วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

หน่วยที่ 13-14


หน่วยที่ 13 Time to Relax
               1. การชมภาพยนตร์นับเป็นการพักผ่อนหย่อนใจประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่พิสมัยความบันเทิง และยังเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งการฟังภาษาและสำเนียงต่างๆ จากภาพยนตร์ การพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์ การอ่านบทวิจารณ์ภาพยนตร์ ตลอดจนเรียนรู้ศัพท์สำนวนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
               2. การใช้เวลาว่างของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป บางคนชอบดูโทรทัศน์หรือฟังเพลง แต่บางคนชอบอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ผู้สนใจก็สามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย
               3. กิจกรรมยามว่างจากการงานหรือการเรียนรู้ที่ทุกคนโปรดปรานย่อมมีหลากหลายตามความสนใจเมื่อเป็นเช่นนั้น คนเราย่อมต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในความสนใจ การเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษจึงสามารถเข้ามามีบทบาทได้เป็นอย่างดี ทั้งการพูดคุยถามตอบเรื่องกิจกรรมยามว่าง โดยใช้ศัพท์สำนวนต่างๆ การฝึกฝนทักษะการอ่านจากการค้นคว้าหาข้อมูลในสื่อสิ่งพิมพ์หรืออินเทอร์เน็ต และอื่นๆ
ตอนที่ 13.1 Movie Time
               1. การชักชวนชี้แนะอาจใช้สำนวนต่างๆ ได้หลายสำนวน และต้องเลือกใช้สำนวนตอบรับหรือปฏิเสธให้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย
               2. การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ได้ชมอาจมีทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยมักใช้คำคุณศัพท์ที่บรรยายลักษณะและคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -ed หรือ -ing
               3. คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์มีมากมาย เช่น ประเภทของภาพยนตร์ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ศัพท์ที่ใช้ในวงการ เป็นต้น
               4. การอ่านบทวิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องศัพท์สำนวน และช่วยพัฒนาทักษะการอ่าน โดยที่อย่างน้อยนักศึกษาควรบอกได้ว่าผู้วิจารณ์มีความคิดเห็นหรือรู้สึกอย่างไร
คำอธิบาย
Dialog A
               1. go to a movie หมายถึง ไปชมภาพยนตร์ บางครั้งอาจใช้คำว่า go to the movies ถ้ากล่าวถึงการไปชมภาพยนตร์โดยทั่วไป ขอให้สังเกตว่าจะไม่มีคำว่า “see”
               2. I haven’t seen any for two weeks. หมายความว่า ผมไม่ได้ดูหนังสักเรื่องเลยมา 2 อาทิตย์แล้ว
               3. Why don’t you call and check with the theater which movies are on? หมายความว่า ทำไมคุณไม่โทรศัพท์ไปถามที่โรงภาพยนตร์ล่ะว่ามีหนังเรื่องอะไรฉายบ้าง ในที่นี้ เป็นการชักชวนชี้แนะให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยใช้สำนวน Why don’t you…? ไม่ใช่การตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล คำว่า “theater” โดยทั่วไปอาจหมายถึง โรงละครหรือโรงภาพยนตร์ แต่ในที่นี้คือ โรงภาพยนตร์ หรือคำเต็มคือ movie theater ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ถ้าเป็นแบบอังกฤษจะใช้ว่า “cinema” ในปัจจุบันผู้ที่ต้องการชมภาพยนตร์อาจตรวจสอบจากเว็บไซต์ได้ด้วยว่า มีภาพยนตร์เรื่องใดกำลังฉายอยู่บ้าง ซึ่งนับเป็นการอำนวยความสะดวกให้อีกทางหนึ่ง
Dialog B
               4. You don’t really like dramas or romances, do you? หมายความว่า คุณคงไม่ค่อยชอบหนังชีวิตหรือหนังรักเท่าไรนักใช่ไหม
               ในที่นี้ รสาใช้ประโยคคำถามเป็น tag question โดยใช้ส่วนหน้าเป็นปฏิเสธ เนื่องจากค่อนข้างเชื่อว่า Nick ไม่ค่อยชอบดูหนังดังกล่าว แต่ต้องการถามย้ำเพื่อความแน่ใจ
               5. Not exactly. I haven’t seen much of them really. ในที่นี้ Nick ตอบแบ่งรับแบ่งสู้ว่าไม่เชิงไม่ชอบ แต่ไม่ได้ดูหนังแบบที่ว่ามากนัก
               6. My treat หมายความว่า ผมเลี้ยงเอง
               7. I won’t say no. หมายความว่า ฉันไม่ปฏิเสธแน่ เป็นสำนวนที่ใช้ตอบรับข้อเสนอหรือคำชักชวน
Using Movies to Enlarge Exposure to English
            จากการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไม่ใช่เพียงเรียนรู้จากตำรา บทเรียน หรือสื่อการสอนต่างๆ เท่านั้น แต่สามารถเรียนรู้และฝึกฝนจากสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ด้วย โดยเฉพาะสิ่งบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ที่นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ยังช่วยในการฝึกฝนภาษาอังกฤษได้อีกด้วย นักศึกษาสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ภาษา ศัพท์ สำนวน และคำแสลง การออกเสียง ตลอดจนวัฒนธรรมความเป็นอยู่ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับการใช้ภาษา
               ถ้านักศึกษาชอบชมภาพยนตร์อยู่แล้ว ควรพยายามหาความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ล่วงหน้า อาจทำได้โดยการอ่านเอกสารโฆษณา บทวิจารณ์ หรือเรื่องย่อทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อให้เข้าในเรื่องราวพอสังเขป เมื่อชมภาพยนตร์จะได้สามารถติดตามได้โดยไม่ต้องอ่านคำบรรยายมากนักแต่ควรให้ความสนใจกับภาษาที่ใช้ในและการออกเสียง ตลอดจนสังเกตสถานการณ์ที่ผู้พูดใช้สำนวนภาษานั้นๆ ในระยะแรกอาจต้องอ่านไปด้วยดูไปด้วย โดยเริ่มที่ภาพยนตร์การ์ตูนซึ่งค่อนข้างเข้าใจง่ายกว่า ถ้าอยู่ที่บ้านควรจดคำศัพท์ที่ไม่รู้จักตามเสียงที่ได้ยินและไปเปิดพจนานุกรมในภายหลัง นอกจากนั้นควรทดลองหากระดาษมาปิดคำบรรยาย แล้วพยายามทำความเข้าใจเรื่องราว อาจพูดตามตัวละครไปด้วย ถ้าต้องการฝึกพูด หรือนักศึกษาอาจชมภาพยนตร์ตามปกติครั้งหนึ่งก่อน แล้วจึงชมซ้ำอีกครั้งเพื่อฝึกฝนภาษา โดยดำเนินการตามคำแนะนำข้างต้น
               อย่างไรก็ตาม สำเนียงภาษาอังกฤษที่ได้ยินอาจเป็นเรื่องยากสำหรับนักศึกษา เนื่องจากมักมีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ แบบอเมริกัน แบบออสเตรเลีย ฯลฯ และแม้จะเป็นภาษาอังกฤษแบบอังกฤษหรือแบบอเมริกันก็ยังแบ่งออกเป็นหลายสำเนียง ขึ้นอยู่กับว่าผู้พูดมาจากส่วนไหนของประเทศ นักศึกษาต้องอาศัยการฝึกฟังบ่อยๆ จึงจะเกิดความคุ้นเคย ในตอนแรกจะดูเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อนักศึกษาพยายามฝึกฝนให้สม่ำเสมอ เรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย อีกทั้งยังสนุกและท้าทายอีกด้วย
               เมื่อคิดว่าตนเองสามารถพัฒนาการฟังได้ถึงระดับหนึ่งแล้ว ให้นักศึกษาลองหาชมภาพยนตร์ที่ไม่มีคำบรรยายไทย และฝึกฝนด้วยวิธีการเดียวกัน กล่าวคือ จดคำศัพท์และสำนวนต่างๆ ที่ได้ยิน ออกเสียงตาม ตลอดจนสังเกตสถานการณ์ที่ผู้พูดใช้สำนวนภาษานั้นๆ  อีกทั้งอาจเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเหล่านั้นไปด้วย พร้อมเปรียบเทียบกับประเทศของเรา
               ในกรณีที่นักศึกษาต้องการฝึกทักษะการอ่าน ควรหาเรื่องราวเกี่ยวกับภาพยนตร์หรือวงการบันเทิงที่เป็นภาษาอังกฤษมาอ่าน เช่น บทวิจารณ์ภาพยนตร์ในหนังสือพิมพ์ ข่าวบันเทิงเกี่ยวกับภาพยนตร์หรือดารา พยายามหาหัวข้อเรื่องที่อ่าน พร้อมทั้งจับใจความสำคัญ และศึกษาศัพท์สำนวนที่ใช้ หรืออาจอ่านเรื่องที่ชอบและสนใจ ซึ่งจะช่วยให้พัฒนาภาษาอังกฤษได้เร็วขึ้น
Listening for Specific Information
            การฟังมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายเช่นเดียวกับการอ่าน ทั้งเพื่อจับใจความสำคัญ เพื่อเข้าใจรายละเอียด หรือเพื่อหาข้อมูลเฉพาะเจาะจง ในที่นี้จะกล่าวถึงการฟังเพื่อวัตถุประสงค์ประการหลังนี้
               ก่อนที่นักศึกษาจะฟังบทสนทนาในเรื่องที่ 13.1.2 Presentation นักศึกษาควรอ่านข้อความใน Presentation Activity ก่อน เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลเฉพาะที่ต้องการคืออะไร จะช่วยให้การฟังง่ายขึ้นและฟังอย่างมีเป้าหมาย นักศึกษาจะได้ให้ความสนใจกับคำหลักหรือคำที่เหมือนกับคำที่ปรากฏในข้อความที่อ่าน เพื่อช่วยในการหาคำตอบ ฉะนั้น เมื่อนักศึกษาต้องฝึกฝนการฟัง ควรระลึกไว้เสมอว่า จำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการฟังนั้นๆ ด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Making suggestions
            การชักชวนชี้แนะอาจเลือกใช้สำนวนต่างๆ ได้หลายสำนวน เช่น
1. Shall we …?                    2. Why don’t you ….?                        3. Why don’t we ….?                         4. How about + N/V -ing?
