วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

            การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบความสามารถและเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี
กับทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ มีรายละเอียดผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
            ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้สัญลักษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
            n           แทน         จำนวนนักเรียน
                     แทน         ค่าเฉลี่ย
            S.D.       แทน         ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
            t            แทน         ค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบค่า ที (t-test)
            P           แทน         ค่า p-value หรือค่า sig. 2-tails
            *           แทน         การมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
               การวิเคราะห์ข้อมูลหลังการทดลองผลปรากฏ ดังนี้
          1. เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนที่ได้รับการสอนตาม ทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของ
ไวก็อตสกี ดังตาราง 10

ตาราง 10   การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
              ปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี ระหว่าง
              ก่อนเรียนและหลังเรียน

กลุ่มทดลอง
n
S.D.
t
P
ก่อนเรียน
48
21.54
6.65
3.912
.000*
หลังเรียน
48
25.17
5.83
* P .05
            จากตาราง 10 พบว่า  ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่
3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2. เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่าง
ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ ดังตาราง 11

ตาราง 11   การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
              ปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

กลุ่มทดลอง
n
S.D.
t
P
ก่อนเรียน
47
21.79
4.42
6.234
.000*
หลังเรียน
47
26.68
5.20
* P .05

            จากตาราง 11  พบว่า  ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

            3. เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี กับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
ดังตาราง
12

ตาราง 12   การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับ
              การ          สอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี กับการสอนตามทฤษฎี       โครงสร้างทางความรู้

กลุ่มทดลอง
n
S.D.
t
P
การสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี
48
25.17
5.83
1.408
.166
การสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
47
26.68
5.20

* P .05
            จากตาราง 12 พบว่าความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกีกับความสามารถในการอ่านของนักเรียนที่ได้รับการสอนตาม ทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ ไม่แตกต่างกัน
           
            4. เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี กับทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
  ดังตาราง 13-15

ตาราง 13   เจตคติที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอน   ตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี

รายการประเมิน
S.D.
แปลผล
1. นักเรียนมีความสุขกับการอ่านภาษาอังกฤษ
3.84
0.74
มาก
2. นักเรียนชอบการสอนตามทฤษฎีนี้มาก
3.31
0.82
ปานกลาง
3. นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนรู้ครั้งนี้สามารถนำไป
    ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.69
0.99
มาก
4. การเรียนการสอนช่วยให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นใน
    การใช้อ่าน
3.51
1.03
มาก
5. นักเรียนสามารถอ่านจับใจความและรู้คำศัพท์มากขึ้น
3.76
0.96
มาก
6. นักเรียนรู้สึกพึงพอใจในการสอนอ่านของอาจารย์
3.62
0.89
มาก
7. นักเรียนคิดว่าการอ่านภาษาอังกฤษจะเป็นประโยชน์
    ต่อนักเรียนในภายภาคหน้า
4.40
0.75
มาก
8. นักเรียนอยากอ่านภาษาอังกฤษให้เก่ง
4.29
0.94
มาก
9. นักเรียนคิดว่าการเรียนคำศัพท์ ภาษาอังกฤษมี
    ประโยชน์ต่อการอ่านภาษาอังกฤษ
4.51
0.66
มากที่สุด
10. นักเรียนคิดว่าการอ่านภาษาอังกฤษมีประโยชน์
      ในชีวิตประจำวันของนักเรียน
4.60
0.58
มากที่สุด
รวมเฉลี่ย
3.79
0.47
มาก

            จากตาราง 13 พบว่า โดยภาพรวมแล้วนักเรียนที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรม ของไวก็อตสกี มีเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษในระดับมาก ( = 3.79) โดยนักเรียนคิดว่าการอ่านภาษาอังกฤษมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันของนักเรียนมากที่สุด (= 4.60) รองลงมาคือ นักเรียนคิดว่า การเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อการอ่านภาษาอังกฤษ  (=  4.51) และสุดท้าย นักเรียนคิดว่าการเรียนภาษาอังกฤษจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในภายภาคหน้า
( = 4.40)

ตาราง 14   เจตคติที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอน   ตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้

 รายการประเมิน
S.D.
แปลผล
1. นักเรียนมีความสุขกับการอ่านภาษาอังกฤษ
3.81
0.82
มาก
2. นักเรียนชอบการสอนตามทฤษฎีนี้มาก
3.42
0.82
ปานกลาง
3. นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนรู้ครั้งนี้สามารถนำไป
    ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.67
0.78
มาก
4. การเรียนการสอนช่วยให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่น
    ในการใช้อ่าน
3.63
0.76
มาก
5. นักเรียนสามารถอ่านจับใจความและรู้คำศัพท์
    มากขึ้น
3.84
0.78
มาก
6. นักเรียนรู้สึกพึงพอใจในการสอนอ่านของอาจารย์
3.70
0.77
มาก
7. นักเรียนคิดว่าการอ่านภาษาอังกฤษจะเป็น
    ประโยชน์ต่อนักเรียนในภายภาคหน้า
4.21
0.80
มาก

8. นักเรียนอยากอ่านภาษาอังกฤษให้เก่ง
4.42
0.82
มาก
9. นักเรียนคิดว่าการเรียนคำศัพท์ ภาษาอังกฤษมี
    ประโยชน์ต่อการอ่านภาษาอังกฤษ

4.40

0.79

มาก
10. นักเรียนคิดว่าการอ่านภาษาอังกฤษมีประโยชน์
     ในชีวิตประจำวันของนักเรียน
4.26
0.79
มาก
รวมเฉลี่ย
3.87
0.34
มาก

            จากตาราง 14  พบว่า  นักเรียนที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก (= 3.86) โดยที่นักเรียนอยากเรียนให้เก่งมากที่สุด (= 4.42) รองลงมาคือ นักเรียนคิดว่าการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อการอ่าน ภาษาอังกฤษ (= 4.40) และลำดับต่อมานักเรียนคิดว่าการอ่านภาษาอังกฤษมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันของนักเรียน (= 4.26)


ตาราง 15   เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎี       เชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกีกับทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้

กลุ่มทดลอง
n
S.D.
t
P
การสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรม
ของไวก็อตสกี

48

3.79

0.47

1.446

.172
การสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
47
3.87
0.34

* P .05


            จากตาราง 15  พบว่า  เจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกีกับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ ไม่แตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น