วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

32207 หน่วยที่ 9

หน่วยที่ 9 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี
-          ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะประกอบไปด้วย 1) ข้อมูลและสารสนเทศ 2)กระบวนการทางธุรกิจ 3) เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) บุคลากร มาทำงานร่วมกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็นวงจรย่อยๆ พื้นฐานได้ทั้งหมด 6 วงจร คือ วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรการจัดการทรัพยากร วงจรการเงิน และระบบบัญชีแยกประเภททั่วไปและรายงาน
-          ระบบสารสนเทศทางการบัญชีมีความสำคัญต่อองค์กรในด้านการผลิตสารสนเทศทางการบัญชีที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจ และมีส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร รวมทั้งยังเป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การนำสารสนเทศทางการบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจนั้นควรระมัดระวังข้อจำกัดด้านต่างๆ ทั้งในด้านคุณค่า ด้านปริมาณ และด้านวิธีการใช้
-          การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความเหมาะสมกับองค์กรนั้นควรต้องคำนึงถือปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย คือ (1) กลยุทธ์ของบริษัท (2) วัฒนธรรมองค์กร และ (3) เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศโดยใช้ต้นแบบ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ และการว่าจ้างหน่วยงานภายนอก
-          เทคนิคและเอกสารที่ใช้ในการพัฒนาระบบ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวมรวมข้อมูลและอธิบายขั้นตอนการทำงานในการประมวลผลข้อมูล เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างนักวิเคราะห์ระบบ ผู้ใช้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหลายประเภท ได้แก่ แผนภาพกระแสข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล ผังงานระบบ แผนภาพความสัมพันธ์ของเอนทิตี ผังโครงสร้าง ตารางการตัดสินใจ และอื่นๆ
-          ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งในองค์กรที่ทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายการค้าและกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กรมาทำการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศในการตัดสินใจ รวมถึงการจัดให้มีการควบคุมภายในอย่างเพียงพอเพื่อรักษาสินทรัพย์ของกิจการและความถูกต้องน่าเชื่อถือของสารสนเทศที่ได้จากระบบ
-          องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ที่เกี่ยวข้องกัน และทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุหน้าที่หลักของระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ 1)  ข้อมูลและสารสนเทศ 2) กระบวนการทางธุรกิจ 3) เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) บุคลากร
-          หน้าที่หลักที่สำคัญของระบบสารสนเทศทางการบัญชี มี 3 ประการ คือ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายการค้าหรือกิจกรรมทางธุรกิจ 2) นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจ และ 3) จัดเตรียมให้มีการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ
-          ระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นมีคุณค่าสำหรับการตัดสินใจ เพราะสามารถที่จะสนับสนุนทุกขั้นตอนในแบบจำลองของกระบวนการตัดสินใจและกระบวนการแก้ปัญหา ตั้งแต่การระบุปัญหา การเลือกวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับแบบจำลองการตัดสินใจ การแปลผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองการตัดสินใจ การประเมินข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก และการเลือกปฏิบัติตามแนวทางในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ตลอดจนช่วยจัดเตรียมข้อมูลย้อนหลับซึ่งเป็นผลจากการตัดสินใจนั้นด้วย อย่างไรก็ตาม การที่ระบบสารสนเทศทางการบัญชีสามารถสนับสนุนการตัดสินใจได้ในระดับใดนั้นขึ้นอยู่กับ 1) ระดับของโครงสร้างการตัดสินใจ และ 2) ขอบเขตของการตัดสินใจ
-          แม้ว่าสารสนเทศทางการบัญชีจะมีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจก็ตาม แต่หากนำไปใช้โดยขาดความระมัดระวังแล้ว ก็อาจส่งผลให้สารสนเทศทางการบัญชีที่ได้ไม่คุ้มค่า หรือสารสนเทศทางการบัญชีที่ได้นั้นมีปริมาณที่มากเกินกว่าที่จะใช้ประโยชน์ได้ หรือสารสนเทศทางการบัญชีที่นำไปใช้นั้นทำให้เกิดการตัดสินใจและการดำเนินงานที่ผิดพลาด ทำให้ผลที่ได้รับนั้นตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์หลักขององค์กรได้ ดังนั้นในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อให้ได้สารสนเทศทางการบัญชีที่มีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจจึงควรระมัดระวังข้อจำกัดของการนำสารสนเทศทางการบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจ 3 ด้าน คือ ด้านคุณค่า ด้านปริมาณ และด้านวิธีการใช้
-          จากแนวความคิดเรื่องห่วงโซ่คุณค่าจะทำให้เห็นว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสร้างและนำเสนอข้อมูลไปยังลูกค้าโดยตรง แต่จะเกี่ยวข้องทางอ้อมด้วยการทำหน้าที่ในการจัดเตรียมให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อเวลา เพื่อสนับสนุนกิจกรรมพื้นฐานต่างๆ ให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