5. Let’s …                            6. I (‘d) suggest (that) + subject + V base form           7. We could ….                   8. Let’s not ….
ตัวอย่าง
สำนวนชักชวนชี้แนะ
การตอบรับ
การตอบปฏิเสธ
Shall we have some ice-cream?
Why don’t you call and check with the theater which movies are on?
Why don’t we have lunch first and then see a movie later?
How about a game of tennis?
How about watching TV?
Let’s see a movie.
I (‘d) suggest (that) we rent a video.
We could do out for dinner.
Let’s not waste time playing computer games.
Yes, let’s.
Yes, let’s do that.
Yes / Sure, why not?
That’s a good / marvelous idea.
That sounds good to me.
I think you’re right.
I think I’ll do that. (ใช้ตอบรับคำชักชวนที่ขึ้นต้นด้วย Why don’t you…? และ I’d suggest …)
That sounds like fun. (ใช้ตอบรับคำชักชวนที่ฟังดูน่าสนุก)
I’m afraid I’m too busy right now.
I’m afraid I can’t. I really don’t have time.
(Well), I don’t feel like it just now.
I’d rather not if you don’t mind.
I wish I could, but I have a lot of work to do.
Giving opinions about movies: Positive and negative comments
            การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ได้ชมมักมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ขอให้ดูบทสนทนาต่อไปนี้เปรียบเทียบกันและลองบอกว่าอันไหนกล่าวถึงภาพยนตร์ในด้านบวกและอันไหนเป็นด้านลบ
                              I                                                                                   II
A: Have you seen “Star Wars”?                                                     A: Have you seen “Hellraiser”?
B: Yes, both on screen and on DVD.                                            B: Yes, on cable TV.
A: What did you think of it?                                                            A: What did you think of it?
B: I thought it was great.                                                                B: I thought it was awful.
               นักศึกษาคงสามารถบอกได้ว่า บทสนทนาที่หนึ่งเป็นการพูดในด้านบวกกล่าวคือ B คิดว่าภาพยนตร์เรื่อง Star Wars นั้นยอดเยี่ยมหรือยิ่งใหญ่ ส่วนอีกบทสนทนาหนึ่ง B คิดว่าภาพยนตร์เรื่อง Hellraiser นั้นแย่มาก โดยใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะคือ great และ awful ตามลำดับ
               สำนวนที่ใช้แสดงความคิดเป็นมักขึ้นต้นด้วย I think / I thought …. ตามด้วยประโยคที่บรรยายลักษณะของภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ หรืออาจให้ความเห็นหรือบอกความรู้สึกที่มีต่อเรื่องดังกล่าวโดยทันที
               Positive J                                                                    Negative L
I thought it was pretty good.                                                          I thought it was pretty bad.
It was interesting.                                                                            It was boring.
It was a pleasant surprise.                                                             It was a disappointment.
It wasn’t so bad.                                                                             It didn’t live up to expectations.
               คำศัพท์ที่ใช้มักเป็นคำคุณศัพท์บอกลักษณะหรือคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -ing ดังที่จะได้ศึกษาในลำดับต่อไป หรืออาจใช้คำนามก็ได้ ดังตัวอย่างข้างต้น
Descriptive adjectives
               คำคุณศัพท์บอกลักษณะจะใช้ตามหลัง verb to be หรือใช้ขยายหน้าคำนาม โดยอาจอยู่ในรูปขั้นสุดก็ได้ คำที่มักใช้ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์มีมากมาย ดังที่จะยกมาเป็นตัวอย่างทั้งด้านบวกและด้านลบต่อไปนี้
Positive J          This comedy was funny., “Only You” was so romantic., It was one of the best movies I’ve ever seen.
Negative L       “Dracula” was scary. (น่ากลัว), The movie was too sentimental. (อ่อนไหว), The character was not realistic., It was
one of the worst movies I’ve ever seen.
Adjectives ending with -ed and -ing
               คำคุณศัพท์ซึ่งมาจากคำกริยาที่เติม -ed หรือ -ing มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าลงท้ายด้วย -ed จะใช้บอกอาการหรือความรู้สึก เช่น Teenagers are so excited to see their favorite movie stars.
               ถ้าลงท้ายด้วย -ing จะใช้เพื่อบอกลักษณะหรือสภาพของคำที่ขยาย การพูดถึงภาพยนตร์มักจะใช้คำคุณศัพท์รูปนี้มากกว่า ดังนั้นในที่นี้จึงขอเน้นเฉพาะรูปที่เติม -ing ดังตัวอย่าง Chinese action movies are fast-moving and exciting., Well, it was quite boring at the beginning; I almost feel asleep, but it was okay., It was sad and depressing to see the actor or actress die at the end.
