากข้อความ)
Can I leave a message?
Could you give her a message?
Please tell her I’d like to see her when she’s free.
Could you (please) ask her to call me?
               Ÿ Asking for a number (ขอเบอร์โทรศัพท์)
Can I have your (extension) number, please?
               Ÿ Request further information (ขอข้อมูลเพิ่มเติม)
Where are you calling from, please?
(I’m calling from SKT Corporation.)
May I ask what it’s about? (โทรมาเรื่องอะไร)
When would be a good time to call you? (จะให้โทรกลับเวลาใด)
               Ÿ Promising action (รับปากว่าจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง)
I’ll give her the message.
I’ll pass the message to Ms. Day.
I’ll be in touch. (แล้วจะติดต่อไป)
I’ll see you next week.
               Ÿ Ending the call (ปิดการสนทนา)
Thank you for your help. Goodbye.
Thanks a lot. Bye.
You’re welcome. Goodbye. (ตอบคำขอบคุณของอีกฝ่าย)
See you next week. Goodbye.
การฟังเพื่อความเข้าใจทางโทรศัพท์
            โดยทั่วไปแล้วการพังเป็นทักษะที่ผู้เรียนภาษาจะเห็นว่ายากกว่าทักษะการอ่าน เนื่องจากในขณะที่ฟังจะไม่มีตัวหนังสือเป็นเครื่องช่วยในการรับข้อความเหมือนการอ่าน สิ่งที่ยากขึ้นไปอีกได้แก่ การฟังคู่สนทนาพูดทางโทรศัพท์ เนื่องจากผู้ฟังไม่ได้มีโอกาสเห็นหน้า สีหน้า อากัปกิริยาของคู่สนทนา ดังเช่นการสนทนาแบบเห็นหน้ากัน มีข้อแนะนำบางประการสำหรับการฟังเพื่อความเข้าใจทางโทรศัพท์ ดังนี้
               1. ในการฟังหรือจดข้อความทางโทรศัพท์ ผู้ฟังควรพยายามมุ่งเน้นการฟังเพื่อจับประเด็นหลักๆ ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อใด ให้ได้มากกว่าพยายามฟังและทำความเข้าใจกับคำทุกคำที่คู่สนทนาพูดเพราะจะทำให้มัวแต่ไปพะวงจนไม่สามารถจับใจความสำคัญได้ เช่น ควรทราบว่าผู้โทรเป็นใคร ทำงานที่ไหน หมายเลขโทรศัพท์อะไร ต้องการอะไร หรือมีวัตถุประสงค์อะไรในการโทร หากเป็นการนัดหมายควรจับประเด็นให้ได้ว่านัดเรื่องอะไร เวลาอะไร ที่ไหน เป็นต้น
               2. ควรฝึกใช้สำนวนต่างๆ ที่ได้เรียนไปแล้วในเรื่อง Conversation Techniques ของหน่วยที่ 3 เรื่องที่ 3.3.5 ให้คล่องแคล่ว เพื่อที่จะได้นำมาใช้อย่างถูกต้องตามสถานการณ์ ในกรณีที่ฟังไม่ทัน ฟังไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจ ต้องการให้พูดซ้ำ พูดช้า พูดดังขึ้น ให้สะกดชื่อ หรือต้องการตรวจสอบว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นถูกต้องหรือไม่
               3. ในการตรวจสอบว่าตนเองรับฟังข้อความทางโทรศัพท์ถูกต้องหรือไม่นั้น นอกจากจะตั้งคำถาม Did you say …? ตามที่ได้เรียนไปแล้วในเรื่องที่ 3.3.5 ผู้ฟังอาจพูดทวนข้อความบางส่วนที่ได้รับฟัง เช่น พูดเฉพาะจำนวน ตัวเลข หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ หรือเวลา โดยไม่จำเป็นต้องพูดข้อความทั้งข้อความซ้ำ ทั้งนี้เพื่อเป้นการตรวจสอบทางอ้อมกับผู้ฝากข้อความว่าตนเองรับฟังข้อความนั้นๆ ถูกต้องหรือไม่ ในกรณีที่ไม่ถูกต้อง ผู้ฝากข้อความก็จะช่วยแก้ไขให้ทันทีในขณะนั้น เช่นใน Dialog ที่ 1 เมื่ออรินบอกสถานที่และเวลาที่จะพบกันเพื่อรับประทานอาหาร Williom Johnson ได้เอ่ยทวนซ้ำทั้งสถานที่และเวลา และใน Dialog ที่ 3 อรินก็ได้พูดเบอร์โทรศัพท์ของ Robert Wilson อีกครั้งหนึ่ง
หมายเลขโทรศัพท์ วันที่ และเวลา
               จากบทสนทนาในเรื่องที่ 6.1.2  Presentation มีการพูดถึงหมายเลขโทรศัพท์ วันที่ และเวลา มีข้อแนะนำเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวดังนี้
1. หมายเลขโทรศัพท์
               1.1 เวลาบอกหมายเลขโทรศัพท์ ผู้พูดจะพูดหมายเลขไปทีละตัว โดยมีหยุดเว้นช่วงตามกลุ่มของหมายเลขและขึ้นเสียงสูง (rising intonation) ไปทุกกลุ่มของหมายเลข จนกระทั่งถึงกลุ่มสุดท้ายจึงใช้เสียงต่ำ (falling intonation)
               1.2 ถ้ามีหมายเลขซ้ำกัน เช่น 33 จะพูดว่า double three หากตัวเลขซ้ำกัน 3 ตัว เช่น 333 มักจะพูดว่า three three three หรือ three double three
