วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

60120 เครษฐศาสตร์เบื้องต้น

เศรษฐศาสตร์ 60120

1. ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้
1.1 ข้อสมมติที่สำคัญทางเศรษฐศาสตร์ที่สมมติให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ (all other things being equal หรือ Centeris paribus ) คืออะไร จงยกตัวอย่างการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่มีการใช้ข้อสมมติในการศึกษา
ตอบ ข้อสมมติสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ที่สมมติให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ หมายความว่า ในการศึกษาเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะต้องให้ปัจจัยอื่น ๆ อยู่คงที่หรือไม่มีอิทธิพลใด ๆทั้งสิ้น ยกเว้นปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่จะศึกษา ยกตัวอย่างการขายสินค้า เรามักกล่าวว่าผู้ขายจะขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคให้ราคาที่สูงที่สุด ซึ่งคำกล่าวเช่นนี้จะเป็นจริงก็ต้องสมมติว่าปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ขายรายนี้อยู่คงที่หรือไม่แสดงอิทธิพลใด ๆ ออกมา มิฉะนั้นผู้ขายรายนี้อาจไม่ขายสินค้านั้นแก่ผู้ให้ราคาสูงที่สุด เพราะบังเอิญผู้ขายไม่ชอบหน้าผู้ที่ให้ราคาสูงที่สุด หรือ ตั้งใจจะขายให้แก่ผู้บริโภคอีกรายหนึ่งที่เขาชอบเป็นพิเศษแม้ว่าจะได้ราคาที่ต่ำกว่าก็๖ม หรือผู้ขายรายหนึ่งอาจคิดว่าถ้าเขาลดราคาสินค้าลงจะทำให้ขายได้มากขึ้น แต่ถ้าไม่สมมติให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ การลดราคาสินค้าของผู้ขายรายนี้อาจทำให้เขาขายได้น้อยลง เพราะคู่แข่งขันของเขาเกิดลดราคามากกว่า จึงทำให้ผู้ซื้อหันไปซื้อจากคู่แข่งขันมากขึ้น

1.2 การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) และ เศรษฐศาสตร์มหาภาค (Macroeconomics) การศึกษาทั้ง 2 แขนงนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และจากการศึกษาเอกสารการสอนชุดวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ท่านคิดว่าหน่วยการสอนหน่วยใดบ้างจดอยู่ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาค และหน่วยใดบ้างจัดอยู่ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในระดับมหาภาคด้วยเหตุผลใด
ตอบ เศรษฐศาสตร์จุลภาคหรือจุลเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจย่อย ซึ่งเป็นส่วนหึ่งของหน่วยหรือระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ เช่น การศึกษาเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ในการบริโภค ความขอบ การเลือกตลอดจนความพึงพอใจของแต่ละบุคคลที่มีต่อสินค้าและบริการ การศึกษาพฤติกรรมของผู้ผลิตในการตั้งราคา การคิดค้นต้นทุนการผลิตการจำแนกแจกจ่ายสิคาและบริการที่ผลิตแล้วไปยังผู้บริโภคหรือผู้ที่ต้องการ การศึกษากลไกตลาดและการใช้ระบบราคา เพื่อการจัดสรรสินค้าและบริการและทรัพยากรอื่น ๆ โดยที่เศรษฐศาสตร์จุลภาค ศึกษาเรื่องต่าง ๆซึ่งส่วนเกี่ยวข้องกับราคาในตลาดแบบต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์แบบจุลภาค มีอีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฏีราคา
เศรษฐศาสตร์มหาภาคหรือ มหาเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจเป็นส่วนรวม เช่น รายได้ประชาชาติ การบริโภค การออม การลงทุน การจ้างงาน การเงิน การค้าระหว่างประเทศ และการคลังสาธารณะ อาจกล่าวได้ว่า มหาเศรษฐศาสตร์ คือ การนำเอาหน่วยย่อย ๆ ทั้งหมดที่ศึกษาในจุลเศรษฐศาสตร์มาศึกษาเป็นระบบเดียว หรือมองในด้านส่วนรวมมากกว่าจะมองในแง่ส่วนบุคคล
เศรษฐศาสตร์ทั้งสองแขนงนี้ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด
หน่วยการสอนที่จุดอยู่ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในระดับจุลภาค คือ
- หน่วยที่ 3 อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพ - หน่วยที่ 4 พฤติกรรมผู้บริโภค
- หน่วยที่ 5 การผลิตและต้นทุนการผลิต - หน่วยที่ 6 ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
- หน่วยที่ 7 ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ - หน่วยที่ 8 ตลาดปัจจัยการผลิต
หน่วยการสอนดังกล่าว จุศึกษาในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับราคาในตลาดแบบต่าง ๆ เป็นหน่วยย่อยในระบบเศรษฐกิจรวม
หน่วยการสอนที่จัดอยู่ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในระดับมหาภาค คือ
- หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจ
- หน่วยที่ 9 รายได้ประชาชาติและการจัดรายได้ประชาชาติ
- หน่วยที่ 10 ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติ
- หน่วยที่ 11 การกำหนดและการเปลี่ยนแปลงระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
- หน่วยที่ 12 การเงินและสถาบันการเงิน
- หน่วยที่ 13 เงินเฟ้อและการว่างงาน
- หน่วยที่ 14 การค่าและการเงินระหว่างประเทศ
หน่วยที่ 15 ลักษณะและปัญหาของระบบเศรษฐกิจไทย
หน่วยการสอนดังกล่าวจะศึกษาระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ เป็นการนำเอาหน่วยย่อย ๆ ในระดับจุลเศรษฐศาสตร์มาศึกษาเป็นระบบเดียว

1.3 ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity coot) ในทางเศรษฐศาสตร์คืออะไร และต้นทุนค่าเสียโอกาสทำให้ต้นทุนทางการบัญชีและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
ตอบ ต้นทุนค่าเสียโอกาสในทางเศรษฐศาสตร์ คือ ต้นทุนประเภทหนึ่งที่มิได้มีการจ่ายออกด้วยจริงหรือที่เรียกว่าต้นทุนจำบัง โดยต้นทุนค่าเสียโอกาสจะถูกหักจากกำไรสุทธิ
กำไรในทางเศรษฐศาสตร์จะแตกต่างจากกำไรในทางบัญชี เพราะกำไรในแง่ของนักบัญชี หมายถึง รายได้สุทธิซึ่งก็คือ รายได้ทั้งหมดหักด้วยรายจ่าย แต่ในทางเศรษฐศาสตร์ นอกจากต้องหักต้นทุนที่มีการจ่ายจริงแล้วตังต้องหักต้นทุนจำบัง หรือค่าเสียโอกาส ในทางเศรษฐศาสตร์การปฏิบัติ นักเศรษฐศาสตร์มักจะตั้งหลักในการพิจารณาการลงทุนว่า ถ้าการดำเนินกิจการใดกำไรทางบัญชีต่ำกว่าค่าเสียโอกาสก็ไม่ควรดำเนินการ

