บทที่
3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 โดยวิธีการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี (sociocultural) และทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ (Schema Theory) ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจะดำเนินการตามประเด็น ดังนี้
ปีที่ 3 โดยวิธีการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี (sociocultural) และทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ (Schema Theory) ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจะดำเนินการตามประเด็น ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างและตรวจคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร หรือแหล่งข้อมูลที่จะศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน
นักเรียนทั้งหมด 95 คน
ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ 2
ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ 2
2.
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2554 ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ด้วยการจับสลาก 2 กลุ่ม
เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองลำดับที่ 1 และ
2 ดังนี้
2.1 สุ่มห้องเรียนด้วนการสุ่มแบบง่ายได้
2 ห้องเรียนจาก 5 ห้องเรียน
2.2 สุ่มนักเรียนจากห้องเรียนที่สุ่มไว้ทั้ง
2 ห้อง
2.3 สุ่มวิธีสอนให้กับห้องเรียนเพื่อเป็นกลุ่มทดลองลำดับที่
1 และ 2 ได้
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 เป็นกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ได้รับการสอนตามเชิงสังคมและวัฒนธรรมของ
ไวก็อตสกี มีนักเรียนจำนวน 48 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 เป็นกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ได้รับ
การสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ มีนักเรียนจำนวน 47 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 เป็นกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ได้รับการสอนตามเชิงสังคมและวัฒนธรรมของ
ไวก็อตสกี มีนักเรียนจำนวน 48 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 เป็นกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ได้รับ
การสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ มีนักเรียนจำนวน 47 คน
3. เนื้อหาที่ใช้ทำการสอน คือ เนื้อหาการอ่านจากหนังสือ Super Goal ตั้งแต่บทที่1-12
นอกจากนี้ยังศึกษาและคัดเลือกเนื้อหาการอ่าน จากเนื้อหาจริงที่พบในชีวิตประจำวัน
เช่น ข่าว การสนทนาต่างๆ
4. ระยะเวลาในการทดลอง ระยะเวลาในการทดลอง
ในแต่ละห้องสอน สัปดาห์ละ
2 คาบๆ ละ 50 นาที 4 สัปดาห์ รวม 8 คาบ ทดสอบก่อนเรียน ห้องละ 1 คาบ และทดสอบหลังเรียน ห้องละ 1 คาบ รวม 10 คาบ/ห้อง
2 คาบๆ ละ 50 นาที 4 สัปดาห์ รวม 8 คาบ ทดสอบก่อนเรียน ห้องละ 1 คาบ และทดสอบหลังเรียน ห้องละ 1 คาบ รวม 10 คาบ/ห้อง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
มี 4
รายการ คือ
1.
แผนจัดการเรียนรู้ตามวิธีการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี 2. แผนการจัดการเรียนรู้ตามวิธีการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
3.
แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ
4.
แบบสอบถามเจตคติในการอ่านภาษาอังกฤษ
การสร้างและตรวจคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.
แผนจัดการเรียนรู้ตามวิธีการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี และแผนการจัดการเรียนรู้ตามวิธีการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกี
จำนวน 8 แผน และเขียนแผน
การจัดการเรียนรู้ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
จำนวน 8 แผน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
การจัดการเรียนรู้ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
จำนวน 8 แผน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พุทธศักราช 2551 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง เลือกมาเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3
1.2 ศึกษาวิธีการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ด้านความสามารถในการอ่านจากหนังสือวิธีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศของ
สุมิตรา อังวัฒนกุล (2540) และศึกษาวิธี
การสอนตามทฤษฎีการสอนเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกีเพื่อขั้นตอนในการสร้างแผน
การจัดการเรียนรู้
การสอนตามทฤษฎีการสอนเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกีเพื่อขั้นตอนในการสร้างแผน
การจัดการเรียนรู้
1.3 ศึกษาและคัดเลือกเนื้อหาการอ่านจากหนังสือ Super Goal ตั้งแต่บทที่ 1-12
นอกจากนี้ยังศึกษาและคัดเลือกเนื้อหาการอ่าน จากเนื้อหาจริงที่พบในชีวิตประจำวัน
เช่น ข่าว
