วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (8)

5.  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการและการเรียนรู้
                ไวก๊อตสกีได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการกับการเรียนรู้ใน
2 ประเด็น คือ ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการกับการเรียนรู้ และความสัมพันธ์เฉพาะเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียน (ชินะพัฒน์ ชื่นแดชุ่ม, 2542, หน้า 32
; Vygotsky, 1978, p.84)
                เบอร์กและวินส์เลอร์ (Berk, & Winsler, 1995, pp.100-101) อธิบายความสัมพันธ์โดยรวมระหว่างพัฒนาการและการเรียนรู้ตามแนวคิดของไวก๊อตสกี้ว่า การเรียนรู้ไม่แยกออกจากพัฒนาการต่ำไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพัฒนาการ การเรียนรู้มีพัฒนาการเป็นพื้นฐาน แสดงบทบาทหลักในพัฒนาการและยกระดับพัฒนาการให้สูงขึ้น
                ไวก๊อตสกี้ให้แนวคิดว่า พัฒนาการทางสติปัญญารวมทั้งการเรียนรู้ที่ดูได้จากปัญหาที่สามารถแก้ได้ จะเพิ่มพูนขึ้นในช่วงแห่งประสบการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเคลื่อนไหว (dynamic) และตื่นตัว (sensitive) แนวคิดนี้เรียกว่า แนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ (zone of proximal development หรือ ZPD) (ชินะพัฒน์ ชื่นแดชุ่ม, 2542, หน้า 33; Berk, & Winsler, 1995, p.26; Gilbert, & Dabbagh, 2005, p.11) หรือขอบเขตของการเพิ่มพูนพัฒนาการ (zone of next development) (ชินะพัฒน์ ชื่นแดชุ่ม, 2542, หน้า 33; Gredler, 1997, p.256; Sutton, 1998, p.73)
                ไวก๊อตสกี้ได้ให้นิยามของแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ว่า หมายถึง ขอบเขตของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นช่วงห่างระหว่างระดับพัฒนาการทางสติปัญญาที่เป็นอยู่ หรือความรู้ความสามารถเดิมที่ดูได้จากปัญหาที่แก้ได้ด้วยตนเอง กับระดับศักยภาพของพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดูได้จากปัญหาที่แก้ได้ด้วยตนเองไม่ได้แต่อาจแก้ได้ถ้าได้รับคำแนะนำ (guidance) และการร่วมงาน (collaboration) กับผู้ใหญ่ และเพื่อนวัยเดียวกันที่มีความสามารถมากกว่า
(ชินะพัฒน์ ชื่นแดชุ่ม, 2542, หน้า 33; Vygotsky, 1978, p.86) ซึ่งจะทำให้พัฒนาการทางสติปัญญาหรือความรู้ความสามารถของเด็กเพิ่มพูนขึ้นและแก้ปัญหานั้นได้ด้วยตนเองในเวลาต่อไปนี้
                หรืออาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดที่เด็กสามารถทำได้ด้วยความช่วยเหลือในวันนี้ เด็กจะสามารถทำได้ด้วยตนเองในวันหน้า (ชินะพัฒน์ ชื่นแดชุ่ม, 2542, หน้า 33; Vygotsky, 1978, p.87)
                ในแดบแบกห์กล่าวว่า ช่วงเวลาระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นไปได้ ดังเช่น
การแก้ปัญหาโดยอิสระคนเดียวของผู้ใหญ่หรือในการเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนอย่างเหมาะสม หรือทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆ ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จด้วยตัวเองคนเดียว สะพานเชื่อมของแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้