-          สำหรับผู้ที่จบการศึกษาและประกอบวิชาชีพด้านการบัญชี ไม่ว่าจะเป็นผู้สอบบัญชี หรือที่ปรึกษาทางด้านภาษีอากร หรือที่ปรึกษาด้านการวางระบบสารสนเทศ หรือนักบัญชีในองค์กร ต่างก็ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ที่ได้จากวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี นอกจากนี้การเรียนวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชียังมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับนักบัญชีในการเข้าสู่งานบริการด้านสารสนเทศ ทำให้ผู้บริหารสามารถใช้สารสนเทศในการตัดสินใจได้ดีขึ้น และเป็นพื้นฐานสำคัญของการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
-          ภายใต้สภาวการณ์การแข่งขันและการเปลี่ยนแปลที่รุนแรงในโลกปัจจุบัน ทำให้ทุกองค์กรต่างก็เผชิญกับความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อให้ได้รับสารสนเทศทางการบัญชีในรูปแบบใหม่ที่มีความรวดเร็ว และมีความน่าเชื่อถือมาขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปรับเปลี่ยนเล็กน้อยจนกระทั่งปรับเปลี่ยนอย่างมาก
-          ในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลรวมทั้งให้เหมาะสมกับองค์กรนั้น ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3 ปัจจัย คือ (1) กลยุทธ์ของบริษัท (2) วัฒนธรรมองค์กร และ (3) เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่มีอิทธิพลต่อระบบสารสนเทศทางการบัญชี แต่ก็ไม่สำคัญมากเท่ากับ 3 ปัจจัยหลักที่กล่าวถึงข้างต้น
-          ในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นมีด้วยกันหลายวิธี นอกจากวิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมานานแล้วยังมีการพัฒนาระบบสารสนเทศโดยใช้ต้นแบบ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ และการว่าจ้างหน่วยงานภายนอก
-          เทคนิคและเอกสารที่ใช้ในการพัฒนาระบบเป็นเทคนิคและเอกสารที่เขียนอธิบายขั้นตอนการทำงาในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างนักวิเคราะห์ระบบ ผู้ใช้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทคนิคและเอกสารที่ใช้มีหลายประเภท ได้แก่ แผนภาพกระแสข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล ผังงานระบบ แผนภาพความสัมพันธ์ของเอนทิตี ผังโครงสร้าง ตารางการตัดสินใจ แผนภาพยูสเคส และเทคนิคและเอกสารอื่น
-          แผนภาพกระแสข้อมูลเป็นแผนภาพที่แสดงการเคลื่อนไหวของข้อมูลจากกิจกรรมหนึ่งไปยังกิจกรรมหนึ่ง โดยใช้สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าแสดงสิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นหรือปลายทางของข้อมูล วงกลมแสดงกระบวยการหรือการประมวลข้อมูล เส้นขนานแสดงหน่วยเก็บข้อมูล และลูกศรแสดงการเคลื่อนไหวของข้อมูล แผนภาพกระแสข้อมูลแบ่งเป็นระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับสูงสุด แสดงการทำงานของระบบโดยรวม ระดับศูนย์ หรือ 0 แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากระดับสูงสุดและระดับรองแสดงการเคลื่อนไหวของข้อมูลเพิ่มเติมจากระดับ 0 ในการประมวลข้อมูลแต่ละกระบวนการ
-          ผังงานระบบเป็นผังงานที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลเข้า การประมวลข้อมูล และข้อมูลออก หรือผลลัพธ์ในแต่ละขั้นตอนของระบบ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบอาจแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม การสร้างผังงานระบบนั้นประกอบด้วย 5 ขั้นตอน สำหรับผังทางเดินเอกสารเป็นแผนผังแสดงการเคลื่อนไหวของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ ในระบบงานของกิจการ โดยในแนวตั้งแสดงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เอกสารที่เคลื่อนไหวสัมพันธ์กับหน่วยงานใดก็จะอยู่ในแนวตั้งตรงกับหน่วยงานนั้น
-          แผนภาพความสัมพันธ์ของเอนทิตีเป็นแผนภาพที่ใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในระบบสารสนเทศเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำฐานข้อมูล ชื่อสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแผนภาพความสัมพันธ์ของเอนทิตี ได้แก่ เอนทิตี ลักษณะความสัมพันธ์ และเส้นเชื่อมความสัมพันธ์ดังกล่าว

-          ผังโครงสร้างเป็นผังแสดงความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น ซึ่งบางโครงสร้างอาจมีหลายระดับเพื่อแสดงการทำงานของระบบตั้งแต่ภาพกว้างลงไปจนถึงรายละเอียด สำหรับตารางการตัดสินใจ เป็นตารางที่แสดงถึงการทำงานของโปรแกรมโดยอธิบายความสัมพันธ์ของเงื่อนไขต่างๆ ที่มีผลต่อกิจกรรมในแต่ละทางเลือก รวมทั้งแสดงถึงกฎของการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องด้วยและสำหรับแผนภาพยูสเคสเป็นแผนภาพที่แสดงการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้หรือผู้กระทำที่ประสงค์หรือต้องกระทำโดยมีองค์ประกอบสำคัญคือผู้กระทำและสิ่งที่ต้องกระทำ การวิเคราะห์ดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดทำโปรแกรมต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น