Vocabulary: Movie-related words   คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์มีดังนี้คือ
Film genre / movie type (ประเภทของภาพยนตร์) เช่น
action     ภาพยนตร์บู๊                          family      ภาพยนตร์สำหรับครอบครัว                  adventure               ภาพยนตร์ผจญภัย
fantasy   ภาพยนตร์จากจินตนาการ     animation*             ภาพยนตร์อนิเมชัน                gangster               ภาพยนตร์เกี่ยวกับแก๊งอิทธิพล
biography              ภาพยนตร์ชีวประวัติ              horror     ภาพยนตร์สยองขวัญ             comedy                 ภาพยนตร์ตลก
musical  ภาพยนตร์เพลง                     documentary         ภาพยนตร์สารคดี                  romance               ภาพยนตร์รัก
drama    ภาพยนตร์ชีวิต                      science-fiction (sci-fi) ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ thriller                    ภาพยนตร์ลึกลับตื่นเต้น
epic        ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกระทำที่กล้าหาญ มักมีเรื่องราวที่ดำเนินยาวนาน อาจเรียกว่า “มหากาพย์”
war         ภาพยนตร์สงคราม                western  ภาพยนตร์คาวบอย
*การถ่ายทำภาพนิ่งและวัตถุนิ่งให้มองเห็นเคลื่อนไหวได้ในภาพยนตร์ด้วยการถ่ายทีละภาพ
               โดยทั่วไป การจัดประเภทมักเป็นไปตามแกนเรื่องหลัก แต่ภาพยนตร์หลายเรื่องอาจมีเนื้อหาคาบเกี่ยวระหว่างสองประเภทก็เป็นได้ บางครั้งจึงพบเห็นภาพยนตร์ที่จัดอยู่ในประเภทควบ เช่น drama / romance, adventure / fantasy, action / sci-fi, romance / comedy หรือ romantic comedy
People related to movies (บุคคลที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์) เช่น
movie star / film star / celebrity         ดาราภาพยนตร์                     actor-actress        นักแสดงชาย-หญิง
hero-heroine          พระเอก-นางเอก     villain      ผู้ร้าย       cast        รายนามผู้แสดง      director   ผู้กำกับภาพยนตร์
producer               ผู้อำนวยการสร้าง   screenwriter          ผู้เขียนบท               moviegoer / audience         ผู้ชม
movie critic / reviewer         นักวิจารณ์ภาพยนตร์             film buff                 เซียนภาพยนตร์
Other movie-related terms (คำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์) เช่น
movie / film / motion picture              ภาพยนตร์              preview                 ตัวอย่างภาพยนตร์                character               ตัวละคร
(movie) theater / cinema    โรงภาพยนตร์         subtitles                คำบรรยาย             credits    รายชื่อ (ทีมงาน) ข้างท้ายภาพยนตร์
blockbuster           ภาพยนตร์ที่ทำรายได้มหาศาล
Movie rating in the US (การกำหนดระดับของการชมภาพยนตร์ โดยจำแนกตามกลุ่มผู้ชม)
G            General Audiences             PG          Parental Guidance Suggested        
PG-13     Parental Guidance suggested for children under 13
R             Restricted                            NC-17    Individuals under the age of 17 not admitted
               ประเภทแรก (G) หมายถึง ใครๆ ก็ดูได้ เช่น ภาพยนตร์การ์ตูน ประเภทที่สอง (PG) คือ ผู้ปกครองควรชี้แนะ ประเภทที่สาม (PG-13) มีการระบุอายุ นั่นคือ ผู้ปกครองควรระมัดระวังและชี้แนะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ส่วนประเภทที่สี่ (R) และห้า (NG-17) มักเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหารุนแรกหรือมีฉากที่ล่อแหลม ไม่เหมาะสำหรับเยาวชน ต่างกันตรงที่ R จำกัดเพียงว่าเด็กอายุต่ำกว่า 17 ต้องมีผู้ปกครองมาด้วย ห้ามมาดูโดยลำพัง แต่ NC-17 ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 17 เข้าชมโดยเด็ดขาด
ตอนที่ 13.2 Spare Time
               1. การสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบทำในเวลาว่างอาจต้องใช้สำนวนแสดงความชอบหรือไม่ชอบอยู่บ่อยครั้ง
               2. Present continuous tense ใช้ได้ 3 กรณีคือ 1) เมื่อกล่าวถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูด 2) เมื่อกล่าวถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน และ 3) เมื่อกล่าวถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำซาก จนผู้พูดรู้สึกรำคาญ โดยมักมีคำขยายบางคำ เช่น always, constantly, all the time กำกับอยู่ด้วย
คำอธิบาย
            1. That inspired me to buy this book. I think books can tell more. หมายความว่า เรื่องนั้นทำให้พี่เกิดแรงบันดาลใจที่จะซื้อหนังสือเล่มนี้ พี่คิดว่าหนังสือสามารเล่าเรื่องได้มากกว่า “That” ในที่นี้อ้างถึงการที่รสาบอกว่าโครงเรื่องโรแมนติก โดยเฉพาะการเขียนจดหมายรักถึงภรรยาที่ตายไปแล้วและใส่ขวดโยนลงไปในทะเลนั้นน่าประทับใจ อรินก็คิดเช่นเดียวกัน จึงอยากซื้อหนังสือมาอ่าน เพราะคิดว่าหนังสือน่าจะให้รายละเอียดมากกว่าในภาพยนตร์
               2. Would you like to stay for dinner, Nick? เป็นสำนวนที่ใช้ในการเชื้อเชิญ โดยใช้ would you like to + V base form ในที่นี้อรินชวน Nick อยู่รับประทานอาหารเย็นด้วย
               3. Make yourself at home. หมายความว่า ทำตัวตามสบายเหมือนอยู่บ้านของตัวเอง เป็นสำนวนที่เจ้าของบ้านมักนิยมใช้กับแขก แต่ในทางปฏิบัติ ผู้พูดไม่ได้หมายความตามตัวอักษร กล่าวคือ ต้องการให้แขกทำตัวตามสบาย แต่ไม่ได้ให้ทำอะไรเกินขอบเขตหรือไม่สมควร ผู้เป็นแขกจึงไม่ควรถือวิสาสะมากเกินไป ไม่ใช่คิดว่าของทุกอย่างในบ้านเหมือนของตนเอง อย่างน้อยควรต้องเกรงใจเจ้าของบ้านบ้าง
               4. … you can tune the TV to another channel if you like หมายความว่า คุณเปิดโทรทัศน์ไปอีกช่องก็ได้ ถ้าต้องการ tune … to … หมายถึง เปิดโทรทัศน์หรือวิทยุเพื่อรับชมหรือรับฟังรายการจากที่ใดที่หนึ่ง บางครั้งอาจพบคำว่า stay tuned ปรากฏในช่วงพักรายการ หมายถึง ให้รับชมหรือรับฟังรายการที่สถานีเดิมต่อไป นั่นคืออย่าเปลี่ยนช่องไปไหนนั่นเอง
               5. I’m addicted to a certain Thai drama series after the news. หมายความว่า ฉันติดละครหลังข่าวอยู่เรื่องหนึ่งจนงอมแงม v.to be addicted + n. หมายถึง ชอบทำหรือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมากจนไม่อยากหยุด series ใช้เป็นคำนามเอกพจน์ได้ อาจหมายถึง รายการหรือภาพยนตร์ที่ฉายเป็นตอนๆ ทางโทรทัศน์
               6. soap opera หมายถึง รายการโทรทัศน์หรือวิทยุที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งออกอากาศเป็นประจำ เป็นรายการยอดฮิตของแม่บ้านอเมริกัน เนื่องจากมักฉายในช่วงกลางวัน เนื้อหาอาจเปรียบได้กับละคร “น้ำเน่า” ของบ้านเรา
Expanding Your Word Power: Collocation
               การขยายวงศัพท์เป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีหนึ่งที่จะเพิ่มจำนวนคำศัพท์ที่ใช้คือ การทำความรู้จักกับคำที่มักปรากฏอยู่คู่กัน (collocation) ในภาษาอังกฤษ คำบางคำใช้ได้กับคำบางคำเท่านั้น ดังที่ได้ศึกษาไปบ้างแล้วในหน่วยต้นๆ นักศึกษาควรฝึกหัดสังเกตการณ์ใช้คำต่างๆ ที่ได้พบเห็นว่าคำใดมักเห็นคู่กับคำใด และอาจจดบันทึกคำที่ไม่คุ้นเคยไว้ พร้อมทั้งความหมายและวิธีใช้ อีกทั้งควรหาโอกาสใช้คำเหล่านั้นเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย จะได้สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
               คำที่มักใช้ด้วยกันนั้นมีทั้งคำกริยากับคำนาม คำคุณศัพท์กับคำนาม คำนามกับคำนาม ฯลฯ ในตอนนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้คำต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพูนวงศัพท์ให้กว้างขึ้น
1. verb + noun เช่น spend time, kill the time, pass the time, enjoy pastime, get / go / come / arrive / leave home, prepare dinner, watch TV., see / watch / go to / direct / shoot a movie
2. adjective + noun เช่น free / spare / leisure time, favorite pastime, good idea, good / great / wonderful movie, hit / smash-hit / successful movie, action / gangster / horror movie (อาจใช้ประเภทต่างๆ ของภาพยนตร์ขยาย movie ได้), in-fight movie (ภาพยนตร์ที่จัดฉายบนเครื่องบิน)
3. noun + noun เช่น movie star, movie maker, movie premiere (ภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์), movie industry
               นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาคำต่างๆ ที่มักใช้ด้วยกันได้จากพจนานุกรมเฉพาะด้าน เช่น Oxford Collocations dictionary for students of English (2002)
Language Function: Expressing likes and dislikes
               การสนทนาเรื่องต่างๆ อาจต้องใช้สำนวนที่บ่งบอกความชอบหรือไม่ชอบ เช่น การเล่าถึงสิ่งที่ชอบทำในยามว่าง การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ไปชม เป็นต้น การแสดงความชอบหรือไม่ชอบอาจใช้สำนวนต่างๆ ได้ดังนี้
1. การแสดงความชอบ
I like (watching) Thai series., I really / quite like this movie., I like reading very much., I love watching TV./ romance. (คำกริยา love ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า รัก แต่หมายถึง ชอบมากเหลือเกิน), I’m (very) fond of / I’m cray about Tik Jesadaporn / going to the movies., My favorite movie star is Mel Gibson.
