วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

30206 กฎหมายธุรกิจและการภาษีอากร1

หน่วยที่ 1
1.       กฎหมายมีลักษณะทั่วไปอย่างไร
-          เป็นกฎเกณฑ์ที่มีแบบแผน
-          เป็นกฎเกณฑ์ที่มีสภาพบังคับ
-          เป็นกฎเกณฑ์ที่มีกระบวนการบังคับที่แน่นอน
2.       วิวัฒนาการของกฎหมายแบ่งเป็นยุคเช่นไร
-          ยุคกฎหมายชาวบ้าน  ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย  และยุคกฎหมายเทคนิค
3.       ประเทศที่ยึดถือระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
-          อังกฤษ
4.       หากใช้แหล่งกำเนิดกฎหมายเป็นเกณฑ์ในการจำแนกประเภทกฎหมายแล้ว อาจจำแนกกฎหมายได้ตาม
-          กฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ
5.       กฎหมายไทยมีที่มาจากแหล่งใด
-          หลักกฎหมายทั่วไป  กฎหมายลายลักษณ์อักษร     และจารีตประเพณี
6.       กฎหมายใดต่อไปนี้มีลำดับศักดิ์ต่ำสุด
-          กฎกระทรวง
7.       ข้อใดคือความสำคัญของลำดับศักดิ์กฎหมาย
-          กฎหมายที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า
-          การแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย ต้องทำโดยตราเป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันหรือสุงกว่า
-          กฎหมายลูกบทซึ่งมีลำดับศักดิ์ต่ำกว่า จะมีเนื้อหาเกินขอบเขตของกฎหมายแม่บทซึ่งมีลำดับศักดิ์สุงกว่าไม่ได้
-          กฎหมายมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สุงกว่า
8.       กรณีใดเป็นการยกเลิกกฎหมายโดยตรง
-          กรณีกฎหมายใหม่ระบุยกเลิกกฎหมายเก่าไว้
-          กรณีพระราชกำหนดมิได้รับอนุมัติจากรัฐสภา
-          กรณีกฎหมายใหม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายเก่า
9.       กฎหมายฉบับใดเกี่ยวกับการจัดรูปแบบองค์กรธุรกิจ
-          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
-          พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด
10.   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลักษณ์อย่างไร
-          เป็นกฎหมายเอกชน
-          เป็นกฎหมายสารบัญญัติ
-          ใช้วิธีบัญญติเป็นหมวดหมู่ และสังเคราะห์ให้เป็นหลักทั่วไป

11.   ประเทศใดที่ยึดถือระบบกฎหมายซีวิลลอร์
-          ฝรั่งเศส
12.   ข้อใดคือ ลักษณะสำคัญของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
-          ใช้วิธีบัญญติเป็นหมวดหมู่ และสังเคราะห์ให้แป็นหลักทั่วไป
-          เป็นกฎหมายเอชน

-          เป็นกฎหมายสารบัญญัติ
หน่วยที่ 2
1.องค์กรธุรกิจใดที่มีลักษณะสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องทฤษฏีรวมกลุ่ม
            - ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. วิสาหกิจในข้อใดที่ไม่แสวงหากำไร
            - องค์กรหมาชน
3. ในการจัดตั้งบริษัท จำกัด กฎหมายกำหนดให้กรรมการเรียกเก็บเงินค่าหุ้นครั้งแรกอย่างน้อยร้อยละเท่าใด
            - ร้อยละ 25
4. การลงทุนในห้างหุ้นส่วนสามัญข้อใดถูกต้องที่สุด
            - เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้
5. หุ้นของบริษัทจำกัดนั้นต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเท่าไร
            -5 บาท
6. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดว่าบุคคลที่จะเข้าหุ้นกันเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดได้จะต้องมีจำนวนอย่างน้อยกี่คน
            -2 คน
7. บริษัทมหาชนจำกัด กำหนดว่าจะต้องมีกรรมการดำเนินการอย่างน้อยกี่คน
            -           5 คน
8.การจัดตั้งบริษัทหมาชนจำกัด กำหนดว่าต้องมีผู้เริ่มจัดตั้งในข้อใด
            - ต้องมีผู้เริ่มจัดตั้งอย่างน้อย 15 คน
9. การโอนหุ้นในบริษัทจำกัดนั้นข้อใดถูก
            -ผู้ถือหุ้นสามารถโอนกันได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัท
10. ในหลักกฎหมายเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัดข้อใดถูกต้อง
            - หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นที่จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
11. หลักการที่ถือว่าสำคัญที่สุดในการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดคือ
            - ต้องมีวัตถุประสงค์แรกเริ่มว่าจะขายหุ้นให้กับประชาชน
12. การโอนหุ้นบริษัทจำกัดนั้นข้อใดถูกต้อง
            -หุ้นผู้ถือเท่านั้นที่การโอนสมบูรณ์เมื่อได้ส่งมอบให้กับผู้รับโอน
13.ในหลักกฎหมายเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัดข้อใดถูกต้อง
            -มีหุ้นส่วนสองประเภทคือ ประเภทจำกัดความรับผิด กับไม่จำกัดความรับผิด
หน่วยที่ 3
1.       นโยบายเศรษฐกิจเสรีและเป็นธรรมและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด รัฐต้องละเว้นการตรากฎหมายที่ควบคุมธุรกิจด้วยเหตุผลหลายประการ ยกเว้น ข้อได
-          เพื่อความเห็นชอบของรัฐ
2.       ข้อใดไม่ใช่กฎหมายในการควบคุมธุรกิจ
-          ประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจของรัฐมนตรีตามกฎหมาย
3.       องค์กรที่กำกับดูแลธุรกิจประกันภัย คือ องค์การใด
-          คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
4.       ข้อใดไม่ใช่การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์
-          การออกพันธบัตร
5.       ข้อใดไม่ใช่กฎหมายป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม
-          พระราชบัญญัติแรงงาน
6.       พระราชบัญญัติโรงงานกำหนดถึงโรงงานจำพวกที่ 3 ในข้อใด
-          โรงงานประเภท ชนิดและขนาดที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้
7.       กลุ่มกฎหมายใดที่ไมอยู่ในการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
-          พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์
8.       ข้อใดไม่ใช่สิทธิของผู้บริโภค
-          สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากศาล
9.       ข้อใดไม่ใช่มาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจ
-          ระบบคัดเลือก
10.   ธุรกิจที่อาจกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งกำหนดไว้หลายประการ  ยกเว้น ข้อใด
-          ให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองให้ความเห็นชอบ
11.   ข้อใดไม่ใช่สาระสำคัญที่ต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายที่ควบคุมธุรกิจ
-          การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
12.   พระราชบัญญัติโรงงานกำหนดถึงโรงงานจำพวกที่ 2 ในข้อใด
-          โรงงานประเภท ชนิดและขนาดที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
หน่วยที่ 4
1.       ข้อใดมิใช่มาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน
-          สิทธิการได้เป็นพลเมืองและได้สัญชาติ
2.       ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการแบ่งเขตในนิคมอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550
-          2 เขต ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมทั่วไป  และเขตประกอบการเสรี
3.       ธุรกิจใดที่คนต่างด้าวสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-          การทำบัญชี กฎหมาย
4.       ข้อใดมิใช่วัตถุประสงค์หรือเหตุผลสำคัญในการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
-          เพื่อกำหนดวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
5.       ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีพิจารราคดีพื้นฐานตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
-          ไม่เป็นทางการ เน้นความสะดวกและรวดเร็ว
6.       ข้อใดคือความเสียหายที่ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพิ่มเติมได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
-          ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจ
7.       ข้อใดมิใช่กฎมายเกี่ยวกับการป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม
-          พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
8.       สัญญาในข้อใดมีลักษณะของนิติกรรมสัญญาที่เป็นมูลเหตุให้เกิดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
-          สัญญาสำเร็จรูป
-          สัญญาขายฝาก
-          สัญญาระหว่างผู้บริโภค กับผู้ประกอบการธุรกิจการค้า
9.       งานใดซึ่งไม่ถือว่ามี  ”ลิขสิทธิ์”
-          ข่าวประจำวัน
10.   ข้อใดเป็นเครื่องหมาย ที่ห้ามมิใช้ใช้เป็นเครื่องหมายทางการค้า
-          เครื่องหมายกาชาด
11.   ข้อใดคือ มาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน
-          สิทธิประโยชน์ทางภาษีอาการ
-          สิทธิการถือครองที่ดิน
-          สิทธิได้รับยกเว้นค่าอากรการส่งออกและนำเข้า
12.   ข้อใดคือเขตสำหรับการประกอบอุตสาหกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469
-          เขตปลอดอากร
13.   ข้อใดคือธุรกิจต้องห้ามที่คนต่างด้าวไม่สามารถขออนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542
-          การทำป่าไม้
14.   ข้อใดคือวัตถุประสงค์หรือเหตุผลสำคัญในการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
-          เพื่อกำหนดสิทธิของผู้บริโภค
-          เพื่อกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ
-          เพื่อกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรของรัฐ
-          เพื่อกำหนดวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
15.   ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักวิธีพิจาณาคดี ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
-          เป็นวิธีการพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญา ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ
16.   ข้อใดคือกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม
-          พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
17.   ข้อใดคือสัญญาที่มีลักษณะของนิติกรรมสัญญาที่เป็นมูลเหตุให้เกิดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมซึ่งได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540
-          สัญญาสำเร็จรูป
18.   งานใดถือว่ามี “ลิขสิทธิ์”
-          คำอธิบายรัฐธรรมนูญของนักวิชาการ
19.   ข้อใดเป็นเครื่องหมาย ที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้เป็นเครื่องหมายทางการค้าได้
-          รูปคนที่ตายที่ได้รับความยินยอมของบุพการี
หน่วยที่ 5
1.       บุคคลธรรมดาจะบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุครบกี่ปี
-          20  ปี
2.       ผู้เยาว์ต้องอยู่ในความปกครองดูแลของใคร
-          ผู้แทนโดยชอบธรรม
3.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนิติธรรม
-          เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของบุคคล

4.       โมฆียะกรรม มีความหมายตามข้อใด
-          สมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง
5.       สัญญาเกิดจากอะไร
-          คำเสนอและคำสนอง
6.       โมฆะกรรม มีความหมายตามข้อใด
-          เสียเปล่า ไม่ผูกพันใคร
7.       สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกคือใคร
-          สัญญาที่คู่สัญญาต่างต้องชำระหนี้ตอบแทนซึงกันและกัน
8.       มัดจำมีลักษณะตามข้อใด
-          ส่งมอบให้กันเมื่อทำสัญญา
9.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนี้
-          เป็นทรัพยสิทธิ
10.   ถ้าลูกหนี้ทำนิติกรรมเป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้ อันเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้อย่างไร
-          ร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้น
11.   นายชิตจดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่ออายุ 18 ปี กับนางอุ่นใจอายุ 20 ปี ต่อมา 1 ปี มีการหย่าขาดจากกัน ขณะนี้รายชิตชัยอายุ 19 ปีกว่าเช่นนี้นายชิตบรรลุนิติภาวะเมื่อใด
-          ตั้งแต่จดทะเบียนสมรสกับนางอุ่นใจ
12.   การทำนิติกรรมของคนวิกลจริตซึ่งศาลไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ต้องขอความยินยอมจากใครก่อน
-          ไม่ต้องขอ ทำเองได้เลย
13.   การทำนิติกรรมนั้นผู้ทำมุ่งที่จะให้เกิดความเคลื่อนไหวในเรื่องใด
-          สิทธิของบุคคล
14.   โมฆะกรรม มีผลผูกพันใคร
-          ไม่ผูกพันใคร
15.   โมฆียกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ตั้งแต่วันใด
-          วันที่ทำนิติกรรม
16.   สัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด
-          เมื่อคำเสนอและคำสนองเป็นถูกต้องรวมกัน
17.   สิทธิของบุคคลภายนอกตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลเกิดขึ้นเมื่อใด
-          เมื่อบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น
18.   มัดจำทำขึ้นเพื่ออะไร
-          เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น
19.   วัตถุแห่งหนี้ คืออะไร
-          การกระทำ การส่งมอบและการงดเว้น
20.   ถ้าลูกหนี้ทำนิติกรรมเป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้ แม้จะเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ แต่เจ้าหนี้ไม่อาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ หากผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมีลักษณะตามข้อใด
-          สุจริตและเสียค่าตอบแทน
หน่วยที่ 6
1.       สินเชื่อมีความหมายตามข้อใด
-          ผู้ให้เครดิตปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาของฝ่ายตนให้แก่ผู้รับเครดิตก่อนที่ผู้รับเครดิตจะปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาของฝ่ายตนให้แก่ผู้ให้เครดิต
2.       ความเสี่ยงด้านเครดิต หมายถึงอะไร
-          การที่ผู้รับเครดิตอาจผิดนัดชำระหนี้ หรือเกิดเหตุการณ์ที่จะกระทบต่อสถานะการเงินอันทำให้ผู้รับเครดิตมีพฤติการณ์จะผิดนัดชำระหนี้
3.       ข้อใดเป็นหลักประกันสินเชื่อด้วยบุคคล
-          ค้ำประกัน
4.       ผู้ค้ำประกันต้องทำสัญญากับใคร
-          เจ้าหนี้
5.       ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เมื่อใด
-          ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
6.       เมื่อผู้คำประกันชำระหนี้ให้เจ้าหนี้แล้ว จะไล่เบี้ยเอาจากใครได้บ้าง
-          ลูกหนี้
7.       ทรัพย์สินใดไม่อาจจำนำได้
-ทะเบียนรถยนต์
8.       สัญญาจำนองต้องทำตามข้อใด
-          ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
9.       เมื่อบังคับจำนองโดยการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองแล้วได้เงินสุทธิไม่พอกับหนี้ลูกหนี้ต้องชำระใครต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่ค้างชำระ
-          ไม่มีใครต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
10.   สัญญาจำนำระงับสิ้นไปในกรณีตามข้อใด
-          ผู้รับจำนำคืนทรัพย์สินที่จำนำแก่ผู้จำนำ
11.   ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสินเชื่อ
-          ผู้ให้เครดิตและผู้รับเครดิตจะปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาของฝ่ายตนไปพร้อมกันขณะที่เกิดสัญญาดังกล่าว
12.   ความเสียงอาจเกิดขึ้นจากการที่ใครผิดนัดชำระหนี้หรือเกิดเหตุการณ์ที่จะกระทบต่อสถานะการเงินอันทำให้จะผิดนัดชำระหนี้
-          ผู้รับเครดิต
13.   หลักประกันสินเชื่อที่เป็นอสังหาริมทรัพย์มีได้ในลักษณะใด
-          จำนอง
14.   กฎหมายกำหนดแบบของสัญญาค้ำประกันไว้อย่างไร
-          ไม่ได้กำหนดแบบไว้
15.   หนังสือค้ำประกันที่มีแต่ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเพียงอย่างเดียว ไม่มีลายมือชื่อของเจ้าหนี้ด้วยจะฟ้องผู้ค้ำประกันให้รับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันได้หรือไม่
-          ได้
16.   กรณีผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ประธานถึงกำหนดชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับการชำระหนี้นั้นมีผลตามข้อใด
-          ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดต่อเจ้าหนี้
17.   ทรัพย์สินใดที่นำมาจำนำได้
-          ตั๋วแลกเงิน
18.   สัญญาจำนองถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีผลตามข้อใด
-          โมฆะ
19.   ข้อตกลงในสัญญาจำนองที่ว่าเมื่อบังคับจำนองแล้วได้เงินสุทธิไม่พอกับที่ลูกหนี้ต้องชำระให้ลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่ค้างชำระต่อไปนั้น ใช้บังคับกันได้หรือไม่
-          ได้ เพราะเป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญา
20.   สัญญาจำนำไม่ระงับสิ้นไปในกรณีตามข้อใด
-          หนี้ที่จำนำเป็นประกันขาดอายุความ
หน่วยที่ 7
1.       การฟื้นฟูกิจการมีวัตถุประสงค์เพื่อ
-          เปิดช่องทางภายใต้กระบวนการล้มละลายที่จะสามารถรักษากิจการเอาไว้ได้
-          เปิดโอกาสให้มีการปรับโครงสร้างทุนและโครงสร้างทุนและโครงสร้างการบริหารจัดการได้
-          สร้างมาตรการที่จะทำให้มีการปรับโครงสร้างกิจการ
-          เปิดโอกาสให้มีการปรับโครงสร้างหนี้
2.       ข้อใดเป็นรูปแบบของการจัดการเกี่ยวกับบริษัทที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวในประเทศอังกฤษ
-          การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้โดยการตั้งผู้บริหารทรัพย์สิน
3.       ข้อใดเป็นประโยชน์ที่ถูกต้องของการฟื้นฟูกิจการ
-          ทำให้กิจการที่ยังมีศักยภาพที่สามารถทำกำไรได้ในอนาคตสามารถดำเนินการต่อไปได้
4.       ขณะที่ทำสัญญาอยู่เฉย เจ้าหนี้ต้องกระทำการใดดังต่อไปนี้
-          ไม่เปลี่ยนแปลงสินเชื่อ
5.       ผลของการเข้าควบคุมกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้ต้องดำเนินการในเรื่องใด
-          ชี้แจงการถือหุ้นในบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นของลูกหนี้
6.       ข้อใดเป็นอำนาจของสถาบันแกนนำ
-          กำหนดเป้าหมายและกำหนดเวลาในการประชุมระหว่างเจ้าหนี้ด้วยกัน