1.4 จงอธิบายถึงกลไกการทำงานรวมถึงจุดอ่อนและจุดแข็งระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (ระบบทุนนิยม) และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (ระบบวางแผนจากส่วนกลาง) เมื่อพิจารณาถึงการจัดการปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
ตอบ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม เอกชนมีกรรสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนใหญ่ มีเสรีภาพในการดำเนินการหรือการเลือกประกอบกิจกรรม อาศัยกลไกราคาและระบบการแข่งขันเป็นเครื่องช่วยการตัดสินการทำงานของกลไกราคาและระบบการแข่งขันเป็นไปในลักษณะว่า เมื่อใครต้องการสิ่งใดก็จะแสดงความจำนงโดยการให้หรือเสนอราคาสิ่งของนั่นไปยังเจ้าของ โดยอาจเสนอเพียงลำพังหรือแข่งขันกับบุคคลอื่น ผู้ที่ให้ราคาสูงสุด หรือให้ราคาและเงื่อนไขที่ดีที่สุดก็จะเป็นผู้ที่ได้สิ่งของนั้นจากผู้ผลิตหรือผู้ขาย อาจสรุปได้ว่า กลไกราคาหรือระบบตลาดจึงเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม คือ
1. ความคล่องตัว และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ดี
2. มีเสรีภาพ กล่าวคือ บุคคลมีอิสรเสรีในการใช้ทรัพยากรหรือประกอบกิจการใดที่ต้องการ แต่ต้องไม่ผิดกฎหมาย
3. มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ทรัพยากรสามารถหมุนเวียนไปที่ต่าง ๆ ได้โดยกคล่องและรวดเร็วโดยอาศัยกลไกราคาช่วย
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม คือ
1. ด้านประสิทธิภาพ บางครั้งในทางปฏิบัติการจัดสรรทรัพยากรอาไม่ได้ประสิทธิภาพดีพอ ทรัพยากรอาจไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเสรี การแข่งขันอาจนำไปสู่ระบบการผูกขาด และการจัดสรรทรัพยากรอาจไม่สมดุล
2. ความเสมอภาค การยอมให้มีการเป็นเจ้าของ และการสืบทอดทรัพย์สมบัติอาจมีผลทำให้ไม่มีความเสมอภาคในการจัดส่งรายได้ และความมั่งคง

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หมายถึง ระบบที่รัฐบาลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกอย่างและเข้าดำเนินการในกิจกรรมทางเศรษฐกิจแทบทุกประเภทโดยการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ด้วยวิธีการเช่าซื้อหรือทำการก่อสร้างเองจากเงินภาษีอากรหรือเงินกู้ยืมจากประชาชน การดำเนินการของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมบางรูปแบบมักอาศัยหน่วยวางแผนส่วนกลาง เช่น ในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเข้าไปดำเนินการก็อาจเรียกว่า รัฐวิสาหกิจ สภาหรือคณะกรรมการจะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะผลิตสินค้าอะไร และบริการอะไร ในปริมาณแค่ไหนและขายในราคาเท่าใด ผู้บริโภคยังสามารถเลือกซื้อสินค้าอะไรก็ได้ตามกำลังเงินและความต้องการ กลไกราคาและระบบตลาดยังคงอยู่ แต่รัฐบาลอาจเข้าควบคุมหรือกำหนดราคาสินค้าบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนส่วนใหญ่
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ การดำเนินการบางอย่างมีความคล่องตัว เช่น การล้มเลิกระบบการผูกขาดของเอกขนในธุรกิจบางชนิด
ข้อเสีย คือ ระบบการวางแผนจากส่วนกลางมักไม่มีประสิทธิภาพและอาจผิดพลาดได้ง่าย ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตลอดจนขาดเสรีภาพในการดำเนินการ

2. ตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคา (หน่วยเป็นบาท) ปริมาณความต้องการและปริมาณเสนอขายของหมูปิ้ง (หน่วยเป็นไม้)

ราคา (Price) ปริมาณความต้องการซื้อ
(Quantity Demanded) ปริมาณการเสนอขาย
(Quantity Supplied)
4
5
6
7
8
9 125
104
81
68
53
39 25
53
81
98
110
121

2.1 จงนำข้อมูลจากตาราง (วาด) กราฟที่แสดงเส้นอุปสงค์ อุปทาน และแสดงให้เห็นถึงราคาและปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium price and quantity) ที่เกิดขึ้นของหมูปิ้ง








ปริมาณและราคาดุลยภาพ ที่อยู่ ราคา 6 บาท/หน่วย คือ ราคาซึ่งปริมาณสินค้าที่ผู้เสนอขายกับปริมาณสินค้าที่ผู้ต้องการซื้อเท่ากันพอดีนั่นคือ 81 ไม้

2.2 เมื่อพิจารณาจากกราฟที่ได้จากข้อ 2.1 ถ้าราคาในตลาดอยู่สูงกว่าราคาดุลยภาพ กลไกตลาดจะทำการปรับตัวให้เข้าสู่ดุลยภาพได้อย่างไร และถ้าราคาในตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ กลไกตลาดจะทำการปรับตัวให้เข้าสู่ดุลยภาพได้อย่างไร โปรดอธิบาย
ตอบ ถ้าระดับราคาในตลาดอยู่สูงกว่าราคาดุลยภาพ จะทำให้เกิดมีอุปทานส่วนเกินของตลาดขึ้น เนื่องจากจำนวนอุปสงค์ส่วนเกิน เกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น กลไกตลาดก็จะเกิดความกดดันให้ราคาต่ำลงถ้าผู้ขายอยากจะขายสินค้าส่วนที่เกิดนี้
ถ้าราคาในตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ความต้องการสินค้าจะมีมากกว่าปริมาณที่เสนอขายทำให้เกิดมีอุปสงค์ส่วนเกิน เกิดขาดแคลนสินค้าขึ้น กลไกตลาดก็จะผลักดันให้ราคาสูงขึ้นเนื่องจากผู้ขายไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าอย่างนั้นในเมื่อเขาสามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่านั้น

2.3 จากข้อ 2.1 ถ้ารายได้ของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม จะส่งผลอย่างไรต่อปริมาณความต้องการซื้อปริมาณความต้องการ รวมถึงราคาและปริมาณดุลยภาพของหมูปิ้ง (ถ้ากำหนดให้หมูปิ้งเป็นสินค้าปกติ) โปรดอธิบายและวาดกราฟประกอบการอธิบาย
ตอบ










