วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทคัดย่อ ภาษาไทย

หัวข้อวิทยานิพนธ์        การเปรียบเทียบความสามารถและเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคม
และวัฒนธรรมของไวก็อตสกีกับทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
อาจารย์ที่ปรึกษา         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประทุม ศรีรักษา
                             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิไล ทองแผ่
ชื่อนักศึกษา               ปิลันธร มั่นพันธ์พาณิชย์
สาขาวิชา                  หลักสูตรและการสอน
ปีการศึกษา               2554

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคม และวัฒนธรรมของไวก็อตสกี 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
3
) ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี กับการสอนโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ 4) เจตคติที่มีต่อ
การอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 ที่ได้รับการสอน ตามทฤษฎีเชิงสังคมและ วัฒนธรรมของไวก็อตสกี กับทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 95 คน ปีการศึกษา 2554 ภาคเรียนที่ 2โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลาก 2 ห้อง จาก 5 ห้องเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3/4 จำนวน 48 คน ได้รับการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี
และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 47 คน ได้รับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามวิธีการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคม
และวัฒนธรรมของไวก็อตสกี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามวิธีการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ 3) แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ (ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.880)
และ 4)
แบบสอบถามเจตคติในการอ่านภาษาอังกฤษ (ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.844) วิเคราะห์ข้อมูล
โดยหาค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการทดสอบที(t-test)
            ผลการวิจัยพบว่า
            1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับ
การสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ
.05
            2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับ
การสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ
.05
            3. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับ
การสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกีและนักเรียนที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ไม่แตกต่างกัน
            4. เจตคติที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอน
ตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกีและนักเรียนที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ ไม่แตกต่างกัน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น