7.       จงบอกความหมายของการปรับโครงสร้างหนี้
-          การปรับโครงสร้างหนี้เป็นกระบวนการที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้
-          การปรับสภาพคล่องเพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
8.       บุคคลใดมีสิทธิร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการในศาล
-          ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีจำนวนหนี้ไม่น้อยกว่าสิบล้านบาทและมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
9.       การพิจารณาช่องทางฟื้นฟูกิจการพิจารณาในแง่ใด
-          กิจการของลูกหนี้และความสามารถของลูกหนี้ในการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
10.   ข้อที่กฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนและกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำแผน ได้กำหนดข้อห้ามสำหรับบุคคลธรรมดาผู้ทำแทน
-          ผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในขณะที่ยื่นขอ
11.   มาตรการใดที่ช่วยลดปัญหาในการปรับโครงสร้างกิจการ
-          การพักการบังคับชำระหนี้
12.   การฟื้นฟูกิจการมีประโยชน์ต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้อย่างไร
-          การฟื้นฟูกิจการเป็นวิธีการให้โอกาสลูกหนี้ที่จะสามารถประกอบกิจการต่อไปได้
-          การฟื้นฟูกิจการจะมีแผนการชำระหนี้ที่แน่นอน มีผู้ทำแผน เป็นผู้ดูแลการจ่ายเงินอย่างเป็นระบบ
-          เจ้าหนี้ไม่ต้องแก่งแย่งกันขอรับชำระหนี้จากลูกหนี้ดังเช่นที่ปฏิบัติอยู่ตามกฎหมายล้มละลาย
-          ทำให้เจ้าหนี้มีโอกาสได้รับชำระหนี้มากขึ้นเนื่องจากลูกหนี้มีสภาพคล่องจากการประกอบกิจการมากขึ้น
13.   ในขณะทำสัญญาอยู่เฉยลูกหนี้ต้องไม่กระทำการดังต่อไปนี้  เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากบรรดาเจ้าหนี้
-          ให้กู้ยืมเงินหรือค้ำประกันหนี้ของบุคคลอื่น
-          ก่อหนี้หรือยอมรับหนี้เพิ่มเติมจากหนี้เดิม
-          ลงทุนหรือก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายโดยปกติในทางการค้าของลูกหนี้
-          จำหน่ายจ่ายดอนทรัพย์สินใดๆ นอกเหนือจากการจำหน่ายจ่ายโอนโดยปกติในทางการค้าของลูกหนี้
14.   ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ในการควบคุมกิจการของลูกหนี้
-          การสร้างเกาะคุ้มกันชั่วคราวสำหรับเจ้าหนี้
15.   การแต่งตั้งสถาบันแกนนำในการปรับโครงสร้างหนี้ต้องกระทำตั้งแต่เมื่อใด
-          ระยะเริ่มแรกของการปรับโครงสร้างหนี้
16.   การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงร่วมมือกันแก้ไขปัญหาภาระหนี้หรือภาวการณ์ขาดสภาพคล่องเรียกว่าอะไร
-          การปรับโครงสร้างหนี้
17.   บุคคลใดไม่มีสิทธิร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการในศาล
-          คณะกรรมการเจ้าหนี้

