วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (6)

2.  การสอนตามสารบัญทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
                ลักษณะการสอนของ ไดรเวอร์และโอล์แฮม (Driver, & Oldham, 1986, unpaged) ประกอบด้วย
                1. ขั้นนำ (orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจใน
การเรียนบทเรียน
                2. ขั้นล้วงความคิด (elicitation) เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน วิธีการให้ผู้เรียนแสดงออก อาจทำได้โยการอภิปรายกลุ่ม การให้ผู้เรียนออกแบบโปสเตอร์ หรือการให้ผู้เรียนเขียนเพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่
                3. ขั้นปรับเปลี่ยนแนวความคิด (tunning restructuring of ideas) นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญของบทเรียนแบบพัฒนาการทางสติปัญญา ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
                    3.1  การทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยนความคิด (clarification and exchange of ideas) ผู้เรียนจะเข้าใจได้ดีขึ้น เมื่อได้พิจารณาความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างความคิดของตนเองกับของคนอื่น
                    3.2  สร้างความคิดแบบใหม่ (construction of new ideas) จากการอภิปรายและ
การสาธิต ผู้เรียนจะเห็นแนวทาง รูปแบบ วิธีการที่หลากหลายในการตีความปรกฏการณ์หรือเหตุการณ์แล้วกำหนดความคิดใหม่
                    3.3  ประเมินความคิดใหม่ (evaluation of the new ideas) โดยการทดลองหรือ
การคิดอย่างลึกซึ้ง ผู้เรียนควรหาแนวทางที่ดีที่สุดในการทดสอบความคิด ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนอาจจะรู้สึกไม่พึงพอใจความคิดความเข้าใจที่เคยมีอยู่ เนื่องจากหลักฐานการทดลองสนับสนุนแนวคิดใหม่มากกว่า
                4. ขั้นนำความคิดไปใช้ (application of ideas) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจพัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย
                5. ขั้นทบทวน (review) เป็นขั้นสุดท้าย ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่า ความคิดความเข้าใจของเขาได้เปลี่ยนไป โดยการเปรียบเทียบความคิดเมื่อเริ่มต้นบทเรียนกับความคิดของเมื่อตอนสิ้นสุด
                ไดรเวอร์, และโอล์แฮม (Driver, & Oldham, 1986, unpaged) เน้นว่า ผู้เรียนควรจะเรียนเนื้อหาสาระไปพร้อมกับการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้
                การสอนตามแนวพัฒนาการทางสติปัญญา เน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนและความสำคัญของความรู้เดิม ไดรเวอร์, และเบลล์ (Driver, & Bell, 1986, unpaged) ได้สรุปแนวคิดการเรียนรู้ตามแนวพัฒนาการทางสติปัญญา ว่ามีลักษณะดังนี้
                1. ผลลัพธ์ (outcomes) ของการเรียนรู้ ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของผู้เรียนด้วย
                2. การเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการสร้างความหมาย (construction of meanings) ผู้เรียนตีความสิ่งต่างๆ จากความรู้เดิมที่มีอยู่มากกว่าการรับฟังจากคนอื่น
                3. การสร้างความหมายเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง และเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (active learning)
                4. ความหมายที่สร้างขึ้น เมื่อประเมินแล้วอาจเป็นที่ยอมรับหรือไม่เป็นที่ยอมรับก็ได้
                5. ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียนรู้
               3.  ลักษณะของผู้สอนตามแบบพัฒนาการทางสติปัญญา
                สถาบันทางการศึกษารีช (Reich College of Education, 2006, para. 1-5) ได้กล่าวถึงลักษณะของผู้สอนตามแบบพัฒนาการทางสติปัญญา (constructivist) ไว้ดังต่อไปนี้
                1. พิจารณาตัวคุณเอง ผู้เรียน แล้วร่วมกันเรียนในการหาความรู้ใหม่
                2. ส่งเสริมโครงสร้างทางความรู้ ผ่านประสบการณ์ พัฒนาการทางการคิด โดย
การสร้างสรรค์โอกาสการทำงานที่หลากหลายแก่ผู้เรียน
                3. สร้างกฎเกณฑ์สิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่ เกื้อหนุนการแสดงออกร่วมกันของผู้เรียน สื่อและความคิด
                4. นำทฤษฎีต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน และฝึกหัดโดยการติดตามปัญหา
ซึ่งเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย โรงเรียน ประสบการณ์การทำงานภาคสนามผ่านการสำรวจและจากผลสะท้อนกลับ
                5. ศูนย์กลางการเรียนรู้ และการสอนขึ้นกับปัญหาที่จำเป็นขณะนั้นซึ่งผู้สอนและผู้เรียนได้ร่วมกันคิด
                6. ออกแบบประสบการณ์ที่ขยายกว้าง สร้างประสบการณ์แบบมืออาชีพและเชื้อเชิญให้ประเมินแหล่งที่เกิดในสิ่งที่หาข้อพิสูจน์ไม่ได้
                7. ส่งเสริมการเรียนรู้ การหาทางออกอย่างมีสังคมสนับสนุน โดยการตรากตรำการทำงานต่างๆ ร่วมกันกับเพื่อนและครู โดยการสร้างแนวทางการสื่อสารที่หลากหลาย
                8. ให้มีการสะท้อนเกิดขึ้นได้ โอกาสที่จะสะท้อนสิ่งที่หาข้อพิสูจน์ไม่ได้ในปัจจุบันของใครคนหนึ่งในแนวทางของความเป็นจริงอันนำไปสู่การเติบโตอย่างมืออาชีพ
                9. ปรับเปลี่ยนบทเรียนและคำสั่งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
                10. ให้การยอมรับและส่งเสริมหลายจุดที่ผู้เรียนได้ประเมินไว้

                11. ประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง และตามที่สอนมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น