วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

ความรู้จากการอบรมประกันคุณภาพ (5)

การประกันคุณภาพ
คุณภาพ (Quality) ประกอบด้วย

  1. Standard
  2. Customer Expectation or Satisfaction หรือ TQM
  3. Continuous Improvement ตามวงจรคุณภาพ (PDCA)
การพัฒนาโรงเรียนให้ได้มาตรฐานตามวงจรพัฒนาคุณภาพ (PDCA)

  1. P (Plan) ทำแผนพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วมทุกฝ่าย
  2. D (Do) การปฏิบัติตามแผนจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการบริหารจัดการ (4M= Money, Men, Material, Management) อย่างเพียงพอ
  3. C (Check) การตรวจสอบ เพื่อพัฒนาโรงเรียน
  4. A (Action) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นในการวางแผน (Plan and Make Change) เพื่อแก้ปัญหา (Solving Problem)
Action มี 2 นัย คือ

  1. ถ้าผลการประเมินคุณภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ก็รักษาวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice)ไว้ แล้วนำมาจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard)ของสถานศึกษา
  2. ถ้าผลการประเมินไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ต้องนำผลการประเมินมาพิจารณาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเพื่อการวางแผนปรับปรุงพัฒนา (Plan) ในปีต่อไป รวมทั้งเรื่องที่ไม่เป็นปัญหาก็ต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
PDCA กับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ดังนี้
P = 

  1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษา
  2. การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา
  3. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
D = การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
C = 

  1. การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบ
  2. การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
  3. การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน
A = 

  1. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  2. การใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด (data wise)
  3. การจัดการความรู้ (KM)
  4. การใช้ประโยชน์จากผลการประเมิน (Evaluation Utilization)
  5. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)
"Everything we do is Quality" ความพึงพอใจ เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
SWOT --->  Stratitive Plan = แผนกลยุทธ์

"การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง"
โรงเรียนที่มีคุณภาพ
  1. มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียนชัดเจน
  2. มีการกำกับติดตามตรวจสอบสมำ่เสมอ
  3. มีความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียนแนบแน่น
  4. มีการตั้งความคาดหวังความสำเร็จไว้สูง
  5. โรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้ภายในอย่างหลากหลาย และมีการให้ผู้เรียนไปเรียนที่แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน
  6. โรงเรียนสร้างโอกาสการเรียนรู้และให้เวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน
  7. มีสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนสะอาด สวยงาม ร่มรื่น เป็นระเบียบ ปลอดภัย
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ที่ครูควรศึกษาและทำความเข้าใจ ดังนี้
  1. จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีทั้งความรู้และคุณธรรม อยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข
  2. จัดการเรียนการสอน ต้องให้ความสำคัญกับผู้เรียน พัฒนาผู้เรียนทุกคนตามธรรมชาติ เต็มศักยภาพ
  3. การจัดการความรู้และประสบการณ์ ต้องทำให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติตามจุดมุ่งหมายข้อ 1 ต้องเน้นความสำคัญทั้ง ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม
  4. การจัดกระบวนการเรียนรู้ หรือ การจัดการเรียนการสอน ควรมีลักษณะ ที่เอื้อต่อการให้ความรู้และประสบการณ์ในข้อ 3 ส่งไปถึงผู้เรียนจนทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ลงมือปฏิบัติ รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรรียนรู้ต่างๆ มีทักษะการคิด การจัดการ การประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่างๆ
  5. โรงเรียนต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน โดยอาศัยหลักสูตรแกนกลางเป็นแนวทาง
  6. ผู้สอนต้องทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
"วิสัยทัศน์" (Vision) คือ ความคาดหวังในอนาคตขององค์กรที่ต้องการจะเป็น เป็นข้อความซึ่งกำหนดทิศทางของพันธกิจ เป็นสภาพอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่องค์กรมุ่งหวังหรือประสงค์จะม่ีในอนาคต ต้องมีความชัดเจน กระชับ คำนึงถึงผู้เรียน ท้าทายความสามารถของบุคลากรในหน่วยงานให้เกิดความมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ชัดเจนในใจคน และชัดเจนในการปฏิบัติ
"วิสัยทัศน์ที่่ดี"
  1. มีความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ (Implement ability)
  2. ผู้บริหาร ครูทุกคน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วม (Participation)
  3. คำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง (Customer Satisfaction)
"พันธกิจ" (Mission) การกำหนดขอบเขตของงานหรือบทบาทหน้าที่ที่องค์กรต้องทำในลักษณะอาณัติ เพื่อให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ หรือ เป็นการระบุภารกิจที่องค์กรพยายามจะบรรลุหรือเป็นพันธสัญญาที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
"อัตลักษณ์ผู้เรียน" (Identity) เกิดจากการพัฒนาผู้เรียนตามวิสัยทัศน์และเกิดบรรลุผลโดดเด่น การประเมิน: ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นไปตามสาระที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์หรือไม่ อย่างไร การกำหนด: ต้องชัดเจน ง่ายต่อการเก็บข้อมูล ง่ายต่อการวัดและประเมิน ไม่ควรใช้คำที่มีความหมายกว้าง หรือตีความได้หลายความหมาย ต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์
"เอกลักษณ์สถานศึกษา" (Uniqueness) คือ ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นของสถานศึกษา (Best practice) ซึ่งบางโรงเรียนอาจมีจุดเด่นหลายด้าน แต่ควรเอาเอกลักษณ์ที่ดีที่สุด
"ตัวบ่งชี้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง" 
(Child Centered Approached Learning)
  1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
  2. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า สังเกต รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ คิดอย่างหลากหลาย สร้างสรรค์ และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
  3. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้วิธีศึกษาหาความรู้ และแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
  4. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี และสิ่งที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
  5. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียน พัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วน ทั้งด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา
  6. มีการจัดกิจกรรม เพื่อฝึก และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน
  7. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อกลุ่ม
  8. มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายต่อเนื่อง
  9. ผู้เรียนรักโรงเรียนของตนและมีความกระตือรือร้นในการมาโรงเรียน
สรุป คือ Child Centered Approach Learning = การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการคิดด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ เกิดความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปบูรณาการในชีวิตประจำวัน และมีคุณสมบัติตรงกับเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขกายและใจ

บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
"ผู้สอน" มีหน้าที่รับผิดชอบ
  1. ก่อนสอน ทำการวางแผน เตรียมการ เลือกกิจกรรมการเรียนรู้
  2. ขณะสอน ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (Facilitators) จัดการ แนะนำ สังเกต ช่วยเหลือ เสริมแรง (Reinforcement) และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
  3. หลังสอน ทำหน้าที่ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อใช้ในการวางแผนการสอนต่อไป หรือตัดสอนคุณภาพผู้เรียน
"ผู้เรียน" มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง โดยเลือกสิ่งที่ต้องการเรียน วางแผนการเรียน เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียน ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเอง และประเมินการเรียนรู้ของตน
"Constructionist" มีความเชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยตนเอง สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้งอกงามได้เรื่อยๆ โดยอาศัยพัฒนาโครงสร้างความรู้
"โครงสร้างความรู้" มีองค์ประกอบที่ืสำคัญ 3 ประการ คือ
  1. ความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่
  2. ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้รับ เป็นข้อมูล ความรู้ ความรู้สึก และประสบการณ์
  3. กระบวนการทางสติปัญญา เน้นกระบวนการทางสมองที่ผู้เรียนใช้ทำความเข้าใจกับความรู้ใหม่ และใช้เชื่อมโยง ปรับความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน
"กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี" ควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง
"กิจกรรมการเรียนรู้" คือ งานที่ผู้เรียนทำแล้วเกิดความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแสดงเป็นพฤติกรรมที่ผู้สอนกำหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้
"กิจกรรม" ควรเปิดโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และด้านอารมณ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น