วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

เอกสาร (18)

2.  งานวิจัยต่างประเทศ
                วูด (Wood, 1983, abstract) ได้ศึกษาทฤษฎีของไวก๊อตสกี้ เปรียบเทียบกับของ แคนท์, โคเลอริดจ์, ริชาร์ด, ดิวอี้และโรเซนแบลต (Kant, Coleridge, Richards, Dewey and Rosenblat) พบว่าศิลปะทางจิตวิทยาที่ศึกษาของไวก๊อตสกี้ตามทฤษฎีนั้นมีความสัมพันธ์กับภาษา สังคม และจิตใจ
                ฟลอเรนซิโอ้ (Florencio, 2004, abstract) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทีมีอยู่ก่อนแล้วในการอ่านจับใจความสำคัญของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่เป็นชาวบราซิลและชาวอเมริกัน ได้กล่าวว่าทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้นั้นเน้นที่การอ่านจับใจความสำคัญโดยที่ผู้อ่านและข้อความมีการโต้ตอบกันไปมา ซึ่งจากการศึกษาพบว่าความรู้ที่มีอยู่ก่อนแล้วมีความสำคัญกับนักศึกษาทั้งสองชาติและจากการศึกษาพบว่าการแสดงละครสั้นๆ เกี่ยวกับความรู้เดิมที่มีต่อการเรียนบทอ่านก็มีความสำคัญ ซึ่งจากการพบในผู้เรียน EFL (English as a Foreign Language) สามารถนำไปใช้กับผู้เรียน ESL (English as a Second Language) ได้ด้วยในโอกาสหน้า
                วิลคอกซ์ (Wilcox, 2005, abstract) ได้ศึกษาวิธีการที่ผู้สอนและผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองในด้านที่ครอบคลุมวัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม และวิถีชีวิต พบว่า 1) ผู้สอนและผู้เรียนเข้าใจตรงกันในด้านความเชื่อทางวัฒนธรรม ค่านิยม และวิถีชีวิต ว่ามีความสำคัญกับการเรียนการสอนภาษาที่สอง แต่ยังคลุมเครือและเข้าใจผิดในความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมและภาษา 2) ในกรณีนี้ผู้สอนและผู้เรียนพยายามแสดงความเห็นและวิธีการที่จะพูดคุยถึงสิงเหล่านี้ 3) พบว่าผู้เรียนบางคน สามารถนำเสนอความคิดเรื่องเหล่านี้ได้ในห้องเรียน ในขณะที่บางคนไม่สามารถนำเสนอความคิดภายในห้องเรียนได้ 4) ผู้สอนไม่แน่ใจว่าบทบาทในการพูดคุยถึงเรื่องวัฒนธรรมและภาษาในห้องเรียนนั้น จะสอดแทรกมุมมองทางวัฒนธรรมดีหรือไม่
                เรย์ส (Reyes, 2005, abstract) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบพัฒนาการทางความคิดและทักษะทางสังคมระหว่างผู้เรียน 2 กลุ่มที่มีประสบการณ์ด้านภาษาต่างกัน โดยมีเด็กอายุระหว่าง 5-8 ปี 1 กลุ่ม และ อายุ 8-11 ปี อีก 1 กลุ่ม พบว่า ผลสอดคล้องกับทฤษฎีของไวก๊อตสกี้และเดนแฮมในเรื่องพัฒนาการทางการคิดและทักษะทางสังคม
                ชู (Hsu, 2005, abstract) ได้ค้นคว้าความหมายทางเทคโนโลยีโดยใช้ทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมพบว่าความรู้ในสิ่งที่ได้เรียนมากับประสบการณ์ตรงมาบรรจบกันภายใต้สถานการณ์ที่เรียกว่า ZPD และเกิดเป็นความคิดรวบยอดอันใหม่ขึ้นมา
                โคบายาชิ (Kobayashi, 2005, abstract) ได้ศึกษางานภาษาที่ 2 ตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรม โดยใช้กิจกรรม ตัวแทน และภาษาทางสังคม พบว่า การสอนในรูปแบบเชิงสังคมและวัฒนธรรมส่งเสริมให้เกิดการแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน อีกทั้งส่งเสริมความกลมเกลียวกันภายในกลุ่ม