               1.3 เลข 0 ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันนิยมพูดว่า zero และหากมีเลข 0 ซ้ำกัน เช่น 00 มักจะพูดว่า zero zero ในขณะที่ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษนิยมพูดเลข 0 ว่า oh และพูดเลข 00 ว่า double oh เช่น 0-2251-1526
               ภาษาอังกฤษแบบแบบอเมริกันพูดว่า zero – double two five one – one five two six
2. วันที่
            2.1 ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมักจะพูดถึงวันที่ เช่น September 6 ว่า September sixth ในขณะที่ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษพูดว่า the sixth of September หรือ September the sixth
               2.2 วันที่ที่บางครั้งผู้ฟังอาจฟังสับสนคิดว่าเป็นอีกวันที่หนึ่ง มักได้แก่ วันที่ 1 กับวันที่ 3 วันที่ 13 กับวันที่ 30 วันที่ 20 กับวันที่ 21 วันที่ 20 กับวันที่ 28 และวันที่ 30 กับวันที่ 31 นักศึกษาจึงควรฝึกสังเกต ตั้งใจฟัง และฝึกพูดเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสาร
               -              September 1        พูดว่า      September first
                              September 3        พูดว่า      September third
               -              September 13      พูดว่า      September thirteenth
                              September 30      พูดว่า      September thirtieth
                              September 31      พูดว่า      September thirty – first
               -              September 20      พูดว่า      September twentieth
                              September 21      พูดว่า      September twenty – first
                              September 28      พูดว่า      September twenty – eight
               2.3 การพูดถึงปีจะพูดเป็นคู่ เช่น 1999 พูดว่า nineteen ninety – one
               2.4 หากปีมีเลข 0 อยู่ด้วย เช่น 1905 จะพูดว่า nineteen oh – five
               2.5 สำหรับปี ค.ศ. 2000 ขึ้นไป จะใช้คำว่า thousand เช่น 2004 หากพูดแบบอเมริกันมักจะพูดว่า two thousand four และแบบอังกฤษมักจะพูดโดยมีคำว่า and ด้วย เป็น two thousand and four
3. เวลา
            3.1 มีวิธีบอกเวลาในภาษาพูดที่มักใช้กันอยู่ 2 วิธี ได้แก่ วิธีพูดตามตัวเลขของเวลา และพูดโดยใช้คำว่า half, past, quarter และ to ด้วย ตามตัวอย่างดังนี้
                             
วิธีพูดตามตัวเลขของเวลา
ใช้ half, past, quarter และ to
2:20 two twenty   
2:30 two thirty
2:40 two forty
2:45 two forty – five
2:55 two fifty – five
3:05 three oh five
3:15 three fifteen
twenty past two
half past two
twenty to three
(a) quarter to three
five to three
five past three
(a) quarter past three
               มีข้อสังเกตในการบอกเวลาด้วยการใช้ past และ to คือ จะใช้คำว่า past กับการบอกเวลาที่เข็มนาทียังเคลื่อนไปไม่เกินเลข 6 ในขณะที่จะใช้ to เมื่อเข็มนาทีเคลื่อนผ่านเลข 6 ไปแล้ว สำหรับ quarter นั้นใช้สำหรับการบอกเวลาที่เข็มนาทีอยู่ที่เลข 3 หรือเลข 9
               ผู้ฟังอาจเกิดการสับสนในการฟังเวลาที่มีตัวสะกดลงท้ายด้วย -ly และ -teen เช่น ระหว่าง 1:13 กับ 1:30 (one thirteen กับ one thirty) เป็นต้น ขอให้นักศึกษาสังเกตว่าคำที่ลงท้ายด้วย teen จะได้รับการเน้นเสียงหนักที่พยางค์ที่สองซึ่งก็ได้แก่ พยางค์ teen นั่นเอง ในขณะที่คำที่ลงท้ายด้วย ty จะได้รรับการเน้นเสียงหนักที่พยางค์แรก
               3.2 หากเป็นการบอกเวลาที่ไม่มีเศษของนาที ในภาษาพูดจะนิยมใช้ o’clock เช่น เวลา 8.00 น. พูดว่า eight o’clock หรือ eight o’clock in the morning หากเป็นเวลาเที่ยงวันจะพูดว่า noon หรือ twelve noon และ midnight หรือ twelve midnight สำหรับเวลาเที่ยงคืน
3. Writing: Taking telephone messages
TELEPHONE MESSAGE
To           ………(ชื่อผู้ที่ผู้ฝากข้อความถึง)…………           Date       …………(วันที่โทร)………………………….
