วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

32207 หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4 เงินลงทุน
-          เงินลงทุนเป็นสินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับกิจการ กิจการเลือกถือเงินลงทุนในรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของกิจการนั้น กิจการอาจได้เงินลงทุนมาด้วยการซื้อหรือการแลกเปลี่ยน จึงต้องมีการคำนวณต้นทุนของเงินลงทุนและกำหนดมูลค่าเงินลงทุนที่จะรายงานในงบแสดงฐานะการเงิน
-          การบันทึกรายการได้มาของเงินลงทุนจะใช้ราคาทุนเริ่มแรก หลังจากนั้น ณ วันสิ้นงวดเงินลงทุนประเภทหลักทรัพย์เพื่อค้าและเผื่อขายจะวัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรม ซึ่งจะมีผลกำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น ส่วนเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายและตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดจะต้องตัดส่วนลดหรือส่วนเกินของเงินลงทุนตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง สำหรับเงินลงทุนทั่วไปและเงินลงทุนในบริษัทย่อยจะใช้ราคาทุนเพื่อแสดงในงบแสดงฐานะการเงิน และใช้วิธีส่วนได้เสียสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม
-          รายการอื่นเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประกอบด้วย ผลตอบแทนอื่นจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์ เงินลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพ การด้อยค่าของเงินลงทุน และการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุน
-          เงินลงทุนเป็นสินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับกิจการ กิจการเลือกถือเงินลงทุนในรูปแบบต่างๆ ทั้งตราสารหนี้ ตราสารทุน สินทรัพย์ที่มีตัวตน และสินทรัพย์อื่นๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของกิจการซึ่งมีความแตกต่างกัน กิจการอาจถือเงินลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยหรือเงินปันผล หรืออาจถือไว้เพื่อให้เกิดสภาพคล่องหรืออาจถือไว้เพื่อให้มีโอกาสเข้าไปควบคุมการดำเนินงานของกิจการอื่น
-          กิจการจะรับรู้รายการเงินลงทุนเมื่อเข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการตาที่กำหนดไว้ในแม่บทการบัญชีและสามารถจำแนกการจัดประเภทเงินลงทุนเป็น 2 แบบ คือ จัดประเภทตามเกณฑ์การแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงิน และจัดประเภทตามเกณฑ์วัตถุประสงค์ของการถือเงินลงทุน
-          ต้นทุนของเงินลงทุนต้องรวมรายจ่ายโดยตรงในการได้มาซึ่งเงินลงทุน กิจการอาจได้เงินลงทุนมาด้วยสถานการณ์ต่างๆ ต้นทุนของเงินลงทุนจึงอาจใช้ราตลาดของหลักทรัพย์ที่ออกหรือมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่นำไปแลกหรือมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ได้มา และการกำหนดมูลค่าของเงินลงทุนขึ้นอยู่กับการจัดประเภทของเงินลงทุน
-          มูลค่าของเงินลงทุนจะแสดงในงบแสดงฐานะการเงินภายใต้หัวข้อสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนแล้วแต่กรณี ส่วนการแสดงรายการในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจะแสดงผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน และกระแสเงินสดที่เกิดจากการซื้อขายโดยแยกเป็นกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายตามกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินลงทุน นอกจากนี้ยังต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด
-          หลักทรัพย์เพื่อค้าจัดประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราว การวัดมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อค้า ณ วันสิ้นงวดจะใช้มูลค่ายุติธรรม สำหรับผลกำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างราคาทุนกับมูลค่ายุติธรรมจะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จทันที
-          หลักทรัพย์เผื่อขายจัดประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาวขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ลงทุน สำหรับการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เผื่อขาย ณ วันสิ้นงวดจะใช้มูลค่ายุติธรรม ส่วนผลกำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจะแสดงภายใต้หัวข้อส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงฐานการเงิน
-          เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดจัดประเภทเป็นเงินลงทุนระยะยาว ในกรณีที่เกิดส่วนลดหรือส่วนเกินจากเงินลงทุนจะต้องตัดจำหน่ายให้หมดไปตลอดอายุของการถือตราสารหนี้ โดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือวิธีอื่นที่ให้ผลไม่แตกต่างกัน ดังนั้น มูลค่าของเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดที่จะแสดง ณ วันสิ้นงวดคือ ราคาทุนตัดจำหน่าย สำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดใน 1 ปี จะจัดประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราว
-          เงินลงทุนทั่วไปซึ่งเป็นเงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดจึงวัดมูลค่าด้วยราคาทุน ส่วนวิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยจะใช้วิธีส่วนได้เสียและวิธีราคาทุนตามลำดับ
-          การลงทุนในหลักทรัพย์นอกจากจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินสดปันผล กรณีเป็นตราสารทุน และ ดอกเบี้ยรับกรณีเป็นตราสารหนี้แล้ว อาจได้รับผลตอบแทนในรูปแบบอื่น คือ หุ้นปันผล สินทรัพย์ปันผล และใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ ผลตอบแทนต่างๆ เหล่านี้มีวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่แตกต่างกันไป
-          การลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนที่จะเปลี่ยนสถานะจากเจ้าหนี้ไปเป็นเจ้าของกิจการ ทั้งนี้ กิจการผู้ออกหุ้นกู้จะกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับการแปลงสภาพ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพเกิดผลกำไรหรือขาดทุนจากการแปลงสภาพก็ได้
-          ณ วันสิ้นงวดเมื่อเกิดข้อบ่งชี้ในการด้อยค่า ข้อบ่งชี้นี้ส่งผลกระทบในทางลบต่อกระแสเงินสดที่กิจการจะได้รับจากเงินลงทุน กิจการต้องเปรียบเทียบมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนกับมูลค่าที่จะได้รับ และถ้ามูลค่าตามบัญชีสูงกว่า จะต้องรับรู้ผลต่างเป็นผลขาดทุนจากการด้อยค่าในงบกำไรขาดทุนทันที
-          เมื่อกิจการได้มาซึ่งเงินลงทุนจะจัดประเภทเงินลงทุนนั้นตามวัตถุประสงค์ที่กิจการกำหนด แต่ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไป กิจการอาจโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนก็ได้ ณ วันที่โอนเปลี่ยนประเภทจะใช้มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนนั้นในการบันทึกบัญชี และอาจเกิดกำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
      เมื่อวันที่ 1 กันยายน 25x1 กิจการแห่งหนึ่งซื้ออาคารมูลค่า 600,000 บาท เพื่อการลงทุน สิ้นปี 25x1 มูลค่ายุติธรรมของอาคารเท่ากับ 720,000 บาท วันที่ 1 พฤศจิกายน 25x2 ขายอาคารได้เงิน 900,000 บาท
25x1
ก.ย. 1         เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์-อาคาร          600,000
                              เงินสด                                                   600,000
                  บันทึกซื้ออาคารเพื่อการลงทุน
                        --------------------------------------------------------
ธ.ค. 31       เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์-อาคาร          120,000
                              ผลกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้น (รับรู้เป็นรายได้)       120,000
                  บันทึกปรับปรุงเงินลงทุนให้แสดงมูลค่ายุติธรรม
                  --------------------------------------------------------
25x2
พ.ย. 1         เงินสด                                                   900,000
                              เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์-อาคาร          720,000
                              ผลกำไรจากากรขายเงินลงทุน                   180,000
                  บันทึกขายเงินลงทุนในอาคาร
                  --------------------------------------------------------
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