18.   การถอนคำร้องขอกรณีใดที่ศาลต้องสั่งจำหน่ายคดีและโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
-          ผู้ร้องทิ้งคำร้องขอ
-          ผู้ร้องขาดนัดพิจารณา
19.   ข้อใดเป็นข้อห้ามในการพักการบังคับชำระหนี้
-          ห้ามลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นใหม่เว้นแต่หนี้ที่เกิดจากทางการค้าปกติ
20.   ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการแล้วจะมีผลอย่างไร
-          เจ้าหนี้ต้องรีบขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
หน่วยที่ 8
1.       ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องของสัญญาประนีประนอมยอมความ
-          เป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยต่างฝ่ายต่างยินยอมให้กัน
2.       ความสมบูรณ์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความคือข้อใด
-          สมบูรณ์โดยการแสดงเจตนาของคู่กรณี
3.       ข้อใดต่อไปนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
-          เจ้าหนี้ตกลงยินยอมรับเงินที่ลูกหนี้ขอต่อรองและขอผ่อนชำระ
4.       สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันนอกศาลจะมีผลอย่างไร
-          ทำให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิเรียกร้องซึ่งกันและกัน และต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน
5.       ข้อพิพาทใดสามารถใช้อนุญาโตตุลาการในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้
-          ข้อพิพาททางแพ่ง
6.       กรณีใดที่คู่พิพาทสามารถแต่งตั้งชาวต่างประเทศเป็นอนุญาโตตุลาการได้
-          เมื่อคู่กรณีเป็นชาวต่างชาติ
-          เมื่อมีสนธิสัญญาระหว่างกัน
7.       ข้อดีของการอนุญาโตตุลาการ ได้แก่ข้อใด
-ประหยัดค่าใช้จ่ายในการฟ้องคดี
8.       ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
-          คู่พิพาททั้งหมดเป็นผู้ตัดสินใจผลการไกล่เกลี่ย
9.       คนกลางที่ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เรียกว่าอะไร
-          ผู้ไกล่เกลี่ย
10.   ข้อพิพาทในข้อใดสามารถใช้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้
-          ข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาเช่า
-          คดีพิพาทระหว่างสามีภรรยา
-          ความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญา
-          ข้อพิพาทระหว่างนายจ้างลูกจ้า
11.   ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
-          คู่พิพาทไม่สามารถกำหนดผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อทำหน้าที่ในกระบวนการระงับข้อพิพาทได้
12.   ข้อจำกัดของการอนุญาโตตุลาการคือข้อใด
-           การอนุญาโตตุลาการการไม่มีสภาพบังคับ
13.   ข้อใดเป็นผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันนอกศาล
-          ทำให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิเรียกร้องซึ่งกันและกัน และต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน
14.   ข้อพิพาททางกฎหมายอาญาในข้อใดต่อไปนี้ไม่สามารถยุติได้ด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย
-          ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
15.   คู่พิพาทสามารถแต่งตั้งชาวต่างประเทศเป็นอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่ อย่างไร
-          ได้ เมื่อคู่กรณีเป็นชาวต่างชาติ และมีสนธิสัญญาระหว่างกัน
16.   สัญญาประนีประนอมยอมความสมบูรณ์เมื่อใด
-          สมบูรณ์โดยการแสดงเจตนาของคู่กรณี
17.   ข้อใดต่อไปนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
-          รถชนกันฝ่ายผิดตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายถูกแล้วเลิกคดีต่อกัน
18.   ข้อพิพาทใดที่สามารถใช้อนุญาโตตุลาการในศาลตามประมลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้
-          ข้อพิพาททางพาง
19.   สัญญาประนีประนอมยอมความข้อใดถูกต้อง
-          เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้ซึ่งกันและกัน
20.   ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ย
-          ต้องทำทุกวิธีเพื่อทำให้ข้อพิพาทระงับสิ้นไป
หน่วยที่ 9
1.       ข้อใดคือคำนิยามของคำว่า “ภาษีอากร”
-          สิ่งที่รัฐบังคับเก็บจากราษฎร เพื่อนไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่มีสิ่งตอบแทนแก่ผู้เสียภาษีอากรโดยตรง
-          รายได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐและไม่ก่อให้เกิดภาระในการชำระคืนของรัฐ
-          สิ่งที่เรียกเก็บจากบุคคล ทรัพย์สินหรือธุรกิจเพื่อการสนับสนุนรัฐกลางหรือรัฐท้องถิ่น
-          สิ่งที่เราต้องจ่ายเพื่อได้มาซึ่งสังคมที่เจริญรุ่งเรือง
2.       วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการจัดเก็บภาษีอากร คืออะไร
-          เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการของรัฐ และเพื่อควบคุมหรือส่งเสริมพฤติกรรมของเศรษฐกิจ
-          เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
-          เพื่อกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม
-          เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

