วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

ข้อความที่สรุปจากการอ่าน (1)

สุดาพร ลักษณียนาวิน (2540) กล่าวว่า "รัฐบาลไทยตระหนักถึงปัญหาในความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนในชาติ และมีความพยายามจะปรับปรุงให้มีการสอนภาษาอังกฤษตลอดมา เริ่มจากระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา เพื่อที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนได้ดีมีสมรรถนะทางภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ สามารถที่จะมีความรู้ ความเข้าใจ สารสนเทศต่างๆ ที่มีอยู่ได้เป็นอย่างดี คือ มีความรู้พอที่จะเลือกสารสนเทศต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้ ความคิดของคนในประเทศไทยได้ อันนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ดังนั้นการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายจะเป็นไปได้ยากหากยังใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษเดิม วิธีการสอนเดิม"

คุรุรักษ์ ภิรมย์รักษ์ (2540) กล่าวว่า "การอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมโลกปัจจุบัน คือ ช่วยให้ผู้ที่เข้าถึงการอ่านสามารถดำเนินชีวิตได้ตามที่ตนเองต้องการ มีความเข้าใจสังคมโลก และสามารถอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข แม้สังคมโลกจะเข้าถึงสารสนเทศที่ก้าวหน้า การอ่านก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ตลอดเวลา"
   
สิ่งที่สำคัญในการอ่าน คือ ผู้อ่านควรจะเข้าใจและสามารถจับใจความจากเรื่องที่อ่านได้ (Dallman,et.al, 1987) กล่าวว่า การจับใจความเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้การอ่านแต่ละครั้ง บรรลุจุดมุ่งหมายที่หวังไว้เพราะพื้นฐานของความเข้าใจจะพัฒนาขึ้นตั้งแต่ขั้นต่ำสุด คือ ความเข้าใจข้อเท็จจริง จนถึงขั้นสูงสุด คือ ขั้นวิจารณ์ประเมินค่าสิ่งที่อ่าน ซึ่งการพัฒนาจะสร้างขึ้นจากการฝึกอ่านประจำ

ทิพย์วัลย์ มาแสง (2532), พัชรพิมล บุญรมย์ (2538) กล่าวว่า "ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สรุปได้ว่า เพราะนักเรียนขาดความสนใจและแรงจูงใจในการเรียน ไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ในการเรียนภาษาอังกฤษไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อภาษาอังกฤษ"

ปานตา ใช้เทียมวงศ์ (2537) กล่าว "ครูขาดความมั่นใจในการสอน เพราะไม่เข้าใจวิธีสอนและวัตถุประสงค์ในการสอนภาษาอังกฤษทำให้การสอนไม่มีประสิทธิภาพ"

สาลี่ ศิลปธรรม (2539) กล่าวว่า "พบว่านักเรียนไม่สามารถอ่านจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องได้เนื่องจากครูส่วนใหญ่สอนโดยวิธีแปล"

วรรณา ช่องดารากุล (2539) กล่าวว่า "สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม แป้ง อาหาร สถานที่ต่างๆ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ มักเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยว การเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์และเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค ทำให้คนไทยมีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวและติดต่อค้าขายเจรจาการเมืองมากยิ่งขึ้น"

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์ (2534) กล่าวว่า "ควรนำเนื้อหาจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันมาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน"

Robinson (1980) กล่าวว่า "การที่ผู้เรียนสามารถนำเนื้อหาจากสื่อไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้ผู้เรียนเห็นควยามสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ"

ศ.ดร.พิณทิพย์ ทวยเจริญ (2547) กล่าวว่า "การสอนภาษาอังกฤษให้เกิดผลดีแก่ประชากรไทยนั้นผู้สอนไม่ควรมุ่งวิธีสอนแบบหนึ่งแบบใด โดยเฉพาะ เนื่องจากวิธีการสอนต่างๆ เป็นแนวคิดริเริ่มมาจากยุโรปและอเมริกาเพื่อบุคลากรในสังคมนั้นที่มีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม และการปลูกฝังความคิดแตกต่างไปจากสังคมไทย การที่จะยืมแนวคิดทางหลักสูตรหรือวิธีสอนมาใช้ในประเทศไทยโดยไม่พิจารณาพื้นฐานทางสังคมและการอบรมตลอดจนพื้นฐานทางระบบการศึกษานั้นเป็นการปฏิบัติที่ขัดกับความเป็นจริง"

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์ (2549) กล่าวว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจมี 4 กลวิธี (strategy) ตามจุดประสงค์การอ่านซึ่งได้แก่ การอ่านจับใจความ (scanning), การอ่านอย่างรวดเร็ว (extensive reading), การอ่านเพื่อความบันเทิงและจับใจความสำคัญของบทความ (intensive reading) เป็นการอ่านที่ทำความเข้าใจกับบทความทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ ถ้าผู้อ่านฝึกใช้กลวิธีต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมจะทำให้พัฒนาการอ่านได้เร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น