2. การแสดงความไม่ชอบ
2.1 การแสดงความไม่ชอบโดยตรง ในกรณีที่เป็นความรู้สึกส่วนตัว เช่น I don’t really like/enjoy this show., I don’t like/enjoy seeing violence in the movie (very much)., I hate a nuisance in the theater, like the sound of mobile phones., I can’t stand those disgusting scenes., It’s awful./terrible.
2.2 การแสดงความไม่ชอบอย่างเกรงใจ เพราะไม่ต้องการให้ขัดความรู้สึกของผู้ฟัง เช่น I’m not sure I like/enjoy that.
Grammar: Present continuous tense
            การใช้ tense ให้ถูกต้องเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักศึกษาไทย แต่ถ้าสามารถทำความเข้าใจหลักการใช้ได้แล้ว จะไม่ยากสักนิดเดียวและจะเป็นพื้นฐานที่ดีทางไวยากรณ์ให้นักศึกษาด้วย ทุกคนได้เคยเรียนเรื่อง present simple tense มาแล้วจากหน่วยที่ 1 ในตอนนี้จะเป็นอีก tense หนึ่งที่สำคัญเช่นกัน
รูปของคำกริยาใน present continuous tense ประกอบด้วย v.to be + V -ing และใช้ในกรณีดังนี้
               1. เมื่อกล่าวถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูด
               2. เมื่อกล่าวถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เช่น Rasa is taking a drama course this semester.
คำบอกเวลาที่ใช้มีอยู่หลายคำ เช่น now, at present, at the moment, this semester เป็นต้น
               3. เมื่อกล่าวถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำซากจนผู้พูดรู้สึกรำคาญ โดยมักมีคำขยายบางคำ (เช่น always, constantly, all the time) กำกับอยู่ด้วย เช่น They are always talking about computer games.
ตอนที่ 13.3 My Favorite Pastime
               1. การสนทนาปราศรัยเกี่ยวกับสิ่งที่แต่ละคนชอบหรือสนใจที่จะทำในเวลาว่าง อาจใช้การตั้งคำถามหรือตอบคำถาม โดยใช้สำนวนที่แสดงความชอบหรือไม่ชอบ หรือชอบสิ่งหนี่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง
               2. การกล่าวถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ทำอาจใช้ gerund ซึ่งเป็นคำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ing แต่ทำหน้าที่เหมือนกับคำนามในตำแหน่งต่างๆ ในประโยคได้
คำอธิบาย
            1.  … listening to classical music of some particular times can help reduce stress. หมายความว่า การฟังเพลงคลาสสิกของบางยุคสมัยสามารถช่วยคลายเครียดได้
               2. I’ve been attached to dogs since my childhood. หมายความว่า ฉันผูกกพันกับสุนัขมาตั้งแต่วัยเด็ก ในที่นี้ ใช้ present perfect tense “have been” (รูปย่อคือ ‘ve been) เนื่องจากเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ รสารักใคร่ผูกพันกับสุนัขมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กจวบจนปัจจุบัน
               3. a pug, a shih tzu and a toy poodle เป็นชื่อสุนัขพันต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน pug หรือปั๊ก เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ มีใบหน้าแบนและย่น พร้อมด้วยดวงตากลมโตชวนให้น่าสงสาร shih tzu หรือชิสุเป็นสุนัขที่มีขนยาวหนาและเป็นลอนเล็กน้อย มักนิยมรวบขนที่ปรกหน้าไปรวบเป็นกระจุกไว้ข้างบน ส่วน toy poodle หรือทอย พูเดิล เป็นพูเดิลที่มีขนาดเล็กที่สุด สุนัขพันธุ์นี้ไม่ผลัดขน จึงมักต้องตัดแต่งขนทุก 6-8 สัปดาห์
               นักศึกษาอาจสงสัยว่าเหตุใดจึงใช้สรรพนามแทนสุนัขว่า “she” โดยไม่ใช้ it เหมือนกับการกล่าวถึงสัตว์ทั่วๆ ไป ในที่นี้ เป็นการกล่าวถึงสัตว์เลี้ยงด้วยความรัก โดยใช้สรรพนามประหนึ่งว่าเขาเป็นคนเหมือนกับเรา ดังนั้น จึงมักใช้ he หรือ she มากกว่า it เมื่อพูดถึงสัตว์เลี้ยงแสนรัก
               4. They make good companions … หมายความว่า สุนัขเหล่านี้เป็นเพื่อนที่ดี คำว่า companion โดยทั่วไปหมายถึง ผู้ที่เราใช้เวลาอยู่ด้วยมาก โดยเฉพาะเพื่อนร่วมเดินทาง     
               5. this exotic land ในที่นี้หมายถึง ประเทศไทย คำว่า exotic เป็นคำคุณศัพท์ มักใช้กับสิ่งที่ดูแปลกและน่าตื่นเต้น เพราะเป็นของต่างชาติต่างภาษา
Using Songs and the Internet to Enlarge Exposure to English
               ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 13.2 ว่าการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอาจมาจากสิ่งต่างๆ รอบตัวอันเป็นความรู้นอกตำรา การฟังเพลงก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเปิดโอกาสให้คุ้นเคยกับภาษาอังกฤษมาขึ้น ยิ่งถ้านักศึกษาเป็นผู้ที่ชอบฟังเพลง ก็จะยิ่งทำให้การเรียนรู้เป็นไปโดยสะดวก เพราะเมื่อชอบฟังเพลงใด ย่อมต้องการที่จะทราบความหมายของเพลงนั้นๆ ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการใฝ่หาความรู้ นักศึกษาอาจหาเนื้อเพลงภาษาอังกฤษที่สนใจมาศึกษาความหมายของศัพท์สำนวน รวมทั้งไวยากรณ์ และฝึกออกเสียงโดยการร้องตามเพลง การศึกษาไวยากรณ์จากเนื้อเพลงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้จดจำโครงสร้างหรือกฎเกณฑ์ได้เป็นอย่างดี บางครั้งอาจดีกว่าการท่องจำจากตำราด้วยซ้ำไป เพราะผู้ที่เป็นมิตรรักนักเพลงคงจำได้ขึ้นใจมากกว่า แต่คงต้องระวังด้วยว่า เพลงบางเพลงอาจไม่เคร่งครัดกบกฎไวยากรณ์มากนัก
               นอกจากเรียนรู้จากเพลงแลว หากนักศึกษาเป็นผู้ที่ชอบใช้อินเทอร์เน็ต ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งในการฝึกฝนภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กับการเปิดโลกทัศน์ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ผู้ที่มีความรู้ทางภาษาดีจะได้เปรียบในการแสวงหาความรู้ นักศึกษาจึงควรหมั่นฝึกฝนทักษะการอ่านให้พัฒนาขึ้นโดยเร็วด้วยการเลือกอ่านเรื่องที่ตนเองชอบหรือสนใจจากเรื่องสั้นๆ ง่ายๆ ไปสู่เรื่องที่ยาวและยากขึ้นตามลำดับ เช่น อ่านวิธีทำครอสสติทช์ (cross-stitch) อ่านเรื่องงานอดิเรกประเภทต่างๆ ที่สนใจอ่านเรื่องท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้เรียนรู้ศัพท์สำนวนในเรื่องที่สนใจแล้ว ยังได้เรียนรู้โครงสร้างประโยคหรือประเด็นไวยากรณ์อีกด้วย ถ้านักศึกษามีความเพียรพยายามและไม่ย่อท้อโดยฝึกฝนเป็นประจำสม่ำเสมอ จะสามารถพัฒนาทักษะทางภาษาได้อย่างแน่นอน
Language Functions: Talking about pastimes
               การสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่แต่ละคนสนใจหรือชอบทำในเวลาว่างอาจใช้สำนวนในการถาม-ตอบดังต่อไปนี้
1. การใช้คำถามแบบ wh-questions เช่น What do you (like to) do in your free/spare time? I really like watching TV., What is your favorite pastime? Painting. (การวาดรูป)
2. การใช้คำถามแบบ yes-no questions เช่น Do you like pop music? Yes, I love it., Do you enjoy traveling? I’m afraid not. I’d rather stay home and read.