การสนทนาต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการสอน
การสนทนาต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการสอน
1.4 ศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่คัดเลือกมาในแต่ละเรื่องก่อนการสร้างแผน
การจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้
1.5
วิเคราะห์ระดับของจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ เพื่อกำหนดวิธีการวัด
และประเมินผลรวมทั้งประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล
และประเมินผลรวมทั้งประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล
1.6 สรุปการวิเคราะห์และการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
มีจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา พฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และเกณฑ์ในการวัดและประเมินผล
1.7
นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมและตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ประกอบการสอนภาษาอังกฤษ
โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยจำนวน 8
คาบ ๆ ละ 50 นาที ซึ่งประกอบไปด้วย
1.7.1 แผนการจัดการเรียนรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้
จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยที่ 1 มี 3 คาบ หน่วยที่ 2 มี 3
คาบ และหน่วยที่ 3 มี 2 คาบ
-
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
-
สาระสำคัญ
-
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกีและทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้และทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
-
สื่อ
-
การวัดและประเมินผล
-
บันทึกผลหลังการสอน
1.7.2
แผนการเรียนรู้ประจำคาบเวลาคาบละ 50 นาที ประกอบด้วย
-
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
-
สาระสำคัญ
-
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมของไวก็อตสกีและตามทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
-
สื่อ
-
การวัดและประเมินผล
-
บันทึกผลหลังการสอน
1.8 เมื่อสร้างแผนการสอนแล้ว
ผู้วิจัยนำแผนการสอนดังกล่าวไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบในขั้นแรก
แล้วจึงนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษและแผน
การสอนจำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน
การสอนจำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน
1.9 นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปหาค่า
ตรวจคุณภาพหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง เนื้อหา
จุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีการสอนทั้ง 2 วิธี
ค่าดัชนีความสอดคล้องต้องมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 0.5 ขึ้นไป
ถือว่าแผนการจัดการเรียนรู้แผนนั้น นำไปทดลองใช้ได้ ซึ่งได้ค่าความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00
1.10 เสนอต่อคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
แล้วจัดพิมพ์ฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปทดลองจริงกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 และ 3/4
แล้วจัดพิมพ์ฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปทดลองจริงกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 และ 3/4
2. แบบวัดความสามารถในการอ่าน
ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างแบบวัดความสามารถในการอ่าน เป็นแบบปรนัย จำนวน
40 ข้อ มี 4 ตัวเลือก สร้างขึ้นตามหลักการวัดและประเมินผลการอ่าน ประกอบด้วย ความรู้ศัพท์ ความรู้ด้านไวยากรณ์ ความสามารถเรียบเรียงความ ความสามารถอ่านข้อมูลที่เป็นรายละเอียด ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ความสามารถในการวิเคราะห์และการประเมินเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเนื้อความ โดยมีขั้นตอนการสร้างดังนี้
40 ข้อ มี 4 ตัวเลือก สร้างขึ้นตามหลักการวัดและประเมินผลการอ่าน ประกอบด้วย ความรู้ศัพท์ ความรู้ด้านไวยากรณ์ ความสามารถเรียบเรียงความ ความสามารถอ่านข้อมูลที่เป็นรายละเอียด ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ความสามารถในการวิเคราะห์และการประเมินเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเนื้อความ โดยมีขั้นตอนการสร้างดังนี้
2.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เทพสตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในด้านสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เทพสตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในด้านสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.2
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านตามหลักการของ อัจฉรา วงศ์โสธร (2539, หน้า 154-157)
รวมทั้งศึกษาหลักการวัดและประเมินผลการศึกษา ของพิชิต ฤทธิ์จรูญ (2547, หน้า
