วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2)

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พุทธศักราช 2551
            การศึกษาและทำความเข้าใจกรอบแนวคิดความเป็นมาหลักการจุดหมายโครงสร้างและและจุดเน้นของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นยิ่งเพื่อเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดสาระขององค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรสถานศึกษาอันจะทำให้การพัฒนาผู้เรียนเป็นไปอย่างมีเอกภาพ บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ และในขณะเดียวกันก็สัมพันธ์ สอดคล้องและสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่นด้วย ดังที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พุทธศักราช 2551
มีดังต่อไปนี้  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2551, หน้า 220-243)
               1.  ทำไมต้องเรียนภาษาต่างประเทศ
                ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษาแสวงหาความรู้
การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและ
ความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต
                ภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ซึ่งกำหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐษน คือ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น อาหรับ บาลี และภาษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน หรือภาษาอื่นๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะจัดทำรายวิชาและจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
            2.  เรียนรู้อะไรในภาษาต่างประเทศ
                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
                1. ภาษาเพื่อการสื่อสาร 
                   การใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม
                2. ภาษาและวัฒนธรรม
                   การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ความสัมพันธ์
ความเหมือน ความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและ
วัฒนธรรมไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม
                3. ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น 
                    การใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
                4. ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนโลก
                    การใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
               3. คุณภาพผู้เรียน เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
                หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  กำหนดคุณภาพผู้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไว้ดังนี้
                1. ปฏิบัติตามคำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว โฆษณา นิทาน และบทร้อยกรองสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน ระบุ /เขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ สัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังหรืออ่าน เลือก /ระบุหัวข้อเรื่อง ใจความสำคัญ รายละเอียดสนับสนุน และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
                2. สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว สถานการณ์ ข่าวเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคมและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ใช้คำขอร้อง คำชี้แจง และคำอธิบาย ให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม พูดและเขียนแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบายเปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่านอย่างเหมาะสม พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว /เหตุการณ์พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบอย่างเหมาะสม
                3. พูดและเขียนบรรยายเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์ ข่าว /เหตุการณ์ /เรื่อง /ประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของสังคม พูดและเขียนสรุปใจความสำคัญ /แก่นสาระ หัวข้อเรื่องที่ได้จากการวิเคราะห์เรื่อง /ข่าว /เหตุการณ์ /สถานการณ์ที่อยู่ในความสนใจ พูดและเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์ และเหตุการณ์ พร้อมให้เหตุผลประกอบ
                4. เลือกใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับบุคคลและโอกาส ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา อธิบายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของภาษา เข้าร่วม/จัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ
                5. เปรียบเทียบ และอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ และการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม
                6. ค้นคว้า รวบรวม และสรุปข้อมูล /ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้และนำเสนอด้วยการพูดและการเขียน
                7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง /สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษา ชุมชน และสังคม
                8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น /ค้นคว้า รวบรวม และสรุปความรู้ /ข้อมูลต่างๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่ /ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น เป็นภาษาต่างประเทศ
                9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) สื่อสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้าอากาศ การศึกษาและอาชีพ การเดินทางท่องเที่ยว การบริการ สถานที่ภาษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในวงคำศัพท์ประมาณ 2,100 - 2,250 คำ (คำศัพท์ที่เป็นนามธรรมมากขึ้น)
                10. ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อน (Complex Sentences) สื่อความหมายตามบริบทต่างๆ ในการสนทนาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
      



            4. สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
                สาระที่ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
                มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ดังตาราง 1

ตาราง 1  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ สาระที่ 1 มาตรฐาน ต 1.1

ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. ปฏิบัติตามคำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายที่ฟังและอ่าน
  คำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายในการประดิษฐ์ การบอกทิศทาง ป้ายประกาศต่างๆ การใช้อุปกรณ์
-  Passive Voice ที่ใช้ในโครงสร้างประโยคง่ายๆ เช่น is/are + past participle
- คำสันธาน(conjunction) เช่น and/ but/or/
before/after/because etc.
-  ตัวเชื่อม (connective words) เช่น First..
Second..Third..Fourth...Next…Then… Finally…etc.
2.  อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว โฆษณา และบทร้อยกรองสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน
  ข้อความ ข่าว โฆษณา และบทร้อยกรอง
  การใช้พจนานุกรม
  หลักการอ่านออกเสียง เช่น
-  การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำ สระเสียงสั้น สระเสียงยาว สระประสม
-  การออกเสียงเน้นหนัก-เบา ในคำและกลุ่มคำ
-  การออกเสียงเชื่อมโยงในข้อความ
-  การแบ่งวรรคตอนในการอ่าน
-  การอ่านบทร้อยกรองตามจังหวะ
-  การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ
ในประโยค



ตาราง 1 (ต่อ)


ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
3. ระบุและเขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ ให้สัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังหรืออ่าน
  ประโยค ข้อความ และความหมายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนานการ สุขภาพ



  การตีความ/ ถ่ายโอนข้อมูลให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียง เช่น สัญลักษณ์ เครื่องหมาย กราฟ แผนภูมิ ตาราง ภาพสัตว์ สิ่งของ บุคคล สถานที่ต่างๆ โดยใช้ Comparison of adjectives/ adverbs/ Contrast: but, although/ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ some/ any/ a few/ few/ a little/ little etc.

4.  เลือก/ ระบุหัวข้อเรื่อง ใจความสำคัญ รายละเอียดสนับสนุน และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
การจับใจความสำคัญ เช่น หัวข้อเรื่อง ใจความสำคัญ รายละเอียดสนับสนุน จากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ เว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต
  คำถามเกี่ยวกับใจความสำคัญของเรื่อง เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม ใช่หรือไม่
-  Yes/ No Question
-  Wh-question
-  Or-question
-  etc.
  ประโยคที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น การให้เหตุผลและการยกตัวอย่าง เช่น I think.../ I feel…/ I believe…/ I have no idea…..
- If clause
- so…that/ such…that
- คำสันธาน (conjunctions) and/ but/
or/ because/ so/ before/ after etc.    