3. การใช้คำถามแบบให้เลือกตอบ โดยการถามและตอบเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบมากกว่า เช่น Do/Would you prefer contemporary love songs or classical music? (I/I’d prefer) contemporary love songs., Do/Would you prefer to/ Would you rather look after dogs or cats?, Which do/would you prefer: horse-riding or jet-skiing? I/I’d prefer jet-skiing., What would you rather do: sing or dance? I’d rather sing.
Grammar: Gerund
            Gerund หมายถึง คำกริยาที่เติม -ing และทำหน้าที่ได้เหมือนกับคำนามทุกประการ ดังนี้
1. ทำหน้าที่เป็นประธาน เช่น Net-surfing is Korn’s favorite pastime., Listening to music can make you relax.
2. ทำหน้าที่เป็นกรรม เช่น My mother-in-law enjoys gardening., Rasa doesn’t really like dancing.
3. ทำหน้าที่เป็นกรรมตามหลังคำบุพบท เช่น You can learn English watching English – speaking programs., Arin is good at cooking.
               เมื่อใช้คำกริยาในตำแหน่งต่างๆ ทั้งเป็นประธาน กรรมของกริยาแท้หรือกรรมตามหลังคำบุพบทนักศึกษาพึงระลึกไว้ว่าจะต้องเติม -ing ข้างท้ายคำกริยานั้นเสมอ
Vocabulary: Pastime-related words
               คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมยามว่างมีมากหมาย โดยจะขอยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้ เช่น
cross-stitching      การปักป้าครอสสติทช์                           handbill collecting               การสะสมใบปิดโฆษณาภาพยนตร์ขนาดเล็ก
phone card collecting         การสะสมบัตรโทรศัพท์          Net-surfing / Surfing the Net             การท่องอินเทอร์เน็ต
bungee jumping   การผูกเชือกที่ขาติดกับสะพาน แล้วกระโดดลงไป โดยเชือกจะทกให้ตัวเด้งขึ้นเด้งลง มีต้นกำเนินมาจากประเทศนิวซีแลนด์
parachuting           การกระโดดร่มจากเครื่องบิน                skydiving              การเหินเวหา (การกระโดดจากเครื่องบินและแสดงท่าผาดโผน scuba diving     การดำน้ำลึก โดยมีถังออกซิเจนติดหลังไปด้วย                   ก่อนที่จะกระตุกร่มให้กางออก)       
























หน่วยที่ 14 A Trip Abroad
               1. ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เดินทางโดยลำพัง การตระเตรียมและวางแผนล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมถึงการหาความรู้เกี่ยวกับประเทศนั้นๆ เพื่อทราบเกี่ยวกับลักษณะอากาศและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นต้น
               2. การเดินทางไปต่างประเทศโดยเครื่องบินเป็นครั้งแรก อาจจะเกิดความขลุกขลักเนื่องจากอุปสรรคด้านภาษา และบ่อยครั้งที่จะต้องทำความรู้จักกับผู้โดยสารอื่นที่เป็นชาวต่างชาติ หากทราบศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวข้องย่อมช่วยให้การเดินทางราบรื่นขึ้น
               3. ก่อนจะเดินทางเข้าประเทศใด นักท่องเที่ยวจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของประเทศนั้นๆ อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศ
               4. ถึงแม้จะได้เตรียมตัวก่อนเดินทางไปอย่างดีแล้ว ปัญหาก็อาจเกิดขึ้นได้โดยคาดไม่ถึงโดยเฉพาะที่สนามบิน ในกรณีนี้มักต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการแก้ปัญหา
ตอนที่ 14.1 Getting Ready
               1. การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพนั้นอาศัยทั้งทักษะในระดับพื้นฐาน คือ ทราบความหมายของโครงสร้างและศัพท์ที่ใช้ในประโยค ตลอดจนทักษะในระดับที่สูงขึ้นคือสามารถตีความประโยคที่อ่านได้
               2. บทสนทนาในการเดินทางโดยเครื่องบิน ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องของการตั้งคำถามเพื่อขอข้อมูลหรือตอบคำถาม โครงสร้างประโยคคำถามที่มักจะอาศัย question word หรือรูปแบบคำถาม yes-no ส่วนคำตอบจะมีความหลากหลายกว่า และในชีวิตจริงจะไม่ตอบแบบทบทวนคำถามเหมือนการทำแบบฝึกหัดไวยากรณ์ทั่วไป
               3. การสร้างคำศัพท์ที่บ่งบอกสัญชาติทำได้โดยการเติม suffix หลังคำที่บอกชื่อประเทศ เช่น -ean, -an, -ish เป็นต้น
               4. คำศัพท์ที่บ่งบอกสัญชาติที่มีมากกว่า 1 พยางค์ มีกฎเกณฑ์ในการลงเสียงหนักเบาที่แน่นอน
คำอธิบาย
Presentation 1
            San Francisco เป็นเมืองที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นมืองที่นักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกพากันไปเยือนเป็นจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา (ตรงกับสำนวนในเนื้อเรื่องที่อ่านคือ one of the most popular tourist destinations in the United States) เนื่องจากมีภูมิประเทศที่งดงาม สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และอากาศที่ไม่ร้อนและไม่หนาวจนเกินไป
               เมื่อพูดถึง San Francisco แล้ว สถานท่แรกที่ชาวต่างชาติคิดถึงก็คือ Golden Gate Bridge ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมือง ถ้าใครไม่ได้มาเยือนก็เหมือนกับไม่ได้มา San Francisco สถานที่อีกแห่งที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกได้แก่ China Town ซึ่งเต็มไปด้วยลูกหลานของชาวจีนที่อพยพมาตั้งหลักแหล่ง (immigrants) อยู่ที่ San Francisco มาเป็นเวลาช้านาน
               กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่นักท่องเที่ยวที่ไปเยือน San Francisco นิยมคือการนั่งรถ cable car ซึ่งเป็นรถรางพาชมเมือง ซึ่งจะพานักท่องเที่ยวแล่ะนไปตามเส้นทางที่ลาดชัน (steep) เนื่องจาก San Francisco ตั้งอยู่บนเนินเขา (hills)
               San Francisco ยังมีเสน่ห์ดึงดูดอีกประการหนึ่งคือลักษณะทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย หรือนานาชาติ ทำให้เป็น one of America’s most international cities ลักษณะนี้จะไม่พบเห็นบ่อยนักในอเมริกา สาเหตุเนื่องจากมีผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่มากหมายหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวจีนที่กล่าวถึงไปแล้วข้างต้นรวมทั้งชาวเอเชียอื่นๆ และชาวยุโรป เช่น ชาวอิตาเลียน หรือจากประเทศในแถบละตินอเมริกา เช่น ชาวเม็กซิกัน ซึ่งต่างก็นำวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเองเข้ามาประสมประสานกับวัฒนธรรมของประเทศใหม่