เนื่องจากรายได้ผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคจึงหันมาบริโภคสินค้ามากขึ้น เส้นอุปสงค์ใหม่ คือ D1D1 การเลื่อนสูงขึ้นของเส้นอุปสงค์มีผลทำให้ปริมาณความต้องการซื้อ ณ ระดับราคาที่ปรากฏอยู่ในตลาดซึ่งก็คือราคา OP เพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม คือ OQ เป็น OQ2 เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน ผู้บริโภคที่ไม่ได้รับสินค้าจะพากันเสนอราคาที่สูงขึ้น มีผลให้เกิดดุลยภาพจุดใหม่ขึ้น คือ จุด E1 ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพจึงเปลี่ยนไปจากเดิมเป็น OP1 และ OQ2
2.4 จากข้อ 2.1 ถ้าราคาเนื้อหมูอันเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม จะส่งผลอย่างไรต่อปริมาณความต้องการซื้อ ปริมาณความต้องการขาย รวมถึงราคาและปริมาณดุลยภาพหมูปิ้ง โปรดอธิบายและวาดกราฟประกอบการอธิบาย
ตอบ









เนื่องจากราคาหมูสูงขึ้น ทำให้ปัจจัยการผลิตที่สำคัญเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม จะส่งผลให้ผู้ขายต้องปรับราคาสูงขึ้นแต่เมื่อราคาหมูปิ้งสูงขึ้นก็ทำให้ลูกค้าลดปริมาณการซื้อลง จนในที่สุดปริมาณทั้งสองก็กลับมาเท่ากันใหม่อีกครั้ง ณ ระดับราคาที่สูงขึ้นกว่าดุลยภาพเดิม และปริมาณที่ต่ำกว่าปริมาณดุลยภาพเดิม
เมื่อเส้นอุปทานเลื่อนระดับไปทางซ้ายของเส้นเดิมเป็นเส้น S1S 1 จากกลไกราคา จุดดุลยภาพเปลี่ยนไปอยู่ ณ จุด E1 ราคาดุลยภาพจะเลื่อนสูงขึ้นเป็น OP1 และปริมาณดุลยภาพจะลดลงเป็น OQ1

3. จากตารางที่ให้มา เมื่อกำหนดปริมาณ (Output) ราคา (Price) และต้นทุนทั้งหมด (Total Cost) ของหน่วยธุรกิจ




3.1 จงคำนวณหารายรับทั้งหมด (Total Revenue ) กำไร (Profit) รายรับหน่วยสุดท้าย (Marginal Revenue) และต้นทุนหน่วยสุดท้าย (Marginal Cost)

ปริมาณ
(Output) ราคา
(Price) รายรับทั้งหมด(Total Revenue) ต้นทุนทั้งหมด
(Total Cost) กำไร
(Profit) รายรับหน่วยสุดท้าย
( Marginal Revenue) ต้นทุนหน่วยสุดท้าย
(Marginal Cost)
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9 300
300
300
300
300
300
300
300
300
300 -
300
600
900
1200
1500
1800
2100
2400
2700 150
200
300
450
650
900
1200
1550
1950
2400 -
100
300
450
550
600
600
550
450
300 -
300
300
300
300
300
300
300
300
300 -
50
100
150
200
250
300
350
400
450


3.2 จากข้อมูลที่มีอยู่ ตลาดของสินค้าที่กำลังพิจารณาอยู่มีลักษณะการแข่งขันอยู่ในรูปแบบใด (แข่งขันสมบูรณ์ แข่งขันไม่สมบูรณ์แบบผูกขาด ผู้ขายน้อยร้าย หรือกึ่งแข่งขันผูกขาด) พิจารณาได้อย่างไร โปรดอธิบาย
ตอบ ตลาดของสินค้าที่กำลังพิจารณาอยู่มีลักษณะการแข่งขันสมบูรณ์ พิจารณาจากราคาสินค้าจะคงที่ตลอดไม่ว่าปริมาณการขายสินค้าจะเป็นเท่าใด เมื่อมีรายรับเฉลี่ยของหน่วยธุรกิจมีค่าเท่ากับราคา รายรับเฉลี่ยของหน่วยธุรกิจก็จะมีค่าคงที่ตลอดด้วยเช่นกัน นั้นคือรายรับเฉลี่ยของหน่วยธุรกิจในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะเป็นเส้นเดียวกับเส้นอุปสงค์ DD ของหน่วยธุรกิจ คือ เป็นเส้นขนานกับแกนนอน ณ ระดับราคาที่ปรากฏในตลาด และอันที่จริงไม่ว่าตลาดจะมีลักษณะใด เส้นรายรับเฉลี่ยก็ คือ เส้นเดียวกับเส้นอุปสงค์ของหน่วยธุรกิจ เพราะเส้นรายรับเฉลี่ยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินค้าและราคา เพราะฉะนั้นรายรับเฉลี่ยและราคาสินค้าคือสิ่งเดียวกัน




3.3 จากข้อมูลที่ให้มา หน่วยธุรกิจหน่วยนี้ควรผลิตสินค้า ณ จุดใดจึงจะได้กำไรสูงสุด เพราะเหตุใด โปรดอธิบายและวาดกราฟประกอบอธิบาย
ตอบ


การพิจารณาหาปริมาณการผลิตสินค้าที่เหมาะสมที่สุด จึงจะได้กำไรสูงสุด อาจทำได้โดยการเปรียบเทียบต้นทุน และรายรับของสินค้าไปทีละหน่วย จากสูตร MC = MR (ต้นทุนหน่วยสุดท้าย = รายรับหน่วยสุดท้าย) หากพิจารณาในตาราง จะพบว่าจุดที่ MC = MR คือ 6 หน่วย รายรับหน่วยสุดท้ายคือ 300 ต้นทุนหน่วยสุดท้ายคือ 300
หากพิจารณาจากกราฟจุดปริมาณการผลิตที่เหมาะสม คือ จุด E ซึ่งเป็นปริมาณการผลิต ณ จุดซึ่งต้นทุนหน่วยสุดท้าย มีค่าเท่ากับรายรับหน่วยสุดท้าย โดยต้นทุนหน่วยสุดท้ายอยู่ในภาวะที่กำลงเพิ่มขึ้น


ข้อ 4.2 - 4.3
พิจารณานโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล

4.2 นโยบายการคลัง

นโยบายการคลัง ซึ่งประกอบด้วยนโยบายด้านรายรับอันได้แก่ นโยบายที่เกี่ยวกับภาษี และที่เกี่ยวกับรายรับอื่นที่มิใช่ภาษีอากร นโยบายด้านการใช้จ่ายของรัฐบาล ตลอดจนการจัดการส่วนที่เกินดุล หรือการหาเงินชดเชยส่วนที่ขาดดุล ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง

4.2.1 ด้านการคลัง รัฐบาลมีนโยบายใช้จ่ายสูงกว่ายอดรายรับ ทำให้ฐานะการคลังของรัฐบาลอยู่ในสภาพขาดดุล โดยรัฐ จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวมากขึ้น เพิ่มการใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การก่อสร้างถนน ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ด้านสิ่งก่อสร้าง ของส่วนราชการต่างในงบประมาณแผ่นดิน