From       …..(ชื่อผู้โทร)..........................................           Time       ……(เวลาที่โทร)........................................
Of           …..(ชื่อหน่วยงานของผู้โทร).....................           Tel.         ….(หมายเลขโทรศัพท์ของผู้โทร).................
Message
……………………………………………………………………………………………………………………….
........................……………………………(ข้อความ).....................................................................................
……………………………………………………………………………………………………………………….
Taken by …….(ชื่อผู้รับโทรศัพท์ และจดข้อความ)................................
            แม้ว่าในแต่ะหน่วยงานจะมีรูปแบบของแบบฟอร์มรับฝากข้อความทางโทรศัพท์แตกต่างกันออกไป แต่โดยหลักใหญ่ๆ จะประกอบด้วยองค์ประกอบตามตัวอย่างดังนี้










               ผู้รับฝากข้อความควรเขียนข้อความสั้น กระชับ แต่ได้ใจความ นำประเด็นหลักๆ ที่จับใจความได้จากการฟังมาเขียนให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้โทรต้องการอะไรโดยอาจเรียบเรียงเนื้อความใหม่ และไม่จำเป็นต้องใช้รูปแบบประโยค ศัพท์ สำนวนภาษา เหมือนกับที่ผู้โทรใช้ทุกประการ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ข้อความจะต้องมีเนื้อหาตรงและครบถ้วนตามที่รับฝากข้อความมา
            จากบทสนทนาใน Dialog 3 ของเรื่องที่ 6.1.2 Presentation อรินได้เขียนข้อความดังต่อไปนี้
TELEPHONE MESSAGE
To           Susan                                                  Date       August 20
From       Mr. Robert Wilson                              Time       10:30 a.m.
Of           SKT Corporation                                 Tel          0-2251-1526
Message
Please call him back. He would like to talk to you about your trip to New York.
Taken by Arin
ตอนที่ 6.2 Communicating Through Email
1. สิ่งที่ช่วยในการอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การรู้รูปแบบและส่วนประกอบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และวิธีการอ่านที่ถูกต้อง
2. ผู้เขียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ควรรู้รูปแบบและส่วนประกอบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิธีการเขียน และสำนวนภาษาที่นิยมใช้ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
3. การระบุวันและเวลาต้องใช้คำบุพบท (prepositions of time) ที่ถูกต้อง
4. สำนวนภาษาอังกฤษส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับคำกริยาและคำนามที่มักใช้ควบคู่กัน (verb-noun collocations)
คำอธิบาย
            1. lunch meeting หมายถึง การประชุม พร้อมทั้งรับประทานอาหารกลางวันไปด้วย
               2. 12:30 p.m. หมายถึง เวลาเที่ยงครึ่ง p.m. เป็นคำย่อมาจากภาษาละติน หมายถึง เวลาหลังเที่ยงวันถึงเที่ยงคืน ส่วน a.m. หมายถึง เวลาหลังเที่ยงคืนถึงเที่ยงวัน หากเป็นเวลาเที่ยงวันพอดีจะเขียน 12 noon หรือ twelve o’clock noon และเขียน 12 midnight หรือ twelve o’clock midnight สำหรับเวลาเที่ยงคืน โดยไม่เขียน a.m. หรือ p.m. ซ้อนอีก
               3. Please let Khun Suriya know of your availability. หมายความว่า ให้แจ้งคุณสุริยาด้วยว่าจะสามารถมาร่วมประชุมได้หรือไม่
               4. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่รับเข้า (incoming email) ตามตัวอย่างที่แสดงใน Presentation มักมีองค์ประกอบดังนี้
                              4.1 From ระบุชื่อ นามสกุล และที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email address) ของผู้ส่ง ซึ่งจะปรากฏขึ้นโดยอัตโนมัติ
                              4.2 To ระบุที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับ บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์บางแห่งมีโปรแกรมใส่ชื่อและนามสกุลของผู้รับโดยอัตโนมัติ โดยวางนำหน้าที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับแต่ละคน