Presentation 2
            จากบทสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างกร และ Paul นั้น นักศึกษาจะมีโอกาสทวนความรู้เกี่ยวกับการตั้งคำถามเพื่อขอข้อมูลและคำแนะนำ ซึ่งจะมีทั้งการใช้ question words เช่น when และ what และคำถามที่ขึ้นต้น auxiliary verbs เช่น do และ is ตลอดจนเรื่องการใช้ modal verbs ซึ่งคำที่จะใช้ในการขอและให้คำแนะนำ มักจะเป็นคำว่า need, might, should
               ขอให้นักศึกษาสังเกตการณ์ใช้ present tense กับเหตุการณ์ในอนาคตด้วย คือในประโยคที่กรถาม Paul ว่า When does your flight arrive? ซึ่งคนไทยมักจะติดใช้รูป future simple tense ในสถานการณ์นี้จะต้องใช้รูป present simple tense เท่านั้น เนื่องจากเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามตารางเวลาที่วางไว้ รายละเอียดนั้นจะกล่าวใน Language Focus ในเรื่องที่ 14.2 On the way
Listening for Key Words
               ในตอนที่ 1 นี้ นักศึกษาจะต้องฟังบทสนทนาเพื่อตอบคำถามข้างท้ายบท ทำอย่างไรจึงจะฝึกฝนทักษะการฟังจับประเด็นได้ ก่อนอื่นนักศึกษาทราบแล้วว่าในภาษาอังกฤษในระดับคำจะมีการลงน้ำหนักเสียงหนักเบาหรือ stress ในพยางค์ต่างๆ ไม่เท่ากัน ในระดับประโยคก็เช่นกัน คำที่เป็น function words เช่น กริยาช่วยต่างๆ (do, does, did, has, have, had) และ modal verb (may, will, should, would, etc.) ปกติแล้วผู้พูดจะไม่ลงน้ำหนักเสียงที่คำเหล่านี้ ยกเว้นเมื่อเป็นสาระสำคัญเช่น You WON’T need a heavy jacket, but you SHOULD have a raincoat …) แต่จะไปลงน้ำหนักกบคำที่เป็น content words เช่น นามและคำกริยา เป็นต้น คำพวกนี้จึงมักจะเป็น key words ในการฟัง เช่น ในประโยคคำถาม “When does your flight arrive?” นักศึกษาจะได้ยินคำว่า flight และ arrive ชัดเจน และจะได้ยินคำว่า When ชัดเจนรองลงมา แต่จะแทบไม่ได้ยินคำว่า does เลย
               ในลำดับต่อไปนี้นักศึกษาจะต้องเดาได้ว่า จะได้ยินคำตอบเกี่ยวกับเวลา การฟังจับประเด็นที่คล้ายกับการอ่านจับใจความ ตรงที่ผู้ฟังหรือผู้อ่านต้องคอยคาดเดาล่วงหน้าจากบริบท ว่าประโยคหรือข้อความถัดไปจะเป็นอะไร หากได้ยินคำถาม yes-no ก็จะต้องคาดเดาไว้ก่อนว่าจะได้ยินคำตอบรับหรือปฏิเสธกลยุทธ์เช่นนนี้จะช่วยให้เรามีสามาธิดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราติดตามเรื่องที่ฟังหรืออ่านได้อย่างไม่ขาดตอน
Skimming for Main Ideas
               การอ่านแบบ skim คือการอ่านเพื่อเก็บเฉพาะใจความหลักของแต่ละย่อหน้า ในภาษาอังกฤษนั้น แต่ละย่อหน้าจะมีความหลักเพียงประเด็นเดียวหรือ main idea เพื่อความเป็นเอกภาพ ควรตั้งสมาธิก่อนจะเริ่มอ่าน โดยให้ความสำคัญกับประโยคแรกของย่อหน้าไว้ก่อน เนื่องจากการเขียนในภาษาอังกฤษจะนิยมขึ้นต้นย่อหน้าด้วยประโยคที่เป็นใจความหลัก ตามด้วยประโยคที่ช่วยขยายความใจความหลักให้ชัดเจนขึ้น ถ้าประโยคขึ้นต้นยาวหรือซับซ้อนให้มุ่งความสนใจไปยังประโยคหลักหรือ main clause
               มาดูประโยคแรกในย่อหน้าที่หนึ่งของเรื่องที่อ่านใน Presentation 1 กัน นักศึกษาจะพบว่าใจความหลักอยู่ที่ San Francisco is one of the most popular tourist destination in the United States. กลุ่มคำที่เป็นสาระสำคัญในประโยคนี้คือ one of the most popular tourist destinations ในระยะแรกๆ นักศึกษาอาจสรุปเป็นภาษาไทยว่าย่อหน้านี้พูดเกี่ยวกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไปเยือน San Francisco ในกรณีที่เป็นย่อหน้าสั้นๆ นักศึกษาสามารถอ่านข้ามรายละเอียดอื่นๆ และมุ่งไปยังย่อหน้าต่อไป โดยอาศัยหลักการเดียวกันนี้
Asking for information/suggestions
            การถามคำถามเพื่อขอข้อมูลหรือขอคำแนะนำ มักขึ้นต้นประโยคคำถามด้วยคำขึ้นต้นคำถาม question words หรือกริยาช่วย auxiliary verbs ทั้งนี้ในการขอคำแนะนำมักใช้ modal verbs ด้วย
Examples:             When does your flight arrive? (asking for information), Is there anything I can bring to you from Thailand? (asking for information), What’s the weather like in San Francisco now? (asking for information), Do I need to bring a winter coat or a raincoat? (asking for suggestion)
               ในการขอคำแนะนำอาจขึ้นต้นประโยคด้วยกลุ่มคำ “What if …” and “Do you happen to know …”
Examples:             What if I happen to miss the flight?, Do you happen to know what’s the best place for Thai silk?
Giving advice
            ในการให้คำแนะนำมักใช้ modal verb ได้แก่ should, will และ might
Examples:             You won’t need a heavy jacket, but you should have a raincoat and an umbrella., You might want to bring a sweater, too, to wear in the evening.
นอกจากนี้ยังอาจขึ้นต้นประโยคด้วยกลุ่มคำหรือคำต่อไปนี้ Why don’t you …., It’s a good idea to …, You’ll just have to…, Try …
Examples:             A: My wife will surely get mad if I don’t get home soon. It’s her birthday today.
                              B: Well, why don’t you phone and ask her to meet you half-way at a restaurant instead?
                              A: My parents treat me like a child.
                              B: Well, you’ll just have to let them know how you really feel about it.
                              A: I’m going camping at Khao Yai National Park. Any advice?
                              B: It’s a good idea to bring mosquito repellant with you, if you ask me.
                              A: How can I get in touch with my English teacher? He’s never in his office.
                              B: Try emailing him. I happen to have his address with me.
Vocabulary: Countries and nationalities
               จากตัวอย่างประโยคใน Presentation 1 นักศึกษาจะพบว่า มีการกล่าวถึงคนชาติต่างๆ ที่อาศัยอยู่ที่นั่น
               San Francisco is a very international city. There are Chinese, Vietnamese and Korean people in Chinatown, Mexicans and Colombians in the Mission District, and Italian people in North Beach.