3.       ข้อใด คือลักษณะของภาษีอากรที่ดี
-          หลักความเป็นธรรม
-          หลักความแน่นอนและชัดเจน
-          หลักความเป็นกลาง
-          หลักความสะดวก
4.       ระบบภาษีที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม เป็นลักษณะการจัดเก็บภาษีอากรข้อใด
-          หลักความยืดหยุ่น
5.       ผู้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศใดก็ต้องเสียภาษีอาการในประเทศนั้น โดยไม่คำนึงว่าเป็นผู้มีสัญชาติใดหรือถิ่นที่อยู่ใด ถือเป็นหลักในการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐตามข้อใด
-          หลักแหล่งเงินได้
6.       ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีตามข้อใด
-          ภาษีทางอ้อม
7.       ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีตามข้อใด
-          ภาษีทางอ้อม
8.       ภาษีอากรที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค คือภาษีใด
-          ภาษีมูลค่าเพิ่ม
9.       ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้อัตราภาษีชนิดใด
-          อัตราก้าวหน้า
10.   วิธีการชำระภาษีโดยทั่วไป แบ่งได้เป็นกี่วิธี อะไรบ้าง
-          3 วิธี คือ วิธีการชำระภาษีโดยการประเมินตนเอง    วิธีการชำระภาษีโดยการประเมินของเจ้าพนักงาน   
และวิธีการชำระภาษีโดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย
11.   หลักในการเสียภาษีอากรโดยคำนึงถึงด้านผู้ได้รับผลประโยชน์จากรัฐมาก ต้องเสียภาษีมาก ผู้ได้รับผลประโยชน์จากรัฐน้อยก็ต้องเสียภาษีน้อย  หลักการนี้ช่วยส่งเสริมด้านใดบ้าง
-          ส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม และสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในการใช้จ่าย
12.   ภาษีอากรในข้อใด จัดเป็นภาษีทางตรง
-          ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
13.   ภาษีอากรในข้อใด จัดเป็นภาษีทางอ้อม
-          ภาษีมูลค่าเพิ่ม
14.   ระบบภาษีที่ดีต้องเป็นระบบที่มีความเป็นธรรม ทั้งในระหว่างผู้เสียภาษีด้วยกันเองและระหว่างรัฐ ผู้จัดเก็บภาษีกับประชาชนผู้เสียภาษี เป็นลักษณะของการจัดเก็บภาษีอากรข้อใด
-          หลักความเป็นธรรม


15.   ภาษีอากรที่มีความแน่นอนชัดเจนทั้งในบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากร และวิธีปฏิบัติจัดเก็บเป็นลักษณะของภาษีอากรที่ดีตามหลักในข้อใด
-          หลักความแน่นอนและชัดเจน
16.   ผู้มีถิ่นอยู่ในรัฐใดก็ต้องเสียภาษีอากรให้รัฐนั้นถือเป็นหลักในการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐตามข้อใด
-          หลักถิ่นที่อยู่
17.   หลักในการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ ตามหลักแหล่งเงินได้ มีความหมายตรงกับข้อใด
-          ผู้ที่มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศใด ต้องเสียภาษีอากรให้กับประเทศนั้น
18.   ข้อใดเป้นความหมายของฐานภาษี
-          สิ่งที่เป็นฐานหรือเกณฑ์เบื้องต้นที่ทำให้บุคคลต้องเสียภาษี
-          สิ่งที่เป็นฐานในการประเมินภาษี
-          สิ่งที่รองรับอัตราภาษีแล้ว
-          ฐานในขั้นสุดท้ายที่ใช้คำนวณภาษีตามอัตราภาษี
19.   การผลักภาระภาษี หมายถึงอะไร
-          การที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดแบ่งภาระภาษีบางส่วนหรือทั้งหมดไปให้กับบุคคลอื่น
20.   วิธีการชำระภาษีแบบใด ที่ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบภาษีเป็นอย่างดี
-          วิธีการชำระภาษีโดยการประเมินตนเอง
หน่วยที่ 10
1.       ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือข้อใด
-          บุคคลธรรมดา
-          ผู้ถึงแก่ความตามในระหว่างปีภาษี
-          กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
-          ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
2.       “ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย” เป็นการพิจารณาว่าผู้มีเงินได้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-          หลักถิ่นที่อยู่
3.       เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ได้แก่ข้อใด
-          เงินได้จากเงินเดือน
4.       เงินได้ที่รับการยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา คือข้อใด
-          เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
5.       เงินได้จากกิจการตัดเย็บเสื้อผ้า หักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละเท่าใด
-          ร้อยละ 70
6.       การหักลดหย่อนสิ้นปี สำหรับผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนส่วนตัวเป็นจำนวนเงินเท่าใด
-          30,000  บาท
7.       บุตรประเภทใดที่ผู้มีเงินได้ ไม่มีสิทธิ์ นำมาหักค่าลดหย่อน
-          บุตรนอกสมรส
8.       เงินได้ประเภทใดดังต่อไปนี้ ที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
-          เงินได้ประเภทค่าเช่าบ้าน
9.       การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อสิ้นปี จะต้องยื่นภายในกำหนดเวลาใด
-          ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
10.   ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้เยาว์ ใครเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้มีเงินได้
-          ผู้แทนโดยชอบธรรม
11.   ห้างหุ้นส่วนสามัญ หมายถึงข้อใด
-          สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น
12.   “ ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทำในประเทศไทยหรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ” เป็นการพิจารณาว่าผู้มีเงินได้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักใด
-          หลักแหล่งเงินได้
13.   เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ได้แก่ข้อใด
-          เงินได้จากค่านายหน้า
14.   เงินได้ที่รับการยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือข้อใด
-          เงินได้จากบำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอดหรือบำเหน็จตกทอด
15.   เงินได้จากการซื้อมา ขายไป หักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละเท่าใด
-          ร้อยละ 80
16.   ผู้ที่มีคู่สมรสซึ่งคู่สมรสไม่มีเงินได้ กรณีนี้ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าลดหย่อนคุ่สมรสได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด
-          30,000  บาท
17.   บุตรประเภทใดที่ผู้มีเงินได้ มีสิทธิ์นำมาหักค่าลดหย่อน
-          บุตรบุญธรรม
-          บุตรนอกสมรสที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร
-          บุตรนอกสมรสที่บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง
-          บุตรนอกสมรสที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
18.   เงินได้ประเภทใดดังต่อไปนี้ ที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
-          เงินได้ประเภทให้เช่าทรัพย์สิน
19.   การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ครึ่งปี จะต้องยื่นภายในกำหนดระหว่างเวลาใด
-          ระหว่างวันที่ 1 ก.ค. ถึงวันที่ 30 ก.ย. ของปีภาษีนั้น
20.   ผู้มีเงินได้จากเงินเดือนอย่างเดียว เมื่อสิ้นปีภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการใด
-          ภ.ง.ด.91
หน่วยที่ 11
1.       ข้อใดไม่ใช่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
-          บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
2.       นิติบุคคลต่อไปนี้ ไม่มี หน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
-          บริษัท สิงคโปร์แอร์ไลน์ จำกัด ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ
3.       นายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แก่ข้อใด
-          เงินหรือสินทรัพย์ที่ได้จากการบริจาค
-          เงินหรือสินทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา
-          ค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก
4.       บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยเมื่อได้รับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายจากหรือจ่ายในประเทศไทย ประเภทใด
-          เงินได้ตามมาตรา 40(2) – (6)
5.       บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตราเท่าใด
-          ร้อยละ  25 ของกำไรสิทธิ
6.       บริษัท บางกอกก่อสร้าง จำกัด ซื้อรถยนต์บรรทุกไว้ใช้ในกิจการ 1 คัน มูลค่า 1,800,000 บาท บริษัทฯ สามารถหักค่าเสื่อราคารถยนต์บรรทุกคันนี้ตลอดอายุการใช้งานสูงสุดเป็นจำนวนเงินเท่าใด
-          1,799,999  บาท
7.       บริษัท กรุงธนการแว่น จำกัด มีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท เรียกชำระค่าหุ้นแล้วร้อยละ 80 มียอดขาย 15 ล้านบาท จะมีค่ารับรองเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีได้จำนวนสูงสุด เท่าใด
-          ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน  48,000  บาท
8.       บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ต้องรับรู้รายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามเกณฑ์สิทธิ์อย่างใด
-          ตามส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of completion Method)
9.       บริษัท สินเจริญ จำกัด มีสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี จะคำนวณค่าสินค้าคงเหลืออย่างไร
-          ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า
10.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับเงินปันผลต้องรับรู้รายได้เพียงกึ่งหนึ่งมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในกรณีใด
-          เงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทจดทะเบียนใจตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
11.   ข้อใดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
-          สาขาในประเทศไทยของบริษัทที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ
-          กิจการร่วมค้า
-          บริษัทที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศประกอบกิจการขนส่งผ่านประเทศไทย
-          รัฐบาลต่างประเทศประกอบการค้าในประเทศไทย
12.   นิติบุคคลต่อไปนี้ มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายใด
-          บริษัท สิงคโปร์แอร์ไลน์ จำกัด ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ
13.   บริษัท ได้ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะบัญชี โดยรอบระยะบัญชีแรกที่เปลี่ยนเกินกว่า 6 เดือน จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 (ครึ่งปี) หรือไม่
-          ต้องยื่น เพราะไม่ใช่รอบระยะเวลาบัญชีแรก หรือสุดท้าย
14.   บริษัทต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยได้รับค่านายหน้าที่จ่ายจากบริษัทในประเทศไทยบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียภาษี หรือไม่
-          เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70
15.   บริษัทสายการบินแห่งหนึ่ง ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ มีรายรับจากการรับขนสินค้าระหว่างกรุงเทพไป สิงคโปร์ จะต้องเสียภาษีอย่างใด
-          ร้อยละ 3 ของรายรับ เฉพาะขนสินค้าจากประเทศไทยไปสิงคโปร์
16.   การรับรู้รายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีตามาตรา 65 ทวิ(4) มีเงื่อนไขที่สำคัญ คืออะไร
-          รายได้ต้องรับรู้ตามราคาตลาดเสมอ
-          เมื่อมีเหตุอันสมควร กิจการสามารถรับรู้รายได้ต่ำกว่าราตาตลาดได้
17.   รายจ่ายประเภทใดที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้  2 เท่าของรายจ่ายจริง
-          รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการอำนวยความสะดวกและการจ้างงานคนพิการ
-          รายจ่ายค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
-          รายจ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษา ฝึกอบรมและฝึกเตรียมเข้าทำงาน
-          รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา
18.   บริษัท บางกอกลิสซิ่ง จำกัด ซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อใช้เป็นรถประจำตำแหน่งของผู้จัดการอาวุโส จำนวน 1 คันมูลค่า 1,300,000 บาท บริษัทฯ ควรจะหักคาเสื่อราคารถยนต์คันนี้ตลอดอายุการใช้งานสูงสุดเป็นจำนวนเงินเท่าใด
-          999,999  บาท
19.   นายสมควร กรรมการผู้จัดการบริษัท กรอบแก้ว จำกัด ได้กู้ยืมเงินจากบริษัทฯ จำนวน  1,000,000 บาท ต่อมานายสมควรได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ฯ ไม่สามารถติดตามให้นายสมควรชำระหนี้ได้ และเวลาได้ล่วงเลยมากว่า 8 ปีแล้ว บริษัทฯ จะดำเนินการกับหนี้ดังกล่าวได้ตามข้อใด
-          ไม่สามารถตัดเป็นหนี้สูญทางภาษีได้
20.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนดเวลาใด
-          ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
-          ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของหกเดือนแรกของรอบระยะบัญชี