                เจมส์ (James, 2005, abstract) ได้ศึกษาสิ่งที่เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นทางการ (ภายนอกห้องเรียน เช่น ในการเล่น, การสื่อสารในชีวิตประจำวัน) เพื่อทำความเข้าใจว่า เด็กจะบูรณาการประสบการณ์อย่างไร พบว่าผลสะท้อนได้สอดคล้องกับทฤษฎีของไวก็อตสกีว่าสังคมและวัฒนธรรมของเด็กแต่ละคน แต่ละสถานการณ์ สะท้อนว่าเด็กจะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับ
การสอนภายใต้สิงแวดล้อมที่ไม่เป็นทางการ
                แพน (Pan, 2006, abstract) ได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ กลวิธีอภิปัญญญาและการจัดวางรูปแบบของภาพต่างๆ ในการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษาในไต้หวัน เพื่อสำรวจกลวิธีการอ่านของนักศึกษาชาวไต้หวัน
ซึ่งมี 4 จุดประสงค์คือ เพื่อสังเกตว่านักศึกษาสามารถนำความรู้ที่มีอยู่ก่อนแล้วมาใช้ในการอ่านเพื่อจับใจความได้หรือไม่ เพื่อเปรียบเทียบการสอนแบบแปลตามหลักไวยากรณ์กับการสอนแบบอ่านแล้วโต้ตอบกัน (จากรายละเอียดไปสู่หัวข้อเรื่อง) เพื่อระบุว่าวิธีการเรียนอ่านแบบใดที่นักศึกษาในไต้หวันชอบใช้มากกว่ากัน และเพื่อหาความสัมพันธ์ของการใช้ความรู้เดิม การอ่านที่มีประสิทธิภาพ
รูปภาพประกอบ กลวิธีอภิปัญญาในการอ่าน และการอ่านจับใจความสำคัญเพื่อที่จะเลือกใช้
สื่อการเรียนการสอนให้ถูกต้อง
                มอร์ริส (Morris, 2006, abstract) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับไวยากรณ์โดยวิธีการสำรวจตรวจสอบ บูรณาการและ คอนสตรักติวิสต์ สู่การเรียนการสอนแบบส่วนย่อย เป็นการศึกษาการสอนไวยากรณ์กับการสอนเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จากการศึกษาพบความสำคัญของสังคมและความคิด การสังเคราะห์และทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ในการเรียนรู้ทางไวยากรณ์
แล้วผู้เขียนได้นำสัญลักษณ์ที่ได้ต่างๆ มาปรึกษาหารือกันออกมาเป็นผลงานการเขียนของตน
                ยูฮุย และคนอื่นๆ (Yu-hui, et al., 2010, abstract) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการนำทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้มาประยุกต์ใช้ในการสอนอ่านภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษาซึ่งได้ทำการเสนอรูปแบบการสอนไว้ 3 รูปแบบคือ รูปแบบจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน และ รูปแบบที่ใช้การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งก่อให้เกิดลักษณะการสอนที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ
                วิธีการสอนโดยใช้ทฤษฎีเชองสังคมและวัฒนธรรมของ (Vygotsky) ซึ่งมีวิธีการสอนมาจากเอกสารและงานวิจัยของ ชินะพัฒน์ ชื่นแดชุ่ม (2542), เบอร์ก, และวินสเลอร์ (Berk, & Winsler, 1995), แฮมิลตัน, และแกททาลา (Hamilton, & Ghatala, 1994), ทินซ์แมน และคนอื่น ๆ (Tinzman,  et al., 1990), วูด, บรูนเนอร์, และรอสส์ (Wood, Bruner, & Ross, 1976), เวบสเตอร์, เบเวอริดจ์, และรีส (Webster, Beveridge, & Reed, 1996), สถาบันทางการศึกษารีช (Reich College of Education, 2006) และ เวลส์ (Wells, 1999) โดยสรุปมีขั้นตอนการสอน 8 ขั้น ดังนี้
