วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (10)

2.  รูปแบบการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
                กลยุทธ์การสอนจากหลายๆ เหตุผลตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ ที่สำคัญที่สุด ความหมายของทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ คือ บทบาทของความรู้ที่มีอยู่ก่อนในการประมวลผล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้เก่าที่พวกเขามีอยู่สัมพันธ์กับเนื้อหาใหม่ที่ต้องการ ความสำคัญของการใช้งานลิ้นชักทางความคิดนี้สามารถเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า กระตุ้นความจำที่มีต่อความรู้ที่มีอยู่ก่อน (stimulating recall of prior knowledge) เป็นขั้นที่สาในเหตุการณ์ทั้ง 9 ของกาเย่ (Gagne) จากการที่ผู้สอนการอ่านพบว่าการใช้ความรู้เดิมของผู้เรียนเป็นกระบวนการช่วยให้พวกเขามีการจัดกระทำกระบวนการจากเรื่องที่อ่านได้ดีขึ้น ดังนั้นการเรียนการสอนสนับสนุนกลยุทธ์อภิปัญญาออกแบบเพื่อใช้งานความรู้เดิมของคนนั้นๆ ก่อนที่จะอ่าน เช่น การอ่านหัวเรื่องและชื่อเรื่อง, การมองภาพของข้อความ, และการคาดการณ์ตามชื่อเรื่องและภาพประกอบ
                อาร์มบรัสเตอร์ (Armbruster, 1996, unpaged) ส่งเสริมให้เปรียบเทียบการใช้สิ่งที่เหมือนกันและการสั่งเพื่อดึงดูดความสนใจต่อความรู้เดิมที่มีอยู่ของผู้เรียนและเพื่อช่วยให้
การเชื่อมต่อระห่างความรู้เดิมที่มีอยู่และข้อมูลใหม่ ในแง่ของการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา ผู้สอนควรเน้นที่กลยุทธ์ในการสร้างโครงสร้างทางความรู้โดยเฉพาะกลยุทธ์สำหรับ
การสร้างความรู้เพื่อแก้ปัญหาตามที่เป็นรากฐานสำหรับความสามารถในการแก้ปัญหา
(Price, & Driscoll, 1997) นอกจากนี้การเรียนการสอนควรใช้สิ่งที่สมจริงหรือใกล้เคียงในการสอนการแก้ปัญหามากกว่าบริบททางนามธรรมมาอำนวยความสะดวก วิดเมเยอร์ (Widmayer, 2010, para. 9)
กล่าวว่า การเรียนการสอนควรเอื้ออำนวยต่อการสร้างลิ้นชักทางความคิดโดยให้ผู้เรียนให้ความคิดย้อนกลับในรูปแบบของการทำงานอย่างเต็มที่จำนวนมากและอธิบายตัวอย่างหรือใบงานซึ่งเป็น
คำแนะนำที่ชัดเจนในการสร้างโครงสร้างทางความรู้ของตัวพวกเขาเอง กาเย่และเกลเซอร์
(Gagne, & Glaser, 1987, unpaged) นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเรียนการสอนทางด้านจิตใจ
เพื่ออำนวยให้ผู้เรียนพัฒนาโครงสร้างทางความรู้ที่เหมาะสม
                การสร้างประสบการณ์ทางความรู้ที่หลากหลายจากหลายๆ มุมมองเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีด้วยเช่นกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการแก้ปัญหาซึ่งพวกเขาสามารถประสบความสำเร็จที่จะใช้แก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย (หรือมีความเที่ยงตรงมากขึ้นใน
การแก้ปัญหาที่คุ้นเคยในสภาวะแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย) ดังนั้น
ผู้สอนและการออกแบบการสอนควรเน้นที่ความสามารถในการแก้ปัญหาที่สะสมไม่เพียงแต่นอกเวลาเท่านั้นแต่ให้มีประสบการณ์มากมาย” (Price, & Driscoll, 1997, unpaged)
                มีอีกบทความหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ทฤษฎีโครงสร้างทางความคิดกับการอ่านจับใจความสำคัญดังนี้ (Schema Theory, 2010, para.4)