(ZPD) คือ ช่องว่างระหว่างสิ่งที่เรารู้และสิ่งที่เราสามารถจะเรียนรู้ร่วมกันได้ ซึ่งไวก๊อตสกี้อ้างว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นในช่วงนั้น (Vygotsky, 1978, unpaged; Gilbert, & Dabbagh, 2005, p.12)
                ดังนั้นไวก๊อตสกี้จะเน้นที่การเชื่อมต่อกันระหว่างผู้คนและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม
ซึ่งพวกเขากระทำและโต้ตอบกันในการแบ่งประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน
(Crawford, 1996, unpaged) กล่าวได้ว่า มนุษย์ใช้เครื่องมือซึ่งพัฒนาจากวัฒนธรรม เช่น คำพูด, การเขียน
เพื่อหาทางออกร่วมกันในสภาพแวดล้อมทางสังคม เริ่มแรกที่พัฒนาการของเด็ก เครื่องมือเหล่านี้ถูกใช้เสมือนหน้าที่ทางสังคมที่จำเป็นต้องสื่อสาร ไวก๊อตสกี้เชื่อว่า การแลกเปลี่ยนระหว่างกันโดยเครื่องมือเหล่านี้นำไปสู่ทักษะการคิดที่สูงขึ้น เมื่อเพียเจท์สังเกตเด็กเล็กๆ ที่สนใจในการพูดคุยกับตัวเองในขั้น เริ่มปฏิบัติการ (preoperational stage) เขาเชื่อว่า มันจะเป็นวลีที่หายไปเมื่อเด็กเข้าสู่ขั้นคิดเป็นรูปธรรม (concrete operations) ในทางกลับกัน ไวก๊อตสกี้แสดงให้เห็นว่าการพูดคุยกับตัวเองเปรียบเสมือนตัวเชื่อมความเปลี่ยนแปลงจากการพูดคุยในสังคมสู่ความคิดอันเป็นสากล (Driscoll, 1994, unpaged; Gilbert, & Dabbagh, 2005, para.3) ด้วยเหตุนี้ ไวก๊อตสกี้เชื่อว่า ความคิดและภาษาไม่สามารถมีอยู่โดยปราศจากกันและกันได้ (Gilbert, & Dabbagh, 2005, p.5)
                เฮดเดการ์ด (Hedegard, 1996, p.175) ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด
การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้กับการศึกษาว่า แนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ อาจมองได้ว่า เป็นลักษณะเฉพาะของการกระทำกิจกรรมที่แน่นอนอย่างหนึ่ง ซึ่งสำหรับนักเรียนแล้วกิจกรรมนี้คือการเรียนการสอนนั่นเอง (ชินะพัฒน์ ชื่นแดชุ่ม, 2542, หน้า 33)
                ไวก๊อตสกี้เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงทางกระบวนการคิดที่เกิดภายใต้ ช่วงเวลาที่สามารถพัฒนาได้ (ZPD) นั้น การสอนควรออกแบบเพื่อให้เข้าถึงระดับพัฒนาการซึ่งเหนือกว่าระดับพัฒนาการในปัจจุบัน ไวก๊อตสกี้ยืนยันว่า การเรียนรู้ที่มีการสอนเพื่อระดับพัฒนาการเฉพาะที่เรียนไปถึงแล้ว มันไม่มีผลต่อมุมมองของเด็กเพียงหนึ่งคน กล่าวคือ พัฒนาการทั้งหมดมันไม่ใช่จุดหมายสำหรับกระบวนการพัฒนาขั้นใหม่แต่ช้ากว่ากระบวนการนี้ (Vygotsky, 1978, unpaged; Gilbert, & Dabbagh, 2005, p.18)

                ความเหมาะสมที่จำเป็นสำหรับพัฒนากระบวนการคิด ภายในช่วงเวลาที่สามารถพัฒนาได้ (ZPD) ความสนใจส่วนตัวในการทำงานร่วมกันหรือครูเป็นผู้แนะแนวต้องมองหาจุดร่วมกันเพื่อเข้าถึงจุดที่สามารถพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ ตามที่ฮาสฟาเธอร์ (Hasfather, 1996, unpaged) กล่าวว่า ความสนใจร่วมกันแก้ปัญหาจำเป็นต้องสร้างกระบวนการพัฒนาการทางความคิด สังคม และการแลกเปลี่ยนทางอารมณ์ ดังนั้นมันจำเป็นที่ผู้ร่วมงานจะมีระดับพัฒนาการที่แตกต่างกันและคนที่อยู่ในระดับสูงกว่าจะหวาดระแวงคนที่ระดับต่ำกว่า ถ้าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นหรือใครคนหนึ่งคนใดทำอยู่คนเดียว การโต้ตอบกันก็จะประสบผลน้อยลง (Driscoll, 1994, unpaged; Hausfather, 1996, unpaged; Gilbert, & Dabbagh, 2005, p.12)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น