ตาราง 1 (ต่อ)

ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง

       - Infinitive pronouns : some/ any /someone/ anyone/ everyone/ one/ ones etc.

      - Tenses: present simple/ present continuous/ present perfect/ past simple/ future tense etc.
      - Simple sentence/ compound sentence/ complex sentence

          มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ ดังตาราง 2

ตาราง 2  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ สาระที่ 1 มาตรฐาน ต 1.2

ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เรื่องต่างๆ ใกล้ตัว สถานการณ์ ข่าว เรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคม และสื่อสารอย่างต่อเนื่องเหมาะสม
  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การทักทาย กล่าวลา ขอบคุณ ขอโทษ ชมเชย การพูดแทรกอย่างสุภาพ การชักชวน การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เรื่องใกล้ตัว สถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การสนทนา/ เขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและบุคคลใกล้ตัว สถานการณ์ข่าว เรื่องที่อยู่ในความสนใจในชีวิตประจำวัน
2.  ใช้คำขอร้อง ให้คำแนะนำ คำชี้แจง และคำอธิบายอย่างเหมาะสม
  คำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง คำอธิบายที่มีขั้นตอนซับซ้อน





ตาราง 2 (ต่อ)

ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
3.  พูดและเขียนแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
  ภาษาที่ใช้ในการแสดงความต้องการเสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับ และปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ เช่น Please…/ ….please./ I’d like…/ I need…/ May/ Can/ Could…?/ Yes…/ Please do.? Certainly./ Yes, of course./ Sure./ Go right ahead./ Need some help?/ What can I do to help?/ Would you like any help?/ I’m afraid…/ I’m sorry, but…/ Sorry, but…. etc.
4.  พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่านอย่างเหมาะสม
  คำศัพท์ สำนวนภาษา ประโยค และข้อความที่ใช้ในการขอและให้ข้อมูล อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่าน
5.  พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์และข่าว/ เหตุการณ์ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบอย่างเหมาะสม
ภาษาที่ใช้ในการแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น และให้เหตุผลประกอบ เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดีใจ เสียใจ มีความสุข เศร้า หิว รสชาติ สวย
น่าเกลียด เสียงดัง ดี ไม่ดี จากข่าว เหตุการณ์ สถานการณ์ ในชีวิตประจำวัน เช่น
Nice./Very nice./ Well done!/Congratulations on…./ I like..because…./ I love…because…/
I feel…because…I think…/ I believe…/
I agree/disagree…/ I’m afraid…/ I don’t believe…/ I have no idea…/ Oh no! etc.




            มาตรฐาน ต 1.3  นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน ดังตาราง 3

ตาราง 3  ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ สาระที่ 1 มาตรฐาน ต 1.3

ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. พูดและเขียนบรรยายเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์ ข่าว/ เหตุการณ์/ เรื่อง/ ประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของสังคม
  การบรรยายเกี่ยวกับตนเอง ประสบการณ์ ข่าว/ เหตุการณ์/ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม เช่น การเดินทาง การรับประทานอาหาร การเล่นกีฬา/ ดนตรี การฟังเพลง
การอ่านหนังสือ การท่องเที่ยว การศึกษา สภาพสังคม เศรษฐกิจ
2.  พูดและเขียนสรุปใจความสำคัญ/ แก่นสาระ หัวข้อเรื่องที่ได้จากการวิเคราะห์/ ข่าว/ เหตุการณ์/ สถานการณ์ที่อยู่ในความสนใจของสังคม
  การจับใจความสำคัญ/ แก่นสาระ หัวข้อเรื่อง การวิเคราะห์เรื่อง/ ข่าว/ เหตุการณ์/ สถานการณ์ที่อยู่ในความสนใจ เช่น ประสบการณ์ เหตุการณ์ สถานการณ์ต่างๆ ภาพยนตร์ กีฬา ดนตรี เพลง
3.  พูดและเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์และเหตุการณ์ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
  การแสดงความคิดเห็นและการให้เหตุผลประกอบเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์และเหตุการณ์

            สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
            มาตรฐาน ต 2.1  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ ดังตาราง 4

ตาราง ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ สาระที่ 2 มาตรฐาน ต 2.1

ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  เลือกใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับบุคคลและโอกาสตามมารยาทสังคม และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
  การเลือกใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางในการสนทนาตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เช่น การขอบคุณ ขอโทษ การชมเชย การใช้สีหน้าท่าทางประกอบการพูดขณะแนะนำตนเอง การสัมผัสมือ การโบกมือ การแสดงความรู้สึกชอบ/ ไม่ชอบ การกล่าวอวยพร การแสดงอาการตอบรับหรือปฏิเสธ
ตาราง 4 (ต่อ)

ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
2. อธิบายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม และประเพณีของเจ้าของภาษา
  ชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของภาษา
3. เข้าร่วม/ จัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ
  กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม เช่น การเล่นเกม การร้องเพลง การเล่านิทาน บทบาทสมมุติ วันขอบคุณพระเจ้า
วันคริสต์มาส  วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์

            มาตรฐาน ต 2.2  เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังตาราง 5

ตาราง ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ สาระที่ 2 มาตรฐาน ต 2.2

ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.  เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ และการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย



  การเปรียบเทียบและการอธิบาย
ความเหมือน/ ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ ของเจ้าของภาษากับของไทย
  การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและ
การลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
2.  เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม
  การเปรียบเทียบและการอธิบาย
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างชีวิต
ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย การนำวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาไปใช้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น