นอกจากนี้ การกู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายเป็นงบประมาณแผ่นดิน จะทำให้เกิดการใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้น
หากการใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้มีเงินในระบบมากขึ้น เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวได้

นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบาย ด้านภาษีคือ เก็บภาษีมรดก และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็น ครั้งแรกของไทยที่มีการประกาศชัดเจนเรื่องภาษีมรดก นอกจากนี้ นโยบายเรียนฟรี เป็นการ แบ่ง เบาภาระของประชาชน นโยบายด้านชุมชนพอเพียง และการส่งเสริมวิสาหกิจ ในท้องถิ่น


4.2.2 นโยบายด้านการเงิน

ธนาคารกลางจะเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับนโยบายการเงินของประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ควบคุมปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย นโยบายการเงินนอกจากจะช่วยสนับสนุนนโยบายการคลังแล้ว ยังอาจช่วยในการทำให้เกิดความสมดุลกับผลของนโยบายการคลังด้วย
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการส่งออก การกระตุ้นการส่งออกทางหนึ่งคือการใช้นโยบาลเงินบาทอ่อน แต่เนื่องจาก ค่าเงินดอลล่าร์ อ่อนตัวลงมาก เนื่อง จากวิกฤติการในสหรัฐอเมริกา ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อ เทียบกับเงินดอลล่าร์ ส่งผลให้เงินบาท แข็งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงระยะเวลาก่อนที่รัฐบาลอภิสิทธิ จะเข้ามาบริหาร

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีบทบาทน้อยมาก ในการกำหนด อัตราดอกเบี้ย ในตลาด ยกเว้นการออกพันธบัตรเงินกู้ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 4 %



4.3 ผลกระทบ การกู้เงิน ในประเทศในรูปแบบชของพันธบัตร จะส่งผลให้ระบบขาดเงินไปเท่า กับจำนวนที่กู้ หากรัฐไม่ สามารถนำเงินจำนวน ที่กู้ไปนั้น ไปใช้จ่ายอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้ ระบบเกิดการขาดเม็ดเงิน อยู่ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจทำให้เกิด ภาวะชงักงันทางเศรษฐกิจใน ช่วง ระยะเวลาสั้นๆ ได้

ถ้าหากรัฐบาลสามารถกู้เงินจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศได้ จะเป็นการเติมจำนวนเงินเข้ามาใน ระบบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การกู้เงินจากต่างประเทศ จะมีภาระความเสี่ยงต่ออันตราแลกเปลี่ยน ที่อาจผันผวนในอนาคตเช่นกัน ถ้ารัฐบาลสามารถบริหารความเสี่ยงด้านนี้ลงไป น่าจะช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบาย เก็บภาษีมรดก ซึ่งเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการประกาศชัดเจน จะทำให้รัฐมีรายได้จากฐานภาษีทางด้านนี้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ นโยบายเรียนฟรี จะช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชนที่เป็นฐานรากได้เป็นอย่างดี และปริมาณเงินที่ประชาชน ไม่ต้องใช้ในการชำระค่าเล่าเรียนนี้ จะถูกนำไปใช้หมุนเวียนในระบบอีกส่วนหนึ่ง

ด้านภาษี รัฐบาลมีนโยบาย เพิ่มจำนวนเงินยกเว้นขั้นต่ำของผู้เสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดาให้สูงขึ้น ทำให้ประชาชน ระดับล่างหรือผู้มีรายได้ประจำ ชั้นล่าง ไม่ต้องมีภาะระภาษี ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะขาดเงิน รายได้ด้านนี้ลงไปส่วนหนึ่งเช่นกัน
 การส่งเสริมวิสาหกิจ ชุมชน จะเป็นทางหนึ่ง ที่น่าจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระดับฐานรากได้อย่างดี และจะส่งผลต่อพื้นฐานของระบบเศรษฐกจ ของประเทศในระยะยาว

ส่วนการที่ ที่รัฐบาลขายพันธ์บัตรช่วยชาติไปเป็นจำนวนเงิน 40,000 ล้านบาท ให้ แก่ ประชาชน ในประเทศนั้น จะทำให้เงินในมือของประชาน หายไป ทันที รัฐบาลจำต้องเร่งรัดแผน งาน โครงการ ต่างๆออกมา เพื่อให้มีการใช้จ่ายเงิน จำนวนนี้อย่างเร็วที่สุด หากขาดการวางแผนที่ดี และการใช้จ่ายที่ล่าช้า อาจเกิดภาวะเงินฝืดได้โดยง่าย

การซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดพันธบัตร เป็นแนวทางหนึ่งของเครื่องมือของนโยบายการเงิน เมื่อธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน จะทำให้ปริมาณเงินลดลง ในขณะเดียวกันอุปทานของหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ราคาของพันธบัตรลดลง และอัตราผลตอบแทน ของพันธบัตรจะสูงขึ้น ทำให้ผู้ลงทุนเกิดแรงจูงใจในการซื้อมากขึ้น ธนาคารกลางจะสามารถปรับสภาพอุปสงค์และอุปทานของเงิน โดยขายหลักทรัพย์ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินต่าง ๆ และประธานทั่วไป

 เครดิตดังนี้:
Create Date : 22 สิงหาคม 2552
Last Update : 24 สิงหาคม 2552 23:36:04 น.
88 comments
Counter : 7696 Pageviews.