               การกล่าวถึงคนชาติต่าง มักใช้ suffix ใส่ไว้ท้ายชื่อประเทศ เช่น Someone from Austria is Austrian (-ian). suffix ที่ใช้สำหรับคนชาติต่างๆ มีดังนี้
- ean       -              Chilean, Korean, Singaporean
-ian         -              Canadian, Italian, Brazilian, Indian, Indonesian, Malaysian
-ish         -              British, Irish, Polish, Spanish
-ese        -              Chinese, Japanese, Napalese, Burmese, Portuguese, Vietnamese, Taiwanese
-an          -              American, Mexican, German, Sri Lankan, Moroccan, Cuban
-i             -              Pakistani, Iraqi, Yemeni, Omani, Israeli
ทั้งนี้มีข้อยกเว้นสำหรับบางสัญชาติ ซึ่งจะไม่ใช้ suffix ข้างต้น เช่น Someone from France is French., A woman from Switzerland is Swiss., A young man from the Philippines is a Fillipino.*, A young woman from New Zealand is a New Zealander.*
*ทั้งสองคำนี้เป็นคำนามจึงต้องใช้ article ‘a’
ข้อสังเกต คำที่แสดงสัญชาติ จะขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เช่นเดียวกับชื่อประเทศ
ตอนที่ 14.2 On the Way
               1. การบรรยายเหตุการณ์ในอนาคต ทำได้โดยการใช้คำกริยาเป็นรูป tenses ต่างๆ เช่น future simple, future continuous, going to + v. base form และในบางกรณียังอาจใช้ present simple tense ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบท และมีการใช้กลุ่มคำหรือสำนวนบอกเวลาโดยเฉพาะ
               2. การเดินทางโดยเครื่องบิน ควรรู้ศัพท์และสำนวนที่จะต้องพบบ่อยๆ จากป้ายประกาศต่างๆ ที่สนามบิน จากประกาศทางลำโพงของเจ้าหน้าที่สนามบินหรือสายการบิน และจากแบบฟอร์มต่างๆ หากทราบควาหมายของคำศัพท์เหล่านี้ย่อมทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น
               3. การออกเสี่ยงคำศัพท์ที่สร้างจากการประสมคำหรือ compound nouns มีกฎเกณฑ์การลงเสียงหนักเบาที่แน่นอน ความรู้ในเรื่องนี้จะช่วยทำให้การสื่อสารต่างๆ ในการเดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
คำอธิบาย
            การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไป San Francisco ใช้เวลานานกว่า 10 ชั่วโมง จึงมีโอกาสที่กรจะได้ทำความรู้จักกับผู้โดยสารอื่นโดยเฉพาะชาวต่างชาติ บทสนทนาในสถานการณ์นี้มักจะเป็นการพูดคุยเรื่องการเดินทาง เช่น จุดหมายปลายทาง จุดประสงค์ในการเดินทาง ระยะเวลาที่จะอยู่ต่างประเทศ ส่วนจะแนะนำตัวเองหรือสนทนาหัวข้ออื่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้โดยสารว่าถูกอัธยาศัยกันดีเพียงไร ผู้โดยสารบางคนอาจไม่ชอบสนทนากับคนแปลกหน้า และต้องการนั่งเงียบๆ ตามลำพัง ดังนั้นจึงควรสังเกตท่าทีของคู่สนทนาด้วยว่าอยากให้เราชวนคุยหรือไม่
               สำนวน By the way จะเหมาะกับบทสนทนาเท่านั้น ไม่ใช่ในภาษาเขียน จะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนหัวข้อในการสนทนา หลังจาก Mrs. Lim ชวนกรคุยเรื่องการเดินทางแล้ว เธอก็เริ่มแนะนำตัวเอง ซึ่งนักศึกษาเองก็ได้เรียนรู้ศัพท์สำนวนในการแนะนำตนเองมาแล้ว
               มาถึงเรื่องของภาษาบ้าง นักศึกษาคงสังเกตเห็นแล้วว่า ในบทสนทนานี้มีการใช้ tenses ต่างๆ ที่แสดงอนาคต ซึ่งได้แก่ future simple, future continuous, present continuous และ present simple นอกจากนี้ก็มี BE going to + V base form หวังว่านักศึกษาขีดเส้นใต้ประโยคเหล่านี้ ในการทำกิจกรรมข้างต้น และบอกความหมายของรูป future ที่ใช้ในแต่ละประโยคได้ ซึ่งได้แก่
               - future plans or intentions เมื่อพูดถึงแผนการที่เตรียมการล่วงหน้าไว้ หรือตั้งใจที่จะทำ ใช้กริยาได้หลายรูป ได้แก่ BE going to + V base form, present continuous tense และ future continuous tense
               - action or events in progress at a certain time in the future เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตอันใกล้หรือไกล นิยมใช้รูป future continuous tense
               - predictions based on circumstantial evidence เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยอาศัยสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้นช่วยในการคาดการณ์ จะใช้รูป BE going to + V base form
               - events related to timetables เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่เกิดขึ้นตามตารางเวลา เช่น ตารางเที่ยวบิน รถไฟ เรือ เป็นต้น หรือตารางการแข่งขัน จะใช้รูป present simple tense
               สำหรับ present continuous tense นักศึกษาคุ้นเคยกับการใช้รูปนี้เมื่อต้องการบรรยายถึงเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะที่พูด ขอให้สังเกตการณ์ใช้ present continuous ในบทสนทนาข้างต้น จะเห็นว่า “…, who is studying at the University of Arizona.” ไม่ได้ใช้บรรยายเหตุการณ์ในอนาคตเหมือนกับ “I’m visiting a friend in San Francisco.”
               ขอให้สังเกตว่า การคาดคะเน (prediction) ที่ใช้กับรูป BE going to + V base form จะต่างจากการคาดคะเนที่ใช้รูป simple future tense ตรงที่ว่าจะไม่ใช่การคาดการณ์ที่นึกคิดไปเอง แต่เป็นการคาดการณ์ที่ได้ไตร่ตรองแล้วว่าจะเกิดขึ้น โดยดูจากสถานการณ์ในขณะนั้น ในกรณีนี้ Mrs. Lim จะต้องเดินทางระยะไกลกว่ากรและต้องรอถึง 3 ชั่วโมงที่ San Francisco เพื่อเปลี่ยนเครื่องเดินทางต่อไปยัง Phoenix ใน Arizona.
Learning Vocabulary from Specific Contests
               ความรู้เรื่องศัพท์เป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ภาษา ผู้ที่รู้ศัพท์มากย่อมได้เปรียบกว่าผู้ที่รู้น้อย การจะเรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพนั้นควรเรียนรู้ในบริบท โดยเรียนรู้เป็นหมวดหมู่ ในตอนที่ 14.2 นี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ศัพท์ต่างๆ มากมายที่หมวดที่เกี่ยวกับการเดินทางโดยเครื่องบิน แม้ว่านักศึกษาบางคนอาจจะไม่เคยมีประสบการณ์ตรงในการเดินทางโดยเครื่องบินมาก่อน แต่คงจะเคยได้สัมผัสทางอ้อมจากภาพยนตร์หรือจากการบอกเล่าของผู้อื่น หากเราสามารถลำดับขั้นตอนการโดยสารเครื่องบินก็จะช่วยให้การเรียนรู้ศัพท์เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น
Constructing New Words by Associating with Specific Contexts
               วิธีหนึ่งที่จะเพิ่มพูนวงศัพท์ของผู้เรียนคือการนำศัพท์ที่รู้จักแล้วมารวมกันเพื่อให้เกิดศัพท์ในความหมายใหม่ซึ่งมีเค้าความหมายเดิม วิธีนี้เป็นวิธีสร้างศัพท์ใหม่ซึ่งเป็นที่นิยมในภาษาอังกฤษเรียกว่า compound nouns หรือคำประสมในตอนที่ 14.2 นี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้คำประสมที่เกี่ยวข้องกับบริบทเฉพาะคือสนามบินและเครื่องบิน ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยคำ 2 คำ ซึ่งเมื่อนำมารวมกนยังคงความหมายเดิมอยู่โดยมีคำที่เป็นความหมายหลักและคำที่เป็นความหมายขยาย หลักการในการสร้างคำคือให้คำที่เป็นความหมายหลักอยู่ในส่วนที่สองของคำใหม่ที่สร้างขึ้นมา ส่วนคำที่ให้ความหมายขยายให้อยู่ในส่วนต้นของคำ จะเห็นว่าการเรียงคำจะตรงข้ามกับในภาษาไทย เช่นคำว่า window seat [ที่นั่ง (seat) รินหน้าต่าง (window)] คำว่า seat เป็นคำหลัก คำว่า window เป็นคำขยาย การเรียนคำศัพท์เหล่านี้ให้อาศัยการแปลจากภาษาแม่ก็ได้ เพียงแต่ให้สลับตำแหน่งคำให้ถูกต้องตามหลักในภาษาอังกฤษ
Grammar: Future expressions
               การพูดถึงเหตุการณ์ในอนาคตทำได้หลายวิธี และลักษณะที่กล่าวถึงมีหลายแบบ ดังนี้
A. ใช้ simple future tense เพื่อแสดงอนาคตในลักษณะต่อไปนี้
               1. การคาดการณ์ (prediction) Example:           According to the weatherman, it will rain tomorrow.