                              4.3 Cc ย่อมาจาก carbon copy หรือ courtesy copy ระบุที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่งที่ต้องการให้รับทราบข้อความด้วย เช่น James Farnan ต้องการแจ้งเรื่องการประชุมแก่คน 4 คน และส่งข้อความนี้ให้สุริยาซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องรับทราบด้วย
                              4.4 Subject หรือ Re ระบุใจความสำคัญของข้อความในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
                              4.5 Date ระบุวันที่และเวลาที่ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลนี้จะปรากฏขึ้นโดยอัตโนมัติหลังการส่งข้อความ
                              4.6 ส่วนข้อความ (body / message)
กลยุทธ์ในการเรียนรู้
1. การอ่านเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ (scanning)
            การอ่านแบบนี้ใช้ในกรณีที่นักศึกษามีเป้าหมายไว้ในใจแล้วว่าต้องการหาข้อมูลอะไร เช่น นักศึกษาได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆ ฉบับ และต้องการอ่านข้อความที่ส่งมาจากบุคคลใดบุคลหนึ่งโดยเฉพาะ หรือต้องการอ่านเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ นักศึกษาไม่จำเป็นต้องค่อยๆ อ่านข้อความที่ปรากฏในหน้าที่สรุปรายการจดหมายเข้า (inbox) โดยละเอียดเรียงตามบรรทัดทุกบรรทัดแต่ควรจะกวาดสายตาหาชื่อของบุคคลที่ต้องการโดยดูจากช่อง FROM หรือหาเรื่องที่ต้องการจากช่อง SUBJECT ได้โดยเร็ว วิธีการอ่านเช่นนี้อาจใช้ในการหาข้อมูลเฉพาะที่ต้องการในเนื้อคามของจดหมายได้ด้วย เช่น หาราคาของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นต้น
2. การพัฒนาทักษะการเขียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
            มีข้อแนะนำบางประการเกี่ยวกบการพัฒนาทักษะการเขียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถปรับใช้กับการพัฒนาการเขียนชนิดอื่นๆ ได้ดังนี้
               2.1 พยายามอ่านและเก็บรวมรวมงานเขียนที่ดีๆ และมีเนื้อหาใกล้เคียงกับสิ่งที่นักศึกษาต้องเขียนเพื่อเอาไว้เป็นตัวอย่าง
               2.2 ฝึกจดจำและฝึกใช้สำนวนภาษาต่างๆ ที่มักใช้บ่อยๆ ในการเขียนติดต่อสื่อสาร เช่น สำนวนลงท้าย I look forward to hearing from you. เพื่อจะได้ใช้เขียนได้ถูกต้องและเร็วขึ้น
               2.3 ใช้หนังสืออ้างอิงทางไวยากรณ์และพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ ที่มีตัวอย่างประโยคการใช้ศัพท์ สำนวน เป็นเครื่องช่วยในการเขียน พจนานุกรมบางชนิด เช่น Longman Language Activator มีประโยชน์กับการพัฒนาทักษะภาษาด้าน productive ซึ่งได้แก่ ทักษะการพูดและการเขียน เนื่องจากจับกลุ่มคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน พร้อมอธิบายความแตกต่างและให้ตัวอย่างการใช้ในประโยค
Grammar: Prepositions of time
            จากตัวอย่างไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องที่ 6.2.2 Presentation นักศึกษาจะเห็นคำบุพบทที่ชั้บคำที่บอกวันที่และเวลา คือ on Monday, August 19 at 12:30 p.m. คำบุพบทที่มักจะใช้นำหน้าคำแสดงวัน เดือน ปี และเวลา ได้แก่ in, on, และ at ตามตัวอย่างดังนี้
คำบุพบท
ใช้นำหน้า
ตัวอย่าง
in
บางช่วงของวัน
เดือน
ฤดูกาล
ปี
in the morning / afternoon / evening
in October
In the summer
in 20XX
on
วัน
วันที่
on Monday / Tuesday morning / the weekend
on October 1, 20XX
at
เวลาตามเข็มนาฬิกา
at 2:30 p.m. / 2 o’clock
at noon / midnight
หมายเหตุ             1. คำบอกเวลาที่ไม่ใช้คำบุพบทนำหน้า ได้แก่ today, tomorrow, yesterday และคำที่ขึ้นต้นด้วย next, last, this และ every
เช่น I will see you tomorrow / next week.