เพิ่มเติม 02 ดังนี้ค่ะ
สรุปหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 60120
1.ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจคือ
ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใคร
2.สินค้าที่แยกการบริโภคออกจากกันได้และเป็นสินค้าที่เจ้าของสามารถกีดกันผู้บริโภครายอื่นได้ คือ            สินค้าเอกชน
3.การศึกษาถึงเรื่องราวที่ควรจะเป็น ซึ่งขึ้นกับการวินิจฉัยคุณค่าของแต่ละบุคคลอย่างมาก คือ
                        เศรษฐศาสตร์เชิงปทัสถานหรือเศรษฐศาสตร์เชิงนโยบาย
4.หน่วยเศรษฐกิจที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต จำหน่ายปัจจัยการผลิต และบริโภคสินค้าและบริการคือ            ครัวเรือน
5.ส่วนอัดฉีดของระบบเศรษฐกิจ คือ การลงทุนของรัฐบาล
6.การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิตสามารถพิจารณาได้จาก
            สัดส่วนการผลิตสินค้าและการผลิตบริการ สัดส่วนของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
7.ลักษณะของเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมคือ
            การตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานในทางเศรษฐกิจจะใช้กลไกราคา และมีกำไรเป็นสิ่งจูงใจในการผลิต
8.สาเหตุของการเกิดความความไม่สมบูรณ์ของตลาด
            ต้นทุนค่าขนส่ง การบิดเบือนราคา ความไม่สมบูรณ์ของข่าวสาร การผูกขาดของตลาดสินค้าบางประเภท
9.เศรษฐศาสตร์จุลภาค
            อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพของตลาด ทางเลือกในการบริโภค การผลิตและต้นทุนการผลิต ตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดผูกขาด ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดและตลาดผู้ขายน้อยราย ตลาดปัจจัยการผลิตและผลตอบแทนปัจจัยการผลิต ประสิทธิภาพและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
10.เศรษฐศาสตร์มหภาค
                        รายได้ประชาชาติและการวัดรายได้ประชาชาติ ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติและการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ การคลังและนโยบายการคลัง การเงินและนโยบายการเงิน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การค้าและการเงินระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
11.เส้นที่แสดงทางเลือกต่างๆในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆร่วมกันภายใต้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจในระยะเวลาหนึ่งและด้วยเทคนิคการผลิตที่มีอยู่ในขณะนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ คือ
                        เส้นขอบเขตเป็นไปได้ในการผลิต PPF หรือ PPC
12.สินค้าเพื่อคนส่วนรวมของประเทศที่สามารถบริโภคร่วมกันได้ การบริโภคของคนคนหนึ่งจะไม่ทำให้การบริโภคของอีกคนหนึ่งลดลง คือ
                        สินค้าสาธารณะ
13.การศึกษาถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว เรื่องที่เป็นอยู่ และเรื่องที่จะเกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร เป็นการศึกษาหรืออธิบายเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง ความเป็นจริงหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระบบเศรษฐกิจ คือ
                        เศรษฐศาสตร์เชิงวิเคราะห์หรือเศรษฐศาสตร์เชิงทฤษฎี
14.หน่วยเศรษฐกิจที่ทำหน้าที่นำปัจจัยการผลิตมาผลิตสินค้าและบริการ และขายสินค้าและริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
                        หน่วยธุรกิจ
15.ส่วนรั่วไหลของระบบเศรษฐกิจ คือ
                        การออม ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บ
16.การวัดดุลยภาพการใช้จ่ายทางเศรษฐกิจของประเทศ คือ
                        เปรียบเทียบการลงทุนและการออมกับรายได้หรือมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ GNP
17.ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง คือ
            รัฐบาลเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรและเป็นผุ้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
18.การศึกษาด้วยวิธีอนุมานมีขั้นตอน คือ
            ตั้งสมมติฐานหรือกำหนดเป็นทฤษฎีก่อน สรุปสาระสำคัญจากสมมติฐานจากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เหตุและผล และทดสอบความถูกต้องของทฤษฎี
19.การศึกษาโดยวิธีอุปมาน คือ
            การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หาข้อสรุปเพื่อวางเป็นหลักหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ และทดสอบความถูกต้องของทฤษฎี
20.อุปสงค์ demand คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อและมีความสามารถที่จะซื้อได้
21.อุปสงค์มีสองลักษณะคือ อุปสงค์รายบุคคล และอุปสงค์ตลาด
22.การที่เส้นอุปสงค์เคลื่อนย้ายไปทางขวาของเส้นเดิมหมายความว่า
            ปัจจัยการผลิตราคาถูกลง
23.กฎของอุปทานแสดงถึง ความสัมพันธ์ในทางเดียวกันระหว่างราคาสินค้าและปริมาณอุปทาน
24.ภาวะดุลยภาพคือ ปริมาณเสนอซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขาย
25.ถ้าราคาเนื้อหมูลดลงจากราคาดุลยภาพจะส่งผล คือ เกิดอุปสงค์ส่วนเกินของเนื้อหมู
26.เส้นอุปสงค์มีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวา นั่นคือมีความชันเป็นลบ
    เส้นอุปทานจะมีลักษณะลาดขึ้นจากซ้ายไปขวา
27.ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ คือ
            ระดับราคาสินค้าหรือบริการ รายได้ของผู้บริโภค รสนิยมของผู้บริโภค ระดับราคาสินค้าหรือบริการชนิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จำนวนและองค์ประกอบของประชากร การคาดคะเนในอนาคต ฤดูกาล เทศกาล
28.ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน คือ
ระดับราคาสินค้าหรือบริการ เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต จำนวนผู้ผลิต ระดับราคาปัจจัยการผลิต ระดับราคาสินค้าหรือบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง สภาพภูมิอากาศ เป้าหมายของผู้ผลิต นโยบายของรัฐบาล
29.สูตรการคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์แบบจุดในกรณีที่ราคาเปลี่ยนไปน้อยมาก ลดลงจาก 5บาท เหลือ4.95บาท(P1=5บาท Q1=10หน่วย และP2=4บาท Q2=12หน่วย
Ep = ×
      = ×
      =  -1
            การคำนวณแบบช่วงในกรณีที่ราคาเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
            EpArc= ×
                     = ×
         = ×
                       =   =0.82