                ขั้นที่ 1 การเชิญชวนให้เข้าร่วมและจัดระบบการทำงาน ทบทวนความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานและพิจารณาอย่างรอบคอบ
                ขั้นที่ 2 การให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีความหมายกับผู้เรียนหรือตรงตามปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนขณะนั้น
                ขั้นที่ 3 การสร้างความเข้าใจร่วมกันและวิเคราะห์งานหรือทำให้ผู้เรียนเข้าใจงานอย่างชัดเจนและทำให้งานดูง่ายขึ้น
                ขั้นที่ 4 การยืดหยุ่นให้ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของการมีส่วนร่วมได้ตามความสนใจของเขา
                ขั้นที่ 5 ส่งเสริมการกำกับตนเองของผู้เรียน ให้สามารถควบคุมการทำงานของตนเองได้อย่างเป็นระบบ
                ขั้นที่ 6 การสื่อความเข้าใจผ่านการเขียนหรือพิมพ์งาน
                ขั้นที่ 7 สรุปงาน สรุปบทเรียนที่เรียนมา และสรุปคำสั่งทุกครั้งที่มีการมอบหมายภาระงานให้ทำ
                ขั้นที่ 8 ประเมินเชิงรุก (dynamic assessment) ประเมินโดยใช้การประเมินที่มีความยืดหยุ่นไปตามบทเรียน สภาพตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
                วิธีการสอนโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ ซึ่งมีวิธีการสอนที่สังเคราะห์มาจากเอกสารและงานวิจัยของ ศิริพร ฉันทานนท์ (2539), พุทธชาติ ทองกร (2549), สถาบันส่งเสริม
การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(2546), แอนเดอร์สัน (Anderson, 1984), อาร์มบรัสเตอร์
(Armbruster, 1996), ไพรซ์, และดริสคอล (Price, & Driscoll, 1997) และวิดเมเยอร์ (Widmayer, 2010) ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
                ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนพื้นฐานความรู้เดิม เป็นการสอนทบทวนประสบการณ์หรือเรื่องที่เคยเรียนรู้มาแล้ว
                ขั้นที่ 2 ขั้นสอนเนื้อหาใหม่และปฏิบัติกิจกรรม เป็นการให้ป้อนข้อมูลใหม่เข้าไปแล้วให้นักเรียนลองปฏิบัติกิจกรรมโดยร่วมกันทำกับเพื่อนและผู้สอน
                ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปบทเรียน ผู้สอนทำการสรุปเนื้อหาให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น
             ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกทักษะจากใบงาน และจากแบบฝึกหัดเสริม เป็นการทำใบงาน แบบฝึกหัดด้วยตนเอง
                ขั้นที่ 5 ขั้นการนำความรู้ไปใช้ ทำการทดสอบหลังจาผ่านไปแล้วทั้ง 4 ขั้นตอน
                ขั้นที่ 6 ขั้นการประเมินผลนำผลการทดสอบและผลการฝึกความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ มาประเมินผลการเรียนรู้
                จากเอกสารและงานวิจัยที่ศึกษามาทั้งหมด กล่าวได้ว่า ผู้วิจัยได้ทำการทดลองตามวิธีการสอนโดยใช้ทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมทั้ง 8 ขั้นตอน และวิธีการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ 6 ขั้นตอน ดังได้กล่าวมาแล้ว ใช้แบบทดสอบความสามารถทางการอ่านจากแบบทดสอบที่ได้แนวคิดมาจากอัจฉรา วงศ์โสธร และใช้แบบวัดเจตคติชนิดรายงานตนเอง ของลิเคอร์ท
(Likert’ scales)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น