หน่วยที่ 12
1.       ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือข้อใด
-          บริษัท เคอาร์ จำกัด ขายวัสดุก่อสร้างให้แก่รับเหมาก่อสร้าง
2.       การให้บริการที่ได้รับ ยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือข้อใด
-          การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
3.       ฐานภาษีที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มคือข้อใด
-          มูลค่าสินค้าหรือค่าบริการที่คำนวณได้เป็นเงิน
4.       ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขายสินค้าทั่วไปเกิดขึ้นเมื่อใด
-          การส่งมอบสินค้า
-          โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
-          ได้รับชำระราคาสินค้า
-          ออกใบกำกับภาษี
****ถูกทุกข้อแล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน
5.       สาเหตุการออกใบลดหนี้คือกรณีใด
-          สินค้าที่ส่งมอบให้ผู้ซื้อชำรุดเสียหาย
-          ให้บริการขาดจากจำนวนที่ทำข้อตกลงร่วมกันไว้
6.       บริษัท  ก จำกัด  ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทใด
-          รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
7.       การประกอบกิจการประเภทใดไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
-          การขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของการเคหะแห่งชาติ
8.       บริษัท ลลิล บ้านและที่ดินจำกัด  ขายบ้านพร้อมที่ดินราคา   5,000,000 บาท ให้แก่นายสมชาย บริษัทฯจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวนเท่าใด
-          165,000  บาท
9.       ตามสารใด ไม่ต้อง เสียอากร
-          สัญญาค้ำประกันเนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
10.   การปิดแสตมป์บริบูรณ์ หมายความว่าอย่างไร
-          ปิดอากรแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้น
-          ใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้น
-          ยื่นตราสารให้พนักงานประทับแสตมป์ดุนและชำระเงินไม่น้อยกว่าจำนวนอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้น
-          ชำระอากรเป็นตัวเงินไม่น้อยกว่าอัตราอากรที่ต้องเสียตามกฎหมาย