                              2. at ใช้นำหน้า night หมายถึง ช่วงเวลากลางคืน
Vocabulary: Verb-Noun collocations
               ในภาษาอังกฤษมีคำกริยาและคำนามบางคำที่มักจะใช้ควบคู่กันไป (verb – noun collocation) เช่น to hold a meeting หากนักศึกษาสามรถจดจำคู่คำเหล่านี้ พร้อมทั้งเข้าใจความหมาย และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องก็ถือว่าเป็นการพัฒนาการใช้ภาษาได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างของคำกริยาและคำนามที่มักใช้ควบคู่กันในบริบทของการทำงานมีตามตารางข้างล่างนี้ หากนักศึกษาไม่ทราบความหมายของคู่คำใด ให้หาความหมายจากพจนานุกรมและจดไว้
Verb
Noun
accept
an invitation, an offer, responsibility
arrange
a meeting, transportation, a visit
attend
a ceremony, a conference, a meeting
change
someone’s job, someone’s mind, the subject
confirm
an appointment, an arrangement, a flight
give
advice, information, a presentation
hold
the line, a meeting, a share
make
an offer, a profit, a reservation
meet
the deadline, a requirement, the specifications
send
an email, information, a sample
               นอกจากคู่คำที่ยกมาข้างต้นนี้แล้ว ยังมีคู่คำอีกมากมายที่ใช้ในภาษาอังกฤษ ซึ่งนักศึกษาจะศึกษาเพิ่มเติมได้จากพจนานุกรมทั่วไป อังกฤษ - อังกฤษ หรือจากพจนานุกรมเฉพาะเรื่องที่แสดงคู่คำต่างๆ เช่น Oxford Collocations Dictionary นอกจากนั้นในเวลาที่นักสึกษาอ่านสิ่งต่างๆ ฟังข่าว หรือ ชมภาพยนตร์ ก็อาจฝึกตนเองให้สังเกต และจดจำการใช้คู่คำต่างๆ เพื่อนำมาใช้ด้วยตนเองต่อไป
Reading: Reading email messages
ผู้ส่ง หัวเรื่อง และวัตถุประสงค์
            ในการอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อนเริ่มลงมืออ่านข้อความควรดูว่า ใครเป็นผู้ส่งข้อความมาโดยดูจากช่อง From และมีใจความสำคัญ หรือเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใด โดยดูจากช่อง Subject หรือ Re เนื่องจากชื่อผู้ส่งหรืออีกนัยหนึ่งผู้เขียนข้อความ และหัวข้อเรื่องเป็นเครื่องช่วยในการอ่านให้พอคาดเดาได้ว่าผู้เขียนเขียนมาด้วยเรื่องอะไร เช่น หากนักศึกษาส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จองโรงแรมในต่างประเทศและในวันต่อมาได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จากโรงแรมนั้น และใช้หัวข้อ Reservation นักศึกษาก็คงพอจะคาดการณ์ได้โดยที่ยังไม่ต้องอ่านข้อความเป็นข้อความที่ส่งมาตอบรับการจองห้อง หรืออาจแจ้งว่าไม่สามารถรับจองห้องได้ตามช่วงเวลาที่ต้องการ เป็นต้น ในบางกรณีแม้ผู้อ่านไม่ทราบว่าผู้เขียนเป็นใคร และหัวข้อเรื่องม่ใจความกว้างจนผู้อ่านไม่อาจคาดเดาวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของผู้เขียน หรือรายละเอียดของเนื้อหาได้ แต่การอ่านหัวข้อเรื่องก่อนทำให้ผู้อ่านอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมายมากขึ้นและเร็วขึ้น
               หลังจากดูแล้วว่าใครเป็นผู้ส่ง และเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใด ลำดับต่อไป คือ อ่านเพื่อหาคำตอบว่าผู้เขียนมีวัตถุประสงค์อะไรในการส่งข้อความมา ต้องการให้ผู้รับข้อความหรือผู้อ่านทำอะไร
               วิธีการอ่านข้างต้นนี้สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องช่วยในการอ่านจดหมายทางไปรษณีย์ธรรมดา โทรสาร และบันทึกข้อความได้ด้วย
คำย่อ
               มีคำย่อบางคำที่มีผู้ใช้ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ จะขอยกมาเป็นตัวอย่างในกรณีที่นักสึกษาอ่านพบจะได้เข้าใจความหมายได้ ดังนี้
คำย่อ
คำเต็ม
asap
fyi
info
pls
re
as soon as possible
for your information
information
please
regarding, referring to
               นักศึกษาอาจต้องระมัดระวังในการใช้คำย่อในการเขียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากอาจเป็นอุปสรรคในการอ่านแก่ผู้อ่านบางคนที่ไทราบความหมายของคำย่อเหล่านี้
Writing: Writing short email messages
รูปแบบและส่วนประกอบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
               ปกติแล้วหน้าจอที่แสดงไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่รับเข้า (incoming email) และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งออกจะมีรูปแบบและส่วนประกอบแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย ขอให้นักศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของหน้าจอไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่รับเข้าในเรื่องที่ 6.2.2 Presentation และรูปแบบของหน้าจอไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งออกต่อไปนี้
