วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

สรุปเอกสารงานวิจัย (4)

การใช้ศิลป์ภาษาพัฒนาทักษะการ (เขียน), แต่งคำประพันธ์
ผู้วิจัย   อ.ศรีอัมพร ประทุมนันท์ โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลย์
กลุ่มตัวอย่าง   นักเรียน ป. 5 โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลก์ จำนวน 31 คน
เวลา   3 เดือน ปีการศึกษา 2543
จุดประสงค์การวิจัย   เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ ของนักเรียน ป.5 โรงเรียนวัดป่าเลไลก์ ปีการศึกษา 2543
ทฤษฎี   ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการจำการลืม
ความรู้การแต่งคำประพันธ์ โดยใช้ ทักษะ ได้แก่ ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล, กฎแห่งการฝึก, ทักษะการคิด, กาเรียนแบบมีส่วนร่วม     เจตคติ ได้แก่ จิตวิทยาเด็ก, แรงจูงใจ, ทฤษฎีเสริมแรง
กระบวนการ
  1. รู้จักเด็กทุกคนดี
  2. ชี้ให้เห็นความสำคัญ
  3. ผู้สัมพันธ์ศิลปะ
  4. ฝึกทักษะให้ซึมซาบ
  5. เน้นศักยภาพส่วนบุคคล
  6. เพิ่มพูลผลบูรณาการ
  7. ใครชำนาญครูส่งเสริม
  8. ประเมินผลเริ่มทุกขั้นตอน
ผลการวิจัย
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ รูปแบบ หรือฉันทลักษณ์ และวิธีการแต่งคำประพันธ์ดีขึ้น
  2. นักเรียนที่เรียนเก่งพัฒนาถึงขั้นจุดหมาย 3 คน
  3. นักเรียนปานกลางพัฒนาถึงขั้น จุดหมาย ได้ 3 คน
  4. นักเรียนอ่น พัฒนาถึงขั้นจุดหมายได้ 1 คน
  5. นักเรียนปานกลาง พัฒนาถึงขั้นราชาศัพท์ ได้ 1 คน
  6. นักเรียนอ่อน สามารถพัฒนาถึงขั้นราชาศัพท์ได้ 1 คน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  1. การสร้างความตระหนักโดยสื่อและวิธีการหลากหลายส่งให้นักเรียนตั้งใจศึกษาค้นคว้าจนเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
  2. การยอมรับความคิดเห็นจะทำให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง
  3. การนำสื่อที่นักเรียนชอบหรือสนใจประกอบช่วยให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จในการเรียน
  4. นักเรียนพึงพอใจ เพระาทุกคนมีโอกาสเลือกสื่่้อมาทำกิจกรรม
  5. การจัดกิจกรรมสั้นๆ แต่สม่ำเสมอในระยะพอสมควรทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างคงทน
  6. นักเรียนสัมผัสสื่อหลากหลาย ช่วยพัฒนาทักษะการคิด และเพิ่มพูนอย่างหลากหลายที่เป็นวัตถุดิบในการแต่งคำประพันธ์
  7. การเสริมแรงสร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนาตนเอง
  8. การวางแผนกิจกรรมบูรณาการอย่างเหมาะสม แทรกทักษะการแต่งคำประพันธ์ในทุกแผน ฝึกทักษะสม่ำเสมอให้เกิดการเรียนรู้อย่างถาวร
  9. การจัดนิทรรศการผลงาน สร้างการยอมรับความสามารถของตนเองและผู้อื่นได้
  10. การยกย่อง ชมเชยช่วยให้นักเรียนภาคภูมิใจและพยายามสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น
  11. การประเมินผลทุกขั้นตอนทำให้สามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้สอดคล้องกับปัญหาและสถานการณ์
  12. ความรักและความเมตตาของครูต่อศิษย์อย่างจริงใจเป็นสื่อที่มีค่าและประสิทธิภาพอย่างยิ่งต่อการจัดกิจกรรมการสอนทุกเนื้อหาวิชา
ความเห็น ความรู้สึกของครู
- ภูมิใจที่เอาชนะปัญหาได้
- สามารถพัฒนาเด็กตาม พรบ. การศึกษาฯ มาตรา 22 หมวดที่ 4 ที่ว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้
- ยังมีศิษย์อีกหลายคนที่ยังไม่สามารถค้นพบศักยภาพของเขา
- สุดท้ายจะพยายามช่วยนักเรียนโดยเฝ้าสังเกต ศึกษา วิเคราะห์ปัญหา หาวิธีแก้ไข พัฒนานวัตกรรมขึ้นใช้แก้ปัญหาให้ลุล่วง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น