                โครงสร้างทางความคิดได้นิยามทั่วไปหรือระบบความคิดรวบยอดสำหรับการทำ
ความเข้าใจความรู้ ความรู้อะไรที่แสดงออกมาและมันใช้อย่างไร
                จากทฤษฎีนี้ ความรู้หลายอย่าง เป็นตัวแทนความรู้เกี่ยวกับความคิดรวบยอด
สองของและความสัมพันธ์ที่พวกเขามีกับสิ่งอื่น สถานการณ์ เหตุการณ์ ลำดับของเหตุการณ์
การแสดงออก และลำดับของการแสดงออก
                ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ความรู้สำหรับสุนัข ภายในใจความคิดนี้คุณจะมีความรู้ทั่วไปใกล้เคียงกัน (เห่าได้, มี 4 ขา, มี ฟัน ขน หาง) และข้อมูลที่อาจจะเป็นของสุนัขแต่ละตัว เช่น สุนัขเลี้ยงแกะ (collie) (ขนยาว, ตัวใหญ่, แลสซี่) หรือพันธ์สปริงเกอร์สแปเนี่ยล (springer spaniels) (อังกฤษ, หางสั้น. สีแดงและขาวหรือสีขาวและดำ, มิลลี่) คุณอาจจะคิดถึงสุนัขภายใต้บริบทที่สัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สุนัขสามารถหายใจ, ต้องการอาหารและสืบพันธ์ได้ ให้กำเนิดลูกเป็นตัวไม่ได้ออกเป็นไข่ จากประสบการณ์ส่วนตัวความรู้ว่าสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยง ฝึกให้เชื่องได้และซื่อสัตย์ หรือเป็นสัตว์ที่ควรกลัว (ชอบกัดหรือโจมตี) อาจเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางความรู้ของคุณ ประสบการณ์ใหม่นี้รวมกันกับความรู้เดิม ประสบการณ์ใหม่รวมกับข้อมูลที่มากขึ้นภายในสมองของแต่ละคน
                อะไรที่ทั้งหมดควรนำเกี่ยวกับการอ่านจับใจความสำคัญ โครงสร้างทางความรู้เฉพาะบุคคลมีต่อทุกๆ อย่าง ก่อนหน้าที่นักเรียนจะมาโรงเรียน พวกเขาพัฒนาหน่วยของความคิดเกี่ยวกับทุกอย่างที่พวกเขามีประสบการณ์ หน่วยของความคิดแต่ละหน่วยกลายเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความจริง ทฤษฎีเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีผลต่อการแปลข้อมูล ด้วยเหตุนี้จึงมีผลต่อการจับใจความแต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลที่ได้รับ ทั้งที่รูเมลฮาร์ท (Rumelhart, 1980, unpaged)
กล่าวไว้ว่า
                ความรู้ต่างๆ สามารถแทนความรู้ที่ทุกระดับจากการศึกษาระบบความคิดและ
ความจริงทางวัฒนธรรมถึงความหมายของคำเฉพาะ จนถึงความรู้เกี่ยวกับว่า อะไรคือรูปแบบของการกระตุ้น (การเร้า) ที่มีเกี่ยวพันกับตัวอักษรและพยัญชนะ พวกเรามีโครงสร้างทางความคิดที่แทนระดับประสบการณ์ทั้งหมด ที่ทุกระดับของการครุ่นคิด สุดท้าย หน่วยทางความคิดคือความรู้ของเขา ความรู้โดยทั่วไปทั้งหมดของเราถูกเก็บอยู่ในลิ้นชักความคิดของเรา
                ความสำคัญของทฤษฎีโครงสร้างทางความคิดต่อการอ่านจับใจความสำคัญขึ้นอยู่กับว่าผู้อ่านใช้หน่วยของความคิดอย่างไร งานนี้ยังไม่มีการแก้ปัญหาด้วยการวิจัย อย่างไรก็ตาม
ผู้สังเกตเห็นด้วยว่า การกระตุ้นการทำงานเพียงใช้ลิ้นชักความคิดที่ตรงกับประเด็นที่ผู้อ่านต้องการ
                ศิริพร ฉันทานนท์ (2539, ย่อหน้า 3) ได้รูปแบบการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญ
5 องค์ประกอบ คือ
                1. หลักการ
                2. จุดประสงค์
                3. เนื้อหา
                4. กระบวนการเรียนการสอน
                5. การวัดผลและการประเมินผล
                เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการสร้างพื้นความรู้ด้านภาษา ด้านเนื้อหา และด้านโครงสร้างบทอ่านแก่ผู้เรียนในขั้นก่อนการอ่าน และเน้นการเชื่อมโยงพื้นความรู้เข้ากับการอ่านใน
ขั้นการอ่าน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในการอ่านมากขึ้น
                    พุทธชาติ ทองกร (2549, ย่อหน้า 6)ได้แบ่งชนิดของโครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับ
การอ่านไว้
2 ลักษณะ คือ
                1. โครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับรูปแบบ (formal schemata) คือ โครงสร้างของงานเขียนที่เป็นลักษณะต่างๆ กัน เช่น นิทาน บทความ บทกลอน เป็นต้น
                2. โครงสร้างความรู้เดิมเกี่ยวกับเนื้อหา (content schemata) คือ โครงสร้างความรู้เดิมที่เกี่ยวกับเนื้อหาของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
                รูปแบบการสอนทั้งหมดที่กล่าวมาสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการสอนของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2546, หน้า 6-12) มีขั้นตอน ดังนี้
                1. ขั้นทบทวนพื้นฐานความรู้เดิม เป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีมาก่อนกับความรู้ใหม่ที่ครูเป็นผู้ถ่ายทอดให้
                2. ขั้นสอนเนื้อหาใหม่และปฏิบัติกิจกรรม โดยมีการจัดลำดับขั้นตอนการสอน ดังนี้
                   2.1 ผู้สอนอธิบายเนื้อหาและยกตัวอย่างสิ่งที่ต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ หาวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา การลงมือแก้ปัญหาตามวิธีที่คิดไว้ และ
การตรวจสอบความเข้าใจ
                   2.2 ผู้สอนใช้กิจกรรมต่างๆเป็นการยกตัวอย่างการสนทนาตามการทำกิจกรรม
ในใบงานหรือทำงานกลุ่ม หรือทำแบบฝึกหัดเสริมเพื่อสอนเนื้อหาให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ
โดยผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการ
                   2.3 ผู้สอนใช้สื่อการสอน อาจใช้ของจริง รูปภาพ ใบงาน หรือสัญลักษณ์ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน
                3. ขั้นสรุปบทเรียน ให้นักเรียนสรุปเป็นหลักการและสาระเนื้อหาด้วยตนเองจนเกิดความรู้ความเข้าใจ
                4. ขั้นฝึกทักษะจากใบงาน และจากแบบฝึกหัดเสริม เมื่อนักเรียนสรุปเป็นหลักการได้แล้ว นักเรียนจะฝึกทำแบบฝึกหัดจากหนังสือเรียน หรือแบบฝึกหัดที่ผู้สอนสร้างขึ้นจนเกิดความเข้าใจ
             5. ขั้นการนำความรู้ไปใช้ โดยนำความรู้ไปใช้แก้โจทย์ปัญหาในชีวิตประจำวัน นักเรียนจะนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง และทดลองปฏิบัติจากสถานการณ์จำลอง เล่นการแก้โจทย์ปัญหา

                6. ขั้นการประเมินผล เป็นการตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยว่านักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์
การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้านักเรียนยังไม่บรรลุจุดประสงค์ก็จะได้รับการสอนซ่อมเสริมก่อนการเรียนเนื้อหาต่อไป และโดยการสังเกตพฤติกรรม ของนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรมการตอบคำถาม การทำแบบฝึกหัด และการตรวจแบบฝึกหัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น