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งออก มักมีองค์ประกอบดังนี้
               1) To เป็นส่วนที่ผู้ส่งพิมพ์หมายเลขไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email address) ของผู้รับในกรณีที่เขียนถึงบุคคลหลายคน อาจเรียงชื่อตามอาวุโสหรือตามลำดับตัวอักษร ทั้งนี้ขึ้นกับธรรมเนียมปฏิบัติในหน่วยงานนั้นๆ
               2) Cc ใช้ในกรณีที่ผู้ส่งข้อความต้องการให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากบุคคลที่เขียนถึงได้รับทราบข้อความด้วย ผู้ส่งจะพิมพ์หมายเลขไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลนั้นในช่องนี้
               3) Bcc ย่อมาจาก Blind carbon copy ใช้ในกรณีที่ผู้ส่งข้อความต้องการให้บุคคลอื่น เช่น Mr. Carter รับทราบข้อความด้วย แต่ไม่ต้องการให้ผู้ที่เขียนถึงโดยตรงตามรายชื่อในช่อง To รับทราบว่าตนส่งข้อความนี้ให้ Mr. Carter ผู้ส่งก็จะพิมพ์หมายเลขไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของ Mr. Carter ในช่องนี้ เวลาผู้รับเปิดอ่านข้อความก็จะไม่มีชื่อของ Mr. Carter ปรากฏอยู่ที่หน้าจอของผู้รับ
               4) Subject หรือ Re สรุปใจความสำคัญของข้อความในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้รับทราบว่าเขียนมาเรื่องอะไร ควรใช้วลีที่สั้น กระชับ ได้ใจความ และไม่กว้างเกินไป ในการตคิดต่องานด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ควรเขียนหัวเรื่องทุกครั้งไม่ควรปล่อยให้เว้นว่าง เนื่องจากหัวข้อเรื่องมีประโยชน์ในการอ้างถึงและการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
               5) Attachments ใช้ในกรณีที่ผู้ส่งต้องการแนบเอกสารเพิ่มเติมเพื่อส่งให้ผู้รับพร้อมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
               6) ส่วนข้อความ (body / message) ประกอบด้วยคำทักทายเนื้อหาของข้อความ คำลงท้าย ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของผู้ส่งในบางกรณีผู้ส่งอาจจะไม่พิมพ์ส่วนต่างๆ เช่น คำทักทาย คำลงท้าย ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
การเขียนข้อความทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แบบสั้น
               มีข้อแนะนำบางประการเกี่ยวกับการเขียนข้อความและภาษาที่ใช้ในการเขียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แบบสั้น ดังนี้
               1) วัตถุประสงค์ ผู้เขียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แบบสั้น มักมีวัตถุประสงค์ในการเขียนดังนี้
                           - ขอข้อมูล คำแนะนำ
                              - ตอบคำถาม ให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะ ตามที่ขอมา
                              - แจ้งข่าว หรือเรื่องราวต่างๆ
                              - สั่งงาน ขอให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
                              - นัดหมายต่างๆ ยืนยันการนัดหมาย
               2) วิธีการเขียน วิธีการเขียนประเภทดังกล่าวข้างต้นมักใช้วิธีการเขียนแบบตรง (direct approach) โดยมีลำดับขั้นตอนการเขียนดังนี้
                              (1) ระบุวัตถุประสงค์ของการเขียน หรือใจความสำคัญของข้อความ
                              (2) ให้ข้อมูล หรือคำอธิบายเหตุผลรายละเอียด
                              (3) แจ้งแก่ผู้รับว่าต้องการให้ผู้รับทำอะไร หรือผู้เขียนจะทำอะไร (ถ้ามี)
               3) รูปแบบประโยค ผู้เขียนควรใช้ประโยคสั้น กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ แต่ได้ใจความและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เนื่องจากประโยคยาวๆ จะเป็นอุปสรรคในการอ่านของผู้อ่านจากจอคอมพิวเตอร์
               4) สำนวนภาษา สำนวนภาษาที่นิยมใช้ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แบบสั้น มีตัวอย่างดังนี้
สถานการณ์
สำนวนภาษา
ตอบรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของอีกฝ่าย
Thank you / Thanks for your email / message.
Sorry for the delay in replying. (ขอโทษที่ตอบช้า)
บอกวัตถุประสงค์ที่เขียน
I am writing to ….
แจ้งข่าว
Please be informed that …
ขอร้อง
Please …
Could / Can you … ?
I would appreciate it if you could …
ส่งเอกสารแนบ
I am sending you …
Here is the document you asked me to send.
เสนอให้ข้อมูล
If you need any more information, please let me know.
ขอบคุณก่อนจบ
Thank you.
Thanks for everything.
Thanks again for your help.
ลงท้ายก่อนจบ
See you (on ….)
I hope to hear from you soon.
I look forward to seeing you / hearing from you soon.*
I will contact you again.