30.กรณีที่อุปสงค์เพิ่มขึ้น ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพจะเพิ่มขึ้น กรณีที่อุปสงค์ลดลงราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพจะลดลง
31.กรณีที่อุปทานเพิ่มขึ้น ราคาดุลยภาพจะลดลง ส่วนปริมาณดุลยภาพจะเพิ่มขึ้น กรณีที่อุปทานลดลง ราคาดุลยภาพจะสูงขึ้น ส่วนปริมาณดุลยภาพจะลดลง
32.คุณสมบัติของอรรถประโยชน์รวม
            เมื่อบริโภคสินค้าชนิดหนึ่งมากขึ้น อรรถประโยชน์รวมจะสูงขึ้นในสัดส่วนที่ลดลง
33.อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม คือ
 ความพึงพอใจที่ได้เพิ่มขึ้นจากการบริโภคสินค้าเพิ่มหนึ่งหน่วยหลังสุด
34.สูตรการหาอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม
            MUn=TUn-TUn-1   โดยที่ MUnคืออรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มที่เกิดจากการบริโภคเพิ่มจาก n-1หน่วยเป็น n หน่วยเป็นอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มที่ได้จากการบริโภคเพิ่มขึ้น 1หน่วย
TUnคืออรรถประโยชน์รวมที่ได้จากการบริโภค n หน่วย
TUn-1   คืออรรถประโยชน์รวมที่ได้จากการบริโภค n-1หน่วย
N คือปริมาณและจำนวนหน่วยที่บริโภค
อรรถประโยชน์รวมสูงสุด อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มเท่ากับ 0
อรรถประโยชน์รวมลดลง อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มติดลบ
35.จุดแต่ละจุดบนเส้นความพอใจเท่ากันบอกให้ทราบข้อมูลในข้อใด
            ทางเลือกในการบริโภคสินค้าแต่ละชนิดโดยให้ความพึงพอใจเท่ากัน
36.คุณสมบัติทั่วไปของเส้นความพอใจเท่ากันสำหรับสินค้าปกติ 2อย่างคือ
            ลักษณะเป็นเส้นโค้งเข้าหาจุดกำเนิด เป็นเส้นต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าแบ่งปริมาณสินค้าเป็นหน่วยย่อยได้ ไม่เป็นเส้นตรงขนานกับแกนนอน ไม่เป็นเส้นตรงขนานกับแกนตั้ง
37.ในกรณีที่เป็นสินค้าปกติ เส้นอุปสงค์ของสินค้าจะเป็นเส้นตรงหรือโค้งก็ได้แต่มีความชันเป็นลบ
38.ในกรณีที่สินค้า 2 อย่างสามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ เส้นความพอใจเท่ากันของผู้บริโภคสำหรับสินค้า 2 อย่างนี้จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงมีความชันเป็นลบ
39.ในบริบทของเส้นความพอใจเท่ากัน จุดที่ผู้บริโภคเลือกคือจุดที่ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุดเท่าที่เงินงบประมาณสำหรับการบริโภคในครั้งนี้จะอำนวย ข้อใดอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นที่จุดนี้ได้ครบถ้วน
            อัตราการทดแทนกันหน่วยสุดท้ายเท่ากับความชันของเส้นงบประมาณ
40.การผลิตประกอบด้วยองค์ประกอบการผลิตหลักข้อใด
            ปัจจัยการผลิต กระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิต
41.ต้นทุนที่รวมค่าใช้จ่ายด้านที่ดิน ทุน แรงงาน ผู้ประกอบการ จัดเป็นต้นทุนประเภทใด
            ต้นทุนการผลิต
42.การที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกันกับการเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิตทุกชนิดเข้าไปในกระบวนการผลิตเรียกว่า
            ผลได้ต่อขนาดคงที่
43.เส้นผลผลิตเท่ากันมีลักษณะอย่างไร
            ทอดลงจากซ้ายไปขวาและโค้งเว้าเข้าหาจุดกำเนิด
44.ปัจจัยการผลิต หมายถึง ปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ
45.ในทางเศรษฐศาสตร์การพิจารณาระยะเวลาของการผลิตแบ่งออกเป็นกี่ระยะ
            2 ระยะ คือ ระยะสั้นและระยะยาว
46.ปัจจัยการผลิตประกอบด้วย ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ
47.เส้นที่แสดงถึงความสามารถในการซื้อปัจจัยการผลิต 2 ชนิดในสัดส่วนต่างๆกันภายใต้งบประมาณจำนวนจำกัดจำนวนหนึ่ง เรียกว่า
            เส้นต้นทุนเท่ากัน
48.การผลิตระยะยาวมีเพียงปัจจัยแปรผันเท่านั้น
49.ต้นทุนแฝง หมายถึง ต้นทุนที่ถูกประเมินขึ้นจากการนำปัจจัยการผลิตของธุรกิจมาใช้โดยไม่ได้จ่าค่าตอบแทนให้จริง
50.เส้นผลผลิตเท่ากัน หมายถึง เส้นที่แสดงถึงการใช้ปัจจัยการผลิต 2 ชนิดในส่วนผสมต่างๆกันซึ่งให้ผลผลิตเท่ากัน
51.ความรู้และความคิดที่มนุษย์ทุ่มเทให้กับการผลิตสินค้าหรือบริการ ถือเป็นปัจจัยการผลิตประเภทใด
            แรงงาน
52.ลักษณะของต้นทุนคงที่เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนระยะสั้น ได้แก่ ค่าเช่า เครื่องจักร
53.เหตุผลที่หน่วยธุรกิจในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ต้องยอมรับราคาสินค้าที่ถูกกำหนดมาจากตลาด คือ มีผู้ซื้อขายจำนวนมาก
54.กำหนดให้ราคาตลาดเท่ากับ 20บาทต่อหน่วย ราคาสินค้าและรายรับส่วนเพิ่มของหน่วยธุรกิจจะมีค่าเท่าใด ถ้าหากว่าหน่วยธุรกิจจะขายสินค้า 1,000หน่วย
            ราคาสินค้าเท่ากับ20บาทต่อหน่วย รายรับส่วนเพิ่มเท่ากับ20บาทต่อหน่วย
55.เงื่อนไขที่ทำให้หน่วยธุรกิจในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ประสบกับการขาดทุนในการผลิตระยะสั้นแต่ยังคงทำการผลิตต่อไป
            P<SAC แต่ P>SAVC ราคาน้อยกว่าต้นทุนเฉลี่ยระยะสั้นแต่ราคามากกว่าต้นทุนผันแปรเฉลี่ยระยะสั้น
ประสบกับการขาดทุนในการผลิตระยะสั้นและเลิกการผลิต   P<SAC และ P<SAVC
56.เงื่อนไขดุลยภาพในระยะยาวของหน่วยธุรกิจในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ได้ถูกต้องที่สุด คือ
            P=MR=SRATC=LRATC=LMC
57.ผู้ผูกขาดจะทำการผลิตสินค้าและตั้งราคาสินค้าในช่วงความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้ามีเท่าใด               มากกว่า1 รายรับส่วนเพิ่มมีค่าสูงสุด
58.เงื่อนไขที่ทำให้ผู้ผูกขาดได้รับกำไรสูงสุด MR=MC และP>ATC
เงื่อนไขที่ทำให้ผู้ผูกขาดประสบกับการขาดทุนน้อยที่สุด MR=MC และ P<ATC
59.การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คือ P=MC ราคา=ต้นทุนส่วนเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิต P=ATCต่ำสุด ราคา=ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย
60.ราคาในอุดมคติคือราคาที่เท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่ม P=MC    ราคายุติธรรมคือราคาที่เท่ากับต้นทุนเฉลี่ย P=AC
61.การที่ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มีผู้ซื้อขายจำนวนมากส่งผลต่อหน่วยธุรกิจคือ ยอมรับราคา
62.การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยหน่วยธุรกิจรายใหญ่เพียงรายเดียวก่อให้เกิด การประหยัดเนื่องจากขนาด
63.ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดมีลักษณะเหมือนกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์คือ
            การเข้าหรือออกจากตลาด
64.การโฆษณาสินค้าหรือหน่วยธุรกิจส่งผลอย่างไรต่อเส้นอุปสงค์
            มีความชันมากขึ้น