บริษัทแห่งหนึ่งซื้อทองมูลค่า 100,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 25x1 เพื่อการลงทุนสิ้นปี 25x1 มูลค่ายุติธรรมของทองคำเท่ากับ 110,000 บาท และวันที่ 10 มกราคม 25x2 บริษัทขายทองคำได้เงิน 125,000 บาท
25x1
ต.ค. 1         เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์-ทองคำ          100,000
                              เงินสด                                                   100,000
                  บันทึกซื้อทองคำเพื่อการลงทุน
                  --------------------------------------------------------
ธ.ค. 31       เงินลงทุนในสังหาริมทรัพย์-ทองคำ            10,000
                              ผลกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้น (รับรู้เป็นรายได้)       10,000
                  บันทึกปรับปรุงเงินลงทุนในแสดงมูลค่ายุติธรรม
                  --------------------------------------------------------
25x2
ม.ค. 10       เงินสด                                                   125,000
                              เงินลงทุนในสังหาริมทรัพย์-ทองคำ            110,000
                              ผลกำไรจากการขายเงินลงทุน                     15,000
                  บันทึกขายเงินลงทุน
                  --------------------------------------------------------
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในการประกันชีวิต
บริษัทแห่งหนึ่งได้ทำประกันชีวิตผู้จัดการฝ่ายการเงินของบริษัทไว้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 25x1 วงเงิน 200,000 บาท จ่ายเบี้ยประกันชีวิตปีละ 9,000 บาท และได้จ่ายเบี้ยประกนชีวิตงวดแรกวันที่ 1 มิถุนายน 25x1 รายละเอียดเกี่ยวกับการประกันชีวิตในระยะเวลา 3 ปี มีดังนี้

ตารางแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันชีวิต
วัน เดือน ปี
(1)
ค่าเบี้ยประกัน
(2)
เงินปันผล
(3) = (1) - (2)
ค่าเบี้ยประกันสุทธิ
(4)
ราคาเวนคืนกรมธรรม์ที่เพิ่มขึ้น
(5) = (3) – (4)
ค่าเบี้ยประกันที่เป็นค่าใช้จ่าย
1 มิ.ย. 25x1 – 31 ธ.ค. 25x2
9,000
-
9,000
-
9,000
1 มิ.ย. 25x2 – 31 ธ.ค. 25x3
9,000
900
8,100
4,800
3,300
1 มิ.ย. 25x3 – 31 ธ.ค. 25x4
9,000
1,000
8,000
5,000
3,000

บริษัทปิดบัญชี วันที่ 31 ธันวาคม 25x1 ผู้จัดการฝ่ายการเงินของบริษัทถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 กันยายน 25x2 บริษัทได้รับค่าเบี้ยประกันชีวิตจ่ายล่วงหน้าที่เหลือคืนมาจากบริษัทประกันชีวิต และได้รับเงินปันผล 600 บาท การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้
25x1
มิ.ย. 1         ค่าเบี้ยประกันชีวิตจ่ายล่วงหน้า                 9,000
                              เงินสด                                                   9,000
                  บันทึกจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต
                  --------------------------------------------------------
ธ.ค. 31       ค่าเบี้ยประกันชีวิต                                   5,250
                              ค่าเบี้ยประกันชีวิตจ่ายล่วงหน้า                 5,250
                  บันทึกโอนค่าเบี้ยประกันชีวิตเป็นค่าใช้จ่าย
                  (9,000 x 7/12 = 5,250 บาท)
25x2
มิ.ย. 1         ราคาเวนคืนกรมธรรม์                              4,800
                  ค่าเบี้ยประกันชีวิตจ่ายล่วงหน้า                 3,300
                              เงินสด                                                   8,100
                  บันทึกจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตและบันทึกราคาเวนคืนกรมธรรม์
                  --------------------------------------------------------
ก.ย. 1         ค่าเบี้ยประกันชีวิต                                   4,575
                              ค่าเบี้ยประกันชีวิตจ่ายล่วงหน้า                 4,575
                  บันทึกโอนค่าเบี้ยประกันชีวิตเป็นค่าใช้จ่าย
                  --------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น