หมายเหตุ          ในสำนวน look forward to นั้น to เป็นคำบุพบทซึ่งตามกฎไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ คำกริยาที่ตามหลังคำบุพบทจะเปลี่ยนรูป
เป็น V – ing ดังนั้น ในสำนวนนี้คำกริยา see และ hear จึงเปลี่ยนรูปเป็น seeing และ hearing
               5) คำทักทายและคำลงท้าย โดยทั่วไปมักใช้คำที่เป็นพิธีการน้อยกว่าคำทักทาย และคำลงท้ายที่ใช้ในจดหมายทางไปรษณีย์ธรรมดา ทั้งนี้ขึ้นกับสถานการณ์และความสัมพันธ์ตลอดจนสถานะของผู้ส่งและผู้รับข้อความ ตัวอย่างของคำทักทายและคำลงท้ายที่เป็นที่นิยมใช้มีดังนี้
ระดับภาษาที่ใช้
คำทักทาย
คำลงท้าย
เป็นทางการ
 








ไม่เป็นทางการ
- Dear Mr. / Mrs. / Ms. + นามสกุล
- Dear Khun + ชื่อต้น
- Dear All (ใช้ในกรณีที่เขียนถึงคนหลายๆ คน)
- Dear + ชื่อต้น
- Hello / Hi + ชื่อต้น
- Sincerely yours หรือ
Sincerely (อเมริกัน)
หรือ Yours sincerely (อังกฤษ)
- Best / Kind regards
- Best wishes
- Regards
- Yours
- Cheers
- Bye for now
- All the best
ตอนที่ 6.3 Office Chit – Chat
1. นอกเหนือจากการสนทนากันเกี่ยวกับเรื่องงานที่รับผิดชอบแล้ว คนทำงานมักจะสนทนากันในเรื่องจิปาถะ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นและเพื่อเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์
2. การแจ้งข่าวหรือเรื่องราวต่างๆ ตลอดจนการดำเนินการสนทนาให้ต่อเนื่องมีสำนวนภาษาที่ใช้แตกต่างกันไปตามสถานการณ์
3. การเล่าเรื่องการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ในอดีตจะใช้ past continuous tense
คำอธิบาย
            ศัพท์และสำนวนที่ควรทราบจากบทสนทนาใน Presentation มีดังนี้
Dialog 1
            1. She’s going to leave … ในบริบทนี้ หมายความว่า จะเลิกทำงานที่หอการค้าไทย – อเมริกัน
               2. to give someone’s notice in หมายถึง การแจ้งขอลาออก ซึ่งโดยปกติมักจะระบุวันที่จะเลิกทำงานด้วย อาจใช้สำนวน to give in someone’s notice ก็ได้
               3. She seems to like it here. หมายถึง ดูเหมือนว่าจอยจะชอบทำงานที่หอการค้าไทย-อเมริกัน
               4. Ministry of Foreign Affairs หมายถึง กระทรวงการต่างประเทศ
               5. to be posted หมายถึง ได้รับแต่งตั้งให้ไปทำงานในต่างเมืองซึ่งในที่นี้คือที่ประเทศนิวซีแลนด์
Dialog 2
            1. all by yourself หมายถึง คนเดียว
               2. client หมายถึง ลูกค้าของหน่วยงานที่ขายบริการ หรือให้คำปรึกษา เช่น ธนาคาร สำนักงาน กฎหมาย หรือบริษัทโฆษณา ในขณะที่ customer หมายถึง ลูกค้าของสถานที่ที่ขายสินค้า เช่น ร้านขายสินค้า หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
               3. all work and no play ในที่นี้หมายถึง ได้แต่ทำงานไม่ได้ไปเที่ยวพักผ่อน
               4. robbery หมายถึง การปล้น ซึ่งมักใช้กำลังหรืออาวุธเพื่อชิงทรัพย์จากเจ้าทรัพย์ซึ่งๆ หน้า มีความหมายต่างจาก theft ซึ่งหมายถึง การขโมยทรัพย์โดยที่เจ้าทรัพย์มักจะไม่รู้ตัว คำกริยาของ robbery คือ to rob ส่วนคำกริยาที่มีความหมายว่าขโมย คือ to steal
               5. alley หมายถึง ตรอก หรือซอกตึก
Dialog 3
            1. to run into someone หมายถึง ไปเจอกันโดยบังเอิญ
               2. the office gossip หมายถึง เป็นคนที่ชอบซุบซิบนินทา หรือพูดถึงเรื่องคนอื่นๆ ในที่ทำงาน
               3. We hired Arin to replace her. หมายถึง รับอรินเข้าทำงานแทนที่ หรือในตำแหน่งของศรี
               4. to be made redundant หมายถึง หน่วยงานให้ออกจากงาน ซึ่งมักจะหมายถึงยุบตำแหน่งนี้ไปเลยโดยไม่จ้างคนอื่นมาแทนที่เนื่องจากไม่มีความจำเป็น หรือไม่มีเงินจ้างอีกต่อไปแล้ว
               5. Are they seeing each other? … หมายถึง กำลังคบหากันฉันคนรักหรือไม่
การพัฒนาการฟังเพื่อความเข้าใจ
               มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการฟังของนักศึกษานอกเหนือจากที่ได้แนะนำไปแล้ว ดังนี้
               1. ฝึกฟังการสนทนาหรือการพูดภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์ ข่าว รายการอื่นๆ ทางโทรทัศน์ หรือวิทยุ และใช้สถานการณ์ เหตุการณ์เรื่องราว สีหน้า ท่าทางของตัวละคร หรือผู้พูดเป็นเครื่องช่วยในการทำความเข้าใจการสนทนาหรือการพูด
               2. ในกรณีที่ผู้พูดใช้คำพูด ศัพท์ สำนวนที่ไม่รู้จัก ควรพยายามเดาความหมายของคำเหล่านั้นจากสถานการณ์ เรื่องราวที่เป็นอยู่ ภาษาท่าทางของคู่สนทนา และข้อความที่คำเหล่านั้นปรากฏอยู่ (context)
               3. ในการสนทนาในเรื่องจิปาถะ ผู้ฟังไม่จำเป็นต้องพยายามฟังคำทุกคำในประโยคของคู่สนทนาซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการฟังทางโทรศัพท์ แทนที่จะทำเช่นนั้นอาจมุ่งความสนใจไปที่คำที่ผู้พูดเน้นเสียงหรือออกเสียงดังกว่าคำอื่นในประโยคสนทนา (stressed words) ซึ่งมักจะเป็นคำที่มีความสำคัญในข้อความนั้น
Starting the conversation
               ในการแจ้งข่าวหรือเรื่องราวต่างๆ ที่น่าตื่นเต้นหรือน่าสนใจแก่บุคคลที่ผู้พูดคุ้นเคยด้วย ผู้พูดมักจะเริ่มต้นด้วยประโยคเกริ่นนำเพื่อเรียกความสนใจของผู้ฟัง แล้วจึงถามด้วยข่าวหรือเรื่องราวที่จะบอก ดังนี้
ประโยคเกริ่นนำ
ตัวอย่างข่าวหรือเรื่องราว
Have you heard about Sumer?