65.ตลาดผู้ขายน้อยรายมีลักษณะใกล้เคียงกับตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
            ลักษณะของสินค้า
66.มีการวิเคราะห์อุปสงค์ตลาดเพื่อผลิตและกำหนดราคาให้ได้กำไรสูงสุด แล้วนำกำไรมาจัดสรรภายในกลุ่ม เป็นกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจในตลาดผู้ขายน้อยรายประเภทใด
            การรวมกลุ่มเพื่อครอบงำตลาด
67.กลยุทธ์เด่น คือ กลยุทธ์ที่ผู้เล่นเลือกโดยไม่คำนึงว่าอีกฝ่ายหรือคู่แข่งขันจะเลือกใช้กลยุทธ์อะไร
68.ปัจจัยสำคัญในการเข้าหรืออกจากตลาดของหน่วยธุรกิจในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดคือ กำไรขาดทุน
69.การออกจากตลาดบางรายในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดส่งผลให้ความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคาของหน่วยธุรกิจในตลาดเปลี่ยนแปลงไป คือ ลดลง
การเข้ามาแข่งขันของหน่วยธุรกิจรายอื่นในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคาเพิ่มขึ้น
70.การโฆษณาสินค้าของหน่วยธุรกิจส่งผลอย่างไรต่อความยืดหยุ่นของอุปสงค์ราคา
            ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ลดลง
71.สินค้าของหน่วยธุรกิจในตลาดผู้ขายน้อยรายมีลักษณะอย่างไร
            เหมือนกันหรือแตกต่างกัน
72.การตรึงราคา คือ มีการกำหนดราคาแบบเดียวกันและถ้าหากจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาก็จะเปลี่ยนแปลงราคาพร้อมกัน
73.ตลาดปัจจัยการผลิต อุปสงค์ต่อปัจจัยการผลิตเป็นอุปสงค์สืบเนื่อง
74.การคำนวณรายรับจากผลิตผลส่วนเพิ่มกรณีตลาดผลิตผลแข่งขันสมบูรณ์โดยนเอาผลิตผลส่วนเพิ่มคูณด้วยรายรับส่วนเพิ่ม  MP×MR
75.ผลตอบแทนของที่ดินส่วนที่เกินกว่าค่าเสียโอกาสของที่ดินเรียกว่า ค่าเช่ทางเศรษฐกิจ
76.ถ้าหากว่ามีการกำหนดค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าค่าจ้างดุลยภาพจะเกิดอะไรขึ้น
            ปริมาณอุปสงค์แรงงานส่วนเกิน
77.ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขสำคัญในการประเมินความเหมาะสมในการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
78.ทฤษฎีบทพื้นฐานเศรษฐศาสตร์สวัสดิการอธิบายว่า กลไกตลาดก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
79.ในตลาดใดตลาดหนึ่ง การผลิตจะเกิดประสิทธิภาพ ณ ระดับที่ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มของสังคมเท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่มของสังคม MBS=MSC
80.เพราะเหตุใดกลไกการตลาดจึงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในกรณีของสินค้าสาธารณะ เพราะผู้บริโภคไม่เปิดเผยความต้องการที่แท้จริง
81.ผลกระทบภายนอกทางลบ การดเนินการของนาย ก ส่งผลให้นาย ข ได้รับความเสียหายโดยที่นาย ข ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของนาย ก
82.ในกรณีที่เกิดผลกระทบภายนอกทางบวก หากรัฐบาลไม่เข้ามาแทรกแซงตลาดผลที่เกิดขึ้นคือ มีการผลิตสินค้านั้นน้อยเกินไป
83.ในทางทฤษฎี เครื่องมือที่นักเศรษฐศาสตร์ใช้อธิบายว่าสังคมจะเลือกระหว่างความพอใจระดับต่างๆของบุคคลกลุ่มต่างๆ คือ เส้นสวัสดิการสังคม
84.จอห์น รอลส์ เป็นผู้เสนอแนวคิดสำคัญที่อธิบายเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ตามแนวคิดนี้สวัสดิการสังคมขึ้นอยู่กับ สวัสดิการของกลุ่มบุคคลที่ฐานะยากจน
85.การประเมินโครงการต่างๆของรัฐบาลในแง่ประลิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร จะพิจารณาจาก ผลประโยชน์สุทธิที่สังคมได้รับ
86.องค์กรระหว่างประเทศที่ริเริ่มพัฒนาระบบบัญชีประชาชาติเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เป็นแบบอย่างในการจัดทำบัญชี คือองค์การสหประชาชาติ
87.รายได้ประชาชาติ National Income หมายถึง รายได้รวมของบุคคลต่างๆในระบบเศรษฐกิจในฐานะเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิต
88.หากทราบค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศGDPจะหาค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติGNPได้โดยเอารายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตที่ได้รับจากต่างประเทศไปบวก
89.เมื่อทราบค่ารายได้ประชาชาติก็จะคำนวณรายได้ส่วนบุคคลPIได้ โดยนำส่วนของรายได้ที่ไม่ตกถึงมือบุคคลมาหักออก แล้วนำส่วนของรายได้ที่มิได้เกิดจากการผลิตแต่ตกถึงมือบุคคลมาบวกเข้า รายการที่ต้องนำมาหักออก คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
90.รายได้ประชาชาติมีประโยชน์เนื่องจากแสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้แสดงให้เห็นถึง  ผลตอบแทนประเภทต่างๆที่เจ้าปัจจัยการผลิตได้รับ
92.ข้อควรพิจารณาในการใช้ข้อมูลรายได้ประชาชาติ คือ การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงควรใช้ตัวเลขรายได้ประชาติในราคาคงที่
93.จากแนวคิดของเคนส์ ฟังก์ชันการบริโภค คือ C=a+bYdโดย Cหมายถึงรายจ่ายเพื่อการบริโภค และYdหมายถึงรายได้พึงจับจ่ายใช้สอย ค่าb ในสมการข้างต้น หมายถึง ค่าความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค
94.ระบบเศรษฐกิจแห่งหนึ่งมีค่าโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภคเท่ากับ 0.70 ระบบเศรษฐกิจนั้นจะมีค่าความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการออมเท่ากับ 0.30
95.การลงทุนในทางเศรษฐศาสตร์ การซื้อบ้านใหม่เพื่ออยู่อาศัย การซื้อเครื่องจักรใหม่ การก่อสร้างอาคารที่ทำการของรัฐ การเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลัง
96.อุปสงค์รวมหรือการใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจประกอบด้วย การใช้จ่ายในการบริโภค ใช้จ่ายในการลงทุน การใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล การส่งออกสุทธิ
97.ณ ระดับที่อุปทานรวมของระบบเศรษฐกิจมีมากกว่าอุปสงค์รวม รายได้ประชาชาติจะปรับตัวลดลง
98.การกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจที่เป็นจริง เมื่อพิจารณาทางด้านกระแสการไหลเข้าและไหลออกของรายได้ รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะอยู่ ณ ระดับ
I+G+X=S+T+M
99.ตัวทวี คือค่าที่บอกให้ทราบว่ารายได้ประชาชาติจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นจนวนกี่เท่าของการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ตัวทวีจะมีค่ามากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับอะไร
            ค่าความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการออม ค่าโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค
100.ข้อสมมติข้อใดคือข้อจำกัดของทฤษฎีว่าด้วยตัวทวีในการนำไปอธิบายผลที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ   MPC ของทุกคนมี่ค่าเท่ากัน