97-136)
2.3
นำแบบทดสอบที่สร้างเสร็จแล้วไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบและทำการแก้ไขในเบื้องต้น
แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษและการวัดผลประเมินผลจำนวน 5
ท่านตรวจคุณภาพหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ว่าข้อสอบแต่ละข้อสามารถวัดได้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการวัดหรือไม่
ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00
2.4
นำแบบทดสอบที่แก้ไขปรับปรุงเรียบร้อยแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2554 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 80 คน เนื่องจากสาเหตุที่ต้องนำไปทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เนื่องจากว่านักเรียนในระดับนี้ผ่านการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 มาเรียบร้อยแล้ว เมื่อทดสอบแล้วก็นำผลการสอบมาวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อ โดยการตรวจให้คะแนนข้อที่ตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบเกินกว่า 1 ข้อให้ 0 คะแนน แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าความยากง่าย (p) และค่าอำนาจจำแนก (r) โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder and Richardson) แล้วคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.21 - 0.84 และค่าอำนาจจำแนกที่มีค่าระหว่าง 0.21 – 0.88 เพื่อนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.880
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2554 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 80 คน เนื่องจากสาเหตุที่ต้องนำไปทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เนื่องจากว่านักเรียนในระดับนี้ผ่านการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 มาเรียบร้อยแล้ว เมื่อทดสอบแล้วก็นำผลการสอบมาวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อ โดยการตรวจให้คะแนนข้อที่ตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบเกินกว่า 1 ข้อให้ 0 คะแนน แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าความยากง่าย (p) และค่าอำนาจจำแนก (r) โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder and Richardson) แล้วคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.21 - 0.84 และค่าอำนาจจำแนกที่มีค่าระหว่าง 0.21 – 0.88 เพื่อนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.880
2.5 นำแบบทดสอบที่คัดเลือกและปรับปรุงแก้ไขแล้วจำนวน 40 ข้อ เสนอต่อคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
แล้วจัดพิมพ์ฉบับสมบูรณ์
เพื่อนำไปใช้ในการทดลองจริงกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง
เพื่อนำไปใช้ในการทดลองจริงกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง
3. แบบวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษ
ในการสร้างแบบวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษ
มีขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพ ดังต่อไปนี้
3.1 สร้างแบบสอบถามวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้มาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert) ข้อความในแบบสอบถามเป็นข้อคำถามที่ถามความรู้สึกชอบหรือพอใจ ความกระตือรือร้น ความพยายามในการเรียน ตลอดจนการเห็นประโยชน์ของ
การอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นคำถามในเชิงบวกและเชิงลบ จำนวน 15 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
ประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert) ข้อความในแบบสอบถามเป็นข้อคำถามที่ถามความรู้สึกชอบหรือพอใจ ความกระตือรือร้น ความพยายามในการเรียน ตลอดจนการเห็นประโยชน์ของ
การอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นคำถามในเชิงบวกและเชิงลบ จำนวน 15 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
ถ้าข้อความนั้นแสดงความรู้สึกหรือการปฏิบัติในเชิงบวก
(positive) จะให้คะแนน ดังนี้
มากที่สุด ให้ 5
คะแนน
มาก ให้ 4 คะแนน
ปานกลาง ให้ 3
คะแนน
น้อย ให้ 2 คะแนน
น้อยที่สุด ให้ 1
คะแนน
ถ้าข้อความนั้นแสดงความรู้สึกหรือการปฏิบัติในเชิงลบ
(negative) จะให้คะแนน ดังนี้
มากที่สุด ให้ 1
คะแนน
มาก ให้ 2 คะแนน
ปานกลาง ให้ 3
คะแนน
น้อย ให้ 4 คะแนน
น้อยที่สุด ให้ 5
คะแนน
โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
1.00-1.49 เท่ากับ เห็นด้วยน้อยที่สุด
1.50-2.49 เท่ากับ เห็นด้วยน้อย
2.50-3.49 เท่ากับ เห็นด้วยปานกลาง
3.50-4.49 เท่ากับ เห็นด้วยมาก
4.50-5.00 เท่ากับ เห็นด้วยมากที่สุด
3.2 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ
จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบเพื่อทำ