Have I told you about Win?
He’s going to take an early retirement. (ลาออกก่อนครบอายุการทำงาน)
He was hit by a bus this morning.
Have you heard the news?
I have some good news.
We’ll all be given a ten percent raise next year. (ได้ขึ้นเงินเดือน)
Did you hear the news?
I have some bad news?
Did you hear what happened?
(ตามด้วยข่าวหรือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต)
There was a fire at our plant last night. (ไฟไหม้ที่โรงงานเมื่อคืน)
Keeping the conversation going
            วิธีการที่คู่สนทนามักจะใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนกำลังฟังคำพูดของอีกฝ่าย และต้องการให้การสนทนาดำเนินต่อไป นอกจากการมองหน้าคู่สนทนาและใช้ภาษาท่าทางได้แก่ การพยักหน้าเพื่อแสดงความรับรู้คำพูดของอีกฝ่ายแล้ว อาจมีดังนี้
วิธีการ
ตัวอย่าง
พูดทวนบางส่วนของคำพูดของคู่สนทนา
A: I went shopping yesterday.
B: Shopping! Again?
ถามคำถามต่อจากสิ่งที่คู่สนทนาพูด
A: I went shopping yesterday.
B: What did you buy?
พูดส่วนสร้อยของประโยคของคู่สนทนาเพื่อแสดงการรับทราบ (ลงเสียงต่ำ) หรือความสนใจหรือประหลาดใจ (ขึ้นเสียงสูง)
A: I went shopping yesterday.
B: Did you?
A: I spent all my money yesterday.
B: Did you?

วิธีการ
ตัวอย่าง
ใช้สำนวนดังต่อไปนี้
(oh,) really? (ประหลาดใจ)
Right.
Yes.
I see (what you mean)
How exciting / interesting / nice!
That’s excellent!
A: I went shopping yesterday.
B: Really? I thought you were sick.
A: I felt much better in the afternoon so I went out to buy a birthday present for my son.
B: I see.
Changing the topic of conversation
            ในการเปลี่ยนหัวข้อสนทนาจากเรื่องเดิมที่กำลังสนทนากันอยู่อาจใช้สำนวนดังนี้
สำนวน
ตัวอย่าง
By the way, ….
Oh, before I forget, …

Talking of / about …,
A: Did you have a good weekend?
B: Yes, we were invited to a party at my friend’s house, and we really had a great time. Oh, before I forget, your sister called this morning.
Grammar: Past continuous tense
               Past continuous tense คือ คำกริยา was / were + V -ing มีรูปแบบในประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถาม ดังนี้
               ประโยคบอกเล่า:    I / he / she / it + was + V -ing
                                             You / we / they / + were + V -ing
               ประโยคปฏิเสธ:      I / he / she / it + was not / wasn’t + V -ing
                                             You / we / they + were not / weren’t + V -ing
               ประโยคคำถาม:     Was I / he / she / it + V -ing ?
                                             Were you / we / they + V -ing?
Past continuous tense มักใช้ในกรณี ดังนี้
               1. บรรยายถึงการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นหรือดำเนินอยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต เช่น I was working at the office at 9 p.m. last night.
               2. บรรยายถึงการกระทำในอดีตที่กำลังเกิดขึ้นหรือดำเนินอยู่ในขณะที่เกิดอีกเหตุการณ์หนึ่งขึ้น การกระทำที่เกิดขึ้นและกำลังดำเนินอยู่ก่อนจะใช้ past continuous tense ในขณะที่การกระทำที่เพิ่งเกิดขึ้นจะใช้ past simple tense ในกรณีนี้มักจะใช้คำเชื่อม when ไว้หน้ากลุ่มคำที่มี past simple tense ดังนี้
past continuous tense + when + past simple tense เช่น I was walking back to the hotel when I saw a man.
When + past simple tense + past continuous tense เช่น When she arrived, we were working.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น