101.ขอบเขตของนโยบายการคลัง
            แนวทางและเป้าหมายในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินของรัฐบาลในด้านรายจ่าย รายรับและการก่อหนี้ของรัฐบาล
แนวทางและเป้าหมายในการดำเนินงานด้านต่างๆของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
102.ในขณะที่สิ่งอื่นคงที่ ข้อใดคือการดำเนินงานการคลังและนโยบายการคลังที่มีบทบาทให้เกิดการรั่วไหลของรายได้ปะชาชาติแบบปิดในระบบเศรษฐกิจ
            การเพิ่มอัตราภาษีทุกประเภทที่รัฐบาลจัดเก็บ
103.ข้อใดคือรายรับของรัฐบาลที่ไม่ใช่รายได้
            รายรับจากการขายพันธบัตรรัฐบาล รายรับจากการกู้เงินจากต่างประเทศ
104.ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีอากรการขายทั่วไป ภาษีอากรสินค้าเข้า-ออก
105.ข้อใดแสดงภาวการณ์ดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว
            รายจ่ายของรัฐบาลมากกว่ารายรับของรัฐบาล
106.ผลการแย่งใช้เงินทุน crowding out จากภาคเอกชนเป็นภาวการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ
            รัฐบาลขายพันธบัตรให้แก่ประชาชนภายในประเทศ
107.ข้อใดคือกลไกในการปรับระบบเศรษฐกิจเข้าสู่ดุลยภาพได้โดยอัตโนมัติ
            การกำหนดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า
108.ข้อใดสะท้อนถึงความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีภายใต้หลักความสามารถในการจ่าย capacity to pay
            ผู้ที่มีความมั่งคั่งมากควรจ่ายภาษีในอัตราที่สูงกว่าที่มีความมั่งคั่งน้อยกว่า
109.การใช้เครื่องมือของนโยบายการคลังด้านรายจ่ายในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการต่างๆของรัฐบาลควรมุ่งให้บรรลุเป้าหมายใดของการพัฒนาเศรษฐกิจ
            ความเป็นธรรม ความเจริญเติบโต ความมีเสถียรภาพ ความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
110.หน้าที่ของเงินได้แก่ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า  เป็นเครื่องสะสมมูลค่า
111.ปริมาณเงิน หมายถึง เหรียญกษาปณ์ ธนบัตรและเงินฝากกระแสรายวันข้อใด
            ในมือประชาชน องค์กรธุรกิจต่างๆ ห้างร้าน
112.เส้นอุปทานของเงินมีลักษณะตั้งฉากกับแกนนอน
113.ตามทฤษฎีปริมาณเงินของสำนักคลาสสิก ถ้าปริมาณเงินคงที่ในขณะที่รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆเพิ่มขึ้น แสดงว่าอัตราการหมุนเวียนของเงินเพิ่มขึ้น
114.ความต้องการถือเงินตามทัศนะของเคนส์
            ความต้องการถือเงินประกอบด้วยความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายประจำวัน เพื่อเหตุฉุกเฉินและเพื่อเก็งกำไร
115.อัตราดอกเบี้ยระดับที่ทำให้ตลาดเงินอยู่ในภาวะสมดุล คือ อุปสงค์ในการถือเงินเท่ากับอุปทานของเงิน
116.เงินที่ธนาคารพาณิชย์นำมาจัดสรรให้กู้ได้แก่ เงินทุนเรือนหุ้น เงินฝากของประชาชน เงินกู้จากธนาคารแห่งประเทศไทย เงินกู้จากต่างประเทศ
117.ธนาคารกลางจะลดปริมาณเงินในท้องตลาดได้โดย เพิ่มอัตราส่วนลด เพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายและขายพันธบัตรรัฐบาล
118.สถาบันการเงิน เช่น โรงรับจำนำ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร
119.เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าภายในประเทศโดยทั่วไปสูงขึ้นเรื่อยๆ
120.สาเหตุของเงินเฟ้อ การที่ความต้องการใช้จ่ายรวมมีมากกว่าผลผลิตที่ประเทศสามารถผลิตได้
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ค่าแรงสูงขึ้น ผู้ผลิตเพิ่มกำไรมากขึ้น
121.ดัชนีชี้วัดภาวะเงินฝืด คือ อัตราเงินเฟ้อ
122.ข้อใดเป็นผลที่ตามมาเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด คือ ภาวการณ์ว่างงานเพิ่มมากขึ้น
123.ข้อใดเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ คือ ควบคุมราคาสินค้าและบริการ
124.ข้อใดเป็นดัชนีการว่างงาน อัตราการว่างงาน
125.ผลกระทบของอัตราว่างงานได้แก่ข้อใด การออมลดลง
126.แนวทางในการแก้ไขปัญหาการว่างงาน เพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ
127.ถ้าการลงทุนลดลง อัตราการว่างงานสูงขึ้นมากจนทำให้รายได้ประชาชาติลดลงจนถึงจุดต่ำสุดอยู่ในช่วงใดของวัฏจักรธุรกิจ           เศรษฐกิจถดถอย
128.การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น ตามเหตุผลคือ การผ         ลิตสินค้าเพื่อส่งออกสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงเพิ่ม GDP และเพิ่มการจ้างแรงงาน
129.สาเหตุหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศ คือ แต่ละประเทศมีความแตกต่างในศักยภาพการผลิตจึงซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
130.หลักการที่นักเศรษฐศาสตร์ใช้อธิบายเหตุที่แต่ละประเทศส่งออกสินค้าต่างชนิดกัน คือ ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบcomparative advantage
131.ในบัญชีดุลการชำระเงิน รายการดุลบัญชีการเงินคือผลรวมสุทธิของธุรกรรม คือ การลงทุนในต่างประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ การลงทุนในหลักทรัพย์สุทธิ การลงทุนอย่างอื่นสุทธิ
132.ในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของไทย รายการใดที่จะมีการบันทึกเป็นรายการเดบิต
            สินค้าเข้า
133.แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่มุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ฉบับที่1
134.นโยบายส่งเสริมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเริ่มเกิดขึ้นในแผนพัฒนาฉบับที่ 1
135.สินค้าที่มีการนำเข้าสูงสุดในประเทศไทยในปี2553 คือ น้ำมันดิบ
136.ตลาดส่งออกที่สำคัญในปี 2553 คือ อาเซียน
137.แผนพัฒนาที่แสดงถึงปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างชัดเจน คือ ฉบับที่ 4
138.แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่มีจุดมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืนโดยกำหนด “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา คือ ฉบับที่8
139.แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่9 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
140.ปัญหาเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นในแผนพัฒนาฉบับที่7 ปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
141.วิกฤตเศรษฐกิจในปี2522เกิดจากปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
142.สาเหตุของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก2551 การเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา

           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น