11.   ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อประเภทใดสามารถนำไปหักออกจาภาษีขายได้
-          ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเสียเมื่อนำเข้าสินค้า
12.   การให้บริการที่ ไม่ได้ รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คือข้อใด
-          การให้บริการตกแต่งภายใน
13.   ในกรณีการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภค ผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าทีทางภาษีอย่างไร
-          ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
-          จัดทำรายงานภาษีซื้อ
-          จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
-          ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
14.   กรณีใดต่อไปนี้กฎหมายกำหนดจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เป็นกรณีพิเศษคือเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบ
-          บริษัท พาหนะรุ่งโรจน์ จำกัด มีรถยนต์ขาดหายไปจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
15.   ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องมีรายการตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น ข้อใด
-          เลขรหัสสินค้า
16.   ฐานภาษีที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่รวม ข้อใด
-          ส่วนลดที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนลดให้ผู้ซื้อโดยหักออกจากราคาขายสินค้าซึ่งปรากฏในใบกำกับภาษี
17.   รายรับของกิจการธนาคารที่ต้องเสียธุรกิจมีหลายประเภท ยกเว้น  ข้อใด
-          กำไรจากการขายทรัพย์สินเครื่องใช้สำนักงานของธนาคาร
18.   การประกอบกิจการที่ ไม่ต้อง เสียภาษีธุรกิจเฉพาะคือข้อใด
-          การรับประกันภัย
19.   ข้อใดคือเอกสารซึ่งผู้มีหน้าที่เสียอากรสามารถเสียอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์
-          เช็คที่ออกในประเทศและต่างประเทศ
20.   ผู้มีหน้าที่เสียอากรหรือขีดฆ่าแสตมป์ที่ปฏิเสธไม่เสียอากร  หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ ต้องระวางโทษประเภทใด
-          ปรับ
หน่วยที่ 13
1.       การหักภาษี ณ ที่จ่ายมีการนำมาใช้เพื่อการจัดเก็บภาษีประเภทใดบ้าง
-          ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-          ภาษีเงินได้นิติบุคคล
-          ภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.       ผู้รับเงินได้ใดที่จะ ไม่ต้อง ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไม่ว่ากรณีใด
-          บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
3.       การจ่ายเงินได้ลักษณะใดที่ ไม่ต้อง  ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
-          การจ่ายเงินได้เป็นเงินสด
-          การจ่ายเงินได้เป็นทรัพย์สินหรือสิ่งของ
-          หารหักลบกลบหนี้กัน
-          การจ่ายเงินได้ด้วยเช็คหรือตั๋วเงิน
*******ผิดทุกข้อ******
4.       การนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ใช้สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมารตรา 50 (1) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (1)และ (2) ใช้แบบแสดงรายการใด
-          ภ.ง.ด.1
5.       ผู้จ่ายเงินได้ไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งไม่ครบถ้วน ต้องรับผิดชอบทางแพ่ง อย่างไร
-          จำนวนภาษีที่ไม่ได้หัก ณ ที่จ่าย หรือหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไม่ครบถ้วน
-          เงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ไม่ได้หัก ณ ที่จ่าย หรือหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไม่ครบถ้วน
6.       นายสมทรง เริ่มเข้าทำงานในบริษัท เอ็กซ์โปร จำกัด เมื่อวันที่  1 มีนาคม  2553 ได้เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท และนายสมทรงได้ลาออกจาบริษัทฯ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553  คำนวณภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของนายสมทรง เงินได้เสมือนจ่ายทั้งปี 2553 เป็นเท่าใด
-          500,000  บาท
7.       คณะบุคคลนายจิตรและนายใจ จ่ายเงินค่าซ่อมรถยนต์ให้บริษัท ก.กลการ จำกัด จำนวน 10,000  ต้องหักษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
-          ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
8.       กรณีสาขาในประเทศไทยของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ต้องเสียภาษีเงินได้นิติในอัตราเท่าใด
-          ร้อยละ 10 ของเงินกำไรที่โอนไป
9.       การจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทใดให้บุคคลธรรมดาที่มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15
-          เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)
10.   การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่ มิใช่โดยทางมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา และมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต้องอยูในเงื่อนไขอะไร
-          จำนวนเงินภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย


11.   ประเทศไทยมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี ลักษณะใดบ้าง
-          การหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายถือเป็นเครดิตภาษี
-          การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศ (มาตรา 70 ทวิ)
-          การนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศ(มาตรา 70)
-          การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
12.   ข้อใดมิใช่ประโยชน์ของการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
-          เพื่อผู้มีเงินได้เสียภาษีน้อยลงจากที่กฎหมายกำหนด
13.   องค์ประกอบสำคัญอะไรที่นำมาซึ่งการหักภาษี ณ ที่จ่าย
-          มีการจ่ายเงินได้บางประเภทที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการอัตรา ให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
-          ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องเป็นผู้อยู่ในสถานะของผู้ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้ที่รับนั้น
14.   การนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรภากร ใช้แบบแสดงรายการใด
-          ภ.ง.ด.53
15.   ผู้จ่ายเงินได้ไม่หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือหัก ณ ที่จ่าย นำส่งไม่ครบถ้วน ต้องรับผิดชำระเพิ่มภาษีในอัตราเท่าใด
-          เงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ไม่ได้หัก ณ ที่จ่าย หรือหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไม่ครบถ้วน
16.   นายสมใจ ลาออกจาบริษัท งานเด่น จำกัด วันที่ 31 ตุลาคม 2553 โดนเงินเดือนล่าสุดที่ได้รับเดือนละ 50,000 บาท เงินได้เสมือนจ่ายทั้งปี สำหรับคำนวณภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของนายสมใจ ของเดือนตุลาคม 2553 เป็นเท่าใด
-          600,000 บาท
17.   ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก และ ข (ไม่จดทะเบียน) จ่ายเงินค่าซ่อมสำนักงาน ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริการดี จำนวน 10,000 บาทต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร
-          ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
18.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อ่ได้รับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายจากหรือจ่ายในประเทศไทยประเภทใด
-          เงินได้ตามมาตรา 40(2) ถึง (6)
19.   การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) – (6) ให้บุคคลธรรมดาที่มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ห้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย อย่างไร
-          หักภาษีอัตราร้อยละ 10
-          หักภาษีอัตราร้อยละ 15
-          หักภาษีอัตราร้อยละ 15 เฉพาะเงินได้เงินปันผล
20.   การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่มิใช่โดยทางมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาและมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ในอัตราสูงสูดเท่าใด
-          ร้อยละ 92
หน่วยที่ 14
1.         ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเป็นภาษีลักษณะใด
-       ภาษีทางตรง
2.         การจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมนั้นจัดเก็บโดยหน่วยงานใดของรัฐ
-          กรมสรรพากร
3.       การจัดเก็บภาษีเงินปิโตรเลียมจัดเก็บตามกฎหมายใด
-          พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
4.       กรมสรรพสามิตมีหน้าที่เก็บภาษีจากการขายสินค้าใดบ้าง
-          การขายไพ่
-          การขายสุรา
-          การขายยาสูบ
-          การขายเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก
5.       การประกอบกิจการใดดังต่อไปนี้ ไม่ ต้องเสยภาษีสรรพสามิต
-          โรงงานผลิตรถจักรยาน
6.       กฎหมายใดเป็นกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหนักงานสรรพสามิต
-          พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต
7.       การผลิตเครื่องดื่มใดดังต่อไปนี้ต้องเสียภาษีสรรพสามิตด้วย
-          น้ำอัดลม
8.       ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร
-          เพื่อรักษาสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
9.       ผู้มีหน้าที่เสียภาษีศุลกากรได้แก่ใคร
-          ผู้ที่ส่งออกสินค้า
-          ผู้ที่นำเข้าสินค้า
10.   สินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรได้แก่ข้อใด
-          บุหรี่ 200  มวน
-          สุรา 1 ลิตร
-          ของใช้ส่วนตัวราคาไม่เกิน 3,000 บาท
-          ของที่นำเข้ามาทางไปรษณีย์มูลค่าไม่เกิน 500 บาท
11.   กฎหมายฉบับแรกที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ได้แก่ข้อใด
-          พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
12.   บริษัทผู้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมนั้นมีหน้าที่จะต้องเสียภาษีใดดังต่อไปนี้ด้วย
-          ภาษีมูลค่าเพิ่ม
13.   ในการเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมนั้น ผู้ประกอบกิจการจะต้องคำนวณเสียภาษีเงินได้จากอะไร
-          กำไรประจำปีหักด้วยค่าลดหย่อน
14.   ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ถือ เป็นรายได้ที่ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมจะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
-          หนี้สูญที่จำหน่ายออกจากบัญชี
15.   สินค้าหรือบริการที่จะต้องจัดเก็บภาษีสรรพาสามิตนั้นจะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
-          สินค้าหรือบริการที่ทำลายสุขภาพของประชาชน
-          สินค้าหรือบริการที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
16.   ปัจจุบันภาษีสรรพสามิตจัดเก็บจากสินค้าหรือบริการใด
-          สนามม้า
-          น้ำมันเบนซิน
17.   การเสียภาษียาสูบซึ่งจัดเก็บโดยกรมสรรพสามิตจัดเก็บโดยวิธีใด
-          ปิดแสตมป์ยาสูบก่อนนำออกจากโรงงานยาสูบ
18.   กฎหมายที่เป็นแม่บทใหญ่ในการกำหนดอัตราภาษีการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้แก่ข้อใด
-          พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2532
19.   การจัดเก็บภาษีศุลกากรเพื่อหารายได้ให้แก่รัฐ ในบางกรณีกำหนดเรียกเก็บภาษีศุลกากรโดยใช้มาตรการที่เรียกว่า กำแพงภาษีหมายถึงข้อใด
-          การกำหนดสินค้าที่นำเข้ามาหรือส่งออกบางชนิดใดอัตราที่สูง
20.   คำว่า “ของต้องห้าม” ในความหมายของกฎหมายตรงกับข้อใด
-          ของที่กฎหมายห้ามมีการนำเข้าหรือส่งออก
หน่วยที่ 15
1.       โรงเรือนและที่ดินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินคือข้อใด
-          โรงเรือนและที่ดินที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยและใช้เป็นสำนักงานทนายความในชั้นล่าง
2.       ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ คือข้อใด
-          ที่ดินที่เจ้าของทิ้งไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์
3.       โรงเรือนและที่ดินที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือข้อใด
-          โรงเรือนและทีดินที่เป็นที่ตั้งของทางราชการ
-          โรงเรือนและที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติ
-          โรงเรือนและที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
-          โรงเรือนและที่ดินซึ่งเป็นศาสนสมบัติ
4.       ที่ดินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ คือข้อใด
-          ที่ดินอันเป็นที่ตั้งสถานศึกษาทางราชการ
-          ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติ
-          ที่ดินที่เป็นที่ตั้งทำการของสถานทูต
-          ที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกได้รับความเสียหายปลูกไม่ได้

5.       ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย คือข้อใด
-          ป้ายชื่อห้างสรรพสินค้า
6.       ผู้มีอำนาจประกาศขยายหรือเลื่อนเวลาชำระภาษีบำรุงท้องที่ออกไปได้อีกตามความจำเป็น คือใคร
-          ผู้ว่าราชการจังหวัด
7.       คณะกรรมการมีหน้าที่ต้องตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ทุกรอบระยะเวลากี่ปี
-          4 ปี
8.       การอุทธรณ์ภาษีป้ายจะกระทำภายในกำหนดเวลาใด
-          ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งการประเมิน
9.       อัตราการคิดภาษีป้ายข้อใด ไม่ถูกต้อง
-          ป้ายที่มีอักษรภาษาต่างประเทศล้วนให้คิด 60 บาทต่อตารางเซนติเมตร
10.   ป้ายที่เจ้าของไม่ต้องเสียภาษี คือข้อใด
-          ป้ายธนาคารออมสิน
-          ป้ายมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง
-          ป้ายโฆษณาภาพยนตร์ที่อยู่หน้าโรงภาพยนตร์
-          ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า
11.   นาย  ก มีบ้านให้เช่า  1 หลัง โดยให้เช่าเดือนละ 15,000  บาทนาย ก. จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเท่าใด
-          22,500  บาท
12.   นาย ข.มีที่ดินที่ใช้ปลูกสร้างบ้านในเขตเทศบาลตำบล  5  ไร่ ขอทราบว่า นาย ข.จะได้รับการลดหย่อนเนื่อที่ดินในการคำนวณภาษีบำรุงท้องที่เป็นจำนวนเท่าใด
-          1 ไร่
13.   อัตราการคิดภาษีป้ายกรณีมีแต่รูปภาพแต่ไม่มีอักษรไทยคือข้อใด
-          อัตรา  40  บาทต่อ  500  ตารางเซนติเมตร
14.   ภาษีป้ายที่ได้รับการประเมินแล้ว และไม่ไปชำระภาษีภายในกี่วันจึงถือว่าเป็นภาษีป้ายค้างชำระ
-          15  วัน
15.   ป้ายโฆษณาที่มีข้อความหรือภาพเป็นตัววิ่งของผู้ประกอบการค้า มีขนาดกว้าง  500  เซนติเมตร ยาว 1,000 เซนติเมตร จะต้องเสียภาษีป้ายเท่าใด
-          40,000 บาท
Cr: Anonymous
https://drive.google.com/file/d/0B3-RPBTCywR0ejNoaWQ3bFFTTXc/view?usp=sharing

แนวข้อสอบรวบรวม ณ วันที่ 13/7/2560 นะคะ มีทั้งเก่าและใหม่ค่ะ
แนวข้อสอบ 01
แนวข้อสอบ 02

1 ความคิดเห็น:

  1. แถมให้อีกอันนะคะ
    https://drive.google.com/file/d/0B3-RPBTCywR0OThfZ2pueTBzTG8/view?usp=sharing
    รบกวนก็อปแล้วแปะในช่อง URL ค่ะ

    ตอบลบ