การพิจารณาเรื่องการใช้ภาษาและความเที่ยงตรงของเนื้อหา (content analysis) โดยหาค่า IOC (item objective congruence) แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษมีความเหมาะสมถูกต้องยิ่งขึ้น ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00
การพิจารณาเรื่องการใช้ภาษาและความเที่ยงตรงของเนื้อหา (content analysis) โดยหาค่า IOC (item objective congruence) แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษมีความเหมาะสมถูกต้องยิ่งขึ้น ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00
3.3 นำแบบวัดเจตคติที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว
เสนอต่อคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
แล้วจัดพิมพ์ฉบับสมบูรณ์
เพื่อนำไปใช้ในการทดลองจริงกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำนวน 95 คน ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง
เพื่อนำไปใช้ในการทดลองจริงกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำนวน 95 คน ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง
(experimental
research) โดยใช้รูปแบบวิจัยแบบทดลอง 2 กลุ่ม (two
group randomized design) (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2550, หน้า 201)
ดังตาราง 9
ดังตาราง 9
ตาราง 9 แบบแผนการวิจัยแบบทดลอง 2 กลุ่ม
กลุ่ม
|
สอบก่อน
|
ทดลอง
|
สอบหลัง
|
ER1
|
T1
|
x1
|
T2
|
ER2
|
T1
|
x2
|
T2
|
เมื่อ ER1 แทน กลุ่มทดลองที่
1 (experimental group)
ER2 แทน กลุ่มทดลองที่ 2 (experimental group)
T1 แทน การสอบก่อนที่จะกระทำการทดลอง (pretest)
T2 แทน การสอบหลังจากที่กระทำการทดลอง (posttest)
X1 แทน การสอนด้วยวิธีการสอนภาษาตามทฤษฎีเชิงสังคม
และวัฒนธรรม
X2 แทน การสอนด้วยวิธีการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างทาง
ความรู้
ขั้นตอนในการดำเนินการทดลองและรวบรวมข้อมูล
มีดังนี้
1.
ทำการทดสอบก่อนเรียน (pretest) ทั้งนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย
แบบวัดความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้นเอง ใช้เวลา 1 คาบ
แบบวัดความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้นเอง ใช้เวลา 1 คาบ
2. ดำเนินการสอนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
โดยใช้เนื้อหาเดียวกันและระยะเวลาเท่ากัน โดยผู้วิจัยเป็นผู้สอนเองทั้ง 2 กลุ่ม
ใช้เวลาสอนสัปดาห์ละ 2 คาบๆ ละ 50 นาที
ทั้ง 2 กลุ่ม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวมเวลาทั้งหมดกลุ่มละ 8 คาบ
ทั้ง 2 กลุ่ม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ รวมเวลาทั้งหมดกลุ่มละ 8 คาบ
3.
ทำการสอบหลังเรียน (posttest)
ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษซึ่งเป็นฉบับเดียวกับที่ทำการสอบก่อนเรียน
ใช้เวลา 1 คาบ
4. นำผลการทดสอบความสามารถทางการอ่านวิชาภาษาอังกฤษมาตรวจให้คะแนน
แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ทำการเปรียบเทียบผลการสอนทั้ง 2 วิธีการ
เพื่อทดสอบสมมติฐาน
5. ให้นักเรียนทำแบบสอบถามเจตคติที่มีต่อการสอนตามเชิงสังคมและวัฒนธรรมของ
ไวก็อตสกีและทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐาน
ไวก็อตสกีและทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐาน
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีเชิงสังคม
และวัฒนธรรมก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติทดสอบที (dependent sample t –test)
และวัฒนธรรมก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติทดสอบที (dependent sample t –test)
2. การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษที่ใช้ทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติทดสอบที(dependent sample t –test)
3.
การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษที่ใช้ทฤษฎีเชิงสังคม
และวัฒนธรรมกับทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ โดยใช้สถิติทดสอบที (independent sample t-test)
และวัฒนธรรมกับทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้ โดยใช้สถิติทดสอบที (independent sample t-test)
4. เปรียบเทียบเจตคติในการสอนอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ทฤษฎีเชิงสังคมและวัฒนธรรมกับทฤษฎีโครงสร้างทางความรู้
โดยใช้การหาค่าเฉลี่ย (mean)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติทดสอบที (independent sample t-test)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติทดสอบที (independent sample t-test)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ค่าเฉลี่ย (mean)
วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบความสามารถด้วยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาหาค่าเฉลี่ย
(mean)
คำนวณจากสูตร (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547, หน้า 267) มีสูตรดังนี้