               2. ความหวัง (hope or expectation) Example: I hope you’ll get the job this time.
               3. การเสนอที่จะช่วยเหลือหรือการตัดสินใจที่ยังไม่ได้วางแผน (offer or unplanned decision) Example: I’ll pick you up when you get here.
               4. การสัญญา (promises) Example: I won’t be late again, I promise.
B. ใช้ present continuous tense เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ซึ่งได้วางแผนหรือเตรียมการณ์ไว้แล้ว (future plans or intention) Example: I’m visiting a friend in San Francisco.
C. ใช้ future continuous tense ในกรณีต่อไปนี้
               1. กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะกำลังเกิดขึ้นในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต Example: He’ll be graduating in May.
               2. กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ได้วางแผนหรือเตรียมการณ์ไว้ Examples: How long will you be staying in Arizona?, Will your friend be meeting you at the airport?
D. ใช้ Be going to + V base form ในกรณีต่อไปนี้
               1. แผนการหรือความตั้งใจในอนาคต (future plans or intention) Examples: I’m going to visit my son, who is studying at the University of Arizona., I can’t help you with your homework tonight because I’m going to my friend’s birthday party. (โปรดสังเกตว่า มักจะละคำกริยา “go” ที่ด้านหลัง BE going to)
               2. การคาดการณ์จากหลักฐานหรือสถานการณ์ในเวลานั้น (predictions based on circumstantial evidence) Example: I’m afraid I’m going to be very tired by the time I get my final destination.
               3. ใช้ present simple tense เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ได้มีการกำหนดเวลาไว้แล้ว (scheduled events) Example: Well, I have a three-hour wait in San Francisco before my flight to Phoenix leaves.
Vocabulary: Flying/airport vocabulary
            คำศัพท์จำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางโดยเครื่องบิน จะเป็นคำที่เกิดจากการนำคำ 2 คำ ซึ่งมักเป็นคำนามมาประสมกัน (compound noun) ตัวอย่างเช่น boarding pass, check-in counter, arrival card, departure card คำนามหลักจะเป็นคำนามตัวท้ายสุด ส่วนคำนามที่อยู่ข้างหน้าทำหน้าที่เป็นคำขยาย
Speaking: Stress pattern for compound noun
            การออกเสียงคำประสม มักออกเสียงพยางค์ที่ลงเสียงหนักของคำข้างหน้า (primary stress) ดังกว่าพยางค์ที่ลงเสียงหนักของคำข้างหลัง (secondary stress) Examples: boarding pass, cabin crew, window seat
ตอนที่ 14.3 Getting There
               1. สนามบินเป็นสถานที่ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวหลายชาติหลายภาษา ก่อนเดินทางหากได้ทำความคุ้นเคยกับป้ายบอกสถานที่หรือทิศทางซึ่งพบเห็นเสมอตามสนามบินต่างๆ จะช่วยป้องกันหรือลดความขลุกขลักที่อาจเกิดขึ้นได้
               2. ก่อนเข้าประเทศ นักท่องเที่ยวจะต้องกรอกแบบฟอร์มตรวจคนเข้าเมืองและแบบฟอร์มศุลกากร ตลอดจนสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศนั้นๆ จึงควรเรียนรู้ประโยคหรือศัพท์สำนวนเพื่อจะได้กรอกข้อมูลหรือตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาทำให้ต้องเสียเวลา หรืออาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศเลยก็ได้
               3. บางครั้งนักท่องเที่ยวอาจประสบปัญหา เช่น กระเป๋าเดินทางหาย และต้องการความช่วยเหลือ จึงควรรู้จักศัพท์สำนวนเกี่ยวกับการระบายสิ่งของเพื่อจะช่วยให้การค้นหาสะดวกรวดเร็วขึ้น
คำอธิบาย
               ในที่สุดกรก็เดินทางมาถึงจุดหมายปลายทางของเขาคือ San Francisco แต่โชคร้ายที่กระเป๋าเดินทางของเขาใบหนึ่ง (one of his checked luggage) หายไป กรจึงต้องเสียเวลาติดตามกระเป๋าของเขาที่สนามบินทุกแห่งจะมีแผนกร้องเรียนเรื่องนี้ เรียกโดยทั่วไปว่า Lost Luggage Service นักศึกษาอาจสงสัยว่าใช่ที่เดียวกับที่ป้าย Baggage Claim บอกหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ เมื่อผู้โดยสารลงจากเครื่อง ถ้าเป็นสนามบินบางแห่งเช่นที่ San Francisco ผู้โดยสารจะต้องมุ่งไปยัง carousel หรือที่ขนถ่ายกระเป๋าของผู้โดยสารที่สนามบิน (มีลักษณะเป็นสายพานสำหรับวางสัมภาระของผู้โดยสาร และหมุนวนเวียนเพื่อให้ผู้โดยสารได้เลือกหยิบสิ่งของของตนออกไป) เพื่อรับกระเป๋าเดินทาง (claim their checked baggage) ซึ่งสายการบินนำไปเก็บไว้รวมกัน บางครั้งก็เรียก carousel ว่า belt เพราะ carousel มีลักษณะเป็นสายพานขนาดใหญ่หมุนไปมา
               ทราบเช่นนี้แล้วนักศึกษาคงเข้าใจแล้วว่า ประโยคในบทสนทนาใน Presentation 2 ที่ว่า “Someone must have taken it off the belt by mistake.” ว่ากำลังพูดถึง carousel นั่นเอง ส่วนคำว่า by mistake เป็นสำนวนที่เหมือนกับคำว่า accidentally ซึ่งหมายความว่าเป็นความบังเอิญหรือไม่ได้ตั้งใจ
               ขอให้สังเกตคำว่า local ที่ใช้ในบทสนทนาด้วย ในที่นี้หมายถึงในประเทศสหรัฐอเมริกา กรจะต้องกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดตามกระเป๋าคืน ในฟอร์ม กรต้องเขียนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ (contact number) ระหว่างที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา เรียกสั้นๆ ว่า a local address and contact number
Recycling Grammar Rules Previously Learned
               กลยุทธ์หนึ่งในการเรียนรู้ภาษาคือการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว ในหน่วยที่ 14 นี้ นักศึกษาจะได้ทบทวนเรื่อง modal verbs และ question words ซึ่งได้ผ่านตาไปแล้วในหน่วยต้นๆ สิ่งที่ต่างออกไปคือบริบทเท่านั้น การทำแบบฝึกหัดหรือฝึกใช้หลักไวยากรณ์ที่นักศึกษาเข้าใจแล้วในบริบทใหม่อยู่เสมอจะทำให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้องและคล่องแคล่วขึ้น
Language Function: Describing and asking about an object
               การอธิบายหรือถามถึงวัตถุสิ่งต่างๆ เรามักพูดเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ เช่น ขนาด (size) สี (color) วัสดุที่ใช้ทำ (material) ยี่ห้อ (brand)
Examples:
Questions
 How to Describe
- What size is your suitcase? / How big is your suitcase? / Is it big, medium or small?
- What color is your bag?
- What’s it made of?
- What brand is it?
- It’s of medium-size. It’s probably about 60 by 40 centimeters.

- Dark blue.
- It’s made of nylon.
- It’s an American Tourister.
ข้อสังเกต อาจใช้ประโยคคำถาม “What does your bag look like?” เพื่อถามรวมๆ ถึงลักษณะทุกอย่างข้างต้น แทนที่จะใช้คำถามที่เฉพาะเจาะจงถามถึงลักษณะแต่ละอย่างข้างต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น