วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

ประกันคุณภาพ (3)

หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้
ก. หลักการสำคัญ

  1. การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานตามภารกิจที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
  2. การประกันคุณภาพมุ่งพัฒนการดำเนินงานตามความรับผิดชอบของตนให้มี่คุณภาพดียิ่งขึ้น เพราะผลการพัฒนาของแต่ละคนก็คือผลรวมของการพัฒนาทั้งสถานศึกษา
  3. การประกันคุณภาพเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำเพื่อเตรียมรบการประเมินเป็นครั้งคราวเท่านั้น
  4. การประกันคุณภาพต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถว่าจ้างหรือขอให้บุคคลอื่นๆ ดำเนินการแทนได้
  5. การประกันคุณภาพต้องเกิดจากการยอมรับและนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ข. การดำเนินงานของสถานศึกษา

  1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องดำเนินการและถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้
1.1  ศึกษา วิเคราะห์ มาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการใช้
1.2  พิจารณาสาระสำคัญที่จะกำหนดในมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่สะท้อนอัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา
1.3 กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้
1.4  ประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกรับทราบ
ทั้งนี้ สถานศึกษาอาจกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ได้

2. การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2.1  ให้สถานศึกษาจัดทำแผนการจัดการศึกษา ดังนี้
2.1.1 ศึกษา วิเคราะห์ สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลตามสภาพจริง
2.1.2  กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายด้านต่างๆ โดยมุ่งเน้นที่คุณภาพผู้เรียนที่สะท้อนคุณภาพ ความสำเร็จอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
2.1.3  กำหนดวิธีการดำเนินงานกิจกรรม โครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัย หรือข้อมูลที่อ้างอิงได้ ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
2.1.4  กำหนดแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
2.1.5  กำหนดบทบาท หน้าที่อย่างชัดเจนให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนร่วมรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.1.6  กำหนดบทบาท หน้าที่ และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงาน ชุมชน และท้องถิ่น
2.1.7  กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับกิจกรรม โครงการ
2.1.8  เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ/หรือ คณะกรรมการสถานศึกษา และ/หรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ
2.2 ให้สถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ดังนี้
2.2.1 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.2.2 ให้กำหนดปฏิทินการนำแผนปฏิบัติการประจำปีไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน
2.2.3  เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ/หรือ คณะกรรมการสถานศึกษา และ/หรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ

3. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
3.1  จัดโครงสร้างหรือระบบการบริหารงานของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
3.2  กำหนดผู้รับผิดชอบและจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน สะดวกต่อการเข้าถึงและการให้บริการ หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต้นสังกัด
3.3  นำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการบริหารและการพัฒนาการเรียนการสอน

4.  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
4.1  นำแผนปฏิบัติการประจำปีแต่ละปีสู่การปฏิบัติตามกรอบระยะเวลา และกิจกรรมโครงการที่กำหนดไว้
4.2  ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

5.  การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
5.1  กำหนดผู้รับผิดชอบในการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดบสถานศึกษา
5.2  ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษาอย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
5.3  รายงานและนำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา
5.4  เตรียมการและให้ความร่วมมือในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด

6.  การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
6.1  ให้มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย 3 คน ที่ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่หน่วยงานต้นสังกัดขึ้นทะเบียนไว้อย่างน้อย 1 คน เข้ามามีส่สวนร่วมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายใจของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
6.2 ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสม
7.  การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
7.1  สรุปและจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด
7.2  นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ/หรือ คณะกรรมการสถานศึกษา และ/หรือ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ
7.3  เผยแพร่รายงานต่อสาธารณชน หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
8.  การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
8.1  ส่งเสริมแนวความคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษามุ่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องให้เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา และพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จนเป็นวัฒนธรรมคุณภาพในการทำงานปกติของสถานศึกษา
8.2  นำผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาจากการประเมินตนเองหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา การบริหาร และการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
8.3  เผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา

ค.  การดำเนินงานของหน่วยงานต้นสังกัด
1.  ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมที่เกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
2.  ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบข้อมูลสารสนเทศ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำรายงานประจำปี เป็นต้น
3.  พัฒนาผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดที่รับผิดชอบ จัดทำทะเบียนรายชื่อ และประกาศให้สถานศึกษา ทราบ
4.  กำกับ และดูแล คุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับหรือรักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษา
5.  จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และแจ้งผลการติดตามตรวจสอบให้สถานศึกษาทราบ
6.  นำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพไปใช้วางแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
7.  เผยแพร่ผลการติดตา่มตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อหน่วยงานต้นสังกัดระดับเหนือขึ้นไป และสาธารณชน
8.  เชื่อมโยงผลการประเมินคุณภาพภายนอกกับผลการประเมินภายใน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
9.  สร้างเครือข่ายคุณภาพเพื่อร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
10.  ประกาศ เผยปพร่ผลการปฏิบัติดีของสถานศึกษาในสังกัดต่อสาธารณชนและหน่วยงานต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น