เมื่อ
แทน ค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่มตัวอย่าง


N แทน จำนวนนักศึกษาทั้งหมด
2.
การวิเคราะห์ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบความสามารถด้วยแบบทดสอบความสามารถก่อนเรียนและหลังเรียนมาหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) คำนวณจากสูตร (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547,
หน้า 276) มีสูตรดังนี้
S.D. = 

เมื่อ S.D แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


n แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม
3.
ความเที่ยงตรง (validity)
หาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านวิชาภาษาอังกฤษ
แบบปรนัย โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้
โดยคำนวณจากสูตร (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547, หน้า 242) มีสูตรดังนี้
โดยคำนวณจากสูตร (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547, หน้า 242) มีสูตรดังนี้

เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์

N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
4. ค่าความยากง่าย (P) (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547, หน้า 250) มีสูตรดังนี้

เมื่อ p แทน ดัชนีความยากง่ายของข้อสอบ
R แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบข้อสอบนั้นได้ถูกต้อง
N แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบข้อสอบทั้งหมด
5. ค่าอำนาจจำแนกของข้อแบบทดสอบ (ณัฏฐพงษ์ เจริญทิพย์,
2542, หน้า 215)

เมื่อ r แทน ค่าอำนาจจำแนก


N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน
6. หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่าน ในรายวิชาภาษาอังกฤษ คำนวณจากสูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547, หน้า 247)
มีสูตรดังนี้
มีสูตรดังนี้


เมื่อ
แทน สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ

k แทน คะแนนเต็ม
p แทน สัดส่วนของคนทำถูกแต่ละข้อ
q แทน สัดส่วนของคนทำผิดแต่ละข้อ (q=1-p)
7. การหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (a Coefficient) ตามวิธีการของครอนบาค (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547,
หน้า 248) มีสูตรคำนวณดังนี้

เมื่อ
แทน สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด

n แทน จำนวนข้อคำถาม


8.
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
ที่ได้จากการทดสอบก่อนการเรียนกับการทดสอบหลังเรียน ภายในกลุ่มเดียวกัน
คำนวณจากสูตร t-test dependent (พิชิต
ฤทธิ์จรูญ, 2547, หน้า 307) มีสูตรดังนี้


เมื่อ
แทน ผลบวกของคะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนเรียน กับหลังเรียน


กับหลังเรียน

n แทน จำนวนนักเรียน
9. เปรียบเทียบความแตกต่างของความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ระหว่าง
กลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม โดยใช้ t-test แบบ independent group (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547, หน้า 303) มีสูตรดังนี้
กลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม โดยใช้ t-test แบบ independent group (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547, หน้า 303) มีสูตรดังนี้


เมื่อ
แทน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง
1





n1 แทน ขนาดของกลุ่มทดลอง 1
n2 แทน ขนาดของกลุ่มทดลอง 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น